แบบฝึกหัด โวหารภาพพจน์ พร้อม เฉลย

๑.  คำประพันธ์ในข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น

                ก.  ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์                     เห็นผิดระบอบบุราณมา

                ข.  นางนวลจับนางนวลนอน                           เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา

                ค.  กูไม่ครั่นคร้ามขามใคร                                จะหักให้เป็นภัสม์ธุลีผง

                ง.  ท้าวกะหมังกุหนิงแข็งขัน                           ได้ฟังกริ้วโกรธดังเพลิงกัลป์

๒.                           “ด้วยระเด่นบุษบาโฉมตรู                  ควรคู่ภิรมย์สมสอง

                ไม่ต่ำศักดิ์รูปชั่วเหมือนตัวน้อง                        ทั้งพวกพ้องสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์”

      คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด

                ก.  อุปลักษณ์                                                                        ข.  อวพจน์

                ค.  อติพจน์                                                                           ง.  อุปมา

๓.  ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ด้วยวิธีการอุปลักษณ์

                ก.  ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก                         สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง

                ข.  เพลินฟังวังเวงเพลงเรไร                            พิณพาทย์ไพรกล่อมขับสำหรับดง

                ค.  โอ้โอ๋อกพระชนกชนนีนี้จะแตกครากสักเจ็ดภาคภินทนาการ

                ง.  มีทั้งว่านยาสารพันอุดมดับโรคาพยาธิดุจทิพยโอสถปรากฏคุณประสิทธิ์ประสาทสุพรรณนา

๔.  คำประพันธ์ในข้อใดไม่มีความเปรียบแบบอุปมา

                ก.  เจ้าก็สะดุ้งตระหนกตกพระทัยไหวหวั่นขวัญไม่มี                ดั่งโปดกมฤคีอันอ่อนแอ

                ข.  ทุกข์ทั้งนี้ก็มิเท่าถึงทุกข์พระแม่เจ้าจะกลับเข้ามาแต่ป่า         จะมิได้เห็นหน้าเราพี่น้องแล้ว

                     ก็จะทรงกันแสงไห้

                ค.  น้ำในสาครจะน้อยลงก็หาไม่     เสมือนหนึ่งน้ำพระทัยทูลกระหม่อมแก้ว

                ง.  ท่านมาออกปากขอสองกุมารพระลูกรักเราดังดวงตา     เราก็ตัดห่วงเสน่หาให้แก่พราหมณ์เฒ่า

๕.                          “ตั้งแต่จากเมืองมาอยู่ไพรเข็ญใจไร้ทรัพย์แสนทวี

                มาพบขุมนิธีที่ธรรมชาติก็มีใจประสาทหรรษา”

      คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด

                ก.  อุปมา                                                                               ข.  อุปลักษณ์

                ค.  อธิพจน์                                                                           ง.  บุคลาธิษฐาน

๖.           “อกนางพระธรณีจะแยะแยกแตกกระจายอยู่รอนๆ”

      คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด

               ก.  อุปมา                                                                               ข.  อุปลักษณ์

                ค.  สัญลักษณ์                                                                       ง.  บุคลาธิษฐาน

๗.          “กุมแสงกรายกรนาด          ยุรยาตรอย่างไกรสร”

      คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด

                ก.  อุปมา                                                                               ข.  อุปลักษณ์

                ค.  อติพจน์                                                                           ง.  อวพจน์

๘.                           “สลัดไดใดสลัดน้อง                           แหนงนอน    ไพรฤา

                เพราะเพื่อมาราญรอน                                        เศิกไสร้”

      คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด

                ก.  เล่นคำ                                                                             ข.  สัทพจน์

                ค.  อัพภาส                                                                           ง.  เล่นเสียงวรรณยุกต์

๙.  ความในข้อใดใช้วิธีการ “ปฏิพากษ์”  ในการนำเสนอสาร

                ก.  ความเกิดดับธรรมดาอุทาหรณ์                                   ข.  วนเวียนหว่างทุกข์สุขทุกวันวาร

                ค.  เกิดแล้วก่อล่อแล้วเร้นเย็นแล้วร้อน                           ง.  วนและวิ่งคืนและวันหวั่นและไหว

๑๐.  ศิลปะการประพันธ์ข้อใดใช้อัพภาสเลียนเสียงธรรมชาติ

                ก.  ชะโดดุกกระดี่โดด                                       สลาดโลดยะหยอยหยอย

                     กระเพื่อมน้ำพะพร่ำพรอย                          กระฉอกฉานกระฉ่อนชล

                ข.  พลหัวหน้าพะกัน         แกว่งดาบฟันฉะฉาด          แกว่งดาบฟันฉะฉัด

                     ซ้องหอกซัดยะยุ่ง         ซ้องหอกพุ่งยะย้าย

ค.  หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ                 แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร

                      งามดั่งเปลวเพลิงป่ามานิรมิต                   สร้อยโสภิตอภิรุมพุ่มหัวใจ

                ง.  เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า           เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่

                     เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย         เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน”

๑๑.  กวีใช้ภาพพจน์ชนิดใดมากที่สุดในคำประพันธ์ข้างต้น

                ก.  อุปมา                                                                               ข.  อุปลักษณ์

                ค.  บุคลาธิษฐาน                                                                 ง.  อติพจน์

