ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินโดนีเซีย

Summary
  • ภูมิภาคอาเซียนสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามภูมิรัฐศาสตร์ คือ กลุ่มที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และไทย กับสมุทรรัฐ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
  • จุดยืนที่โดดเด่นเข้มแข็งของอินโดนีเซียต่อวิกฤตการณ์พม่า ตอกย้ำภาพลักษณ์ของอินโดนีเซียให้กลายเป็นผู้นำตัวจริงของอาเซียนขึ้นมาในทันที และสิ่งที่จะทำให้อินโดนีเซียโดดเด่นขึ้นอีก คือการเป็นประธานกลุ่ม G20
  • ด้วยขนาดของ G20 ที่ครอบคลุมมากกว่า ประเด็นและหัวข้อการประชุมที่ทันสถานการณ์กว่า นักสังเกตการณ์ทางการทูตคาดว่า การประชุมสุดยอด G20 ที่อินโดนีเซีย อาจได้รับความสนใจมากกว่า APEC ที่ไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินโดนีเซีย

Author

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

นักข่าวและนักวิจัย ซึ่งเชี่ยวชาญประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน

  • TAG
  • #อินโดนีเซีย
  • #APEC
  • #G20
  • #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • #อาเซียน
  • #ประชาคมอาเซียน
  • #การประชุมเอเชีย-ยุโรป
  • #ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง
  • #ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล
  • #ความร่วมมือเอเชีย

เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียชื่นชมความสัมพันธ์ไทยอินโดนีเซียที่ราบรื่นใกล้ชิด และชื่นชมการจัดการโควิด-19 ของไทย

เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียชื่นชมความสัมพันธ์ไทยอินโดนีเซียที่ราบรื่นใกล้ชิด และชื่นชมการจัดการโควิด-19 ของไทย

วันนี้ (18 มิถุนายน 2563) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายอะฮ์มัด รุซดี (H.E. Mr. Ahmad Rusdi) เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสพ้นจากหน้าที่ สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

  นายกรัฐมนตรียินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซียมีความใกล้ชิดระหว่างกัน และยินดีที่ครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีนี้ เชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศต่างพร้อมที่จะมุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ ที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริม และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ในช่วงตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งในประเทศไทย และขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยพร้อมทำงานร่วมกับเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ คนใหม่ อย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

  เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ ชื่นชมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่ราบรื่นมาอย่างยาวนาน และขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการทำงานของอินโดนีเซียเสมอมา ประทับใจที่ได้ดำรงตำแหน่งในประเทศไทย และมีโอกาสได้เข้าร่วมในพิธีการสำคัญของประเทศไทย นอกจากนี้ อินโดนีเซียพร้อมสนับสนุนความร่วมมือด้านการทหาร และความมั่นคงกับประเทศไทย

  โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยขอให้ฝ่ายอินโดนีเซียพิจารณาผ่อนปรนมาตรการควบคุมการนำเข้าพืชสวนของไทย เพื่อจะเป็นอีกโอกาสในการเพิ่มพูนมูลค่าทางการค้ายิ่งขึ้น รวมทั้งยินดีกับความคืบหน้าในการจัดทำร่างแถลงการณ์ร่วมด้านการประมงระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหา IUU ที่ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ด้านการศึกษา นายกรัฐมนตรีขอบคุณอินโดนีเซียที่ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาชาวไทยไปศึกษาต่อที่อินโดนีเซียในสาขาต่าง ๆ โดยนักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตของมุสลิมสายกลางที่อินโดนีเซียเป็นต้นแบบด้วย

  นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ร่วมกัน โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ ชื่นชมนายกรัฐมนตรีในการควบคุมการแพร่ระบาดในไทยได้เป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับ อินโดนีเซียพร้อมเรียนรู้จากประสบการณ์ มาตรการ และการดำเนินการของไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีขอบคุณอินโดนีเซียที่ให้สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือคนไทยในประเทศอินโดนีเซียให้เดินทางกลับมาประเทศไทย และยินดีร่วมมือกับอินโดนีเซียในด้านสาธารณสุข และการควบคุมโรค พร้อมเชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะฟื้นตัวกลับมาอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น

วันที่ 25 ก.ค. 2553 เวลา 11:30 น.

ทั้งสองประเทศเคยผ่านประสบการณ์การอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมาด้วยกันนี้เอง ได้ทำให้ทั้งไทยและอินโดนีเซียดำเนินความสัมพันธ์กันมายาวนานถึง 60 ปี ตลอดจนมีความเข้าอกเข้าใจ

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

ในโอกาสที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินโดนีเซียดำเนินมาเป็นระยะเวลาครบ 60 ปี ในปี 2553 สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย ได้ร่วมกับเครือข่ายจุฬาฯ นานาชาติ (Chula Global Network) จัดงานสัมมนาวิชาการเพื่อเป็นการฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซียขึ้น ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวทีการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ ได้เปิดพื้นที่ให้ตัวแทนภาคประชาสังคม นักวิชาการ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซียจากทั้งสองประเทศได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอถึงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จของความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซียตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และทิศทางของความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต

สิ่งหนึ่งที่เวทีการสัมมนาเห็นสอดคล้องกันว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญของความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย ตลอดระยะเวลา 60 ปีก็คือ บรรดาข้อตกลงความร่วมมือที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และสังคม-วัฒนธรรม

ฮารียาดี วีรียวัน อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ระบุว่า ความสำเร็จสูงสุดระหว่างทั้งสองประเทศ คือ ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือทางด้านพลังงาน กฎหมาย และการอพยพ ซึ่งได้มีการลงนามไปเมื่อปี 2550 รวมไปถึงความร่วมมือทางด้านความมั่นคง อาทิ ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกัน

ด้าน วิทยา สุจริตธนารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอินโดนีเซีย จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นว่าความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย คือ ความร่วมมือทางด้านการเมือง โดยเห็นว่าการที่อินโดนีเซียเปิดโอกาสให้ไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาในติมอร์ตะวันออก และในอาเจะห์ สะท้อนให้ถึงความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเข้าใจอันดีระหว่างไทยกับอินโดนีเซียได้อย่างชัดเจนที่สุด

“มันไม่ใช่สถานการณ์พาไป เวลาเขาหันหาประเทศไทย เขาไม่หันหาประเทศอื่น ซึ่งน่าสนใจว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหมือนว่าเรามีอะไรบางที่ตรงกันอยู่” วิทยา กล่าวกับโพสต์ทูเดย์

แน่นอนว่าในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัมพันธ์ใดก็ตาม ย่อมไม่ได้มีแต่ความสำเร็จ ความก้าวหน้า หรือความสัมพันธ์ในทางบวกเท่านั้น ยังอาจจะมีอุปสรรคหรือปัญหาสำคัญที่ขัดขวางความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ ไทยกับอินโดนีเซียก็เช่นกัน

วิทยา ระบุว่า ประเด็นปัญหาเรื่องการใช้ทรัพยากรที่ไทยไปมีส่วนทำให้ชาวอินโดนีเซียได้รับความเดือดร้อน อาทิ การทำประมง หรือในกรณีของบริษัท บ้านปู ที่เข้าไปลงทุนในธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซีย จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย

ความคิดเห็นของวิทยา ก็สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ของอินโดนีเซีย ที่ออกมาเรียกร้องให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ของไทยจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากกรณีน้ำมันรั่วไหลจากแท่นขุดเจาะแอตลาสในทะเลติมอร์ เมื่อเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว เนื่องจากคราบน้ำมันที่รั่วไหลออกมานั้นได้สร้างผลกระทบต่อชาวประมงในพื้นที่โดยรอบอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ นับตั้งแต่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ผู้ซึ่งเคยใช้ชีวิตวัยเด็กในประเทศอินโดนีเซีย ก้าวขึ้นรั้งตำแหน่งผู้นำสหรัฐ สหรัฐก็แสดงทีท่าอย่างชัดเจนว่ามีความสนใจในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินโดนีเซีย อันเป็นการช่วยส่งเสริมสถานะของอินโดนีเซียในภูมิภาคให้เด่นชัดมากขึ้น

ประกอบกับในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาค่อยๆ เสื่อมทรามลง อันเนื่องมาจากประเด็นความขัดแย้งเรื่องปราสาทพระวิหาร ตลอดจนช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย อินโดนีเซียก็กระตือรือร้นที่จะเสนอความช่วยเหลือ และอาสาเข้ามาเป็นคนกลางในการแก้ไขปัญหา

บทบาทของอินโดนีเซียที่ดูจะทวีความสำคัญ และแสดงบทบาทนำในอาเซียนอย่างเด่นชัดมากขึ้นนี้ ก็นำไปสู่คำถามสำคัญประการหนึ่งว่า สถานการณ์ในลักษณะเช่นนี้จะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างอินโดนีเซียกับไทย ซึ่งก่อนหน้านี้พยายามที่จะแสดงบทบาทความเป็นผู้นำของอาเซียนมาโดยตลอดหรือไม่

