รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ตัวอย่าง

รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ตัวอย่าง


ทำความเข้าใจมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า (TFRS 15) ซึ่งมีหัวใจสำคัญที่สำคัญคือ หลักการรับรู้รายได้ตาม Five – Step Model พร้อมตัวอย่างธุรกิจหรือรายการค้าที่อาจได้รักผลกระทบ ภายหลังการนำ TFRS 15 มาปฏิบัติใช้กับธุรกิจ


อธิบายมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า อย่างง่าย มีตัวอย่างประกอบ พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย

หนังสือเล่มนี้อยู่ในชุดของ Make Account Easy โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ผู้เขียนได้ประยุกต์วิธีปฏิบัติทางบัญชีและตัวอย่างที่ใช้ในการปฎิบัติงานจริง รวมทั้งมีแผนภาพประกอบเพื่อทำให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น และมีศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมด้วย
ผู้เขียนได้จัดทำหนังสือ และ Ebook โดยมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายเนื้อหาให้เข้าใจง่าย มีแบบฝึกหัดฝึกทำพร้อมเฉลย อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน ทั้งในด้านของการเรียนและการสอบ รวมทั้งการปฏิบัติงานอธิบายมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า อย่างง่าย มีตัวอย่างประกอบ พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย

รหัสสินค้า: 9786165820004 (PDF) 57 หน้าชนิดกระดาษ: PDF

สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน

มาตรฐานเรื่องรายได้ฉบับใหม่ หรือ TFRS 15 ก็ได้บังคับใช้กันไปซักพักแล้ว แต่ก็ยังถือว่ามีอะไรให้ต้องเรียนรู้ และ เป็นหลักการใหม่ที่ผู้ใช้งบการเงินให้ความสนใจกันมากที่สุดรายการนึงเลยค่ะ

ในบทความนี้ เราจะมาสรุปหลักการของ TFRS 15 และ การเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐานเรื่องรายได้ฉบับเดิมซึ่งก็คือ TAS18 และ TAS11 กันค่ะ

เหตุผลที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเรื่องรายได้ก็คือ

  • ข้อกำหนดการรับรู้รายได้ใน IAS ≠ US GAAP 
  • มาตรฐานฉบับเดิมให้แนวทางปฏิบัติไว้อย่างจำกัด
  • แนวคิดการรับรู้รายได้กว้าง ๆ ส่งผลให้รายการบัญชีไม่สอดคล้องกัน ในอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกัน

คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) และ คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกา (FASB) มีโครงการร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานการบัญชีเพื่อเป้าหมายที่ว่าในอนาคตมาตรฐานการรายงานทางการเงินของทุกประเทศควรอยู่บนหลักการเดียวกัน จึงได้ริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนามาตรฐานการบัญชีเรื่องการรับรู้รายได้ของ IFRS และ US GAAP ให้มีแนวปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงได้มีการทำมาตรฐานฉบับนี้ขึ้นมาค่ะ

วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน

  • ลดความไม่สอดคล้องและข้อด้อยของข้อกำหนดเดิม
  • กำหนดกรอบที่ประยุกต์ได้ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
  • ปรับปรุงความสามารถเปรียบเทียบได้ของแนวปฏิบัติ ระหว่าง กิจการ อุตสาหกรรม ประเทศ และตลาดทุน
  • ปรับปรุงข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์มากขึ้น
  • ลดจำนวนข้อกำหนดที่กิจการต้องอ้างอิงเพื่อทำให้การจัดทำงบการเงินง่ายยิ่งขึ้น
รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ตัวอย่าง

TAS18 TAS11 และ กลุ่ม TFRIC TSIC ที่ระบุในภาพด้านซ้าย คือมาตรฐานที่ถูกยกเลิกเมื่อ TFRS 15 มีผลบังคับใช้

รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ตัวอย่าง

TAS 18 จะครอบคลุมในเรื่องของ การขายสินค้า และ บริการ ค่าลิขสิทธิ์ เงินปันผล และ ดอกเบี้ย

TAS 11 จะครอบคลุมในเรื่องของสัญญาก่อสร้าง

TFRS 15 จะรวมประเด็นและหลักการการรับรู้รายได้สำหรับ การขายสินค้าและบริการ ค่าลิขสิทธิ์ และ สัญญาก่อสร้างเข้าด้วยกัน ส่วนเงินปันผล และดอกเบี้ย จะอยู่ภายใต้มาตรฐานฉบับใหม่ TFRS 9

