สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

        การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์

        สมัยก่อนประวัติศาสตร์  หมายถึง  ระยะเวลาในอดีตที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  เนื่องจากเป็นสมัยที่ยังไม่พบหลักฐานเป็นตัวหนังสือ หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์แบ่งย่อยเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. โบราณสถาน ได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัย เช่น ถ้ำ เพิงผาหิน เป็นดินใกล้แหล่งน้ำ
2. โบราณวัตถุ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะหยาบ เครื่องมือหินขัด เครื่องสำริดและเหล็ก เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดที่ทำด้วยดินเผาและหินสี เปลือกหอย โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์
3. โบราณศิลปกรรม ได้แก่ ภาพเขียนสีและภาพจำหลัก ซึ่งล้วนแล้วได้ทำขึ้นบนผนังถ้ำหรือเพิงผา

        การแบ่งยุคของสมัยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
        
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
 
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

ภาพโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี

ที่มาภาพ  ประวัติศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์ กรมวิชาการ. หน้า 8.

        การแบ่งยุคของสมัยก่อนประวัติศาสตร์
        การศึกษาค้นคว้า  เรื่องราวเกี่ยวกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือใช้ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งตามชนิดของวัสดุและวิธีการนำวัสดุมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ ได้แก่

  1. ยุคหิน
  2. ยุคโลหะ

        1. ยุคหินเป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
    
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

ประกอบชิ้นส่วนของกะโหลกมนุษย์ปักกิ่ง    ภาพสันนิษฐานของมนุษย์ปักกิ่ง
           ที่มาภาพ  ที่มาภาพ  http://image.dek-d.com/ 22/1107251/102204911

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

ภาพขวานหินกะเทาะยุดหินเก่าอายุ 4000-10,000 ปี
พบที่ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนาบุรี

ที่มาภาพ  กรมวิชาการ ศธ, ลพบุรี

        มนุษย์สมัยหินเก่านำหินกรวด

        1.1 ยุคหินเก่า มีอายุระหว่าง 500,000 – 10,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในหินเก่า ยังเป็น พวกเร่รอน ไม่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผาพึ่งธรรมชาติ ใช้หินเป็นอาวุธในการล่าสัตว์ เก็บเผือก มัน และผลไม้เป็นอาหาร ใช้รากไม้ หรือใบไม้รักษาการเจ็บป่วย ยังไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์ และการทำเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินกะเทาะหยาบด้านเดียว โดย ดร. แวน ฮิกเกอร์แรน ชาวฮอลันดา ขณะเป็นเชลยศึกญี่ปุ่นก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะที่จังหวัดกาญจนบุรี  ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ขุดพบเครื่องมือหินกะเทาะ  บริเวณใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า  (ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 35 กิโลเมตร) จากการตรวจสอบหลักฐานพบว่าเครื่องมือหินกะเทาะหยาบเหล่านี้มีมานานแล้ว แต่ไม่พบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินเก่าในดินแดนประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่ามนุษย์ยุคหินเก่ามีรูปร่างอย่างไร  การสันนิษฐานต้องอาศัยการเทียบเคียงรูปร่างของมนุษย์ยุคหินเก่าที่ขุดพบโครง กระดูกในประเทศจีน ได้แก่ มนุษย์ปักกิ่ง และที่เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ มนุษย์ชวา นอกจากจะพบเครื่องมือหินเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังพบในบริเวณอื่นๆ เช่นพบที่ภูเขาถ้ำหินปูน จังหวัดเชียงใหม่ และดอยถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
 

รูปปั้นจำลองวิถีชีวิตชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า
  ที่มาภาพ  http://61.19.236.136/tourist2009images/71/ 71-737/DSCF0114.jpg
  รูปปั้นจำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่อาศัยถ้ำและเพิงผาเป็นที่อยู่อาศัยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า
  ที่มาภาพ  http://www.muangkantoday.comimages/bankao.gif

