วิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทาน

วิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทาน

Show

ชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ชุดกิจกรรมนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities ตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ผู้วิจัย กฤษณา สถิตย์เกิด
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเขาพริกอนุสรณ์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านเขาพริกอนุสรณ์ จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สอนทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม คือ ค่าสถิติ E1/E2 ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติที (t–test)
ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) นิทานพื้นบ้าน Amazing Cities สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน พบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ โดยรวมมีค่าเท่ากับ 90.98/91.43 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.47)
    คำสำคัญ : การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, วิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ชุดกิจกรรมนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities ตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

Comments

comments

- Advertisement -

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

National Research Council of Thailand (NRCT)

196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

196 Paholyotin rd., Chatuchak, Bangkok 10900

โทร. 02-561-2445 ต่อ 711, 712  | 

Tel.02-561-2445 ext. 712, 714 |

Keywords:

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, นิทานพื้นบ้าน, ตำนานเทพเจ้า

Abstract

ในบรรดาทักษะภาษาอังกฤษอันประกอบไปด้วยทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนนั้น ทักษะที่มีความ
จำเป็นมากที่สุดทักษะหนึ่งคือทักษะการอ่าน ซึ่งต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษาซึ่งจะต้องอ่านตำราที่เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้นิทานพื้นบ้านเป็นเนื้อหาที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ใช้ภาษาเข้าใช้ง่าย ผู้วิจัยจึงนำนิทานพื้นบ้านมาใช้กับการเรียนการสอนอ่าน

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้าน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้านประเภทตำนานเทพเจ้าและ 2) แบบสอบถามความความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านประเภทตำนานเทพเจ้า 5 เรื่องก่อน และหลังเรียน นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ =20.18 และค่าเฉลี่ยผลการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ =23.08 จากคะแนนทั้งหมด 40 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่าน ก่อนและหลังเรียนของนักศึกษา พบว่ามีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
  2. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาโดยใช้นิทานพื้นบ้านพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาโดยใช้นิทานพื้นบ้านในระดับมากที่สุด

สรุปได้ว่าการใช้นิทานพื้นบ้านสามารถช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ภาษาเข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กค่อนข้างมาก

วิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทาน

How to Cite