ขั้นตอนการนําเข้าสินค้า ทางเรือ

การเลือกวิธีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ นำเข้าสินค้า ส่งออกสินค้า

การ นำเข้าสินค้า หรือ ส่งออกสินค้า ผู้นำเข้า หรือ ผู้ส่งออกจะต้องทำการประเมินสินค้าของตนเองก่อนว่า สินค้านั้นๆเหมาะที่จะขนส่งโดยวิธีใด ถ้าสินค้ามีอายุการใช้ สินค้าเร่งรีบ ก็ควรส่งสินค้าผ่านทางเครื่องบิน (Air Freight) หรือ สินค้ามีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ไม่ใช่สินค้าเร่งรีบ ก็สามารถส่งสินค้าผ่านทางเรือ (Sea Freight) เมื่อเลือกวิธีการขนส่งสินค้าได้แล้วก็ ติดต่อเรา วี-เฟรนด์ บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เป็นผู้ช่วยให้การขนส่งสินค้าของคุณนั้นเป็นเรื่องง่าย โดยผู้นำเข้า หรือ ผู้ส่งออกเพียงแค่จัดเตรียมข้อมูลของสินค้าและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ส่งมอบให้เรา วี-เฟรนด์เป็นบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า เพื่อดำเนินขั้นตอนการขนส่งสินค้าต่อไป สำหรับผู้ส่งออกเป็นครั้งแรกต้องลงทะเบียนกับทางกรมศุลกากร  วี-เฟรนด์สามารถให้คำปรึกษากับคุณได้ ทุกปัญหาๆปล่อยให้เราจัดการ เราจะทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่ายๆสำหรับคุณ บริษัทวี-เฟรนด์ โลจิสติกส์ จำกัด เป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ Sea Freight เป็นบริการแบบ Door to Port Service ให้บริการรับสินค้าถึงหน้าบ้านท่าน​ บริการนำเข้าสินค้า บริการส่งออกสินค้า  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมผ่านพิธีการศุลกากรด้วยรูปแบบการบริการที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาประหยัด  รับนำเข้าส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ รับนำเข้าสินค้าจากเกาหลี, ยุโรป, เยอรมัน, สเปน, อิตาลี, ออสเตรีย, อเมริกา, แคนาดา, เม็กซิโก, รัสเซีย, จีน, เกาหลี, ไต้หวัน, ฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, เกาหลีใต้

ขั้นตอนการขนส่งสินค้าทางเรือ(Sea Freight)

  • ผู้นำเข้าหรือส่งออก ตรวจสอบสินค้า
  • ติดต่อบริษัทตัวแทนขนส่ง
  • นัดสถานที่รับสินค้าและจัดเตรียมเอกสาร
  • จัดส่งสินค้าและรับเอกสาร B/L

เอกสารสำคัญที่ใช้ในการนำเข้า-ส่งออก​(Sea Freight)

  • ใบขนสินค้า
  • ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading)
  • บัญชีราคาสินค้า (Comercial Invoice)
  • บัญชีบรรจุหีบห่อ (Packing  List)

วิธีการคำนวณน้ำหนักสินค้าทางเรือ​(Sea Freight)

  • ขนส่งสินค้าโดยระบบตู้คอนเทนเนอร์ 
  • FCL คิดค่าระวางตามจำนวนตู้ 
  • LCL คิดค่าระวางตามลูกบาศก์เมตร(CMB)หรือน้ำปริมาตร (Weight Ton)

​                       

กว้าง x ยาว x สูง (ซ.ม.)

