การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

        ภูเขาไฟระเบิดใกล้ชุมชนทำให้เกิดมหันตภัยครั้งยิ่งใหญ่  แผ่นดินไหวทำให้อาคารพังพินาศ ถนนขาด และไฟไหม้เนื่องจากท่อแก๊สถูกทำลาย ธารลาวา กรวดและเถ้าภูเขาไฟที่ไหลลงมา (Pyroclastic flow) สามารถทับถมหมู่บ้านและเมืองที่อยู่รอบข้าง ถ้าภูเขาไฟอยู่ชายทะเล แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดยักษ์กระจายตัวออกไปได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร ฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟสามารถปลิวไปตามกระแสลมเป็นอุปสรรคต่อการจราจรทางอากาศ แต่อย่างไรก็ตามภูเขาไฟระเบิดหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งหมุนเวียนธาตุอาหารให้แก่ผิวโลก ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์สูงใช้ปลูกพืชพรรณได้งอกงาม แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์ธาตุอาหารด้วยแสง แมกมาใต้เปลือกนำแร่ธาตุและอัญมณีที่หายาก เช่น เพชร พลอย ขึ้นมา เป็นต้น และด้วยเหตุที่ภูเขาไฟนำมาซึ่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นชุมชนจึงมักตั้งอยู่ที่เชิงภูเขาไฟ 

ภูเขาไฟ (volcano) คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่โลกพยายามคลาย  ความร้อนภายในโลกออกสู่ภายนอกในรูปแบบการปะทุของ  หินหนืด (molten rock) ซึ่งจากการกระจายตัวของ ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) ที่มีอยู่ทั่วโลก พบว่าภูเขาไฟมีพลังโดยส่วนใหญ่เกิดตามขอบแผ่นเปลือกโลกโดย เฉพาะอย่างยิ่งตามขอบแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรแปซิกฟิก  หรือที่รู้จักกันในชื่อ วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) 

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

แมกมา (Magma)

เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือปะทะกับแผ่นธรณีทวีป แผ่นธรณีมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นกว่าจะจมลงสู่ ชั้นฐานธรณีภาค และหลอมละลายกลายเป็นหินหนืดหรือแมกมา (Magma) 

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

ปัจจัยที่เร่งให้เกิดการหลอมละลายของแมกมา

  • ความร้อน: เมื่อแผ่นธรณีปะทะกันและจมลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค แรงเสียดทานซึ่งเกิดจากการที่แผ่นธรณีทั้งสองเสียดสีกันจะทำให้เกิดความร้อน เร่งให้ผิวชั้นบนของเปลือกโลกมหาสมุทรที่จมตัวลง หลอมละลายกลายเป็นแมกมาได้ง่ายขึ้น  
  • น้ำในชั้นฐานธรณีภการปะทุของภูเขาไฟ Volcanic Eruptionาค: หินเปียก (Wet rock) มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าหินแห้ง (Dry rock) เมื่อหินในเปลือกแผ่นมหาสมุทรจมลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค โมเลกุลของน้ำซึ่งเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำจะช่วยเร่งปฏิกริยาให้หินเกิดการหลอมเหลวได้ง่ายขึ้น 
  • การลดความกดดัน: ตามปกติหินใต้เปลือกโลกจะหลอมละลายยากกว่าหินบนเปลือกโลก เนื่องจากความกดดันสูงป้องกันหินไม่ให้เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว อย่างไรก็ตามอุณหภูมิสูงของชั้นฐานธรณีภาค ทำให้หินหลอมละลาย ขยายตัวออก แล้วยกตัวลอยตัวสูงขึ้น  เมื่อหินหนืดร้อนขยายตัวความกดดันจะลดลง ทำให้หินที่อยู่ในหน้าสัมผัสบริเวณรอบข้างหลอมละลายได้ง่ายขึ้น 

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

การปะทุของภูเขาไฟ Volcanic Eruption

  •  ความหนืด (viscosity) คือ ความสามารถในการไหลของแมกมา โดยแมกมาท่ีมีความหนืดสูงจะไหลได้ช้าและไม่ไกล จากแหล่งกำเนิด โดยมีรูปแบบการไหลคล้ายกับเศษหินที่ถูกครูดและลากไถไปอย่างต่อเนื่องเรียกว่า ลาวาอาอ้า (‘a‘a) ส่วนแมกมาท่ีมีความหนืดต่ำจะไหลหลากไปได้ไกล โดยผิวภายนอกเย็นตัวอย่างรวดเร็วในขณะที่ภายในยังหลอมละลาย และเคลื่อนที่ได้ต่อทำให้มีลักษณะคล้ายกับเกลียวเชือก เรียกว่า ลาวาปาฮอยฮอย (pahoehoe) แมกมาที่ขึ้นมาใต้ทะเลจะไหลออกมาเป็นก้อนๆ เรียกว่า ลาวารูปหมอน (pillow lava)
  • ไอระเหย (volatile) เมื่อแมกมาแทรกดันสูงข้ึน ความดันปิดล้อมลดลง ทำให้ก๊าซในแมกมาขยายตัวเป็น ฟองและพุ่งสู่พื้นผิวโลกโดยมีแมกมาติดมาด้วย ซึ่งรูปแบบคล้ายกับการเกิดฟอง
  • ปริมาตร (volume) แมกมาปริมาณมาก ทำให้ปะทุรุนแรงมากขึ้น

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

รูปแบบการปะทุของภูเขาไฟ 

  • การปะทุแบบประเทศไอซ์แลนด์ (Icelandic eruption) เป็นการปะทุตามรอยแยก (fissure eruption) ของแมกมาบะซอลต์ความหนืดต่ำ และไม่มีปากปล่องแน่ชัด ลาวาไหลหลากเหมือนกับน้าท่วม
  • การปะทุแบบฮาวายเอียน (Hawaiian eruption) (VEI = 0-1) เป็น การปะทุของแมกมาบะซอลต์ความหนืดต่าจากปล่องภูเขาไฟ มีก๊าซระเบิดเล็กน้อย แมกมาไหลเอ่อล้นครอบคลุมพื้นท่ีกว้าง สร้างภูเขาไฟขนาดใหญ่ เช่น ภูเขาไฟเมา นาโลอา บนหมู่เกาะฮาวาย
  • การปะทุแบบสตรอมโบเลียน (Strombolian eruption) (VEI = 1-3) ต้ังชื่อตามภูเขาไฟสตรอมโบลีในประเทศอิตาลีเกิดจากแมกมาไรโอไรท์หรือ แอนดีไซต์ซึ่งมีความหนืดสูง ปะทุคล้ายกับน้าพุพุ่งสูง 10-100 เมตร โดยจะปะทุเป็นช่วงๆ ช่วงละ 10-20 นาที เช่น ภูเขาไฟเอตนา (Etna) ในประเทศอิตาลี

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

รูปแบบการปะทุของภูเขาไฟ 

  • การปะทุแบบวัลเคเนียนหรือวิสุเวียน (Vulcanian หรือ Vesuvian eruption) (VEI = 2-5) เกิดจากก๊าซในแมกมามีความดันสูง แทรกดันหินแข็งที่ ปิดทับด้านบน ได้วัสดุสลับชั้นกันระหว่างเศษหินสลับแมกมาบะซอลต์หรือแอนดี ไซต์ท่ีไหลเอื่อย เช่น การปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียส (Vesuvius) ในประเทศอิตาลี
  • การปะทุแบบพลิเนียน (Plinian eruption) (VEI = 3-8) เป็นการปะทุอย่างรุนแรงของก๊าซและเศษหินพุ่งสูง 5-60 กิโลเมตร เช่น ภูเขาไฟเตาโป(Taupo) ในนิวซีแลนด์บางคร้ังความรุนแรงมากเพียงพอท่ีจะทาลายโครงสร้างของ ภูเขาไฟ และระเบิดผนังด้านข้างออก เรียกว่า การปะทุแบบพีเลียน (Pelean eruption)

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

ระดับการประทุ

  • ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) คือ ภูเขาไฟที่มีประวัติการปะทุในช่วง10,000 ปี ที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่พบตามขอบแผ่นเปลือกโลก ซึ่งจากการ สารวจพบว่ามีภูเขาไฟท่ียังมีพลังอยู่อย่างน้อย 500 ลูก ทั่วโลก เช่น ภูเขาไฟเมราปี (Merapi) ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
  • ภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟที่ยังหลับ (dormant volcano) คือ ภูเขาไฟที่ไม่ที่มีประวัติการปะทุในช่วง 10,000 ปี แต่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่ายังมีกิจกรรมทางภูเขาไฟอยู่ เช่น เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก การรั่วซึมของก๊าซ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (Fuji) ประเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟเรนเนียร์ (Rainier) ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
  • ภูเขาไฟดับสนิท (extinct volcano) คือ ภูเขาไฟที่ไม่มีประวัติการ ปะทุและไม่มีสัญญาณทางวิทยาศาสตร์ว่ามีกิจกรรมทางภูเขาไฟอยู่ใต้พื้นที่น้ัน เช่น ภูเขาไฟคีรีมันจาโร (Kilimanjaro) ในแอฟริกา ภูเขาไฟอีเกอร์มอนท์ (Egremont)ในนิวซีแลนด์ เป็นต้น

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

ชนิดของภูเขาไฟ (Type of Volcano)

  • ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) เป็นภูเขาไฟท่ีมีขนาดใหญ่ที่สุด เมื่อเทียบกับภูเขาไฟแบบอื่นๆเกิดจากการไหลหลากของแมกมาบะซอลต์ความ หนืดต่า ไม่ทับถมกันสูงแต่ครอบคลุมพื้นท่ีกว้าง ไฟรูปทรงคล้ายกับโล่คว่า มีความชันอยู่ในช่วง 2-10 องศา
  • ภูเขาไฟกรวยกรวด (cinder cone volcano) มีขนาดเล็ก แต่มีความชันมาถึง33 องศาเกิดจากแมกมาความหนืดสูงหรือกรวดภูเขาไฟปะทุและ กองทับถมกันรอบปล่อง
  • ภูเขาไฟสลับช้ัน (composite volcano หรือ stratovolcano) เกิดจากการแทรกสลับช้ันของลาวาและกรวดภูเขาไฟ รูปร่างคล้ายกับกรวยมีความ ชันประมาณ 25 องศา เช่น ภูเขาไฟฟูจิ

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

ภัยพิบัติภูเขาไฟ Volcanic Hazard

  • ลาวาไหลหลาก (lava flow) โดยส่วนใหญ่เกิดจากแมกมาบะซอลต์ซึ่งมีความหนืดต่ำ โดยส่วนใหญ่สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินมากกว่าชีวิต
  • ธุลีหลาก (nuée ardente) เกิดจากการปะทุแบบพลิเนียนหรือวัลเคเนียน ทำให้เกิดเถ้าผสมของกรวดภูเขาไฟและก๊าซร้อนแรงดันสูงไหลลงตาม ความชันของภูเขาไฟด้วยความเร็วสูง เช่นเหตุการณ์ ปอมเปอี
  • ลาฮาร์ (lahar) เป็นอีกรูปแบบหน่ึงของภัยพิบัติภูเขาไฟท่ีเกิดจากกรวดภูเขาไฟไหลปะปนกันมากับน้ำ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายกับโคลนไหล หลาก (mud flow)
  • เถ้าหล่น (ash fall) หรือ เทฟ่า (tepha) เกิดจากการปะทุของแมกมาไรโอไรต์ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายเป็นบริเวณกว้าง เช่น การปะทุของภูเขาไฟพินาตูโบ

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

ภัยพิบัติภูเขาไฟ Volcanic Hazard

  • ก๊าซพิษ (toxic gas) ในระหว่างท่ีภูเขาไฟปะทุจะมีการปล่อยก๊าซซึ่งเป็นพิษต่อมนุษย์ออกมาหลายชนิด เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ได ออกไซด์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์
  • การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) เนื่องจากเถ้าภูเขาไฟและก๊าซสามารถอยู่ได้ในชั้นบรรยากาศนานเป็นหลักปี และบดบังแสงอาทิตย์ท่ี ส่องมายังโลก ทาให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกลดลง
  • ดินถล่มและสึนามิ (landslide and tsunami) จากกรวดภูเขาไฟจำนวนมากที่ทับถมบริเวณไหล่เขาความชันสูง ทำให้ในพื้นท่ีรอบภูเขาไฟมีโอกาส เกิดดินถล่ม หรือบางครั้งภูเขาไฟปะทุใต้น้าก็อาจทาให้เกิดสึนามิได้

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

วัสดุภูเขาไฟ Volcanic Material

กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) คือ เศษหินเดิมของปากปล่องภูเขาไฟท่ีระเบิดออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรงของลาวาที่มีความหนืดสูง ทำ ให้ได้ช้ินส่วนที่มีขนาด รูปร่าง และเนื้อหินท่ีแตกต่างกัน

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

วัสดุภูเขาไฟ Volcanic Material

หินอัคนีภูเขาไฟ (volcanic rock) หรือ หินอัคนีปะทุ (extrusive rock) หมายถึง หินอัคนีท่ีเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนพื้นผิวโลก ทาให้แร่องค์ประกอบมีเวลาน้อยในการตกผลึก จึงเป็นหินที่มี เน้ือละเอียด (aphanitic texture) ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

หินอัคนีภูเขาไฟ (volcanic rock)

  • หินไรโอไรท์ (rhyolite) เกิดจากการปะทุของแมกมาไรโอไรท์ มีสี ขาว เทา น้าตาลอ่อน หรือ สีชมพู
  • หินแอนดิไซท์ (andesite) เกิดจากการปะทุของแมกมาแอนดิไซท์ โดยส่วนใหญ่มีสีเขียวแก่ หรือ สีเทา
  • หินบะซอลต์ (basalt) เกิดจากการปะทุของแมกมาบะซอลต์ มีสีดำคล้ำ เป็นส่วนใหญ่

การปะทุของภูเขาไฟแบบพลิเนียน

วัสดุภูเขาไฟ Volcanic Material

หินอัคนีบาดาล (Plutonic Rock) หรือ หินอัคนีแทรกดัน (intrusive rock) หมายถึง หินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวของแมกมาภายในเปลือกโลกซึ่ง เนื่องจากอุณหภูมิของมวลแมกมาและหินข้างเคียงไม่แตกต่างกันมากนัก แมกมาจึง ตกผลึกอย่างช้าๆ ทำให้แร่องค์ประกอบชนิดเดียวกันรวมกันเป็นผลึกชัดเจน ทำให้หินมีเนื้อหยาบ(phaneritic texture)