๑๒.                       “พิราบบินกลับมาหลังคาโบสถ์                        พายุโหดยังกระหึ่มกระเหี้ยนหือ

                เมื่อแก้วตกลงแตกก็แหลกรื้อ                                            แต่แก้วคือแก้วพร่างอยู่กลางใจ”

        คำประพันธ์ข้างต้นใช้ภาพพจน์ชนิดใดบ้าง

                ก.  สัญลักษณ์    บุคลาธิษฐาน     อุปลักษณ์                 ข.  สัญลักษณ์     ปฏิพากย์    อุปลักษณ์        

                ค.  อุปลักษณ์     บุคลาธิษฐาน    อติพจน์                     ง.  อุปลักษณ์   อติพจน์   อุปมา

๑๓.  ข้อใดมีการซ้ำคำที่มีความหมายเหมือนกันทุกคำ

                ก.  ทั้งหนาวลมหนาวพรมน้ำค้างพราว         ไหนจะหนาวซากผาศิลาเย็น

                ข.  เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา              แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง

                ค.  ระกำกายมาถึงท้ายระกำบ้าน                     ระกำย่านนี่ก็ยาวนะอกเอ๋ย

                ง.  ถึงเกาะเกิดเกิดเกาะขึ้นกลางน้ำ                 เหมือนเกิดกรรมเกิดราชการหลวง

๑๔.  ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ต่างกับข้ออื่น

                ก.  ดอกไม้แย้มกลีบยิ้มริมบึงช่างตรึงจิต        ลมจุมพิตเท่าไรก็ไม่หมอง

                ข.  เห็นกรวดทรายชายทะเลชโลธร                ละเอียดอ่อนดังละอองสำลีดี

                ค.  เป็นฟองฟุ้งรุ่งเรืองอยู่รางราง                    กระเด็นพร่างพรายพราวราวกับพลอย

                ง.  อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา                 ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ

๑๕.  ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ต่างกับข้ออื่น

                ก.  แล้วเทวัญวางจันทะวงศ์แอบ                      ให้นอนแนบเคียงเขนยขนิษฐา

                     พลางภิรมย์ชมสองกษัตรา                          ดังดาราวางเรียงไว้เคียงกัน

                ข.  พิศพี่ผ่องเพียงสุริย์ฉัน                                 พิศน้องพียงจันทรส่องปะทะรัศมี

                ค.  พิศไท้ไท้ว่าไท้                                               ทินกร

                     พิศอ่อนคือศศิธร                                           แจ่มฟ้า

                ง.  งามดังสุริยันมะลันตอน                              เคียงดวงศศิธรมะลอนฉู

                     จะดูไหนวิไลกระไรตู                                  สมสองครองคู่จะลูเจ

๑๖.  คำประพันธ์ในข้อใดใช้กลวิธีการเล่นคำลักษณะเดียวกับตัวอย่างนี้

                                “ทั้งจากที่จากคลองเป็นสองข้อ                        ยังจากกอก็มาขึ้นในคลองขวาง”
              ก.  นกขมิ้นจับเถาขมิ้นเครือ                             คาบเหยื่อเผื่อลูกแล้วโผบิน

                ข.  สาลิกาพาหมู่เที่ยวจู่บิน                                เขาคูคู่ถิ่นอยู่ริมรก

                ค.  กระทาปักหาตัวเมียจ้อ                 ชูคอปีกกางหางหก

                ง.  ค้อนทองร้องรับกันป๊กป๊ก                           นกคุ่มเปรียวปรื๋อกระพือบิน

๑๗.  ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์

                ก.  นี่จนใจไม่มีเท่าขี้เล็บ                                    ขี้เกียจเก็บเลยทางมากลางหน

                ข.  ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล               คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น

                ค.  เสียงสินธุดุดั้นลั่นพิลึก                                สะท้านสะทึกโถมฟาดฉาดฉาดฉาน

                ง.  เหมือนนกฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู             คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา

อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ ๑๘ - ๑๙

                (1)  เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกายเหมือนทรายซัด                   ต้องนั่งปัดแปะไปมิได้นอน

                (2)  ครั้นยามเย็นเห็นเหมือนหนึ่งเมฆพลุ่ง                  เป็นควันฟุ้งราวกับไฟไกลหนักหนา

                (3)  ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่                         หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโรงผี

                (4)  เราเป็นมนุษย์สุดรักต้องลักพา                                  เหมือนอินทราตรึงส์ตรัยเป็นไรมี

๑๘.  ข้อใดใช้ภาพพจน์ชนิดอุปลักษณ์

                ก.  ข้อ ๑                                                                                ข.  ข้อ ๒

                ค.  ข้อ ๓                                                                               ง.  ข้อ ๔

๑๙.  ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์ชนิดอุปมา

                ก.  ข้อ ๑                                                                                ข.  ข้อ ๒

                ค.  ข้อ ๓                                                                               ง.  ข้อ ๔

๒๐.  ข้อใดไม่มีการเล่นคำ

                ก.  เบญจวรรณวันจากเจ้า                  กำสรดเศร้าแทบวายวาง

                ข.  นามแก้วดอกแก้วคือ                    แก้วเนตรพี่นี้ใช่ใคร

                ค.  งามทรงวงดังวาด                          งามมารยาทนาดกรกราย

                ง.  นางแย้มดุจเรียมยล                       น้องแย้มยิ้มพริ้มพรายงาม