ขอคืนเงินประกันไฟฟ้านครหลวง

ไลฟ์สไตล์

23 มิ.ย. 2563 เวลา 0:30 น.59.6k

หนึ่งในมาตรการช่วยเหลือจาก PEA และ MEA ก็คือ มาตรการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ล่าสุดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ตอบประเด็นคำถามที่น่าสนใจต่างๆ ติดตามอ่านได้ที่นี่

หนึ่งในมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ทางด้านการไฟฟ้าสำหรับผู้ให้บริการอย่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ที่เปิดให้ลงทะเบียนการขอคืน "เงินประกันการใช้ไฟฟ้า"และจ่ายเงินประกันการใช้จ่ายไฟฟ้าไปแล้วแต่ไม่มีการกำหนดปิดการลงทะเบียนนับว่าเป็นอีกมาตรการที่ยังคงให้ความช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้แม้มาตรการอื่นๆจะดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว

โดยขั้นตอนการลงทะเบียนของ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวงสามารถทำได้หลายช่องทางทั้งเข้าไปลงทะเบียนด้วยการสแกน QR Code ที่ท้ายใบแจ้งค่าไฟฟ้า แต่ต้องเป็นใบแจ้งค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นไป หรือเว็บไซต์ www.mea.or.th หรือแอพพลิเคชั้น MEA Smart Life หรือเพจเฟซบุ๊ค การไฟฟ้านครหลวง MEAหรือทวิตเตอร์ @mea_news หรือไลน์ @meathailand หรือโทรศัพท์ 0-2256-3333

ขอคืนเงินประกันไฟฟ้านครหลวง

ขณะที่ PEA หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ดวยการสแกน QR Code ที่ท้ายใบแจ้งค่าไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เช่นกันรวมถึงเพจเฟซบุ๊ค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA แอพพลิเคชั่น PEA Smart Plus หรือไลน์ @peathailand หรือเว็บไซต์ www.pea.co.th

สำหรับช่องทางการรับเงินมีหลากหลายช่องทาง ได้แก่ พร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน บัญชีธนาคารต่าง  เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารอิสลาม เป็นต้น หรือที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสโดยต้องแสดงบัตรประชาชนและ PIN Code ของผู้รับเงินเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  • โค้งสุดท้ายมาตรการ ‘ไฟฟ้า’ ทั้งจาก กฟน. (MEA) และ กฟภ. (PEA) ยังเหลืออะไรบ้าง? 
  • 'หนี้' ท่วม จ่ายไม่ไหว ไปไหนได้บ้าง? เปิด 3 ช่องทางช่วย 'ลูกหนี้' ช่วงโควิด-19 
  • สรุป! มาตรการเยียวยา 'น้ำประปา' กปน.-กปภ.ยังเหลือโครงการไหนบ้าง?
  • 'เยียวยาเกษตรกร' งวด 2 'ธ.ก.ส.' เตรียมโอนอีก 1.14 แสนราย

ขอคืนเงินประกันไฟฟ้านครหลวง

ขณะเดียวกัน PEA ได้ตอบประเด็นคำถามที่ยังคงเป็นข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ไว้ดังนี้

  • ถ้าบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าชื่อเจ้าของบ้านไม่ตรงกับชื่อเจ้าของมิเตอร์สามารถขอรับเงินคืนได้หรือไม่?

ตอบ :  สามารถรับคืนได้โดยมีเอกสารประกอบดังนี้

1.หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์มกฟภ.-2) หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้าเช่นสัญญาซื้อขายโฉนดที่ดินนส.3

2.หลักฐานผู้ขอรับเงิน

  • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีเป็นนิติบุคคลสำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอายุไม่เกิน 6 เดือนประทับตรานิติบุคคลฯทุกฉบับพร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจตามข้อ 1
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชีกรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

สำหรับวิธีการนี้ใช้ได้กับกรณีการซื้อหรือขายบ้านไปนานแล้วแต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อด้วย

  • ซื้อบ้านจากคนอื่น ชื่อมิเตอร์ยังเป็นเจ้าของคนเดิมได้รับเงินประกันไหมหรือต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อก่อน?

ตอบ :  สามารถขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ (โดยขอให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องต่อไป) มีเอกสารประกอบดังนี้

  1. คำร้องขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภท 1-2 (เฉพาะผู้ขอรับเงินที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า)
  2. หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์มกฟภ.-2) หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่นสัญญาซื้อขายโฉนดที่ดินนส.3
  3. หลักฐานผู้ขอรับเงิน
    -
    กรณีเป็นบุคคลธรรมดาบัตรประจำตัวประชาชน
    -
    กรณีเป็นนิติบุคคลสำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือนประทับตรานิติบุคคลฯทุกฉบับพร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจตามข้อ 1
  4. ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  5. หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

  • กรณีเจ้าของเงินประกันเสียชีวิตใครสามารถขอคืนเงินประกันได้บ้าง?

ตอบ : 

1.ผู้จัดการมรดก โดยต้องมีบัตรประชาชนคำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งเมื่อได้รับเงินคืนไปแล้วต้องนำไปจัดสรรให้แก่ทายาทตามอำนาจหน้าที่ต่อไป 

2.ทายาทตามกฎหมายเช่นบิดามารดาสามีภรรยาบุตรทุกคน โดยใช้หนังสือแสดงความยินยอมให้ทายาทหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นขอเงินคืนพร้อมเอกสารตามที่กำหนดไว้

  • เจ้าของมิเตอร์เสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่สะดวกไปยื่นเรื่องเป็นผู้จัดการมรดกมีแนวทางอื่นอีกหรือไม่?

ตอบ :  ทายาทหรือบุคคลในครอบครัวสามารถขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้โดยมีเอกสารประกอบดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับคืนเงิน
  • ใบมรณะบัตรหรือทะเบียนบ้านที่ประทับตราเสียชีวิตของเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
  • หลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่นทะเบียนบ้านทะเบียนสมรสเป็นต้น
  • หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตามแบบฟอร์มกฟภ.-1)
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับทายาทผู้ขอรับคืนเงินเท่านั้น)
  • บ้านมีมิเตอร์หลายลูกสามารถขอรับเงินประกันคืนทั้งหมดหรือไม่?

ตอบ :  สามารถรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ทั้งหมดทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแนวทางการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่กฟภ. กำหนด

  • บ้านพักข้าราชการสามารถขอรับเงินประกันคืนได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ :  บ้านพักของหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานต้องมีหนังสือร้องขอต่อกฟฟ. โดยมีเอกสารประกอบดังนี้

  • หนังสือขอรับคืนเงินประกันจากหน่วยงานลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจเท่านั้น)

  • ได้เงินประกันมิเตอร์คืนแล้วต้องวางเงินประกันใหม่หรือไม่?

ตอบ :  กรณีผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิมได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืนไม่ต้องวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่ แต่สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคข้อ 4 ให้ยกเลิกการเรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ยกเว้นกรณีเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าจากประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ไปเป็นประเภทอื่นที่มีข้อกำหนดให้วางหลักประกันประกาศวันที่ 20 มีนาคม 2563

  • การขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าโดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์สามารถใช้ธนาคารไหนได้บ้าง?

ตอบ :  กรณีเลือกโอนผ่านพร้อมเพย์รองรับได้ทุกธนาคารหรือกรณีเลือกโอนผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารเปิดรองรับ 5 แห่งคือธนาคารกรุงไทยธนาคารกสิกรไทยธนาคารไทยพาณิชย์ (3 แห่งนี้ไม่ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเพิ่ม) อีก 2 แห่งคือ ธนาคารทหารไทยและธนาคารอิสลาม (2 ธนาคารนี้ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเงินฝากเพิ่มเติมด้วย)

  • กรณีเช่าที่มีหลายห้องผู้เช่าขอคืนเงินประกันได้หรือไม่?

ตอบ :  บ้านเช่ามีหลายห้อง หากมีการติดตั้งมิเตอร์แยกและวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไว้ของแต่ละห้องเจ้าของเงินประกันขอคืนเงินประกันได้แต่หากผู้เช่าต้องการขอคืนเองจะต้องมีหนังสือการโอนสิทธิให้รับเงินประกันคืนจากเจ้าของเงินประกันมาประกอบเพิ่มเติมด้วย

  • ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ขอเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืนได้หรือไม่ถ้าไม่ขอคืนจะได้รับสิทธิอะไรหรือไม่ และมีการหมดระยะเวลาขอเงินคืนหรือไม่?

ตอบ : ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ขอรับเงินประกันคืนได้โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับผลประโยชน์จากเงินประกันสะสมไปทุกๆปีจนครบ 5 ปีแล้วกฟภ. จะนำเงินผลประโยชน์จำนวนที่สะสมไว้คืนให้โดยนำไปหักชำระเป็นค่าไฟฟ้าซึ่งเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจะขอคืนเมื่อไรก็ได้ไม่มีกำหนดระยะเวลาของการขอเงินคืน

  • กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะทราบได้อย่างไรและได้รับเงินคืนเมื่อไร?

ตอบ :  แจ้งให้ทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ในแต่ละขั้นตอนดังนี้

  1. กรณีเจ้าของเงินประกันลงทะเบียนมีข้อมูลถูกต้องตรงกันแจ้งว่า PEA คำร้อง CA020001234567 อยู่ระหว่างดำเนินการคืนเงินประกัน
  2. กรณีอื่นๆเมื่อลงทะเบียนแล้วแจ้งว่า PEA ได้รับคำร้อง CA20001234567 แล้ว
  3. เมื่อลงทะเบียนแล้วหากเอกสารไม่สมบูรณ์แจ้งว่า CA20001234567 เอกสารไม่สมบูรณ์ติดต่อกฟจ. .................. โทรxxx xxx xxxx
  4. เมื่อได้รับอนุมัติแล้วแจ้งว่า PEA อยู่ระหว่างดำเนินการคืนเงินประกัน
  5. เมื่อพร้อมจ่ายเงินประกัน จะแจ้งให้ทราบในแต่ละช่องทางที่เลือกรับเงินคืนดังนี้
    - PEA
    คืนเงินประกัน xx,xxx.00 บาทวันที่ dd/mm/yy บัญชีพร้อมเพย์
    - PEA
    คืนเงินประกัน xx,xxx.00 บาทวันที่ dd/mm/yy บัญชี 123xxxxxxxx1234
    - PEA
    คืนเงินประกัน xx,xxx.00 บาทรหัส XXXXXX ที่ 7-11...

อ้างอิง : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) , การไฟฟ้านครหลวง (MEA)