TFRS15 กำหนดให้มีวิธีการบัญชีเดียวสำหรับภาระที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งจะต่างจาก มาตรฐานเก่าซึ่งกำหนดให้วิธีการรับรู้รายได้ของ สัญญาก่อสร้างและสินค้าและบริการ แยกจากกัน มีการเน้นเรื่องสิทธและภาระผูกพัน แทนที่จะเป็นเรื่องของความเสี่ยงและผลตอบแทน และ ให้แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมในเรื่องที่มีความซับซ้อนเช่น การแยกส่วนประกอบ การปันส่วนราคา การขายและซื้อกลับคืน เป็นต้น

รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ตัวอย่าง

ทีนี้เรามาเจาะลึกกันในเรื่องของหลักการรับรู้รายได้ 5-step model ของ TFRS 15 กันค่ะ

5 ขั้นตอนในการรับรู้รายได้ตาม TFRS 15 นี้ เราต้องตอบคำถามทั้งหมด 3 คำถาม

คำถามแรกคือ รับรู้รายได้ อย่างไร?

เพื่อที่จะตอบคำถามนี้เราจะต้อง

1. ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า

2. ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา

ซึ่งเป็น 2 ขั้นตอนแรกของ ขั้นตอนการรับรู้รายได้ตาม TFRS 15

คำถามที่สองคือ รับรู้รายได้ เท่าไหร่?

คำถามนี้จะนำมาสู่ขั้นตอนการรับรู้รายได้ขั้นที่ 3 และ 4 นั่นก็คือ

3. กำหนดราคาของรายการ

4. ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา

และคำถามสุดท้ายก็คือ รับรู้รายได้ เมื่อไหร่?

ซึ่งจะนำมาสู่ขั้นตอนสุดท้ายในการรับรู้รายได้ตาม TFRS15 นั่นก็คือ

5. รับรู้รายได้เมื่อ (หรือขณะที่) กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น 

หรือจะเรียกว่ากิจการจะรับรู้รายได้แบบ Point in Time หรือ Over Time นั่นเองค่ะ

ในการนำมาตรฐานมาปฏิบัติใช้ครั้งแรก เราสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันค่ะ

1. ปรับย้อนหลังงบการเงินที่นำมาเปรียบเทียบ (Retrospective)

2. ปรับย้อนหลังแบบผลกระทบในอดีตให้ปรับกับกำไรสะสมต้นงวด

ซึ่งการหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีกิจการต้องนำสัญญาทุกประเภทที่ทำกับลูกค้ามาทำการประเมินเพื่อวิเคราะห์ว่าการรับรู้รายได้ตามหลักการของมาตรฐานใหม่นี้มีความแตกต่างจากที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ นอกจากนี้หากเกิดผลแตกต่างแต่ละกิจการอาจจะต้องประเมินว่าระบบปฏิบัติงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หรือจำเป็นต้องมีการเตรียมการหรือระบบอื่นเพิ่มเติม รวมถึงอาจต้องมีการสื่อสารภายในองค์กรและการขอความร่วมมือจากแผนกอื่นด้วยค่ะ

รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าคืออะไร

หลักการสําคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า คือ กิจการรับรู้รายได้เพื่อแสดงการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่สัญญาให้ลูกค้าในจํานวนเงินที่สะท้อนถึงสิ่งตอบ แทนที่กิจการคาดว่าจะมีสิทธิได้รับจากการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการนั้นๆ กิจการที่ต้องรับรู้รายได้ตาม หลักการสําคัญตามขั้นตอน ...

กิจการประเภทใดที่ต้องนำ TFRS 15 มาถือปฏิบัติในการจัดทำและนำเสนอรายงานทางการเงิน

กิจการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก TFRS 15 ได้แก่ กิจการที่มีรายการขายที่ซับซ้อน หรือขายแบบพ่วง (Bundle) (เช่น ส าหรับธุรกิจโทรคมนาคม ขายเครื่องโทรศัพท์พร้อมสัญญาณอินเตอร์เน็ต และแพ็คเกจต่างๆ หรือ ธุรกิจเทคโนโลยี ขายระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ แถมการติดตั้ง และการบ ารุงรักษาภายในระยะเวลาที่ตกลง เป็นต้น) เนื่องจาก กิจการ ...

TFRS15 มีสัญญาอะไรบ้าง

TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า.
1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า ... .
2. ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา ... .
3. การกำหนดราคาของรายการ ... .
4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ ... .
5. รับรู้รายได้เมื่อได้ทำตามภาระที่กำหนดไว้ในสัญญา.

TFRS 15 คืออะไร

TFRS15 คือมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า TFRS15 มีที่มาจากโครงการพัฒนามาตรฐานการบัญชีให้เป็นมาตรฐานเดียว (Convergent Project) สำหรับการรับรู้รายได้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง FASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีการเงิน) และIASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ)