โครง งาน ต้น อ่อน ทานตะวัน อนุบาล

โครงงานจากโรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย เรื่อง "การเพาะเมล็ดทานตะวันจากดินทราย ดินผสมแกลบ และดินถุงสำเร็จรูป" ของนักเรียนชั้น อนุบาล ๓/๓ น่าจะเป็นตัวอย่างของโครงงานที่มาจากความสนใจของเด็กจริง ๆ ต้องขอขอบคุณ คุณครูอนงค์ นนลือชา ที่ "ฟัง" สังเกตและสนใจคำถามและความสงสัยของเด็ก ๆ และหนุนเสริมเติมแรงบันดาลใจจนมาเป็นโครงงานบ้านวิทย์เสริมทักษะชีวิตโครงงานนี้ (ดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ)

ภาพรวมของโครงงาน

วันหนึ่งในคาบเรียนเรื่อง "ผักแสนอร่อย" เด็กๆ สังเกตเห็นต้นกล้าอ่อนของต้นทานตะวันในจานสลัดผัก จึงเกิดความสงสัยถามครู ต่อมาเมื่อครูพาเด็กๆ ไปศึกษาเรียนรู้ในสวนเกษตรพอเพียงของโรงเรียน ซึ่งรุ่นพี่ระดับประถมศึกษากำลังเพาะต้นอ่อนทานตะวันโดยใช้ดินถุงสำเร็นรูป ทำให้เด็กๆ อยากรู้อยากเห็นอยากเพาะเมล็ดทานตะวันเอง คุณครูจึงกำหนดเอาเรื่องนี้เป็นโครงงานเชิงทดลอง (ผมเรียกว่า โครงการผลิตทดลอง) โดยกำหนดตัวแปรต้นเป็นชนิดของดินเป็นตัวแปรต้นตามความสงสัยของเด็กและเป็นชนิดของดินที่เด็กเคยเห็นผู้ปกครองใช้ปลูกผัก แล้วเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน (ตัวแปรตาม) โดยสังเกตและบันทึกผลทุกวัน ต่อเนื่องกัน ๔ สัปดาห์ โดยควบคุมปริมาณดิน ขนาดของภาชนะปลูก ปริมาณเมล็ดทานพันธุ์ ปริมาณน้ำ และแสดงแดด (ตัวแปรควบคุม) ผลการทดลองพบว่า ต้นอ่อนทานตะวันมีอัตราการงอกมากที่สุดและเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในดินสำเร็จรูป รองลงมาคือดินทราย และดินผสมแกลบตามลำดับ

ผลการประเมินตามเกณฑ์วัฏจักรนักวิทย์น้อย (ดาวน์โหลดเกณฑ์ได้ที่นี่)

ผมจะเขียนผลการประเมินเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เห็นเหตุและผลของการให้คะแนนในแต่ละข้อของเกณฑ์ประเมินตามความเห็นเมื่อพิจารณาจากหลักฐานทั้งที่ได้อ่านจากเล่มและทั้งจากที่ได้ฟังการนำเสนอเมื่อครั้งไปลงพื้นที่โรงเรียน

๑) เป็นโครงงานหรือไม่

วิธีให้คะแนนข้อนี้ เกณฑ์กำหนดให้ดูว่ามีวัฏจักรวิจัย ๖ ขั้นตอนและต่อเนื่องเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่ให้หยุดตรวจ ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ ถ้าใช่... ให้ ๑ คะแนน และหากครบกระบวนต่อเนื่องมากกว่า ๒ วงรอบ ให้ ๓ คะแนน

โครงงานนี้ผมให้คะแนน ๑ คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ถือเป็นโครงงานทดลอง มีการฝึกทักษะตามวัฏจักรนักวิทย์น้อยครบถ้วนทั้ง ๖ ขั้นตอน ๑ วงรอบ ดังนี้

  • ชี้ชวนให้สงสัย (ตั้งคำถาม) : เกิดจากความสงสัยของเด็ก และครูอ "ตั้งคำถาม" ระดมสมองกับเด็ก ๆ
  • พาให้คาดเดาคำตอบ (รวบรวมความรู้และตั้งสมมติฐาน) :ครูใช้กระบวนการให้เด็กมีส่วนร่วมในการตั้งสมมติฐานได้อย่างยอดเยี่ยมครับ การสร้างตารางไว้บนกระดาน แล้วให้เด็ก ๆ เอากระดาษสีไปแปะติดตามคำตอบที่ตนเองคาดเดา ถือเป็นวิธีปลูกฝังกระบวนการตั้งสมมติฐานได้ดีเยี่ยมครับ คุณครูท่านอื่นควรเอาไปใช้บ้าง
  • พิสูจน์ตรวจสอบคำตอบนั้น (สำรวจตรวจสอบ พิสูจน์สมมติฐาน) : เด็กได้ได้ลงมือทดลองด้วยตนเองทุกคน และต่อเนื่องยาวนานถึง ๔ สัปดาห์
  • แบ่งปัน อธิบาย (อธิบายอภิปรายผลการทดลอง) : ในการวาดภาพต้นอ่อนทานตะวัน เด็กๆ ได้ฝึกเขียนคำอธิบายกำกับด้วย และได้เล่าอธิบายต่อครูและเพื่อน
  • ระบาย บันทึก (จดบันทึกผลการทดลอง) : ทุกวันเวลา ๙.๐๐ น. ครูจะพาเด็กสังเกตการงอกและเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน แล้ววาดภาพ นับจำนวน และวัดความยาวของลองลำต้น
  • สรุปผลและนำเสนอ (สรุปการทดลองและนำเสนอ) : ครูพาเด็ก ๆ สรุป และให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำชาร์ทสรุป และให้เด็กได้นำเสนอ

สาเหตุที่ผมไม่ได้ ๓ คะแนน เนื่องจาก แม้ขั้นตอนพิสูจน์ฯ อธิบาย และบันทึก จะวนซ้ำหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นขั้นตอนของการบันทึกข้อมูลของการทดลองของตัวแปรชุดเดียวกัน หากในเทอมต่อไป เด็ก ๆ ทำโครงงานเรื่องนี้อีก โดยเปลี่ยนตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นอีก จะถือเป็นการเริ่มวงรอบที่ ๒ ครับ

๒) ที่มาของคำถามในการทำโครงงาน

เกณฑ์กำหนดว่า ถ้าเกิดจากครู ๑ คะแนน ถ้าเป็นเด็กและครูช่วยกันตั้งคำถาม ได้ ๒ คะแนน และถ้าเป็นเด็กตั้งคำถามเอง จะได้ ๓ คะแนน

ผมให้ ๓ คะแนนครับ การสังเกตความสงสัยของเด็ก ๆ แล้วนำมาขยายเป็นโครงงานแบบนี้แหละครับ ที่จะสามารถปลูกฝังความสงสัยและ "ตั้งคำถามของเด็กๆ " ได้

๓) การะบวนการในการสำรวจตรวจสอบ

เกณฑข้อนี้มี ๒ ข้อย่อย ๑) ดูที่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการสำรวจตรวจสอบ ถ้าครูคิดให้ ๑ คะแนน เด็กและครูร่วมกันให้ ๒ คะแนน และถ้าเป็นเด็กคิดให้ ๓ คะแนน

ข้อนี้ผมให้ ๒ คะแนน ชัดเจนว่าแต่ละขั้นตอนครูได้เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมในการคิดเกณฑ์

ข้อย่อย ๒) เด็กทำเองหรือไม่ ถ้าใช่!! ให้ ๓ คะแนน ถ้าเด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ ๒ คะแนน และถ้าครูพานำทำตลอด จะได้ ๑ คะแนน

ข้อนี้ผมให้ ๒ คะแนนครับ ครูตั้งคำถามนำให้เด็กได้สืบสวนความรู้เดิมของเด็ก ๆ ที่บอกว่า เคยเห็นผู้ปกครองใช้ดินแบบไหนปลูกอะไร.... ตรงนี้ถือว่ามีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการครับ

เขีนมาถึงตรงนี้ ผมนึกขึ้นได้ว่า โครงงานเรื่อง "ไข่เค็มจากไข่ชนิดใดเจ๋งที่สุด" ก็น่าจะได้คะแนนข้อนี้เช่นกัน เพราะครูก็ตั้งคำถามเช่นกันว่า จะนำไข่อะไรมาทำไข่เค็มดี ... (ขอกลับไปปรับคะแนนนครับ)

๔) การรายงานผลและการบันทึกการสำราวจตรวจสอบ

เกณฑ์บอกว่า มีการบันทึกหรือไม่? ถ้ามี ให้ดูต่อว่าสอดคล้องกับสมมติฐานหรือไม่ ถ้าใช่ ให้ ๒ คะแนน ถ้าไมสอดคล้องให้ ๑ คะแนน ถ้าไม่มีการบันทึกให้ไม่ให้คะแนน

ข้อนี้ ๒ คะแนนแน่นอนครับ

๕) การสรุปและอภิปรายผลการตรวจสอบ

ข้อย่อย ๕.๑) เกณฑ์กำหนดว่า ถ้าสิ่งที่สรุปสอดคล้องกับคำถามและผลการสำรวจให้ ๑ คะแนน ถ้าไม่ให้ ๐ คะแนน ส่วนข้อย่อย ๕.๒) ถามว่าใครเป็นนสรุปถ้าเป็นครูให้ ๐ คะแนน เด็กต้องมีส่วนร่วมในการสรุป ถึงจะได้ ๑ คะแนน

ข้อ ๕.๑) ให้ ๑ คะแนน และ ๕.๒) ให้ ๑ คะแนนครับ เด็กได้มีส่วร่วมตลอดทุกกิจกรรม

๖) การส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เกณฑ์กำหนดว่า ถ้าเด็กได้ฝึกการสังเกต การวัด การจำแนก การเปรียบเทียบการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา การคำนวณการจัดกระทำกับข้อมูลและสื่อความหมายข้อมูล การลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ ฯลฯ เหล่านี้ อย่างน้อย ๔ ทักษะขึ้นไป ให้ ๓ คะแนน ถ้า ๓ ทักษะให้ ๒ คะแนน และถ้า ๒ ทักษะให้ ๑ คะแนน

ข้อนี้ได้ไป ๓ คะแนนครับ ได้แก่ สังเกต เปรียบเทียบ การวัด การจำแนกการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และการลงความเห็นจากข้อมูล

๗ การส่งเสริมพัฒนาการหรือทักษะด้านอื่นๆ

เกณฑ์ข้อนี้ส่งเสริมการบูรณาการวัฏจักรนักวิทย์น้อยกับการฝึกทักษะด้านอื่นๆ เช่น ด้านภาษาและการสื่อสาร ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านสังคมเช่นการทำงานร่วมกัน ด้านการเคลื่อนไหวหรือฝึกร่างกายให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้แข็งแรง หรือ ด้านอารมณ์และจิตใจให้เด็ก ๆ มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ทักษะชีวิต ฯลฯ โดยกำหนดว่า ถ้ามี ๔ ด้าน ขึ้นไปให้ ๓ คะแนน ถ้ามี ๓ ด้านให้ ๒ คะแนน ถ้ามี ๒ ด้านให้ ๑ คะแนน

ข้อนี้ให้ ๓ คะแนนครับ ได้แก่ ด้านภาษาและการสื่อสาร (ครูให้เด็กๆ เขียนคำอธิบาย ฯลฯ) ด้านการเรียนรู้ ด้านการเคลื่อนไหว เพราะเด็กทุกคนได้ลุยเอง ด้านทักษะชีวิต (ผมหมายถึงฝึกให้เด็ก ๆ ปลูก สร้างสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง)

๘) ความริเริ่มสร้างสรรค์ของโครงงาน

โครงงานมีความแปลใหม่หรือไม่ถ้าคัดลอกหรือปรับเปลี่ยนโครงงานจากผู้อื่นโดยไม่ได้ทำจริง ให้ปรับตก แต่ถ้านำหัวเรื่องคนอื่นมาทำเองให้ ๑ คะแนน ถ้าครูและเด็กริเริ่มขึ้น ให้ ๒ คะแนน แต่ถ้าเป็นโครงงานที่แปลกใหม่จริงๆ ให้ ๓ คะแนน

ข้อนี้ผมให้ ๒ คะแนน ครับ

สรุปผลการประเมิน

สรุปทั้ง ๘ ข้อ โครงงานนี้ได้คะแนนรวม ๒๐ คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมิน เหมาะสมที่ได้รับตราพระราชทานครับ และเหมาะสมที่จะเป็น Best Practice ในเรื่องที่มาของโครงงานและการบันทึกข้อมูลครับ

จบเท่านี้ครับ ... สู้ครับ