งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

สารบัญ 

  1. 1.              เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา
  2. 2.              การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา 
  3. 3.              การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
  4. 4.              การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
  5. 5.              การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตอย่างมี                                  ประสิทธิภาพ
  6. 6.              การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT
  7. 7.              การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
  8. 8.              แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีของสถาบันการศึกษา
  9. 9.              รูปแบบเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต

10.เทคนิคการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นเลิศด้านไอที (ICT)

11.เทคนิคการบริหารเน็ตเวิร์คให้เร็วและเต็มประสิทธิภาพ

12. ปัจจัยสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน

13. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

14. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

15. เทคโนโลยีฐานข้อมูล

    16. เทคโนโลยีการสื่อสาร

     17. เทคโนโลยีการศึกษา

1.เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา

จาก http://lovechollada.igetweb.com/index.php?mo=3&art=72854เวลา 09.00 น.วันที่ 27/07/2553

                วิทยาการก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างพลโลก อย่างไร้พรหมแดน (Globalization) อย่างรวดเร็วนำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษย์ชาติ ที่เรียกว่า “กระแสโลกาภิวัฒน์” เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เกิดการแข่งขันในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้วยการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่ง เป้าหมายความเป็นเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-based Economy/Society)  

                ประเทศไทยในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมโลก  ทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสของโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว   จึงได้กำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญไว้  5  กลุ่ม  คือ  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ  (e-Government) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์  (e-Commerce) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา  (e-Education)  และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม  (e-Society) 
    การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคน  เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องเตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์  จึงเป็นการเตรียมกำลังคนที่มีความฉลาดในการที่จะเป็นบุคลากร นักคิดและนักเลือกข่าวสารข้อมูลมาใช้ในการดำเนินชีวิต  การวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษา  จึงต้องเน้น  การวางแผนในเชิงรุก  โดยวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของกระแสโลกที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อหาทิศทางการพัฒนา “ คุณภาพคนไทย” อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้รู้ทันโลก  คนมีความสุข  ครอบครัวและชุมชนมีสันติสุข
    การจัดการศึกษาในปัจจุบัน  จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคโลกาภิวัฒน์  ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์  สังเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร  รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล  มากขึ้น  กระบวนการเรียนการสอนเปลี่ยนบทบาทของครูจากการเป็นผู้ให้  ผู้ถ่ายทอด  มาเป็นผู้ออกแบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคนที่มีความแตกต่างกัน  วิถีทางการเรียนรู้เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการใช้ “ เทคโนโลยีเข้มข้น” ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ    หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยเราเองเริ่มมีการนำนวัตกรรมใหม่ทางการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้  โดยเฉพาะเทคโนโลยี  “ อินเทอร์เน็ต”  ได้มีการเห็นความสำคัญในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  และเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐาน  (Infrastructure)  ทางด้านการสื่อสาร  และกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อให้หน่วยงานทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่  ที่มีข้อมูลต่อเชื่อมอยู่ทั่วทุกมุมโลก  อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมาก  กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก  ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสื่อสารที่ใหญ่มากจนสามารถตอบสนองความต้องการในการค้นคว้าข้อมูลได้เป็นอย่างดี  (วิทยา  เรืองพรพิสุทธ์.    2538  :  2)  ทำให้เกิดความต้องการในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้สำหรับผู้เรียน  เช่น  การจัดระบบห้องสมุด  การบริหารงานของฝ่ายธุรการ  การค้นคว้าข้อมูล  การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรข้อมูลข้อสนเทศต่างๆ  อย่างเป็นประโยชน์สูงสุด  ลดความซ้ำซ้อน  เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมาตรฐาน  ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของการให้บริการข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็ว  ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูล  และระบบสานสนเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาการศึกษา  (Computer Time.    2538  :  18)
                  สำหรับประเทศไทย  มีการศึกษาเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในด้านการศึกษา  ดังเช่น  การศึกษาของ  ทิพวรรณ  รัตนวงศ์   (2532)  ได้ศึกษาแนวโน้มหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในปี พ.ศ.2545  พบว่าการอุดมศึกษาในอนาคตเทคโนโลยีทางการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น  การเรียนการสอนไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและภายในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป  และเรวดี  คงสุภาพกุล  (2538)  ได้ศึกษาการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร  พบว่า  สาขาวิชาที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับความบ่อยในการใช้  นิสิต  นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ใช้ระบบมากกว่านิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์  และเป็นการใช้ตามสาขาวิชาที่ศึกษา  คือ  นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์  และมนุษย์ศาสตร์มีความสัมพันธ์ด้วยกัน  จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน  ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์  และมนุษยศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน  ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์  จะใช้ในงานบริการค้นคว้างานวิจัยค้นคว้าข้อมูลวิชาการ  นิสิตนักศึกษามองเป็นอุปสรรคในการใช้ระบบ  คือตัวปัญหาของระบบ  เนื่องจากระบบมีการใช้งานในความเร็วต่ำ  เมื่อมีการใช้พร้อมๆ  กันก็จะเกิดการติดขัดต้องมีระบบช่วยแก้ปัญหา 
                ในปัจจุบันได้มีความพยายามจัดสภาพแวดล้อมทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน

2.การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา

จากhttp://www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5355384&Ntype=3เวลา09.oo น. 27/07/2553

ทฤษฎีการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา ทุกองค์การไม่ว่าจะมีขนาด ประเภท หรือสถานที่ตั้งอย่างไร จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการดําเนินงานขององค์การ การเติบโตและการดํารงอยู่ต่อไปของ องค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การในยุคศตวรรษที่21 ซึ่งต้องเผชิญกับ ปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี ทําให้องค์การต้องมีแนวทางในการจัดการที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ในบทนี้จะได้นำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง องค์การสมัยใหม่ ความหมายของการจัดการ ขบวนการจัดการ บทบาทของการจัดการ คุณสมบัติของนักบริหารที่ประสบความสำเร็จ

องค์การสมัยใหม่ (Modern organization)

การจัดการเกิดขึ้นในองค์การ และในมุมมองด้านการจัดการ องค์การหมายถึง การที่มีคนมาทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์การมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่

1) ทุกองค์การต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของตนเอง
2) ทุกองค์การต้องมีคนร่วมกันทํางาน
3) องค์การต้องมีการจัดโครงสร้างงานแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในองค์การ
              ตามที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าองค์การปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แนวคิดเกี่ยวกับองค์การในแบบเดิมกับองค์การสมัยใหม่ก็มีความแตกต่างกัน เช่น การจัดการแบบคงเดิมกับแบบพลวัตร รูปแบบไม่ยืดหยุ่นกับแบบยืดหยุ่น การเน้นที่ตัวงานกับเน้นทักษะ การมีสถานที่ทำงานและเวลาทำงานที่เฉพาะคงที่กับการทํางานได้ทุกที่ทุกเวลา องค์การแบบเดิมจะมีลักษณะการจัดการที่คงเดิมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้างก็เป็นในช่วงสั้นๆ แต้องค์การปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จะมีความคงที่บ้างเป็นช่วงสั้นๆ จึงมีการจัดการแบบพลวัตรสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา องค์การแบบเดิมมักมีการจัดการแบบไม่ยืดหยุ่น ส่วนในองค์การสมัยใหม่จะมีการจัดการที่ยืดหยุ่น กล่าวคือในองค์การสมัยใหม่จะไม่ยึดติดกับแนวทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ต้องให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ สามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าสถานการณ์แตกต่างไป องค์การแบบเดิมลักษณะของงานจะคงที่ พนักงานแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานเฉพาะ และทํางานในกลุ่มเดิมไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ในองค์การสมัยใหม่พนักงานต้องเพิ่มศักยภาพของตนที่จะเรียนรุ้และสามารถทํางานที่เกี่ยวข้องได้รอบด้าน และมีการสับเปลี่ยนหน้าที่และกลุ่มงานอยู่เป็นประจํา ตัวอย่างเช่น ในบริษัทผลิตรถยนต์ พนักงานในแผนกผลิต ต้องสามารถใช้งานเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ซึ่งในคำบรรยายลักษณะงาน (job description) เดียวกันนี้เมื่อ 20 ปก่อนไม่มีการระบุไว้ดังนั้นในองค์การสมัยใหม่จะพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มทักษะการทํางานได้หลากหลายมากขึ้น และในการพิจารณาค่าตอบแทนการทํางาน (compensation) ในองค์การสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะตอบแทนตามทักษะ (skill based) ยิ่งมีความสามารถในการทํางานหลายอย่าง มากขึ้นก็ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น แทนการให้ค่าตอบแทนตามลักษณะงานและหน้าที่ องค์การแบบเดิม พนักงานจะทํางานในสถานที่ทํางานและเป็นเวลาที่แน่นอน แต่ในองค์สมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะให้อิสระกับพนักงานในการทํางานที่ใดก็ได้เมื่อไรก็ได้ แต่ต้องได้ผลงานตามที่กําหนด เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเอื้อให้สามารถสื่อสารถึงกันได้แม้ทํางานคนละแห่ง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และโลกาภิวัตน์ทําให้คนต้องทํางานแข่งกับเวลามากขึ้นจนเบียดบังเวลาส่วนตัวและครอบครัว ดังนั้นองค์การสมัยใหม่จะให้เกิดความยืดหยุ่นในการทํางานทั้งเรื่องเวลาและสถานที่เพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มวิถีการดําเนินชีวิตของพนักงานยุคใหม่

ความหมายของการจัดการ (Defining management)
การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆสําเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ (Robbins and DeCenzo, 2004; Certo, 2003) ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่ ขบวนการ (process) ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ขบวนการ (process) ในความหมายของการจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนําองค์การ และการควบคุม ซึ่งจะได้อธิบายละเอียดต่อไปในหัวข้อต่อไปเกี่ยวกับ หน้าที่และขบวนการจัดการ  

3.การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จาก http://nicky009.multiply.com/journal/item/4เวลา10.oo น. 27/07/2553

ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว  มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง  คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน  ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว  และสื่อสารกันได้สะดวก  เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเรียกรวมว่า  ICT  -  Information and Communication Technology  ไอซีที มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก  โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา  ดังกระทรวงศึกษาธิการ  ได้กำหนดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (พ.ศ. 2547 - 2549)  ไว้ว่า  “ผู้เรียน  สถานศึกษา  และหน่วยงานทางการศึกษา      ทุกแห่งมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  การบริหารจัดการ  การวิจัย  การพัฒนาอาชีพ  การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยได้รับบริการอย่างทั่วถึง  เท่าเทียม  มีคุณภาพและประสิทธิภาพ  นำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้”

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ความสำคัญ กับผู้เรียนเป็นหลัก    เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ   สังคมและเทคโนโลยี  ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้     ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง      เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ    สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง    และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต    จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด    การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง    การปฏิบัติให้คิดเป็น   ทำเป็น   ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา    มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์   เป็นคนดี   คนเก่ง   และมีความสุขอย่างแท้จริง

ลักษณะการใช้ ICT 

       การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

       การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน

       การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

แผนหลักใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา

             กระทรวงศึกษาธิการมีภารกิจหลักที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน รวมแล้วประมาณ 18 ล้านคน ให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ (9 ปี) และการศึกษาขั้นพื้นฐานในเบื้องต้น (12 ปี) รวมทั้งสนับสนุนให้เรียนถึงระดับอุดมศึกษา ตามศักยภาพของแต่ละคนเพื่อสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ รวมทั้งเป็นกำลังงานของประเทศชาติ ช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้สังคมร่มเย็นเป็นสุขและสามารถไปสู่เป้าหมายข้อหนึ่งที่รัฐบาลระบุไว้ คือ เพื่อให้เป็นสังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการสร้างเสริม ต่อยอดการเรียนรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มอยู่ตลอดเวลา

               นโยบายการเร่งใช้ ICT  (Information  and  Communication   Technology)    เพื่อพัฒนาการศึกษาในทุกด้านโดยเฉพาะการช่วยพัฒนา ครู อาจารย์ การช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการเชื่อมโยงเครือข่ายจึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวง ศึกษาธิการ

                แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2547-2549) ที่จัดทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการและภาคเอกชนภายนอกที่เกี่ยวข้องและผู้แทนระดับ CIO (Chief Information Officer) ของแต่ละกรมของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการทำงานชัดเจนมาก แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะยุทธศาสตร์ 4 ประการที่แผนหลักนี้ระบุไว้ เพื่อไปสู่ความสำเร็จ คือ 1) การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ 2) การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา 3) การผลิตและการพัฒนาบุคลากร และ 4) การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา

4.การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ

จากttp://www.radompon.com/webboard/index.php?topic=465.010.oo น. 27/07/2553

ปัจจุบันสังคมโลกมีวิวัฒนาการ และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology : ICT) การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลต่อภาคการศึกษา โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถติดต่อกับคนทั้งโลก สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นขุมความรู้อันมหาศาล สามารถใช้ความรู้อันหลากหลายวิทยาการนี้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง หรือหน่วยงานให้ทันยุค และยั่งยืนดังนั้นการปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning จึงเกิดขึ้นอย่างมาก และรวดเร็วในยุคนี้
          โดยเฉพาะประเทศแถบตะวันตก เช่น มหาวิทยาลัย MIT แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินโครงการเชิงรุกเกี่ยวกับระบบการศึกษาแบบ e-Learning  โดยได้รับเงินลงทุนจากมูลนิธิเมลลอน ฮิวเลต เป็นจำนวนเงินประมาณ 500 ล้านบาท เปิดโครงการ Open Courseware (http://web.mit.edu/ocw/) ให้เรียนได้โดยไม่ต้องเสียงเงิน หรือลงทะเบียน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างเนื้อหาและบริการการศึกษากับคนทั่วโลก โดยใช้หลักการบริการผ่านเครือข่าย นั่นหมายถึงการใช้บริการกับคนทั่วโลก ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดเวลา (24x7) และยังมีอีกหลายสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning เต็มหลักสูตร สามารถรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรได้เมื่อเรียนจบ
          e-Learning  คืออะไร
          เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวมาป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้โดยเฉพาะ การเรียนรู้ระบบ e-Learning ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (Computer assisted instruction) การเรียนรู้บนเว็บ (Web-based instruction) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classroom) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงวีดิทัศน์ (audio/Video tape) แบะซีดีรอม (CD-ROM) แต่ที่ใช้กันอย่างหลายมากในขณะนี้คือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction : WBI) เพราะข้อมูลในรูป WBI สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้าไกล และเนื่องจากมีผู้พัฒนาปรับปรุงแบบของสื่อการเรียนการสอนนี้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ส่งผลให้สื่อ WBI นี้สร้างได้ง่ายใช้ได้คล่อง ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ e-Learning ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
          ดังนั้น e-Learning ในรูปแบบ WBI คือ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการด้านเว็บเพจ (ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษรภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง) เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม)
          ข้อดีของการสอนผ่านเว็บ
          1. ผู้เรียนสามารถเข้าถึงทุกแหล่งเรียนรู้ที่มีอินเทอร์เน็ตติดตั้งอยู่
          2. ผู้เรียนไม่ต้องทิ้งงานประจำเพื่อมาเข้าชั้นเรียน
          3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่าเรียนค่าสอน เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง
          4. สามารถเรียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดสัปดาห์ (24x7)
          5. การจัดการเรียนการสอนมีลักษณะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เกิดกับผู้เข้าเรียนโดยตรง
          6. การเรียนรู้เป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้เรียนเอง
          7. ทำให้เกิดชุมนุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีการปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลความรู้จำนวนมาก

5.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

จาก http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/102/noname7.htm เวลา 10.12 น. 27/07/2553

            1. คอมพิวเตอร์ (Computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล    ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ

            2. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา และให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันที่นักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษา และทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (Robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงาน และใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น

            3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System ; EIS)               เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การ โดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจ    เมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ   ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย   โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์

4. การจดจำเสียง (Voice Recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียงก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ

                 5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Data Interchange ; EDI) เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่น โดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

 6.การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT

จาก http://www.prachyanun.com/artical/ict.html เวลา 10.45 น. วันที่ 27/07//2553

                นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบราชการ   โดยปฏิรูประบบราชการเริ่มจากการปรับโครงสร้างหน่วยงานในการบริหารระบบราชการ    และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ   โดยเฉพาะการพัฒนาและบริหารกำลังคนนั่นคือ ข้าราชการ   ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเป็นพลังผลักดันและขับเคลื่อน    การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology)  เข้ามาใช้ในการพัฒนาและบริหารกำลังคน   จึงต้องมีความเข้าใจถึงรากฐานตั้งแต่

                นโยบาย ICT  ของประเทศ

                นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

การใช้ ICT  เพื่อพัฒนาบุคลากร

การใช้ ICT  เพื่อการบริหารกำลังคน

การใช้  ICT  เพื่อพัฒนาการบริการ

                อุปสรรคการนำ ICT  มาใช้ในการพัฒนาและบริหารกำลังคน

                ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน   อันจะส่งผลไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบราชการโดยรวม

นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

รัฐบาลได้มีการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ

  • เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา  (e-Education)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม  (e-Society)

e-Government  เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ  G to G  (Government  to  Government)   หน่วยงานภาครัฐต่อภาครัฐ  , G to B   (Government to Business)  หน