โครง งาน น้ำยา ล้าง ห้องน้ำ doc

โครงงานสะเต็มศึกษา

หน่วยบูรณาการวิถีพอเพียง

เรื่อง น้ำยาล้างห้องน้ำ จากมะกรูด

โดย

1.เด็กหญิง พิมพ์นภัส    สังฆโต        ชั้น ม.2/6   เลขที่ 28

                     2.เด็กหญิง ภคพร          บัวงาม         ชั้น ม.2/6   เลขที่ 29

                     3.เด็กหญิง รสิตา           พุ่มวัง           ชั้น ม.2/6   เลขที่ 33

                    4.เด็กหญิง  ลลิตา          แก้วหวาน     ชั้น ม.2/6   เลขที่ 36

                    5.เด็กชาย    ภัทรพล     นนทพันธ์     ชั้น ม.2/6   เลขที่ 44

ครูประจำวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                      : ครู นางจุฑามาศ            หอมจันทร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                       : ครู  นางสาวจุฑารัตน์    รัตนมณี

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                             : ครู นางศุภวรรณ           บุญขาว

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม         : ครู นางเฉลิมศรี             ศิวติณฑุโก

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา                                    : ครู นางจราภรณ์           เกื้อเดช

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ                                                                     : ครู นายสุเมศ               เพ็งโอ

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                        : ครูนางสาวสุนันทา     ดนัยสร

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ                                              : ครูนายอาภรณ์           พงศ์ประยูร

กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว                                    : ครู นางลาวัลย์             เผือกสุวรรณ

โรงเรียน วรนารีเฉลิม  จังหวัดสงขลา

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                      

   บทคัดย่อ                                                                                                                                

   กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                 

   สารบัญ                                                                                                                                               

   สารบัญตาราง                                                                                                                         

   สารบัญรูปภาพ                                                                                                                                   

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                         

            แนวคิดที่มาของโครงงาน                                                                                                      

            วัตถุประสงค์ของโครงงาน                                                                                        

            ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                

            วิธีการดำเนินการ

            ประโยชน์ที่ได้รับ

            นิยามศัพท์

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานโครงงาน

            วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

            ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

            ผลการดำเนินงาน

            การนำไปใช้

บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

            สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

            ปัญหาและอุปสรรค

            ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา

            บรรณานุกรม

            ภาคผนวก

บทคัดย่อ

โครงงานสะเต็มศึกษาเรื่อง น้ำยาล้างห้องน้ำ จากมะกรูด มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ให้ห้องน้ำของเราดูสะดาดขึ้น กำจัดคราบเหลือง และกำจัดกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ให้มีกลิ่นลดลง ส่วนประกอบของโครงงานชิ้นนี้มี บทนำ มีเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีตารางในการปฎิบัติงาน มีผลการดำเนินงาน มีข้อสรุปในการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงานคือ เราศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำยาล้างห้องน้ำ คุณและโทษของสิ่งที่เรานำมาทำ ซื้อของมาทำและจัดหาพื้นที่และเริ่มลงมือทำตามที่ได้ศึกษาข้อมูลมา ผลในการดำเนินงาน ห้องน้ำก่อนที่จะใช้น้ำยาล้างห้องน้ำของเรา ห้องน้ำของเราค่อนข้างที่จะสกปรกและมีคราบเหลือง และยังมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ต่หลังจากที่ได้ทดองใช้น้ำยาล้างห้องน้ำของเรา ห้องน้ำของเราก็ดูสะอาดขึ้น คราบเหลืองก็ดูลดน้อยลง และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ก็ลดลงด้วย

กิตติกรรมประกาศ

               จากการที่พวกเราได้เริ่มต้นทำรายงานมาตั้งแต่ต้น จนถึงตอนี้พวกเราขอขอบคุณ อาจารย์ทุกท่าน ที่คอยให้คำปรึกษา ไม่ว่าเราจะถามตอนใหน ไม่ว่าเราจะทำผิด ทำพลาด ขนาดใหนอาจารย์ก็ยังให้คำปรึกษาเรา ให้คำแนะนำ คอยช่วยพวกเรา คอยให้คำแนะนำ คอยตักเตือนเมื่อทำผิด และขอบคุณสถานที่ที่ให้เราได้ทำ และขอบคุณแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เราต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต หนังสือฯ









บทที่ 1

                                                                    บทนำ

1. แนวคิดที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เนื่องโดยกลุ่มเราได้มีการสังเกตพบว่า ห้องน้ำภายในโรงเรียน บ้าน และที่อื่นๆซึ่งมีกลิ่นเหม็น และมี่คราบสกปกติ และยังมีขยะในห้องน้ำเลยทำให้ห้องน้ำมีกลิ่นหมิ่น และสกปกติอีกด้วย และยังปลอดภัยกับคนใช้แลช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องลงทุนเยอะจนเกินไปและยังมีอันตรายน้อยกว่าน้ำยาที่ซื้อมาจากตลาดทั่วไป  ดังนั้น เราเลยคิดค้นที่จะผลิตน้ำยาล้างห้องน้ำ แบบธรรมชาติโดยมีชื่อเรื่องว่า  น้ำยาล้างห้องน้ำสูตรมะกรูด

2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน

2.1 เพื่อช่วยดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ  ให้ดูน่าใช้

2.2เพื่อช่วยให้ห้องน้ำดูสะอาดมากยิ่งขึ้น  และยังประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน

3. ขอบเขตและข้อจำกัดของโครงงาน

1. มะกรูดแก่ 3 กก.

2. น้ำตาลทรายแดง 1 กก.

3. น้ำเปล่า  10 ลิตร

 วิธีทำ

1. ใส่ตาลทรายแดง และน้ำลงไปในถังหมักคนให้ละลาย

2. นำผลมะกรูดล้างให้สะอาด หั่นมะกรูดตามขวาง   หรือเป็นแว่น

3. ใส่มะกรูดที่หั่นแล้วลงในถังหมัก ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 3 เดือน จึงนำมาใช้ได้

ข้อควรระวัง    ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดหรือถูกฝน

4. ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 ทำให้ห้องน้ำสะอาด

4.2 ทำให้ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็นลดลง

4.3 ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

4.4 ช่วยลดอันตรายที่เกิดจากสารเคมีให้น้อยลง

  4.5 ช่วยให้ห้องดูน่าใช้มากยิ่งขึ้น

บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            ในการศึกษาโครงงาน is เรื่อง  โครงงานน้ำยาล้างห้องน้ำจากมะกรูด ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

2.1)มะกรูด

มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอน ๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperidium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 35 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ๆ

สรรพคุณ

เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้องจุกเสียด กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์

การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน

น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ดแกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้

ในวรรณคดี

สำหรับผลมะกรูดนั้นชาวไทยนิยมใช้ สระผมมาช้านาน และมีกล่าวไว้ในวรรณคดีของไทยหลายเรื่อง เช่น โคลงกำสรวล และกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาทในสมัยอยุธยา ดังนี้

(02/08/60)

มะกรูด สรรพคุณและประโยชน์ของมะกรูด

มะกรูด

มะกรูด ชื่อสามัญ Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda

มะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)

สมุนไพรมะกรูด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้น

หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

สารเคมีที่สำคัญที่พบได้ในผลมะกรูดก็คือน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีทั้งในส่วนของเปลือกผลหรือผิวมะกรูดและในส่วนของใบ โดยเปลือกผลจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 4% และในส่วนของใบนั้นจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.08% และยังสกัดยากกว่าน้ำมันในเปลือกผลอีกด้วย แต่ก็ยังมีจุดเด่นตรงที่น้ำมันจากใบจะมีกลิ่นมากกว่านั่นเอง จึงนิยมใช้ทั้งน้ำมันมะกรูดทั้งจากใบและเปลือกผล ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนี้ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย !

การใช้น้ำมันหอมระเหยมะกรูดมาใช้ทาภายนอกหลังจากทาแล้วภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผิวหนังบริเวณที่ทานั้นสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ได้

ประโยชน์ของมะกรูด

1.มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค

2.ช่วยทำให้เจริญอาหาร

3.น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

4.ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม

5.ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)

6.ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบาง ๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)

7.ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซีก เติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน

8.ใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย

9.ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี

10.ใบมะกรูดมีสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน

11.ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล, ราก)

12.น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปรงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบาง ๆ บริเวณเหงือก

13.ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)

14.ช่วยแก้อาการปวดท้องหรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ด้วยการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน

15.ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ

16.ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)

17.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี

18.น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อน ๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้

19.ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่าง ๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้

20.ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นละออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีตเมนต์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่าย เพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย

21.ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาการชันนะตุได้

22.ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซีกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ

23.มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม

24.เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วนให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจท่านแล้วครับ

25.มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)

26.ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อย ๆ ปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย

27.น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส

28.ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้

29.ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ

30.น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย

31.มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี

32.ยาฟอกเลือดสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ

33.มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น

34.หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง

35.ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย

36.ช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว

37.ช่วยทำความสะอาดคราบตามซอกเท้าเพื่อลดความหมักหมมด้วยการใช้สับปะรด 2 ส่วน, สะระแหน่ 1/2 ส่วน, น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน, เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า

38.การอบซาวน่าสมุนไพรเพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น

(02/08/60)

2.2)น้ำตาล

น้ำตาล (Sugar) คือ สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) และไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) ซึ่งมีรสหวาน โดยทั่วไปจะได้มากจากอ้อย มะพร้าว แต่โดยทั่วไปแล้วจะเรียกอาหารที่มีรสหวานว่าน้ำตาลแทบทั้งสิ้น เช่น ทำมาจากตาลจะเรียกว่าตาลโตนด ทำมาจากมะพร้าวจะเรียกว่าน้ำตาลมะพร้าว ทำมาจากงวงจากจะเรียกว่าน้ำตาลจาก ทำมาจากงบจะเรียกว่าน้ำตาลงบ ทำมาจากอ้อยแต่ยังไม่ได้ทำเป็นน้ำตาลทรายจะเรียกว่าน้ำตาลทรายดิบ ถ้านำมาทำเป็นเม็ดจะเรียกว่าน้ำตาลทราย หรือถ้านำมาทำเป็นก้อนแข็งคล้ายกรวดจะเรียกว่าน้ำตาลกรวด ฯลฯ

เมื่อพูดถึงน้ำตาล ใคร ๆ ก็ต้องคิดว่ามันมีรสหวาน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าน้ำตาลทุกชนิดที่จะมีรสหวาน เช่น แล็กโทส (lactose) ซึ่งจะมีอยู่ในนมคนหรือนมวัว เมื่อเราดื่มแล้วจะไม่รู้สึกหวาน แม้จะกินแล็กโทสเพียงอย่างเดียว ความหวานก็ยังมีอยู่อย่างจำกัด

นอกจากนี้แป้งซึ่งเป็นอาหารที่สำคัญยังประกอบไปด้วยอนุภาคของกลูโคส 6,500 หน่วย ถ้าไม่มีการสลายตัวจะไม่มีรสหวาน แต่เป็นแหล่งสำคัญของน้ำตาลที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน เวลาที่รับประทานขนมปัง แป้งจะคลุกเคล้ากับเอนไซม์ในน้ำลาย จนเกิดการสลายตัวทำให้มีรสหวาน คือ มอลโทส (maltose) ขึ้น และในวันหนึ่ง ๆ ร่างกายของคนเราจะต้องการน้ำตาลที่ได้จากอาหารประมาณ 100-400 กรัม (ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากแป้ง) น้ำตาลที่เข้ามาในร่างกายไม่ใช่ว่าจะได้รับการดูดซึมแล้วจะนำไปใช้ได้โดยตรง เพราะนอกจากกลูโคสแล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลชนิดใดก็จะต้องถูกออกซิไดซ์ให้กลายเป็นกลูโคสก่อน แล้วจึงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้

น้ำตาลจะมีอยู่ด้วย 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) เช่น กลูโคส (glucose), ฟรักโทส (fructose),

 กาแล็กโทส (galactose)

น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) เช่น ซูโครส (sucrose), แล็กโทส (lactose), มอลโทส (maltose)

น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ หรือ โพลีแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) เช่น แป้ง (starch), ไกลโคเจน (glycogen), เซลลูโลส (cellulose)

ประเภทของน้ำตาล

1.น้ำตาลทรายดิบ (Raw Sugar) คือ น้ำตาลทรายที่ใช้ส่งออกเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศ หรือเก็บไว้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลทรายขาว โดยน้ำตาลทรายดิบจะมีสีน้ำตาลเข้ม มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ และมีความบริสุทธิ์ต่ำ

2.น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง (High Pol Sugar) คือ น้ำตาลทรายดิบที่นำมาผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์บางส่วน สีของน้ำตาลเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล สามารถนำไปบริโภคได้โดยตรง แต่ไม่เป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ ยกเว้นในประเทศที่กำลังพัฒนาและมีกำลังซื้อค่อนข้างต่ำ เนื่องจากน้ำตาลชนิดมีราคาถูกกว่าน้ำตาลทรายขาว

3.น้ำตาลทรายขาว (White Sugar) คือ น้ำตาลที่ได้มาจากการสกัดเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำตาลทรายดิบ และเป็นที่นิยมในการใช้บริโภค

4.น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar) คือ น้ำตาลที่ผ่านกระบวนการผลิตคล้ายกับน้ำตาลทรายขาว แต่จะมีความบริสุทธิ์มากกว่า มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาวใส นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาลที่มีความบริสุทธิ์มาก เช่น เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง รวมไปถึงอุตสาหกรรมยา เป็นต้น

5.น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษ (Super Refined Sugar) คือ น้ำตาลที่ผ่านกระบวนการผลิตเหมือนน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ แต่จะมีความบริสุทธิ์มากกว่า นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาลที่มีความบริสุทธิ์มาก ๆ เป็นส่วนประกอบ

6.น้ำตาลปี๊บ (Paste Sugar) คือ น้ำตาลที่ได้จากเอาน้ำตาลทรายขาวมาเคี่ยวจนมีความเข้มตามที่กำหนด แล้วนำไปบรรจุขณะยังร้อนและผึ่งให้น้ำตาลแข็งตัวโดยใช้ลมเย็น

7.น้ำตาลทรายแดง (Brown Sugar) คือ น้ำตาลที่ได้จากการเอาน้ำตาลทรายดิบมาละลายกับน้ำอ้อยใสและน้ำเชื่อมดิบในอัตราส่วนที่กำหนด

8.น้ำเชื่อม (Liquid Sugar) คือ น้ำตาลที่ได้จากการแปรสภาพจากผลึกของน้ำตาลเป็นน้ำเชื่อม นิยมนำมาใช้เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิตต่าง ๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ

9.น้ำตาลแร่ธรรมชาติ (Mineral Sugar) คือ น้ำตาลที่ได้จากการผสมคาราเมลซึ่งได้มาจากการเคี่ยวน้ำตาลกับเอ-โมลาสซึ่งมีแร่ธาตุธรรมชาติจากอ้อย แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำตาลทรายขาวตามสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้แร่ธาตุจากอ้อยที่สูญเสียไปกับกากน้ำตาลในกระบวนการตกผลึกของน้ำตาล กลับคืนสู่น้ำตาล

10.กากน้ำตาล (Molasses) คือ ผลพลอยได้จากการผลินน้ำตาล นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การผลิตสุรา แอลกอฮอล์ ผลิตผงชูรส น้ำส้มสายชู เป็นต้น

สรรพคุณของน้ำตาล

1.น้ำตาลทรายแดงมีคุณสมบัติร้อนและมีรสหวาน มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง (น้ำตาลทรายแดง)

2.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (น้ำตาลทรายแดง)

3.น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายกรวดมีสรรพคุณช่วยดับร้อน ถอนพิษ แก้อาการอักเสบ (น้ำตาลทรายขาว,น้ำตาลทรายกรวด)

4.ช่วยรักษาปากเป็นแผล มีอาการเจ็บคอ ไอมีเสมหะเหลือง (น้ำตาลทรายขาว,น้ำตาลทรายกรวด)

5.น้ำเชื่อมที่ได้จากน้ำตาลทรายขาว สามารถใช้เป็นยารักษาบาดแผลเน่าเปื่อยได้ เพราะน้ำเชื่อมสามารถเปลี่ยนสภาพกรดและด่างบริเวณปากแผลได้ ทำให้เซลล์ผิวหนังถูกกระตุ้น การไหลเวียนของโลหิตทำงานดีขึ้น และยังเป็นอาหารที่ถูกนำไปใช้หล่อเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้นอีกด้วย ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และบาดแผลก็จะหายเร็วขึ้น (น้ำตาลทรายขาว)

6.ช่วยแก้อาการปวด (น้ำตาลทรายแดง)

7.สำหรับสตรีที่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนถูกความเย็น มีอาการปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยหรือปวดเอว ประจำเดือนเป็นลิ่ม การดื่มน้ำผสมกับน้ำตาลทรายแดงอุ่น ๆ 1 แก้ว ก็จะทำให้สบายขึ้นได้ (น้ำตาลทรายแดง)

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายแดง ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 380 กิโลแคลอรี่โปรตีน 0.12 กรัม

คาร์โบไฮเดรต 98.09 กรัม

น้ำตาล 97.02 กรัม

น้ำ 1.34 กรัม

วิตามินบี3 0.110 มิลลิกรัม

วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม

วิตามินบี9 1 ไมโครกรัม 0%

แคลเซียม 83 มิลลิกรัม 9%

ธาตุเหล็ก 0.71 มิลลิกรัม

แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม

โพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม 3%

โซเดียม 28 มิลลิกรัม

สังกะสี 0.03 มิลลิกรัม

โทษของน้ำตาล

1. การรับประทานน้ำตาลทรายมากเกินไปจะทำให้เกิดโทษได้ เช่น ทำให้อ้วน เป็นโรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทำให้ฟันผุ ฯลฯ

2. น้ำตาลมีผลเพิ่มปริมาณของไขมันร้าย หรือ ไขมันเลว (LDL) และไปลดปริมาณของไขมันดี (HDL)

3. การรับประทานน้ำตาลทรายมากจนเกินไปจะทำให้ต้องใช้อินซูลินมากเกินไป ถ้ารับประทานเป็นระยะเวลานานก็สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ และในคนที่บริโภคน้ำตาลมากจนเกินไปในช่วง 40 ปีแรกของชีวิต จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนอื่น ๆ เพราะน้ำตาลจะไปทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินเสื่อมสมรรถภาพ เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น[

4. นอกจากน้ำตาลจะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานแล้วน้ำตาลยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงอีกด้วย

5. การรับประทานน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้การขับออกของโครเมียมทางไตมีมากขึ้น ซึ่งโครเมียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการเพิ่มการทำงานของอินซูลินในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมาก จะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้

6. สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารหวานบ่อย ๆ สมดุลของแร่ธาตุในร่างกายจะไม่ค่อยสมดุล ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยมีรายงานว่าการรับประทานหวานมากจะทำให้เลือดมีแคลเซียมมากขึ้น ฟอสฟอรัสลดลง ซึ่งอาจไปตกตะกอนทำให้เกิดนิ่วในไตได้ นอกจากนี้การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อย ๆ ยังเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ เมื่อบริโภคเป็นระยะเวลานานจะก่อให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น

7. น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน เมื่อมีมากจนเกินไป ตับจะส่งไปยังกระแสเลือดแล้วเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน โดยจะสะสมไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น หน้าท้อง ขาอ่อน เป็นต้น และการรับประทานน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันจะสะสมไว้ที่อวัยวะภายใน

อื่น ๆ เช่น หัวใจ ตับ และไต ซึ่งอวัยวะเหล่านี้จะค่อย ๆ ถูกห่อหุ้มไปด้วยไขมันและน้ำเมือก ร่างกายก็เริ่มมีความผิดปกติ ความดันเลือดก็จะสูงขึ้น สรุปก็คือถ้าเราไม่ได้ใช้พลังงานมากเพียงพอ น้ำตาลที่ได้ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมไว้ในร่างกาย

8. เมื่อเรารับประทานน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลทราบ น้ำผึ้ง น้ำตาลในนม น้ำตาลในผลไม้ น้ำตาลเหล่านี้จะเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ร่างกายเกิดความไม่สมดุล ทำให้มีการดึงแร่ธาตุจากส่วนต่าง ๆ มาแก้ไขความไม่สมดุล

9. อาการปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน เป็นสิว ผื่น ตกกระ เป็นตะคริวช่วงมีรอบเดือน แผลพุพอง แผลริดสีดวงทวาร มะเร็งตับ เบาหวาน โรคหัวใจ วัณโรค เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อการรับประทานน้ำตาลที่มากเกินไป

10. ผลการวิจัยพบว่า โรคฟันผุมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับประทานน้ำตาล เมื่อรับประทานน้ำตาลจะทำให้สภาพของกรดในปากเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่มีอายุมากจะรู้สึกว่ามีรสเปรี้ยว Bacillus acidi lactici คือแบคทีเรียที่ชอบอาศัยและเจริญเติบโตอยู่ตามร่องฟัน ซอกฟัน หรือแอ่งฟันที่มีสภาพเป็นกรด ทำให้แคลเซียมในฟันหลุดและเกิดโรคฟันผุ (แมงกินฟัน)

11. การรับประทานน้ำตาลซูโครสมากจะทำให้กรดอะมิโน ทริปโตเฟนถูกเร่งให้ผ่านเข้าสู่สมองมากเกินไป ทำให้สมดุลของฮอร์โมนในสมองเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อย เซื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง

12. การรับประทานน้ำตาลทรายก็ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้เช่นกัน เพราะถ้ารับประทานน้ำตาลทรายในปริมาณมากจะทำให้วิตามินบีในร่างกายถูกใช้ไปมาก เมื่อวิตามินบีในร่างกายน้อยลง จะส่งผลทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง น้ำย่อยและน้ำลายก็ลดน้อยลง ทำให้เบื่ออาหารมากขึ้น

13. การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมากเกินไป จะมีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงนอน

14. น้ำตาลทรายเมื่ออยู่ในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป จะทำให้สภาพกรดในกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการหมัก (Fermentation) ในลำไส้ ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง

15. มีผู้เชื่อว่าการรับประทานมากเกินไป จะส่งผลต่อการเผาผลาญแคลเซียม ถ้าปริมาณน้ำตาลสูง 16-18% ของอาหารที่กิน จะทำให้การเผาผลาญของแคลเซียมในร่างกายเกิดความสับสนได้

16. สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทุกคนที่ชอบรับประทานขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ฯลฯ เพราะจะทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปกติ ทำให้แก่เร็ว เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง อ้วน กระดูกพรุน เนื้องอก และมะเร็ง ที่สำคัญน้ำตาลยังทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคอะไรก็ตาม เช่น หากดื่มนมจนเป็นภูมิแพ้ อาการของโรคภูมิแพ้จะมีความรุนแรงเป็น 2 เท่า หรือทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเชื้อโรคทุกชนิดจะใช้น้ำตาลเป็นอาหาร และน้ำตาลยังเป็นแหล่งอาหารของเซลล์มะเร็ง เป็นอาหารของยีสต์ในลำไส้ ทำให้ยีสต์เพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้เกิดภาวะไส้รั่ว

17. น้ำตาลนอกจากจะส่งผลร้ายต่อผู้ใหญ่แล้ว ยังมีผลต่อเด็กอีกด้วย เพราะถ้าเด็กรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ฟันผุ เป็นโรคกระดูกเปราะ อาจทำให้เด็กเป็นคนโกรธง่ายและไม่มีสมาธิได้

18. น้ำตาลจะไปจับตัวกับคอลลาเจน (ไกลเคชั่น) ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ลดความยืดหยุ่น และยังไปลดปริมาณของฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ (Growth Hormone) ซึ่งจะทำให้ผิวหนังแห้ง เหี่ยวย่น และอ้วนได้

19. จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้คนรับประทานน้ำตาลเพียงวันละ 6 ช้อนชาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน (โรคเบาหวานถูกยกระดับให้เป็นโรคอันตรายเทียบเท่ากับโรคเอดส์) แต่จากการสำรวจของ สสส. กลับพบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลมากเกินกว่าปริมาณที่แนะนำ 3 เท่าตัว หรือประมาณ 20 ช้อนชา โดยเฉพาะเด็กที่ชอบดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จนทำให้สถิติอ้วนลงพุงของเด็กไทยพุ่งสูงขึ้นที่สุดในโลก และในรอบห้าปีที่ผ่านมา พบว่าเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า และยังพบว่าคนไทยจำนวนมากถึง 17 ล้านคน ที่ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน โดยน้ำอัดลมน้ำดำ น้ำอัดลมสี และน้ำอัดลมน้ำใส (เพียงกระป๋องเดียว) จะมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมอยู่มากถึง 34-46 กรัม หรือคิดเป็น 8.5-11.5 ช้อนชาเลยทีเดียว (แค่เฉพาะเครื่องดื่มในแต่ละวัน ร่างกายของเราก็ได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นแล้ว)

คำแนะนำในการรับประทานน้ำตาล

น้ำตาลจัดเป็นอาหารที่ให้พลังงานชนิดว่างเปลา คือ ให้พลังงานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ (หรือมีแต่ก็น้อยมาก) โดยน้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี ซึ่งน้ำตาลที่เรารับประทานกันอยู่เป็นประจำจะมีน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลกรวด ซึ่งจะทำมาจากอ้อยหรือพืชผักที่มีรสหวานอย่างอื่น

ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ประมาณ 5-10% ต่อวันของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด ซึ่งตามหลักโภชนาการแล้วจะแนะนำให้รับประทานน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับเกลือและไขมัน สำหรับคนไทยกองโภชนาการได้แนะนำไว้ว่าไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา

การบริโภคน้ำตาลอาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่ในปัจจุบันน้ำตาลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว ดังนั้นการค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด โดยหันมารับประทานอาหารอื่นจากธรรมชาติและมีประโยชน์มากกว่าน้ำตาล เช่น การเลือกรับประทานผลไม้สดที่มีรสหวานน้อย สร้างนิสัยการรับประทานผลไม้แทนขนมหวานหลังมื้ออาหาร รวมไปถึงการลดหรือกำจัดคาร์โบไฮเดรตแปรรูปต่าง ๆ เช่น ขนมปัง เบอเกอรี่ พาสต้า ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ

ให้พยายามลดปริมาณของน้ำตาลทุกชนิดโดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำอัดลม ลูกอม ขนมเค้ก คุ๊กกี้ ขนมหวาน เป็นต้น รวมไปถึงของว่างที่ไร้ไขมันต่าง ๆ เนื่องจากมีความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าอาหารที่ไม่มีไขมันจะไม่ทำให้อ้วน แต่ความจริงแล้วอาหารที่ไร้ไขมันหลายอย่างมีน้ำตาลและแคลอรี่สูง

เวลาจะรับประทานอาหารสำเร็จรูปเราควรอ่านฉลากอาหารด้วยว่าอาหารที่จะรับประทานมีน้ำตาลมากน้อยเพียงใด ส่วนการคำนวณปริมาณน้ำตาล ก็ให้อ่านข้อมูลทางโภชนาการที่แสดงถึงปริมาณน้ำตาลทั้งหมดเป็นกรัมแล้วหารด้วย 4 จะเท่ากับจำนวนช้อนชาของน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไป สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือต้องการควบคุมปริมาณของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน แต่ยังติดใจในรสหวานชนิดที่เลิกไม่ได้ ก็อาจใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นที่มีพลังงานต่ำ เช่น ในเครื่องดื่มบางชนิดที่มีสารให้ความหวาน แต่ปราศจากน้ำตาล หรือที่เรียกว่า “Sugar free“

ควรระวังในการใช้สารให้ความหวานเทียมหรือสารทนแทนความหวานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ร่างกายมีความอยากน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตเพิ่มมากขึ้นได้

ความถี่ในการรับประทานน้ำตาลก็มีความสำคัญมากเช่นกัน แม้ว่าเรารับประทานครั้งละไม่มาก แต่รับประทานบ่อย ๆ ก็ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความต้องการได้เช่นกัน

แม้ว่าจะไม่มีน้ำตาล ร่างกายของคนเราก็ได้รับมาจากอาหารเพียงพออยู่แล้ว เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นจะมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยปริมาณของน้ำตาลที่ร่างกายต้องการต่อวันไม่ควรจะเกิน 50 กรัม (หมายถึงการรับประทานติดต่อกันนาน ๆ)

ถ้าจำเป็นต้องรับประทานน้ำตาล การเลือกบริโภคน้ำตาลทรายแดงแทนน้ำตาลทรายขาวก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะน้ำตาลทรายขาวนั้นจะผ่านกระบวนการฟอกทางเคมีและแยกสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ออก ทำให้มีสีขาวและบริสุทธิ์กว่าน้ำตาลทรายแดง แต่เมื่อพูดถึงในแง่คุณค่าทางโภชนาการแล้วน้ำตาลทรายขาวจะมีคุณค่าน้อยกว่าหรือไม่มีเลยเมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายแดง (เพราะมีสารบางอย่างลดลง) เช่น น้ำตาลทรายแดงมี 1 มิลลิกรัม จะมีธาตุเหล็ก 20 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าน้ำตาลทรายขาว 2 เท่า และจะมีแคลเซียม 450 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าน้ำตาลทรายขาวประมาณ 3 เท่า เป็นต้น แต่บางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าน้ำตาลทรายแดงไม่อันตราย ซึ่งความจริงก็คือน้ำตาลทรายแดงจะดีกว่าน้ำตาลทรายขาวตรงที่มีแร่ธาตุและวิตามิน แต่อันตรายจากความหวานของน้ำตาลทั้งสองชนิดนี้แทบไม่ต่างกันเลย

ประโยชน์ของน้ำตาล

1.น้ำตาลเป็นสารที่ให้ความหวานและให้พลังงานแก่ร่างกาย (โดยน้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี) ทำให้ชีวิตมีรสชาติ ทำให้รู้สึกสดชื่อกระชุ่มกระชวย

2.น้ำตาลเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตมาก เนื่องจากการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานจากน้ำตาล นอกจากนี้การหายใจ การขับปัสสาวะ การไหลเวียน การย่อยอาหารก็ล้วนแล้วแต่ต้องการความร้อนจากน้ำตาลแทบทั้งสิ้น หรือแม้แต่ตั้งแต่การคลอดจากครรภ์มารดา ในการดำรงชีวิตเราจะขาดน้ำตาลไม่ได้ แม้อาหารที่จำเป็นของทารกก็ยังเป็นน้ำนมที่มีน้ำตาลผสมอยู่ สรุปก็คือ พลังงานในการเคลื่อนไหวของมนุษย์ 70% มาจากน้ำตาล ถ้าขาดน้ำตาลมนุษย์ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

3.กลูโคส (glucose) เป็นแหล่งอาหารที่จำเป็นของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในร่างกาย ทำให้ ไกลโคเจน (glycogen) ในตับเพิ่มขึ้น ช่วยทำให้การเผาผลาญ (Metabolism) ของเนื้อเยื่อดีขึ้น และในขณะที่น้ำตาลในเลือดลดน้อยลง กลูโคสยังเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจได้เป็นอย่างดี

4.กลูโคส (glucose) สามารถทำให้ร่างกายมีความต้านทานต่อโรคติดต่อได้ ดังนั้นในการรักษาโรค กลูโคสจึงถูกนำไปใช้เป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวาง

5.เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ต้องการกลูโคส (glucose) เพื่อเป็นวัตถุในการให้พลังงานและสารประกอบที่สำคัญอื่น ๆ เช่น สมองต้องการกลูโคสวันละ 110-130 กรัม ไตและเม็ดเลือดแดงต้องการกลูโคสเป็นอาหาร ส่วนหัวใจจะทำงานได้ก็ต้องอาศัยกลูโคสมาทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป และจากผลการทดลองหัวใจของสัตว์นอกร่างกาย พบว่ากลูโคสมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจของสัตว์ทดลอง ส่วนอวัยวะภายในร่างกายอื่น ๆ ถ้าขาดกลูโคสก็จะสามารถใช้กรดไขมันมาเป็นแหล่งให้พลังงานได้

6.แล็กโทสแม้จะไม่มีรสหวาน แต่ก็เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก โดยแล็กโทสจะทำหน้าที่ป้องกันจุลินทรีย์ที่จำเป็นในลำไส้ของทารก ช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม ทำให้ทารกสามารถย่อยและดูดซึม (แต่ผู้ใหญ่ถ้ากินแล้วกลับจะทำให้ย่อยยากและทำให้ท้องเสีย)

7.น้ำตาลทรายขาวนอกจากจะช่วยทำให้อาหารมีรสชาติหวานแล้ว น้ำตาลทรายยังช่วยในการถนอมอาหารและหมักอาหารได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

1.มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 84 คอลัมน์: อาหารสมุนไพร.  (วิทิต วัณนาวิบูล).  น้ำตาล-พลังในร่างกาย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. 

2.ทัศนศึกษาออนไลน์.  โรงงานน้ำตาลมิตรผล”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: fieldtrip.ipst.ac.th.

 3.การศึกษาดอทคอม.  ความลับของน้ำตาล”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.kanzuksa.com.

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงานโครงงาน

3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

      1. มะกรูดแก่ 3 กก.

      2. น้ำตาลทรายแดง 1 กก.

      3. น้ำเปล่า  10 ลิตร

     4. มีด

      5. กะละมัง

3.2 ขั้นตอนการสร้างชิ้นงานตามแบบ

      1. ใสน้ำตาลทรายและน้ำลงในถังหมักคนให้ละลาย

      2. นำผลมะกรูดที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว มาหั่นตามขวางหรือเป็นแว่น

      3. ใส่มะกรูดที่หั่นแล้วลงในถังหมัก ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 3 เดือน จึงนำมาใช้ได้

ปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรม

ที่

วัน/เดือน/ปี

รายการปฎิบัติงาน

สถานที่ปฏิบัติงาน

หมายเหตุ

1

17/ พ.ค. /60

ปฐมนิเทศรายวิชา, ชี้แจงรายการแบบ, 

ข้อปฏิบัติ

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

2

24/ พ.ค. /60

แบ่งกลุ่มตามรายวิชาSTEM

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

3

31/ พ.ค. /60

เลือกหัวข้อโครงงาน

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

4

07/ มิ.ย. /60

สรุปปัญหาที่พบ,หาวิธีแก้ไขปัญหา

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

5

14/ มิ.ย. /60

นำเสนอหัวข้อโครงงาน

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

6

05/ ก.ค. /60

นำเสนอหัวข้อที่จะทำ

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

7

19/ ก.ค. /60

สือค้นเอกสาร1จากห้องสมุด

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

8

02/ ส.ค. /60

สือค้นข้อมูลเพื่อจัดทำ  บทที่2

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

 ( ห้อง255)

9

5 / ส.ค /60

ทำน้ำยาล้างห้องน้ำ

โรงเรียน วรนารีเฉลิม

จังหวัด สงขลา

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

4.1 ผลการดำเนินงาน

จากการที่ได้ลองนำน้ำยาล้างห้องน้ำ จากมะกรูดไปใช้ในบ้านและ ที่โรงเรียน ผลปรากฏว่าห้องน้ำจากที่เคยมีคราบสกปรกก็ดูสะอาดขึ้น และลดกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ แล้วเรายังมีน้ำยาล้างห้องน้ำ จากมะกรูดที่เหลืออีกให้เราได้แบ่งกันไปใช้ทำความสะอาดห้องน้ำที่บ้าน

4.2 การนำไปใช้ให้ครอบคลุมหน่วยบูรณาการของกลุ่มสาระในระดับ ม.2  เรื่อง วิถีพอเพียง

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์        เรื่อง พลังงานพอเพียง

แนวทางการบูรณาการ ได้เรียนรู้ความพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และรู้ถึงคุณค่าของมะกรูดและได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง คณิตกับชีวิตประจำวัน

แนวทางการบูรณาการ ได้เรียนรู้อัตราเศษส่วนว่าใส่จำนวนเท่าไร และได้เปรียบเทียบว่าแต่ละอย่างมีจำนวน

อัตาราที่พอเหมาะ เหมาะสมกัน.

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย            เรื่อง  ภาษาสร้างสรรค์

แนวทางการบูรณาการ ได้รู้จักการใช้ภาษาในการเขียนโครงงานที่ถูกต้อง

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  เรื่อง  ธรรมะสร้างงาน

แนวทางการบูรณาการ สร้างมิตรภาพให้กับเพื่อนด้วยการแบ่งน้ำยาล้างห้องน้ำให้กับเพื่อนๆ

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง  อยู่ดีมีสุข

แนวทางการบูรณาการ ห้องน้ำของเราก็จะสะอาดขึ้น และเปลี่ยนจากน้ำยาที่เป็นสารเคมีมาใช้น้ำยาจากธรรมชาติ.

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง  ศิลป์สร้างสรรค์

แนวทางการบูรณาการ ได้รู้จักรูปทรงและรูปร่างของมะกรูด.

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง  ทักษะสร้างอาชีพ

แนวทางการบูรณาการ อาชีพแม่บ้านสามารถใช้วิธีของเราทำน้ำยาล้างก้องน้ำได้ และสามารถนำไปขายเพื่อประกอบอาชีพได้.

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ            เรื่อง  “English Around us”

แนวทางการบูรณาการ ได้รู้จักชื่อภาษาอังกฤษของมะกรูด และรู้จักชื่อภาษาอังกฤษของน้ำตาลทรายแดง.

กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว            เรื่อง  แนะแนวอาชีพ

แนวทางการบูรณาการ เราสมารถผลิตน้ำยาล้างห้องน้ำจากมะกรูดได้ โดยที่ต้นทุนต่ำและใช้งบน้อยซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง และเรายังใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วย

บทที่ 5

สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

     5.1 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

จากการที่ได้เริ่มคิดว่าจะทำน้ำยาล้างห้องน้ำ เริ่มศึกษาค้นหาข้อมูล เริ่มปฎิบัติ จนตอนนี้กลุ่มของเราก็มีผลผลตามที่เราขาดหวังไว้แล้ว และเราก็ได้นำผลผลิตที่ได้คือ น้ำยาล้างห้องน้ำจากมะกรูดไปใช้  ผลที่ได้ก็ตามที่หวังไว้เพราะ ห้องน้ำก่อนที่ยังไม่ได้ใช้จะมีคราบสกปรก คราบเหลือง แต่หลังใช้ห้องน้ำก็ดูสะอาดขึ้น คราบที่ติดอยู่ก็ดูน้อยลง ห้องน้ำจากที่มีกลิ่นเหม็นก็ลดกลิ่นเหม็นลง ทำได้ดูน่าเข้ามากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ใช้

       5.2 ปัญหาและอุปสรรค

             ตั้งแต่วันที่เริ่มพูดคุยกับเพื่อนในกลุ่ม และได้ตกลงกันว่าจะทำน้ำยาล้างห้องน้ำจากมะกรูด ได้เริ่มวางแผนกัน ได้เริ่มศึกษาข้อมูล ได้ค้นหาข้อมูลได้เริ่มทำรายงาน ได้ซื้อของเพื่อมาทำน้ำยาล้างห้องมะกรูด ได้เริ่มปฎิบัติงาน ได้เริ่มทำผลิตภัณฑ์ เราก็มีอุปสรรคคือ บ้านของเราในกลุ่มซึ่งอยู่ไกลกันมาก อยู่ต่างอำเภอ และเราไม่มีเวลาว่างกัน

       5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา

 เราควรหมักให้นานกว่านี้ และให้มันดูเข้มข้นกว่านี้ และให้เห็นผลได้ชัดเจนกว่านี้