วิจัย การใช้โทรศัพท์ มือ ถือ ใน โรงเรียน

ชื่องานวิจัย  พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้จัดทำ           1. นายไกรวิน   วงศ์บุญชา

2. นางสาวธัญญานนท์   ธิราวัฒน์

3. นางสาวพิมพ์ศิริ   พิพัฒน์พงศ์

โรงเรียน       พะเยาพิทยาคม    จังหวัด พะเยา

ครูที่ปรึกษา    คุณครู ยิ่งศักดิ์  กระจ่างแจ้ง

­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­บทคัดย่อ

                การศึกษา เรื่องพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้

  1. ข้อมูลทั่วไปของผู้สอบถาม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 16 คน  คิดเป็นร้อยละ 53.33 รองลงมาคือเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

  1. ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ

ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยส่วนมากแล้วอยู่ในระยะเวลา3-5 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน 0 -1 ชั่วโมงต่อวัน และมากกว่า 5  ชั่วโมงต่อวันตามลำดับ

  1. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

โดยมากแล้วกลุ่มตัวอย่างมักใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน มากกว่าที่จะนำไปทำให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง

——————————————————————————————————————–

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ คุณครูยิ่งศักดิ์    กระจ่างแจ้ง  คุณครูที่ปรึกษาวิจัยที่กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำแนวทาง ตลอดจนแก้ข้อบกพร่องต่างๆ ทำให้งานวิจัยมีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                            ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่   ตลอดจนและเพื่อนๆที่มีส่วนช่วยสนับสนุน และเป็นกำลังใจ ตลอดเวลาที่ทำการศึกษาและทำวิจัยในครั้งนี้

                            ขอขอบคุณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างดี

                                                                                                 คณะผู้จัดทำ

——————————————————————————————————————–

บทที่ 1

                         บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ในสังคมไทยสมัยโบราณมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นวิถีชีวิตที่ทุกคนในสังคมต้องปฏิบัติการดำรงชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่ายไม่ยึดติดกับเทคโนโลยีหรือสิ่งอำนวยความสะดวก

สังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างมาก อันเนื่องมาจากมีการพัฒนาวิทยาการด้านต่างๆรวมไปถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ขณะนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการดำรงชีวิตในสังคม ทั้งช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  รูปลักษณ์ที่สวยงาม และฟังก์ชันที่ให้ความบันเทิงอีกมากมาย จึงทำให้กลายเป็นที่น่าสนใจของคนในสังคมหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตกอยู่ในวัตถุนิยม  ตามแฟชั่นและรักความสะดวกสบายแต่อย่างไรก็ตามโทรศัพท์มือถือก็มีทั้งประโยชน์และโทษ แม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะช่วยให้สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร                 แต่หากใช้ไปในทางที่ผิด  หรือใช้ผิดที่ผิดเวลา ผิดวัตถุประสงค์  ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่างๆตามมาได้

จากที่กล่าวมาแล้ว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของกลุ่มวัยรุ่น                  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  ซึ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยแห่งการเรียนรู้แสวงหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของตน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนชั้น ม.5เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทราบถึงการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

2. ทราบความคิดเห็นของนักเรียนชั้น ม.5เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ

ขอบเขตการวิจัย

– นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวน 30 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ

โทรศัพท์มือถือ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่านโทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานี โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการ           จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน

——————————————————————————————————————–

บทที่  2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ดังต่อไปนี้

1.  แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมวัยรุ่น

2.  แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสาร

3. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม

4. งานวิจัยที่เกี่ยว

แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมวัยรุ่น  

วัยรุนมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Adolescence  หมายถึง การเจริญเติบโตไปสู่วุฒิภาวะเมื่อกล่าวถึงวัยรุ่น คนทั่วไปมักนึกถึงผู้ที่อยู่ในช่วง ๑๓ – ๑๙ ปี  โดยประมาณ หรือหากแบ่งตามชั้นเรียน  ก็จะนึกถึงผู้เรียนที่เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จนไปถึงระดับอุดมศึกษาปีต้นๆ กุญชรี  ค้าขาย (๒๕๔๒: ๑)

Dusek (อ้างถึงใน กุณฑล  มีชัย ๒๕๕๐: ๕)  หมายถึง วัยที่เชื่อมระหว่างการเป็นการเป็นผู้ใหญ่ อันเป็นระยะที่ต้องปรับพฤติกรรมวัยเด็กไปสู่พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ที่สู่เด็กวัยรุ่นจึงไม่ใช่เป็นเพียงการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย แต่หมายถึงการเจริญเติบโตทางสังคมซึ่งอยู่ในกรอบของวัฒนธรรมแต่ละที่

ลักษณะที่สำคัญของวัยรุ่น

1. เป็นวัยแห่งหัวเลี้ยวหัวตอของชีวิต ผลลัพธ์ของพฤติกรรมในวัยนี้จะมีผลต่อบุคคลยาวในช่วงวัยอื่นต่อมา ทั้งด้านการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตคู่ เจตคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ สับสนในบทบาท  ที่ไม่ชัดเจนของตนเอง เช่น ไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ความคาบเกี่ยวระหว่างความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่นี้ มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของเด็กมาก เด็กจะรู้สึกวางตัวยาก ไม่รู้ว่าจะทำตัวอย่างจึงจะถูกต้องและเหมาะสม

2. เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเจตคติในวัยรุนจะควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงความสนใจ ความไม่มั่นใจเกี่ยวกับความสามารถและความถนัดของตนเอง

3.  เป็นวัยแห่งปัญหา อาจกล่าวได้ว่าวัยรุ่นเป็นวัยเจ้าปัญหามากที่สุด ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากสาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายนั่นเอง ภาวะความว้าวุ่นใจ ไม่สบายตัวไม่สบายใจ ทำให้เกิดความหงุดหงิด วิตกกังวล อารมณ์เสียงาย ไม่อยากพูดคุยกับใคร หรือพูดจายียวน จนทำให้เกิดความไม่เขาใจกันในกลุ่มเพื่อนหรือพี่นอง เกิดเป็นปัญหาทางอารมณ์และปัญหาสังคมของเด็กวัยนี้

4.  เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ ความเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะแสดงให้เห็นว่าเขาต้องการ การยอมรับจากกลุ่ม และถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม แต่กระนั้นเด็กเองยังไม่แน่ใจในบทบาทของตน เขาต้องการรู้วาเขาต้องแสดงบทบาทใดในสังคมของตัวเอง คือ การพยายามหาเอกลักษณ์ของตัวเอง จากการแต่งกาย จากการใช้คำพูดที่เข้าใจกันเฉพาะในกลุ่มวัยรุนเท่านั้น

5. เป็นช่วงวัยแห่งจินตนาการ วัยรุ่นชอบฝันสร้างวิมานในอากาศ จินตนาการตนเอง เป็นสิ่งต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ที่ตนเองชอบ เด็กสามารถแสดงออกในรูปของการประพันธ์เพลง เขียนบท กลอนประกอบเพลง หรือแม้กระทั่งการแต่งกายตามแบบบุคคลในสังคมที่ตนเองชื่นชอบและต้องการเอาอย่าง

แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสาร   

กระบวนการของการถ่ายทอดสาร (massage) จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้สงสาร (source) ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านสาร (channel) การสื่อสารนั้นจัดได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในชีวิตมนุษย์นอกเหนือจากปัจจัยที่สี่ที่เป็นความจําเป็นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม แม้การสื่อสารจะไม่มีความเกี่ยวของโดยตรงกับความเป็นความตายของมนุษย์เหมือนกับปัจจัยสี่ของตนแต่การที่จะให้ได้มาซึ่งปัจจัยทั้งสี่นั้นย่อมตองอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือแน่นอนมนุษย์อาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการดําเนินกิจกรรมใดๆ ของตนและเพื่ออยู่รวมกับคนอื่นในสังคมการสื่อสารเป็นพื้นฐานของการติดต่อของมนุษย์และเป็นเครื่องมือสําคัญของกระบวนการทางสังคมยิ่งสังคมมีความสลับซับซ้อนมากเพียงใดและประกอบด้วยคนจํานวนมาก เท่าใดการสื่อสารก็ยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นเท่านั้นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสังคมที่นํามาซึ่งความสลับซับซ้อนก่อให้เกิดความไม่เข้าใจและความไม่แน่ใจแก่สมาชิกของสังคมย่อมต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว  การสื่อสาร  มีความสําคัญต่อมนุษย์ 5 ประการ คือ

1. ความสําคัญต่อการเป็นสังคม

2. ความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน

3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ

4. ความสําคัญต่อการปกครอง

5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม

ปัญชลี  ดวงเอียด (๒๕๔๙: ๑๕) ได้กล่าวถึง ผลการวิจัยของนักวิชาการว่าเยาวชนในยุคปัจจุบันค่อนข้างเป็นคนขี้เหงา  ติดโทรศัพท์มือถือ  ชอบออกนอกบ้าน  มีความอ่อนแอทางจิตใจ  ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง  ติดสุขนิยม  บริโภควัตถุนิยม  ต้องการความรวดเร็ว  ขาดความยับยั้งชั่งใจไม่มีความอดทน  อดกลั้น  มีค่านิยมทางเพศเสรี  ของเกี่ยวกับสิ่งเสพติด  เมินศาสนา  ขาดสาระและ ไร้สํานึก  เยาวชนส่วนใหญ่  ใช้เวลาในการพูดคุยโทรศัพท์นานวันละหลายชั่วโมงโดยจะเปิด โทรศัพท์มือถือไว้ตลอดเวลาพูดคุยกันพร่ำเพรื่อ  พูดคุยกันนานๆทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกสถานที่สาระและไม่มีสาระเสมือนว่าเยาวชนเป็นทาสโทรศัพท์มือถือ  ทั้งยังขาดความระมัดระวังในการใช้ภาษาวาเหมาะกับกาลเทศะหรือไม่  และมักใช้คําแสลง  เช่น  ภาษา “แอบแบ๊ว” ซึ่งเป็นภาษาที่นิยมในหมูเยาวชนขณะนี้  นอกจากนี้ เยาวชนยังชอบวิ่งตามแฟชั่น  มีค่านิยมฟุ้งเฟ้อเห่อของใหม่  เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเป็นรุ่นใหม่บ่อยๆ  นอกจากจะขาดระเบียบวินัยในเรื่องทั่วๆไป   แล้วยังขาดวินัยในการใช้เงินอีกด้วย  พฤติกรรมดังกล่าว  ชี้ให้เห็นว่า  เยาวชนซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มใหญ่ในสังคมกําลังอยู่กับความไม่พอดี  ไม่พอเพียงในการดําเนินชีวิต

จากพฤติกรรมของเยาวชนดังกล่าว ทําให้สามารถมองเห็นสภาพของสังคมที่ชีวิตประจําวันกําลังถูกผสานเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งนับวันจะมีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย  แม้ SMS จะเป็นเพียงสาเหตุเดียวที่รวมอยู่กับสาเหตุใหญ่เพราะเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดที่ทําให้เกิดการติดต่อกันโดยตรงและเป็นส่วนตัวระหว่างบุคคลนั้นยอมนํามาซึ่งความสัมพันธ์ที่ก่อตัวได้เร็วขึ้น แต่เยาวชนที่ใช้เครื่องมือสื่อสารนั้นๆ  มีวุฒิภาวะหรือภูมิคุ้มกันมากน้อยเพียงใด

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วรวุฒิ  เจริญศรีพรพงษ์ (๒๕๔๖: ๕๐-๖๕)ได้ศึกษาการวิเคราะห์ความต้องการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครที่มีโทรศัพท์มือถือใช้อยู่ในปัจจุบัน  พบว่า  ระบบที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ของ  AIS  สาเหตุที่ตัดสินใจซื้อสวนใหญ่ตอบว่าเพราะจําเป็น   การตัดสินใจซื้อเป็นความต้องการของตนเองส่วนใหญ่  ค่าใช้จ่ายต่อเดือนส่วนใหญ่ใช้ไมเกิน  ๕๐๐  บาท  และใช้ติดต่อกับผู้ปกครองมากที่สุดบริการเสริมที่มีในตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีการใช้มากที่สุด คือ SMS

ธีระ  กุลสวัสดิ์  (๒๕๓๔: ๒๘-๔๒)  ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถของ  ผู้ขับขี่รถยนต์  พบว่า  การรณรงค์จากสื่อต่างๆ ได้เขาถึงกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่แล้ว  แต่กลับพบว่า จํานวน    ผู้ที่รับรู้การรณรงค์มีการใช้อุปกรณ์ช่วยฟังและไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง อยู่ในสัดสวนที่ใกล้เคียงกัน โดยผู้ที่ใช้อุปกรณ์ช่วยฟังให้เหตุผลว่าคํานึงถึงความปลอดภัยมากที่สุด  ความแตกต่างทางด้านเพศ  อายุ  สถานภาพสมรส  การศึกษา  อาชีพ  ประสบการณ์ในการขับขี่ ไม่มี ผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง

ศิราพร   ศรีแดน (๒๕๔๔: ๑๒๔-๑๔๕)  ได้ศึกษาการแข่งขันทางธุรกิจการค้า และค่านิยมการใช้โทรศัพท์มือถือ กรณีศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู พบว่าการแข่งขัน ธุรกิจการคาในเขตอําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู มีการแข่งขันทั้งหมด ๖ ด้าน คือ ด้านการโฆษณาร้านค้าที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมการขาย  ด้านการบริการ  ด้านเงื่อนไข การซื้อ  ด้านราคา  ด้านบริการหลังการขายและส่วนประกอบด้านอื่นๆ เช่น ทําเลที่ตั้ง การตกแต่งร้าน การแต่งกายของพนักงานขาย  ค่านิยมการใช้โทรศัพท์มือถือ  พบว่า ผู้ใช้เลือกจากเครื่องที่มี ราคาถูกมากที่สุด และเลือกใช้จากระบบสัญญาณเครือขายที่ครอบคลุมใช้ได้ทุกพื้นที่  มีเหตุผลในการใช้เพราะความสะดวกรวดเร็วในการติดตอสื่อสาร  และใช้ตามสมัยนิยม

——————————————————————————————————————-

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

วิธีการวิจัย

การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5                                      โรงเรียนพะเยาพิทยาคมจังหวัดพะเยา ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research)  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมจังหวัดพะเยา                     โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล         การเก็บรวบรวมข้อมูล ดังต่อไปนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมจังหวัดพะเยา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionaire) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ เพศ และ                  แผนการเรียน

ส่วนที่ 2  แบบสอบถามข้อมูลของโทรศัพท์มือถือ

ส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

ผู้วิจัยได้ใช้มาตราวัดพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือแบบมาตราส่วน 4 ระดับ                                             เกณฑ์การให้คะแนน คือ

4             หมายความว่า       บ่อยที่สุด

3              หมายความวา       บ่อย

2              หมายความว่า       บางครั้ง

1              หมายความว่า       ไม่เคย

การรวบรวมข้อมูล

  1. กลุ่มตัวอย่าง (สุ่มตามความสะดวก)
  2. รวบรวมแบบสอบถาม
  3. วิเคราะห์ข้อมูล โดยโปรแกรม Microsoft Office Excel

คลิ๊ก > แบบสอบถาม

——————————————————————————————————————-

บทที่ 4

ผลการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การนำเสนอผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ และแผนการเรียน

ส่วนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ และแผนการเรียน

ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำแนกตามเพศ และแผนการเรียน

 ปัจจัยส่วนบุคคล                     จำนวน                        ร้อยละ

เพศ

ชาย                                          14                                 46.67

หญิง                                         16                                 53.33

แผนการเรียน

ศิลป์ – สังคม                                2                                 6.67

ศิลป์ – ฝรั่งเศส                              3                                10.00

ศิลป์ – จีน                                     3                                 10.00

ศิลป์ – ญี่ปุ่น                                  2                                 6.67

ศิลป์ – คณิตฯ                                4                                 13.33

วิทย์ – คณิตฯ                                10                               33.33

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์             2                                6.67

ห้องเรียนพิเศษ วิทย์ – คณิตฯ สองภาษา     4                   13.33

จากตารางที่ 1 พบว่าจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน สามารถอธิบายปัจจัยส่วนบุคคลได้ดังนี้

เพศ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 16 คน  คิดเป็นร้อยละ 53.33 รองลงมาคือเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

แผนการเรียน  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นแผนการเรียน วิทย์-คณิต จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 53.33  รองลงมาคือ แผนการเรียนสายศิลป์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

ส่วนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ตารางที่ 2  ค่าเฉลี่ย(X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

——————————————————————————————————————-

บทที่ 5

สรุปผลการวิจัย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา                      ปีที่ 5  โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  จำนวน 30 คน

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง   ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ  และพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน

สรุปผลการวิจัย

ปัจจัยส่วนบุคคล

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 16 คน  คิดเป็นร้อยละ 53.33 รองลงมาคือเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

แผนการเรียน  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นแผนการเรียน วิทย์-คณิต จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 53.33  รองลงมาคือ แผนการเรียนสายศิลป์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ

ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยส่วนมากแล้วอยู่ในระยะเวลา3-5 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน 0 -1 ชั่วโมงต่อวัน และมากกว่า 5  ชั่วโมงต่อวันตามลำดับ

พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

โดยมากแล้วกลุ่มตัวอย่างมักใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน มากกว่าที่จะนำไปทำให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง

——————————————————————————————————————-

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. การศึกษาวิจัยพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของเยาวชนจังหวัดตาก; (http://www.takculture.com/index1.php?module=research)

——————————————————————————————————————-

รูปแบบงานวิจัยแบบงานนำเสนอ

งานวิจัยบทคัดย่อ

งานวิจัยรวบรวม