        1.2 ยุคหินกลาง มีอายุระหว่าง 10,000 – 7,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคหินกลางยังคงอาศัย    อยู่ตามถ้ำและเพิงผาใกล้ลำธาร รู้จักปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินให้มีความประณีต มากขึ้น โดยมีการกะเทาะคมทั้ง 2 ด้าน มีการนำกระดูกสัตว์ และเปลือกหอยมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ นอกจากนั้นยังได้มีการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาอย่างง่ายเป็นหม้อ หม้อน้ำ และชาม ผลจากการขุดค้นสำรวจของดร.เชตเตอร์  เกอร์แมน (Chester Gorman) นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้เคยสำรวจที่ถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบหลักฐานของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 1,200 ปี  ซึ่งจัดเป็นพวกเดียวกับวัฒนธรรมหันบินห์หรือฮัอบินเหียนในเวียดนาม  พบกระดูกของกวางป่า แมวป่า กระรอก ปู ปลา หอย  พบเมล็ดพืชหลายชนิด เช่น หมาก น้ำเต้า ถั่ว นอกจากนั้นที่บริเวณถ้ำผาชัน และถ้ำบุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เกอร์แมนได้พบหลักฐานของมนุษย์อายุราว 7,000 – 4,000 ปี พบโลงศพทำด้วยไม้คล้ายเรือขุดจากต้นซุง ลูกปัดและหม้อดินเผา ซากพืช เช่น ข้าวหมาก พลู พริกไทย กระดูกสัตว์ เช่น แรด หมูป่า กวาง วัวป่า
 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

  เครื่องมือหินกะเทาะยุคหินกลาง
ที่มาภาพ  http://2.bp.blogspot.com/_t8dZJ1ykJqk/Sgto3CZ0C0I/AAAAAAAACK4/JL2Xx6n0R54/s400/300px-
Acheuleanhandaxe.jpg 

        1.3 ยุคหินใหม่  มีอายุระหว่าง 7,000 – 5,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคหินใหม่พึ่งธรรมชาติน้อยลง รู้จักสร้างบ้านเรือนอยู่ริมน้ำหรือที่มีน้ำท่วมไม่ถึง รู้จักการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก ทอผ้า รู้จักการทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินที่ได้มีการพัฒนาขึ้น โดยการขัดให้เรียบ เรียกว่า ขวานหินขัดหรือขวานฟ้า ที่มีความคม ชัดเจน และยังรู้จักการนำหิน เปลือกหอย มาทำเครื่องประดับ เช่น ลูกปัด แหวน กำไลหิน มีการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะขัดมันสีดำ มีทั้งแบบผิวเรียบและลวดลาย โดยใช้เชือกทาบทำลวดลาย  มีทั้งชนิดสามขา และชนิดไม่มีขาและรู้จักวาดภาพตามผนังถ้ำ  ซึ่งได้มี การขุดพบที่บ้านเก่าและที่ถ้ำพระ จังหวัดกาญจนบุรี ที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี1 นอกจากนั้นยังมีประเพณีการฝังศพคนตาย  เมื่อมีคนตาย ญาติจะนำศพไปฝัง  ในหลุมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ใส่โลง จัดศพให้นอนท่าหงาย แขนทั้งสองข้างแนบกับร่าง มีการฝังศพโดยหันศีรษะไปทางทิศต่างๆ แต่ไม่พอ โครงกระดูกใดหันศีรษะไปทางทิศตะวันตกโดยวางเครื่องปั้นดินเผาไว้เหนือศีรษะ ปลายเท้าเหนือเข่า และยังใส่เครื่องใช้และเครื่องประดับลงไปในหลุมด้วย

1

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
 
เครื่องปั้นดินเผา ภาชนะเก็บอาหาร
ที่มาภาพ  http://human.tru.ac.th/elearning/local/global01images/pic/new_stone02.jpg

        2. ยุคโลหะ เริ่มต้นเมื่อประมาณระหว่าง 6,000 – 2,800 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคโลหะรู้จักพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ โดยการนำโลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน ยุคโลหะแบ่งออกเป็น 2 ยุค ดังนี้

2.1  ยุคสำริด มนุษย์ในยุคสำริดมีความรู้ทางเทคโนโลยี โดยรู้จักนำทองแดงและดีบุกมาหลอมผสมเป็นสำริด ประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หอใบหอก ขวาน กำไล เบ็ด และกลองมโหระทึก

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

กลองมโหระทึกที่มนุษย์ยุคสำริดประดิษฐ์ขึ้น
ที่มาภาพ  http://janghuman.files.wordpress.com/2008/08/dsc03797.jpg

2.2 ยุคเหล็ก มนุษย์ในยุคเหล็กมีวิวัฒนาการสูงขึ้น รู้จักการถลุงเหล็ก เพื่อนำโลหะเหล็กมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด เครื่องใช้ที่มนุษย์ยุคเหล็กประดิษฐ์ขึ้น เช่น หอก ใบหอก ขวาน มนุษย์ในยุคเหล็ก พึ่งธรรมชาติน้อยลง รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่ม สร้างบ้านเรือน โดยรู้จักการพัฒนาขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นลวดลายหลายสี และรู้จักการทำเครื่องประดับ เช่น กำไล แหวน ลูกปัด ที่มีความประณีตงดงาม บริเวณที่มีการขุดพบร่องรอยของมนุษย์ในยุคโลหะ ได้แก่ ที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน
 

เครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ในยุคเหล็กได้ประดิษฐ์ขึ้น
ที่มาภาพ  http://e-learning.mae-ai.ac.th/courses/53/Bronzeage.jpg

        แหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่บริเวณบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้มากมาย โดยเฉพาะภาชนะดินเผาที่มีความสวยงาม ประณีต เขียนสีเป็นลวดลายงดงาม ได้แก่ ลายก้นหอย ลายรูปสัตว์ ลายเส้นโค้ง และลายรูปเรขาคณิต น่าจะทำไว้สำหรับใช้ในพิธีฝังศพโดยเฉพาะพบใบหอกทำด้วยเหล็กด้ามหุ้มสำริด สันนิษฐานว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งอารยธรรมในดินแดนประเทศไทยและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ นอกจากนั้น มนุษย์ยุคโลหะรู้จักการทอผ้าไหม ใช้แล้วมีหลักฐานจากใยไหมที่พบที่โครงกระดูกมนุษย์ที่บ้านเชียงและรู้จักการปลูกข้าว โดยใช้ระบบชลประทานแทนการทำไร่เลื่อนลอย มีการใช้ควายในการไถนา

        นอกจากนั้นที่บ้านเชียง ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก ประเพณีการฝังศพจึงนับเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของบ้านเชียงก่อนที่จะนำศพไปฝัง จะแต่งตัวให้กับผู้ตายและใส่เครื่องประดับ ลักษณะของศพฝังสมัยปลายของบ้านเชียงในลักษณะท่านอนเหยียดยาว แล้ววางภาชนะดินเผาทับไว้บนศพ  ส่วนภาชนะดินเผาช่วงต้นของสมัยปลายจะเป็นการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีนวล  ต่อมาในช่วงกลางสมัยเริ่มมีภาชนะดินเผาเขียนลายสีแดงบนสีแดง ถัดมาในช่วงสุดท้ายของสมัยเริ่มมีภาชนะดินเผาชนิดฉาบผิวนอกด้วยน้ำโคลนสี แดง  แล้วขัดมัน

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

ไหเขียนสีบ้านเชียงจัดแสดงไว้ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
ที่มาภาพ  อุดรธานี กำเนิดยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอารยธรรม. หน้า 185.

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

พิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง บ้านเชียงที่วัดโพธิ์ศรีใน
แสดงหลุมฝังศพที่มีภาชนะดินเผาลายเชียงสี วางบนศพ

ที่มาภาพ  อุดรธานี กำเนิดยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอารยธรรม. หน้า 184.

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน

กำไลสำริดหล่อมีเศษสิ่งทอตัดอยู่ พบในหลุมศพที่บ้านเชียง
มีอายุประมาณ
3,000 ปี แสดงว่าคนยุคนี้ทอผ้าเป็นแล้ว

ที่มาภาพ  ประวัติศาสตร์ของแผ่นดินไย. หน้า 30.

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit02_02.html