        
                                1,000,000

ขั้นตอนการนําเข้าสินค้า ทางเรือ

ระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Import)
เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการนำเข้ากับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าที่นำเข้า การส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร
หลังจากสินค้า มาถึงท่าและได้ชำระภาษีอากรเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบในการเตรียมสินค้าเพื่อการตรวจสอบ และปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร นอกจากนี้ในบางกรณี
ผู้นำเข้ายังต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้าสำหรับสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า สินค้าบางรายการต้องได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการนำเข้าสินค้า
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อนำเข้าประกอบด้วย
1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Declaration)
2. ใบตราส่งสินค้า (B/L)
3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)
6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) กรณีขอลดหรือยกเว้นอัตราอากรขาเข้า
7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น

ขั้นตอนการนําเข้าสินค้า ทางเรือ

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการ
ภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารที่เป็น
กระดาษ เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดโอนถ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้นำเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรด้วยระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้า สินค้ามี 4 ขั้นตอนดังนี้


1. การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : ขั้นตอนแรกของพิธีการนำเข้าคือการสำแดงข้อมูลการนำเข้าและส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากร ให้บริษัทหรือตัวแทนออกของส่งข้อมูลเรือเข้า บัญชีรายการสินค้าและบัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบกลับไปยังบริษัทหรือตัวแทนนั้นๆ เมื่อสินค้ามาถึงท่าหรือสถานที่นำเข้า ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
2. การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : ขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้นำเข้ายื่นมา ในขั้นนี้ระบบของกรมฯจะแยกใบขนสินค้าเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนฯให้ตรวจ และใบขนฯยกเว้นการตรวจ ผู้นำเข้าสามารถดำเนินการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้ทันที หากใบขนฯของตนเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจ
3. การชำระภาษีอากรขาเข้า : ขั้นตอนที่ 3 คือการชำระภาษีอากรและการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบัน สามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร   ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  และชำระที่ธนาคาร
4. การตรวจและการปล่อยสินค้า : ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้ายื่นใบขนฯ กับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อการปล่อยสินค้าในขั้นนี้ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบ ความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจหากเป็นใบขนฯ ยกเว้นการตรวจ จะใช้เวลาน้อยมาก หลังจากนั้นสถานะชองการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปทั้งที่ท่าเรือและที่ผู้นำเข้าหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการ ท่าเรือจะเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

กรณีที่ท่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสอบถามปัญหาของการนำเข้าและส่งออกสินค้า สามารถติดต่อสอบถาม 
รายละเอียดได้ที่ โทร.063-2215554 Email :  เรา
ยินดีที่จะให้คำปรึกษาบริการตอบปัญหาต่างๆโดยผู้ชำนาญการด้วยความเต็มใจ.

ขั้นตอนการส่งสินค้าทางเรือมีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางเรือ สำหรับผู้เริ่มต้น.
1. สินค้าถูกผลิตออกจากโรงงาน ... .
2. ส่งBooking มายัง Forwarder. ... .
3. Forwarder เตรียมการจัดส่งสินค้า ... .
4. ตรวจสอบรายละเอียดเอกสารให้ครบถ้วน ... .
5. รถหัวลากไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ... .
6. ตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของลูกค้า ... .
7. เมื่อสินค้าถึงที่ท่าเรือ ... .
8. พื้นที่บนเรือ.

กระบวนการนำเข้าสินค้ามีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศ.
ข้อมูลเรือเข้า.
ใบตราส่งสินค้า.
บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ.
บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ.
เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุก ผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น.
ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นใด กรณีสินค้านําเข้าเป็นของต้องจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.

ขั้นตอนการส่งออกสินค้ามีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการส่งออกสินค้า EXPORT.
1. การจัดการ ผู้ส่งออกจะต้องมีความพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจส่งออกในด้านต่างๆ ดังนี้ ... .
2. การเลือกสินค้าและการผลิต ... .
3. การเลือกตลาด ... .
4. การทำสัญญาซื้อขาย (Sale Contract) ... .
5. การชำระเงิน (Term of Payment) ... .
6. พิธีการส่งออก.

ขั้นตอนใดเป็น ขั้นตอนสุดท้าย ของการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางเรือ

ตอนนี้ขั้นตอนสุดท้ายคือ ผู้ซื้อ(Consignee) ทำการรับสินค้า ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจขนส่งสินค้าครับ ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะรับมอบสินค้า ผู้ซื้อที่ดีควรจะตรวจดูความเรียบร้อยของสินค้าก่อนทำการรับมอบทุกครั้งด้วยนะครับ