หลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ศาสนาอิสลาม

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาหลักการปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาอื่นระหว่างผู้นับถือศาสนาอื่นระหว่างผู้นับถือพระพุทธศาสนาและผู้นับถือศาสนาอิสลาม โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิคือคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อัลกุรอานเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนต่อผู้นับถือศาสนาอื่นตามคำสอนของพระพุทธศาสนา และศาสนาอิสลาม ผลจากการวิจัยได้ข้อสรุป ดังนี้

    พื้นฐานทางสังคมดังเดิมก่อนการอุบัติของทั้ง 2 ศาสนามีลักษณะที่คล้ายกันคือในสังคมมีศาสนาดั้งเดิมอยู่ก่อนและมีความเชื่อที่หลากหลาย รวมทั้งศิลธรรมเสื่อมโทรมและเกิดความวุ่นวายในสังคม เมื่อทั้ง 2 ศาสนาประกาศคำสอนต่างก็ใช้หลักเหตุผลและกฏแห่งศิลธรรมตามสากลนิยม อีกทั้งในเสรีภาพในการนับถือศาสนามิได้มีการบังคับจึงมีผู้เปลี่ยนศาสนามานับถือจำนวนมาก

     การปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาอื่นทั้ง 2 ศาสนาสอนให้มีความยุติธรรม รู้จักให้เกียรติ ไม่รุกรานเบียดเบียนผู้อื่นรวมทั้งให้การยอมรับศาสนาอื่น สำหรับกรณีที่เกิดความขัดแย้งกับบุคคลต่างศาสนา พระพุทธศาสนาสอนให้มีสติ หยุดความโกรธ ใช้เหตุผลทำความเข้าใจและใช้การเจรจาเพื่ออธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ แม้กระทั่งความขัดแย้งรุนแรงที่จะนำพาให้เกิดการทำลายชีวิตก็ให้มีสติสงบระงับเพราะเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ให้รู้จักเอาชนะจิตใจตนเองมากกว่าการเอาชนะผู้อื่น สำหรับศาสนาอิสลามสอนให้ทำดีมีความยุติธรรม ไม่ทำร้ายผู้ที่ไม่เบียดเบียนและอนุญาตให้ทำการรบกับผู้ที่รุกรานด้วยความยุติธรรม แต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งยุติการรบก็ให้ถือว่าไม่เป็นศัตรูกัน ที่สำคัญคือผู้ใดที่รู้จักให้อภัยและทำดีพระเจ้าย่อมให้รางวัล

     การวิจัยนี้พบว่า ถ้าบุคคลศึกษาศาสนาและมีความรู้ในคำสอนทางศาสนาที่ถูกต้องย่อมไม่มีการแบ่งแยกเรื่องดินแดน เชื้อชาติ วัฒนธรรม แม้กระทั่งในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม ผู้เป็นศาสนิกชนก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ ดังนั้นผู้เป็นศาสนิกชนที่ดีจึงจำเป็นต้องร่วมมือส่งเสริม สนับสนุนแบ่งปันความรู้และประสบการณ์แก่กันและกัน เพื่อสันติภาพและความสุขที่แท้จริงของมนุษยชาติ ที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือระหว่างศาสนาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสันติภาพของสังคม

หลักธรรมในศาสนาอิสลาม

3 ธ.ค.

หลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ศาสนาอิสลาม

หลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลาม  เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้า (อัลเลาะห์หรืออัลลอฮ.)  ในทุกสถานภาพของเขาจะลำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าเสมอ  เพราะพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้นำทางในการดำรงชีวิตทุกด้าน  แก่มนุษย์ทุกคนโดยไม่มีการยกเว้น  ศาสนาอิสลามแบ่งคำสอนออกเป็น ๓ หมวดดังนี้

๑.ศรัทธา มี ๖ ประการ คือ

๑. ศรัทธาในพระองค์เดียว คือ อัลลอฮ

๒. ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮของพระองค์ มลาอีกะห์  หรือเทวทูตผู้รับใช้พระเจ้า

๓. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์

๔. ศรัทธาในบรรดารอซูหรือศาสนทูต  ที่พระเจ้าได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์  หนึ่งในนั้นคือ ท่านนบีมูฮัมมัด  ศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาอิสลาม

๕. ศรัทธาในวันสุดท้ายและการเกิดใหม่ในวันปรโลก

๖. ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะของพระองค์

๒.หลักจริยธรรม

ศาสนาอิสลามสอนว่า  ในการดำเนินชีวิต  จงเลือกสรรเฉพาะสิ่งที่ดีอันเป็นที่ยอมรับของสังคม  จงทำตนให้เป็นผู้ดำรงอยู่ในศีลธรรม  พัฒนาตนเองไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดี  เป็นคนที่รู้จักหน้าที่  ห่วงใย  มีเมตตา  มีความรัก  ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  รู้จักปกป้องสิทธิของตนไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  เป็นผู้มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว  และหมั่นใฝ่หาความรู้  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรม  ซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดอยู่ที่ความยุติธรรม

๓.หลักปฏิบัติ ๕ ประการ

๑.การปฏิญานตนต่อพระเจ้า

๒.การละหมาด

๓.การถือศีลอด

๔.การบริจาคซะกาต

๕.การประกอบพิธีฮัจญ์

ป้ายกำกับ:ศาสนาอิสลาม

การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามหลักธรรมของศาสนาในสังคมโลก

         ในปัจจุบันปัญหาความรุนแรงกำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งปัญหานี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งนำไปสู่การทำลายล้างกันเกิดขึ้น โดยมีความพยายามที่จะนำเอาศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกระทำของตนอีกด้วย เช่น ความรุนแรงในอินเดียระหว่างศาสนาอิสลามกับฮินดู ความรุนแรงในอิรักระหว่างศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ กับนิกายชุนนี หรือความพยายามจะนำศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อกับความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับกลุ่มอัลเคดา เป็นต้น

          การที่จะลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ได้ ทุกคนในสังคมโลกต้องปฏิบัติตนตามแนวทางคุณธรรมในศาสนาที่ตนนับถือพระพุทธศาสนา สอนหลักธรรมเรื่องไตรลักษณ์ คือ กฎธรรมชาติ 3 ป ระการ ซึ่งเกิดแก่ทุกคนและทุกสิ่งเป็นธรรมดาเหมือนกัน ได้แก่ อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทุกข์) และอนัตตา (ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง) ความเข้าใจในหลักธรรมนี้จะทำให้คนตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท มีการปล่อยวางไม่เห็นแก่ตัว สอนหลักธรรมอริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐประกอบด้วย ทุกข์ (ปัญหาต่าง ๆ) สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา) นิโรธ (การแก้ปัญหา) และมรรค (ทางปฏิบัติเพื่อให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหา) ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 จะทำให้บุคคลแก้ปัญหาอย่างสันติ แก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นต้น

     ศาสนาอิสลาม สอนหลักธรรมเรื่องการบริจาคทาน (ชะกาต) เพื่อการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือสังคม การถือศีลอดในเดือนเราะมะเพื่อฝึกฝนความอดทนและความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งคำสอนในศาสนาอิสลามประกอบด้วยศรัทธาที่เรียบง่าย มีเหตุมีผล สอนให้มนุษย์ชำระล้างจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ รักสันติสุข มีเมตตาต่อกัน เป็นต้น

     ศาสนาคริสต์ สอนหลักธรรมเรื่องหลักบัญญัติ 10 ป ระการ เช่น สอนให้นับถือบิดามารดา อย่าฆ่าคน อย่างล่วงประเวณี อย่าคิดโลภ เป็นต้น สอนเรื่องหลักความรัก เช่น จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเราเอง เป็นต้น ศาสนาคริสต์สอนให้บุคคลมีจิตสำนึกอันบริสุทธิ์หลีกเลี่ยงอบายมุขไม่ทำบาป ไม่โกรธ และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นต้น

     ศาสนาฮินดู สอนหลักธรรมเรื่องอาศรม 4 เพื่อเป็นแนวทางดำเนินชีวิต ได้แก่ พรหมจารี (การศึกษาและแสวงหาความรู้) คฤหัสถ์ (หลักการครองเรือน) วานปรัสถ์ (การศึกษา สันยาสี (การออกบวชเพื่อหลุดพ้น) ศาสนาฮินดูสอนให้รักสันติภาพไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทำร้ายกัน ให้กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อมนุษย์ เป็นต้น

     ศาสนาสิกข์ สอนหลักธรรมเรื่องวิญญาณเป็นอมตะนิรันดร ถ้าบุคคลใดต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์และไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก ก็ต้องชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ และสอนว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกัน เป็นต้น

     จะเห็นว่าศาสนาทุกศาสนามีหลักคำสอนที่เป็นแนวเดียวกันคือ ต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี ทำแต่สิ่งดีงาม แสวงหาสันติสุข รักความสงบ ดังนั้นไม่ว่าใครจะนับถือศาสนาใดก็ตามสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข