แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

แป้งต้องทำการบ้านวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องปลูกต้นไม้ พ่อมันเลยแอบเอามาลงใน blog ไว้เป็นที่ระลึกครับ ปล. ดังนั้นบันทึกนี้ลูกเขียนไว้ที่อื่น แต่พ่อขโมยมาลง ฮ่า ฮ่า

การเจริญเติบโตของพืช

ชื่อพืช ถั่วเขียว

วันที่ปลูก 10 มิถุนายน 2551

สัปดาห์ที่ 1

วันที่ 3 ของการปลูก สูง 4 ซม. ใบเล็กและเรียวยาว บางต้นมีเปลือกหุ้มเมล็ดติดอยู่ที่ปลายยอด วิธีดูแล รดน้ำต้นไม้ทุกวัน

วันที่ 4 ของการปลูก (13/6/51) สูง 6 ซม. ใบยาวขึ้นและเรียวขึ้นแล้วสวยยิ่งขึ้น ส่วนของเนื้อเมล็ดยังติดอยู่ที่ฐานใบ วิธีดูแล อย่าจับต้นและรดน้ำต้นไม้ทุกวัน

แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

วันที่ 5 ของการปลูก (14/6/51) สูง 9 ซม. ลำต้นยาวขึ้น ส่วนของเนื้อเมล็ดห่างจากฐานใบมากขึ้น

แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

วันที่ 6 ของการปลูก (15/6/51)  สูง 13 ซม. ใบใหญ่ขึ้น ส่วนของเนื้อเมล็ดมีขนาดเล็กลง วิธีดูแล ตัดต้นถั่วเขียวบางต้นออกเพื่อไม่ให้ต้นไม้แย่งอาหารมากเกินไป

แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

วันที่ 8 ของการปลูก (17/6/51) สูง 18 ซม. เริ่มมีใบยอดอ่อนโผล่ออกมา ส่วนของเนื้อเมล็ดลีบแห้งจนเกือบหมด วิธีดูแล วางกระถางต้นไม้ให้โดนแดด

วันที่ 12 ของการปลูก (21/6/51) สูง 21 ซม. มีใบเพิ่มขึ้นมาอีก  3 ใบที่ส่วนยอด รวมเป็น 5 ใบ ส่วนของเนื้อเมล็ดลีบหายหมดแล้ว

แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

วันที่ 15 ของการปลูก  (24/6/51) สูง 26 ซม. มีใบเพิ่มอีก 2 ใบที่ส่วนยอด วิธีดูแล เลือกตัดต้นที่เล็กออกบางต้น เพื่อให้ต้นที่เหลืออยู่เจริญเติบโตดีขึ้น

แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

วันที่ 19 ของการปลูก (28/6/51) สูง 28 ซม. มีใบเพิ่มที่ส่วนลำต้นอีก 3 ใบ  ใบที่ขึ้นมาก่อนใหญ่ขึ้น สีเขียวเข้มกว่าใบที่ขึ้นมาใหม่

แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

แบบ บันทึก การ เจริญ เติบโต ของ ถั่วเขียว ป 2

วันที่ 27 ของการปลูก (6/7/51) สูง 33 ซม. ใบใหญ่ขึ้น และลำต้นอวบขึ้น ใบมีจำนวนมากกว่าเก่า วิธีดูแล ถอนต้นหญ้าเล็กๆออก รดน้ำมากๆ วางต้นไม้ให้ถูกแสงแดด

การทดลอง เกี่ยวกับแสงและการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งทำการสังเกตการตอบสนองของพืชทีมีต่อแสง

-> การเติบโตของถั่วเขียวตัวอ้วน

อุปกรณ์การทดลอง

  1. เมล็ดถั่วเขียว
  2. กระถางต้นไม้
  3. กระดาษลัง
  4. ดินปลูก
  5. เทปกาว

ตัวแปรต้น : ตำแหน่งที่ได้รับแสงของอุปกรณ์ทดลอง

ตัวแปรตาม : ทิศทางการเจริญเติบโตของพืช

ตัวแปรควบคุม : ชนิดของพืช , ชนิดและขนาดของกล่องลัง , ดินปลูก , ปริมาณและเวลาในการรดน้ำ , สภาพแวดล้อม

