โครง งาน วิทยาศาสตร์ กระดาษ ปิดปาก แก้ว น้ำ

การทดลองเรื่อง แก้วน้ำมหัศจรรย์

อุปกรณ์

1. แก้วน้ำ 1 ใบ

2. น้ำเปล่า หรือน้ำผสมสี (ใช้สีน้ำหรือสีผสมอาหาร)

3. กระดาษแข็ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  มีขนาดใหญ่กว่าปากแก้วเล็กน้อย

วิธีการทดลอง

1. ใส่น้ำให้เต็มแก้วจนเกือบล้น 

2. ปิดปากแก้วให้สนิทด้วยกระดาษแข็ง  (ดังภาพที่ 1 ) พยายามย่าให้มีฟองอากาศระหว่างน้ำและ

    แผ่นกระดาษ

3. ใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งจับกระดาษแข็งปิดปากแก้วให้แน่น แล้วค่อย ๆ  คว่ำแก้วลง (ดังภาพที่ 2 )  เหนือ

    อ่างล้างชามหรือกะละมัง หรืออาจทำการทดลองในที่โล่งแจ้ง 

4. ปล่อยมือจากกระดาษแข็ง (ดังภาพที่3) สังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้น  น้ำหกออกมาจากแก้วหรือไม่


           จากการทดลองจะพบว่า เมื่อคว่ำแก้วลง   น้ำไม่ไหลทะลักออกมาจากแก้ว  แต่เมื่อไหร่ที่เอียงแก้วให้อากาศเข้าไปในแก้วได้  น้ำจะไหลออกมาจากแก้วทันที

โครง งาน วิทยาศาสตร์ กระดาษ ปิดปาก แก้ว น้ำ

          หลาย ๆ คนคงสงลัยแล้วว่าทำไมกระดาษแผ่นเล็ก ๆ แผ่นเดียวจึงสามารถรับน้ำหนักของน้ำได้  จริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่แผ่นกระดาษที่รับน้ำหนักของน้ำ แต่เป็นอากาศภายนอกต่างหาก เนื่องจากอากาศมีแรงดันทุกทิศทาง   อากาศจะดันรอบ ๆ แก้ว  รวมถึงดันด้านใต้แผ่นกระดาษแข็งด้วย แรงดันของอากาศที่มีต่อกระดาษแข็งนั้นมีมากกว่าแรงดันที่เกิดจากน้ำหนักของน้ำในแก้ว   

โครง งาน วิทยาศาสตร์ กระดาษ ปิดปาก แก้ว น้ำ
            กระดาษแข็งจึงปิดปากแก้วอยู่ได้โดยไม่หล่นจนกว่ามันจะเปียกน้ำ แต่เมื่อเอียงแก้วน้ำอากาศจะเข้าไปในแก้ว แรงดันของอากาศภายในแก้วรวมกับแรงดันจากน้ำหนักของน้ำจะช่วยกันทำให้ดันให้ แผ่นกระดาษหลุด น้ำในแก้วก็จะหก โดยปกติแล้ว  ตัวเราเองก็ถูกอากาศกดทับอยู่ตลอดเวลาด้วยน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร  

โครง งาน วิทยาศาสตร์ กระดาษ ปิดปาก แก้ว น้ำ



      นั่นแสดงว่าใครที่ตัวใหญ่มากก็จะถูกอากาศกดทับมากด้วย  แต่เราคุ้นเคยกับสภาพแรงดันอากาศนี้ จึงไม่รู้สึกตัวว่า กำลังถูกอากาศกดทับอยู่  แต่เมื่อไหร่ที่ขึ้นไปอยู่บนภูเขาสูง ๆ  หรืออยู่บนเครื่องบิน ที่อากาศมีแรงดันที่แตกต่างไปจากเดิม   เราจะก็รู้สึกได้  เช่นอาจเกิดอาการหูอื้อ หรือ หายใจไม่สะดวก  

โครง งาน วิทยาศาสตร์ กระดาษ ปิดปาก แก้ว น้ำ


ใบงานการทดลอง

ใบกิจกรรมการทดลอง   เรื่อง   ความดันอากาศ

คำชี้แจง     ให้นักเรียนทำการทดลองเพื่ออธิบายเกี่ยวกับแรงดันอากาศ

อุปกรณ์

  1. แก้วขนาดเล็ก 1 ใบ
  2. กระดาษแข็งขนาดใหญ่กว่าปากแก้ว
  3. น้ำเปล่า
  4. กะละมัง 1 ใบ

วิธีทำ

1. ใส่น้ำให้เต็มแก้วจนเกือบล้น 
2. ปิดปากแก้วให้สนิทด้วยกระดาษแข็งพยายามอย่าให้มีฟองอากาศระหว่างน้ำและแผ่นกระดาษ
3. ใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งจับกระดาษแข็งปิดปากแก้วให้แน่น แล้วคว่ำแก้วลงเหนือกะละมัง

4. ปล่อยมือจากกระดาษแข็ง สังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้นน้ำหกออกมาจากแก้วหรือไม่

บันทึกผลการทดลอง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

สรุปผลการทดลอง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ใบงานการทดลอง  เรื่อง  ความดันอากาศ

1.              เหตุใด  หลอดฉีดยาจึงสามารถดูดของเหลวได้

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………….

2.              เหตุใด  เราจึงสามารถดูดน้ำในแก้วเข้าสู่ปากของเราได้

………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

3.              ดรอปเปอร์ใช้หลักการในการดูดของเหลวเหมือนหรือต่างกับหลอดฉีดยา     เพราะเหตุใด

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4.              เมื่อเราคว่ำแก้วที่ใส่น้ำ  เหตุใด กระดาษที่วางอยู่บนปากแก้วจึงไม่หลุดออกจากแก้วน้ำ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

  1. 5.              เมื่อเราเอียงแก้วที่ใส่น้ำ   กระดาษที่วางอยู่บนปากแก้วจะหลุดออกจากแก้วน้ำหรือไม่  เพราะเหตุใด

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

No comments yet.