ในทัศนะของตัวแทนของประเทศอินโดนีเซีย ฮารียาดี เห็นว่าตามความเป็นจริงแล้ว อินโดนีเซียไม่ได้เป็นผู้นำของอาเซียนอย่างที่หลายคนเข้าใจ อินโดนีเซียไม่ได้มีสถานะเหนือกว่า หรือสำคัญกว่าประเทศใดๆ อินโดนีเซียเพียงแต่ต้องการจะให้ความช่วยเหลือกับทุกๆ ฝ่ายเวลาที่ต้องประสบกับปัญหา

“สิ่งที่สำคัญก็คือ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นรอบๆ ประเทศของเรา มันอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงโดยรวมของทั้งภูมิภาค ซึ่งแน่นอนว่าอินโดนีเซียก็ต้องให้ความสำคัญ และต้องการจะเข้ามาแก้ไขปัญหา ในทางกลับกันหากอินโดนีเซียไม่ทำอะไร เหตุการณ์ความวุ่นวายดังกล่าวนั้นก็อาจจะแพร่กระจาย หรือส่งผลกระทบออกไปนอกประเทศ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือกระจายไปทั่วทั้งภูมิภาค ดังนั้นเราจึงเต็มใจที่จะเสนอตัวเข้าเป็นคนกลางในการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะในประเทศใดๆ” ฮารียาดี ระบุ

ด้าน วิทยา มีความเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องผิดแปลก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีสถานะเหนือกว่าไทยอยู่แล้ว และเหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อีกทั้งในระยะหลัง อินโดนีเซียมีพัฒนาการทางการเมืองที่ดีขึ้นอย่างมาก ประกอบกับบรรดาบริษัทเอกชนและสังคมเองก็ให้ความสนับสนุน

“คุณทักษิณพยายามจะทำให้ไทยเป็นผู้นำของอาเซียน แต่ก็สู้ไม่ไหว คุณทักษิณพยายามก้าวไปไกลมากเกินไป ซึ่งมันล้มเหลวเสียส่วนใหญ่ ผมคิดว่าหากการเมืองของเรายังคงหาทางออกไม่ได้แบบนี้ โอกาสที่ไทยจะกลับไปเป็นผู้นำอาเซียนก็คงเหลือน้อยเต็มที” วิทยา ระบุ

เหตุการณ์ที่ชาวอินโดนีเซียจำนวนหนึ่ง ซึ่งร่วมกับกลุ่มองค์การพัฒนาเอกชนเดินทางมาชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติมาตรการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม พร้อมกับกล่าวหาว่าไทยใช้ว่าระบอบทหาร (Militarism) ในการปกครอง ก็ได้กลายเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ท้าทายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย

เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว วิทยา ระบุว่า กลุ่มเอ็นจีโอในไทยและอินโดนีเซียทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การประท้วงที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ ทั้งนี้ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีของกลุ่มเอ็นจีโอในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าพวกเขามีแนวความคิดไปในทิศทางเดียวกัน วิทยา ระบุด้วยว่า เราไม่ควรจะมองการประท้วงเพื่อพิทักษ์หลักการสิทธิมนุษยชนในเชิงลบ

ด้าน ฮารียาดี แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าวว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่อินโดนีเซียต้องการจะสื่อสารไปยังรัฐบาลไทย พร้อมกับระบุว่า การแก้ไขปัญหาทั้งหลายทั้งปวงเป็นสิทธิของรัฐบาลไทย และสมควรขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทย

“มันไม่ใช่หน้านี่ของเราที่จะบอกให้รัฐบาลไทยทำอะไร ผมคิดว่าอินโดนีเซียมีความเข้าอกเข้าใจประเทศไทยมาก เพราะทั้งสองประเทศเป็นเพื่อนบ้านที่มีบางสิ่งบางอย่างคล้ายกัน มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน” ฮารียาดี กล่าวกับโพสต์ทูเดย์

คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครอง ที่ทั้งสองประเทศเคยผ่านประสบการณ์การอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมาด้วยกันนี้เอง ได้ทำให้ทั้งไทยและอินโดนีเซียดำเนินความสัมพันธ์กันมายาวนานถึง 60 ปี ตลอดจนมีความเข้าอกเข้าใจ และมีสายสัมพันธ์เฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากความสัมพันธ์กับประเทศอื่น