ขั้นตอนการทดลอง

1.      เตรียมต้นกล้า (เลือกพืชชนิดที่โตเร็ว) สำหรับนำไปปลูกที่กระถางที่เตรียมไว้

2.      จัดทำอุปกรณ์รับแสง โดยอุปกรณ์นี้ทำจากกระดาษ แสดงดังภาพ

3.      นำต้นกล้าที่ได้ใสลงไปในกระถางที่เตรียมดินไว้ จำนวน 3 กระถาง

4.      นำอุปกรณ์รับแสง ที่จัดเตรียมไว้ มาครอบไว้บนกระถางต้นไม้ที่เตรียมจากขั้นตอนที่ 3 จัดเตรียมอุปกรณ์ แสดงดังภาพ

กระถางที่ 1 : กระถางต้นไม้ที่ไม่คลุมอุปกรณ์รับแสง

กระถางที่ 2 : กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่ปิดทึบข้างบน บริเวณ หมายเลข 2 ส่วน หมายเลข 1 เปิดโล่ง

กระถางที่ 3 : กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่เปิดข้างบนทั้งหมายเลข 1 และ 2

5.      นำชุดอุปกรณ์ทั้งหมดวางไว้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน และนำการรดน้ำในระยะเวลาเดียวกัน ระยะเวลาการทดลองประมาณ 1-2 สัปดาห์

6.      สังเกตและบันทึกผล (สังเกตการเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียว ว่าเจริญเติบโตอย่างไร เมื่อนำอุปกรณ์รับแสงคลุมทั้ง 2 แบบ คลุมกระถางต้นถั่วเขียว)

ผลการทดลอง

จากการทดลองการทดลอง การเติบโตของต้นถั่วเขียว ซึ่งทำการสังเกตการตอบสนองของต้นถั่วเขียวที่มีต่อแสง โดยจัดการทดลอง มีลักษณะ 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 กระถางต้นถั่วเขียวไม่มีอุปกรณ์รับแสงคลุม แบบที่ 2 กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่ปิดทึบข้างบน บริเวณ หมายเลข 2 ส่วน หมายเลข 1 เปิดโล่ง แบบที่ 3 กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่เปิดข้างบนทั้งหมายเลข 1 และ 2 ผลการทดลอง พบว่า เมื่อผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ แบบที่ 1 ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโตสูงขึ้น ลำต้นตั้งตรง แบบที่ 2 ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโตสูงขึ้น ลำต้นสูงขึ้นออกมาบริเวณช่อง หมายเลข 1 ที่เปิดโล่ง แบบที่ 3 ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโตสูงขึ้น ลำต้นสูงขึ้นออกมาบริเวณช่องที่เปิดโล่งทั้ง 2 ช่อง

ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่า การเจริญเติบโตของต้นเขียว อาศัยปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ แสงแดด ดิน น้ำหรือความชื้น อากาศและอุณหภูมิ โดยการทดลองข้างต้นเน้นสังเกตปัจจัยเกี่ยวกับแสง ต้นถั่วเขียวพยายามที่เจริญเติบโดออกมาจากอุปกรณ์รับแสงโดยโตออกมาบริเวณช่องที่เปิดโล่ง

การนำไปใช้

ในการปลูกต้นไม้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ แสงแดด ดิน น้ำหรืออุณหภูมิ ควรได้รับให้พอเหมาะกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด

การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

สามารถให้นักเรียนทำการทดลองปลูกต้นไม้ โดยออกแบบการทดลองเพื่อสังเกตปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในเรื่องแสงด้วยตนเอง แล้วนำผลการทดลองของนักเรียนแต่ละคนมาอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน