โดนทําร้ายร่างกาย

กฎหมายน่ารู้ กระทรวงยุติธรรม : ถูกทำร้ายร่างกายแค่ไหนเรียกว่า "สาหัส" ⁉
.
 ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น
มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่หากเป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุทำให้ได้รับอันตรายสาหัส อันได้แก่
1. ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียประสาทการรับรู้กลิ่น
2. เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์
3. เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
4. หน้าเสียโฉมถาวร
5. แท้งลูก
6. จิตพิการถาวร
7. ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
8. ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บ หรือไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเกินกว่า 20 วัน
จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 200,000 บาท
.
ข้อมูลจาก : มาตรา 295 และมาตรา 297 ตามประมวลกฎหมายอาญา
.
------------------------------------------------
.
 ดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ได้ที่ :
 https://www.moj.go.th/view/37463
.
 ติดตามสื่อ Infographic เพิ่มเติมได้ที่ :
 https://www.moj.go.th/news/321

"ยุติธรรมสร้างสุข"
สายด่วนยุติธรรม โทร. 1111 กด 77
.
#infographic #กฎหมายน่ารู้ #กระทรวงยุติธรรม #MOJ #LAWS
#อินโฟกฎหมาย #กฎหมายสามัญประจำบ้าน

โดนทําร้ายร่างกาย

บริษัท กฎหมายและธุรกิจ อินเตอร์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายธุรกิจ มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการต่อบริษัทห้างร้านธุรกิจ และบริษัทชั้นนำ

คุณภาพชีวิต-สังคม

ทำอย่างไร? เมื่อถูกผู้ชายทำร้ายร่างกาย ตบตี กรณี#นานาไอซ์โดนทำร้าย

22 พ.ย. 2564 เวลา 11:23 น.6.0k

#นานาไอซ์โดนทำร้าย ติดเทรนด์ทวิสเตอร์อันดับหนึ่งทันที เมื่อการทำร้ายร่างกายไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกคนได้ทุกที่ ทุกเวลา ฉะนั้น วิธีการรับมือเมื่อถูกทำร้ายร่างกาย เป็นสิ่งที่ผู้หญิงควรรู้!!!

กลายเป็นกระแสขึ้นมาทันที หลังจากในโลกโซเชียลมีเดีย ได้มีการแชร์ข้อความจากเฟสบุ๊ค Rukchanok Srinork น.ส.รัชนก ศรีนอก หรือไอซ์  นักเคลื่อนไหวการเมือง ที่ได้โพสต์ข้อความเล่าเหตุการณ์ที่ถูก “ต้อม ยุทธเลิศ” นายยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับภาพยนตร์ ตบหน้าและทำร้ายร่างกาย ณ เรือลำหนึ่งย่านคลองสาน กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 21.30 น. ของวันที่ 21 พ.ย.2564

กรณีที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในโซเซียลมีเดียมากมายจนติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง #นานาไอซ์โดนทำร้าย เพราะการทำร้ายผู้หญิงเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ทว่าในปัจจุบัน การทำร้ายผู้หญิงยังคงมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ระบุ สถิติความรุนแรงในครอบครัว ปีงบประมาณ 2564 ระหว่างเดือน ต.ค.2563 – พ.ค.2564 มีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 1,492 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 81% แบ่งเป็น ความสัมพันธ์สามี-ภรรยา 39% วัยกลางคน 32.4% และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 32.1% ซึ่งมักไม่ดำเนินคดีสูงถึง 78%

ส่วนปัญหาที่พบ เป็นการทำร้ายร่างกายมากที่สุดถึง 64.5% รองลงมาคือ จิตใจ 31.4% และเรื่องเพศ 3.6% ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้น คือ ยาเสพติด สุรา อาการหึงหวง การมีโทสะ การรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจมากกว่า การมีปัญหาสุขภาพทางจิต และความเครียดทางเศรษฐกิจ

สำหรับ สถานที่เกิดเหตุมักเกิดภายในบ้านของตนเอง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นับว่ามีผู้ถูกกระทำความรุนแรงเพิ่มขึ้นมาก สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโควิดที่เกิดการระบาดหนักอีกครั้งในระลอกที่ 2 และ 3

  • ทำไม? ผู้ชายชอบทำร้ายผู้หญิง

นายจเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล  เปิดเผยว่าปัญหาการทำร้ายร่างกาย เป็นปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นมายาวนาน  ซึ่งผู้กระทำความรุนแรงเป็นผู้ชายถึง 97% โดยมีรากฐานมาจาก “ทัศนคติชายเป็นใหญ่” ที่มองว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง และผู้ชายจะใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้หญิงทั้งทางวาจา จิตใจ และร่างกาย

โดยการทำร้ายด้วยวาจามีสัดส่วนสูงที่สุด และจากการทำงานร่วมกับผู้ชายที่มีพฤติกรรมดังกล่าว พบด้วยว่าหากผู้หญิงไม่ตอบโต้ หรือพูดคุยด้วย ผู้ชายก็จะใช้ความรุนแรงทางวาจา และจิตใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงขั้นทำร้ายร่างกาย โดยการดื่มเหล้ามีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ชายลงไม้ลงมือกับผู้หญิง

สาเหตุหลักมาจากวิธีคิดที่ปลูกฝังกันมาว่าชายเป็นใหญ่ เป็นเจ้าของผู้หญิง ผู้ชายคิดว่าตัวเองเหนือกว่า ขณะที่ระบบการศึกษาไม่สอนเรื่องสิทธิเท่าเทียมกันของหญิงและชาย"นายจเด็จ กล่าว

นอกจากนั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ทุกครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้น และปัญหาต่างๆ เข้ามามายกมายส่งผลให้เกิดความเครียดในครอบครัว จนนำไปสู่การทะเลาะ ความรุนแรงได้  

  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกาย

ความรุนแรงในครอบครัว และการทำร้ายร่างกายผู้หญิงของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยไม่นิยมแจ้งความเมื่อพบหรือประสบกับความรุนแรง โดยมีเพียง 17% เท่านั้นที่กล้าออกมาเปิดเผยเรื่องราวและร้องขอความช่วยเหลือ

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้เปิดเผยเหตุผลส่วนใหญ่ที่ผู้หญิงในฐานะที่เป็นผู้ถูกกระทำต้องทนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว 5 ข้อ ดังนี้ 

1.ความรักความผูกพัน หลังก่อความรุนแรงฝ่ายชายมักจะขอโอกาสเพื่อกลับตัวและจะไม่ใช้ความรุนแรงอีก ด้วยความรักความผูกพันที่มีให้จึงยอมที่จะทน หวังว่าฝ่ายชายจะปรับปรุงตัว

2.อดทนเพื่อลูก ฝ่ายหญิงมักคิดว่าถ้าลูกไม่มีพ่อ ลูกจะมีปมด้อย ขาดความอบอุ่น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคต

3.พยายามรักษาความเป็นครอบครัว ด้วยสภาพสังคมที่ปลูกฝังความเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ  ต้องประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก ทำให้ผู้หญิงต้องยอมอดทนต่อความรุนแรง

4.คิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัวค่านิยมที่ว่า ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า 

5.ปัญหาเศรษฐกิจ ผู้หญิงหลายคนเมื่อแต่งงานมีลูกแล้ว ลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลูก เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นในครอบครัว หากจะเลิกรากับสามีก็กลัวจะไม่มีงานทำ ไม่มีเงินเลี้ยงดูตัวเองและลูก จึงต้องทนต่อความรุนแรง

  • สิ่งที่ควรทำ เมื่อถูกกระทำความรุนแรง

อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะในครอบครัว หรือถูกทำร้ายร่างกาย สิ่งที่ผู้หญิงควรกระทำ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการถูกทำร้าย

1.อย่าอยู่ใกล้ อย่าโต้เถียง

2. อย่าต่อปากต่อคำ อย่าแสดงความโกรธ อย่าแสดงความหวาดกลัว

3.ให้สื่อสารด้วยท่าทีที่อ่อนโยน

4.ถ้าถูกทำร้าย ให้รีบหนีไปตั้งหลัก ในที่ที่มีคนอยู่ อย่าโต้ตอบ ยึดถือหลักน้ำน้อยต้องแพ้ไฟ อย่าอายที่จะร้องขอความช่วยเหลือ เช่น เพื่อน หรือโทรถึงตำรวจเบอร์ 191 โดยทันที

5.เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วต้องยืนยันว่าจะไม่ใช้คำพูดหยาบคาย หรือวิธีทุบตีทำร้าย

6.เก็บซ่อนอาวุธไว้ให้มิดชิด หรือไม่ต้องเก็บไว้ที่บ้าน

7.ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน และกล้าขอความช่วยเหลือ โดยไม่อาย

  • ระงับโกรธ ไม่ยั่วยุ ระบายอย่างถูกวิธี

ขณะที่ผู้หญิงเอง ควรรู้จักระงับความโกรธเพื่อไม่ให้ถูกทำร้ายร่างกาย 

1.คุณมีสิทธิ์โกรธได้ แต่ต้องระบายอย่างถูกวิธี เช่น เลี่ยงไปที่อื่นจนอารมณ์ผ่อนคลายลง ระบายควมโกรธด้วยการเขียนลงบนสมุด หรือพูดคุยให้เพื่อนสนิทฟัง แต่ถ้าคุณไม่ไว้ใจไคร ก็สามารถโทรศัพท์ขอคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์นารีรักษ์ 02-2011103

2.พยายามท่องไว้ในใจเสมอว่า อย่าโต้ตอบด้วยการใช้ความรุนแรง เพราะนอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วยิ่งจะสร้างปัญหาให้หนักขึ้น

3.การทำร้ายร่างกายผู้อื่นผิดกฏหมาย อาจต้องโทษจำคุก แล้ว ลูก พ่อ แม่ จะอยู่กับใคร

4.แจ้งความให้กฏหมายลงโทษ

เมื่อถูกทำร้ายร่างกายบ่อยครั้ง ไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้ 

  • ไม่อยู่คนเดียว
  • คิดถึงความรู้สึกของคนที่รักเราและเราก็รักเขา เช่น ลูก พ่อ แม่
  • ระบายความทุกข์กับเพื่อน
  • คิดถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางศาสนา เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญตักบาตร
  • คิดอยู่เสมอว่าทำร้ายตนเองเป็นคนที่บาปหนัก
  • ให้กำลังใจตนเองอยู่เสมอ
  • โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ
  • พบแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นผู้ที่ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือและปกปิดความลับของคุณได้

อ้างอิง: องค์กรยูนิเซฟ (UNICEF), บีบีซีไทย ,กรมสุขภาพจิต ,มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล