การเปลี่ยนแปลงประชากร หมายถึง

คุณอยู่ที่นี่

  • หน้าแรก
  • การทำงานของเรา
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และการปันผลทางประชากร

ประเทศไทยเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรศาสตร์ครั้งสำคัญ คือ มีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำและประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็ว UNFPA ประเทศไทยสนับสนุนการพัฒนานโยบายประชากรแบบใหม่ที่เน้นการคาดการณ์และจัดการผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงนี้ นอกจากการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัยแล้ว UNFPA ประเทศไทยยังทำงานร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการพัฒนาบัญชีกระแสการโอนประชาชาติ (NTA) เพื่อสร้างความเข้าใจทางเศรษฐกิจและเพื่อเตรียมประเทศให้พร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มที่ ณ พ.ศ. 2563 ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีกระแสการโอนประชาชาติได้ ที่นี่

หน้า

1. ภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมและชีวภาพที่มีผลต่อการเกิดของประชากร แต่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับปัจจัยทางชีวภาพมากกว่า โดยจะศึกษาถึงอัตราการเจริญพันธุ์จากสตรีในช่วงอายุ 14-44 ปี หรือ 15-49 ปี

อัตราเกิด (Birth rate) หรืออัตราเกิดอย่าง คราว ๆ (Crude birth rate) หมายถึง จำนวน คนเกิดในเขตพื้นที่หนึ่งหรือในกลุ่ม ประชากรหนึ่ง ในเวลา 1 ปี ต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งมีสูตรดังนี้

จำนวนเด็กเกิดที่มีชีวิตอยู่ในปีนั้น x1,000คน/จำนวนประชากรกลางปี (หรือเฉลี่ย)

การตาย (Mortality)

อัตราตาย (Death rate) หรือ อัตราการ ตายอย่างคราว ๆ (Crude death rate) หมายถึง จำนวนคนตายในเขตพื้นที่หนึ่ง หรือในกลุ่มประชากรหนึ่งในเวลา 1 ปี ต่อ ประชากร 1,000 คน ซึ่งมีสูตรดังนี้

จำนวนคนตายทั้งหมดใน1ปี x1,000 คน/จำนวนประชากรกลางปี(หรือเฉลี่ย)

อัตราการตายของเด็กเกิดใหม่ (Neonatal mortality rate) หมายถึง อัตราการตายของ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือน

อัตราการตายของทารก (Infant mortality rate) หมายถึง อัตราการตายของเด็กที่มี อายุน้อยกว่า 1 ปี

ระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ (Life expectancy) หมายถึง อายุโดยเฉลี่ยของประชากรที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่

อายุขัย (Life span) หมายถึง อายุสูงสุดของ ประชากรที่มีชีวิตอยู่

การย้ายถิ่น (Migration)

การย้ายถิ่น หมายถึง การเคลื่อนย้ายทางประชากรจากพื้นที่หนึ่งไปอยู่ยังอีกพื้นที่หนึ่ง

ประเภทของการย้ายถิ่น1. ย้ายถิ่นเข้า (Immigration)2. ย้ายถิ่นออก (Emigration)3. การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (International migration)4. การย้ายถิ่นภายในประเทศ (Internal migration)สาเหตุของการย้ายถิ่น1. ปัจจัยผลัก(Push factors)

-ด้านเศรษฐกิจ เช่น การว่างงาน ค่าครองชีพ

-ด้านสังคมวิทยา เช่น คุณภาพชีวิต ปัญหาอาชญากรรม ความหนาแน่นของประชากร

-ด้านคุณภาพของการบริการทางสังคม เช่น การศึกษา

2. ปัจจัยดึง(Pull factors)

-ด้านเศรษฐกิจ เช่น มีที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น ความสะดวกในด้านการศึกษาหาความรู้

-ด้านกายภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศดี

องค์ประกอบของการย้ายถิ่น

อาร์. พี. เชาว์ (R. P. Shaw) ได้เสนอว่า การย้ายถิ่นจะมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ดังนี้ (อ้างใน King and Golledge, 1978 : 258-259)

1.การย้ายถิ่นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอายุกล่าว คือ สัดส่วนของการย้ายถิ่นจะลดลงเมื่อประชากรมีอายุเพิ่มขึ้น ช่วงอายุที่มีการย้ายถิ่นมากจะอยู่ระหว่าง 20-29 ปี

2.เพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนของการย้ายถิ่นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

3.ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการย้ายถิ่นคือ คนที่มีการศึกษามากจะมีการย้ายถิ่นมาก

4.กลุ่มอาชีพนักบริหารและผู้เชี่ยวชาญ จะมีการย้ายถิ่นมากกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ และกลุ่มอาชีพแรงงานที่มีฝีมือ จะมีการย้ายถิ่นในระยะทางที่ไกลกว่ากลุ่มอาชีพอื่น

5.คนที่อาศัยอยู่บ้านเช่า จะมีการย้ายถิ่นมากกว่าคนที่มีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง

6.การเคลื่อนที่ในการย้ายถิ่นมีความสัมพันธ์กับตัวแปรด้านอาชีพมากกว่าตัวแปรด้านวงจรชีวิต(Life-cycle)

7.ระยะทางเป็นปัจจัยต่อต้านการย้ายถิ่น แต่โดยทั่วไปคนจะมีการย้ายถิ่นไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 แห่งเป็นต้นไป มากกว่าจะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

8.การย้ายถิ่นของประชากรมักจะเป็นการย้ายถิ่นจากเมืองเล็ก ๆ ไปเมืองที่ใหญ่กว่าหรือจากใจกลางเมืองออกไปอยู่ยังชานเมือง

9.การพัฒนาทางสังคมจากสังคมชนบทที่มีพื้นฐานทางเกษตรกรรมไปเป็นสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อันเป็นผลทำให้เกิดความแตกต่างเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ และการไม่มีงานทำ ระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ จะมีอิทธิพลทำให้เกิดการย้ายถิ่น

10.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการเกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วของศูนย์กลางเมืองจะเป็นผลทำให้เกิดการย้ายถิ่นเป็นอย่างมากระหว่างชนบทกับเมือง

11.การตัดสินใจของแต่ละบุคคลในการย้ายถิ่นจะได้รับอิทธิพลมาจากอาชีพ และเศรษฐกิจ

12.การย้ายถิ่นจะมีความสัมพันธ์กับการย้ายงาน การเปลี่ยนอาชีพ การย้ายสถานศึกษา

13.การย้ายถิ่นจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยดึงที่ทำให้เกิดรายได้ที่สูงขึ้นในที่แห่งใหม่มากกว่าปัจจัยผลักที่คาดว่าจะมีรายได้ลดลงในการทำงานในที่แห่งเดิม

14.คนที่ไม่มีงานทำจะมีการย้ายถิ่นมากกว่าผู้ที่มีงานทำ

15.การย้ายถิ่นระหว่างพื้นที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา

16.การย้ายถิ่นไม่สามารถนำไปอธิบายพฤติกรรมของบุคคลอย่างมีเหตุผลว่า เป็นการแสวงหาผลตอบแทนสูงสุด มากกว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องใช้

17.ผู้ย้ายถิ่นที่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนที่เกิดจากการย้ายถิ่น จะมีความสัมพันธ์กับการศึกษาและข่าวสารที่เขาจะได้รับจากที่แห่งใหม่ที่เขาจะย้ายเข้าไปอยู่

18.หากบุคคลมีสภาพความเป็นอยู่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามที่เขาคาดหวังไว้ เขาเหล่านั้นก็จะย้ายถิ่นไปอยู่ในที่แหล่งใหม่

19.การย้ายถิ่นของคนสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ คือ กลุ่มที่ย้ายถิ่นเป็นประจำกลุ่มที่ย้ายถิ่นปานกลาง และกลุ่มที่ย้ายถิ่นน้อยหรือไม่ย้ายถิ่นเลย

20.บุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จะมีแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นออกไปอยู่ที่อื่นน้อยกว่าบุคคลอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นในระยะสั้น ๆ

หน้า[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ความหมายของประชากร
  • แหล่งของข้อมูลประชากร
  • องค์ประกอบของประชากร
  • องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร
  • การเพิ่มและลดของประชากร
  • ประวัติศาสตร์และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของประชากร
  • การวางแผนประชากร
  • ความรู้เรื่องประชากรและชุมชนเมือง
  • ประเภทของชุมชน
  • ชานเมือง
  • ความเป็นเมือง
  • วัฒนธรรมและชีวิตในเมือง

การเปลี่ยนแปลงของประชากรมีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงประชากร (Population Change).
1. การเกิดหรือภาวะเจริญพันธุ์.
2. การตาย.
3. การย้ายถิ่น.
1.อายุแรกสมรส.
2. ระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน.
3. ความพอใจในบุตรที่เป็นเพศชาย.
4. ที่อยู่อาศัยที่อยู่ในเมืองและชนบท.
5. การเข้าร่วมแรงงานและประเภทอาชีพของสตรี.

การเปลี่ยนแปลงประชากรเกิดจากอะไร

การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดจากปัจจัยหลักเพียง 2 ประการคือ การเกิด และการตาย ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของประชากรในภูมิภาคย่อยๆ เช่น ทวีป หรือประเทศ ที่มีปัจจัยหลัก นอกจากการเกิด และการตายแล้ว ยังมีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

การเปลี่ยนแปลงของประชากรส่งผลอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจะก่อให้เกิดการลดลงของจำนวนแรงงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตอย่างรุนแรงได้ในอนาคต ดังนั้นประเทศไทยควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว รวมทั้งควรหาแนวทางในการเพิ่มพูนทักษะและผลิตภาพของแรงงานที่ในอนาคตจะมีจำนวนน้อยลงด้วย

ประชากรมีความหมายว่าอย่างไร

พจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า ประชากร (population) ในทางสถิติศาสตร์ หมายถึง จำนวนรวมทั้งหมดของคน สัตว์ หรือสิ่งของ ที่ต้องการศึกษา แต่ในทางประชากรศาสตร์ ประชากร หมายถึง กลุ่มคนที่มีอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งอาจมีนิยามแตกต่างกันไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ ...