พ่อพระยาอนุมานราชธน

พ่อพระยาอนุมานราชธน

Show

พ่อ:พระยาอนุมานราชธน(หนังสืออ่านนอกเวลา)

฿40.00

ชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน ตั้งแต่ชีวิตวัยเยาว์ รับราชการ ชีวิตครอบครัว งานเขียน และช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตเขียนโดย สมศรี สุกุมลนันท์ 183 หน้า ขนาด 14x21 ซม.

รายละเอียดสินค้า พ่อ:พระยาอนุมานราชธน(หนังสืออ่านนอกเวลา)

ชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน ตั้งแต่ชีวิตวัยเยาว์ รับราชการ ชีวิตครอบครัว งานเขียน และช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต

เขียนโดย สมศรี สุกุมลนันท์

183 หน้า ขนาด 14x21 ซม.

ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร

ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้

หน้าแรก

หมวดหมู่

การแจ้งเตือน

บัญชีฉัน

พ่อพระยาอนุมานราชธน

เข้าสู่ระบบ

หนังสือ

อี-บุ๊ค

คอร์สออนไลน์

ไลฟ์สไตล์

มาร์เก็ตเพลส

บล็อก

โปรโมชั่น

ข่าวสารและกิจกรรม

ต้องการเขียน

ต้องการขาย

เปลี่ยนภาษา

อังกฤษ

ติดต่อเรา

เกี่ยวกับเรา

นโยบายส่วนบุคคล

หน้าหลักประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง การปกครองพ่อ :พระยาอนุมานราชธน

รายการสินค้า

รายละเอียดสินค้า

รีวิว

สินค้าแนะนำ

ข่าวสารและกิจกรรม

1 /

พ่อพระยาอนุมานราชธน

สินค้าหมด

฿ 144.00

฿ 160.00

-10%

ถูกใจ

พ่อ :พระยาอนุมานราชธน

ผู้แต่ง : สมศรี สุกุมลนันทน์

0 / 5


TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 9789749481486

ISBN : 9749481488

ปีพิมพ์ : 3 / 2549

ขนาด ( w x h ) : 145 x 210 mm.

จำนวนหน้า : 184 page

หมวดหนังสือ : ชีวประวัติบุคคลสำคัญ


รายละเอียดสินค้า :

พ่อ :พระยาอนุมานราชธน

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อ (0)

0

/ 5

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มสินค้าลงในรถเข็นแล้ว

ตัวเลือกสินค้า

พ่อพระยาอนุมานราชธน

พ่อ :พระยาอนุมานราชธน

ผู้แต่ง : สมศรี สุกุมลนันทน์

฿ 144.00

฿ 160.00
-10%

จำนวน

หยิบใส่รถเข็น

ซื้อทันที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์

พระยาอนุมานราชธน
(ยง เสฐียรโกเศศ)


ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.

พ่อพระยาอนุมานราชธน
เกิด14 ธันวาคม พ.ศ. 2431
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (80 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
นามปากกาเสฐียรโกเศศ
อาชีพรับราชการ, นักเขียน
สัญชาติไทย
ผลงานที่สำคัญกามนิต-วาสิฏฐี
คู่สมรสคุณหญิงอนุมานราชธน
(ละไม อนุมานราชธน)
บุตร10 คน

ลายมือชื่อ
พ่อพระยาอนุมานราชธน

ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) นักปราชญ์และนักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมและเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกชาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2531 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

ประวัติ[แก้]

ชาติกำเนิด[แก้]

พระยาอนุมานราชธนมีนามเดิมว่า ยง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ที่เรือนไม้หลังหนึ่ง ติดคูด้านใต้วัดพระยาไกร แถวโรงเลื่อยบริษัทบอร์เนียว ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลพระยาไกร อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร (ซึ่งปัจจุบันคือแขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของนายหลีกับนางเฮียะ มีชื่อเดิมภาษาจีนว่า หลีกวงหยง ต่อมา ได้เปลี่ยนเป็น ยง และได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเสฐียรโกเศศ [1] ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามอนุมานราชธนเป็นชื่อสกุล[2]

การศึกษา[แก้]

เมื่ออายุราวห้าหกขวบได้เริ่มเรียนหนังสือกับบิดา โดยต้องตื่นตั้งแต่ตีห้ามาอ่านหนังสือ ครั้นอายุได้สักสิบขวบมารดาก็พาไปฝากเข้าโรงเรียนบ้านพระยานานา อยู่แถวใต้ปากคลองวัดทองเพลง เป็นนิวาสถานเดิมของพระยานานาพิพิธ บุตรชายคนหนึ่งของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ โรงเรียนนี้สอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เด็กชายยงเรียนได้เร็วมากกว่าคนอื่นเพราะได้เรียนหนังสือมาแล้วกับบิดา

ต่อมาจึงเข้าเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ พ.ศ. 2443 สมัยนั้นเรียนเป็นภาษาอังกฤษ มีสอนภาษาไทยบ้างสัปดาห์ละสองชั่วโมงเท่านั้น ได้เล่าเรียนจบชั้นมัธยม 4 พอขึ้นชั้นมัธยม 5 ก็ต้องออกจากโรงเรียน เพราะครอบครัวมีฐานะไม่ดี รวมทั้งมีพี่น้องหลายคนและพระยาอนุมานราชธนเป็นบุตรคนโต กระนั้นท่านกลับศึกษานอกระบบโรงเรียนและศึกษาตลอดชีวิต ด้วยมีนิสัยรักความรู้ กระทั่งได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทย

การทำงาน[แก้]

หลังออกจากโรงเรียนท่านได้เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการไปฝึกหัดผสมยาที่โอสถศาลาของรัฐบาล และได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมในตอนกลางคืน แต่เมื่อมิได้รับเบี้ยเลี้ยง จึงลาออกไปทำงานโรงแรมโอเรียนเต็ล ได้เงินเดือนๆ ละ 60 บาท ทำได้ไม่ถึงปีจึงลาออกไปทำงานที่กรมศุลกากรในตำแหน่งเสมียน เงินเดือนๆ ละ 50 บาท ทั้งนี้เพื่อมีเวลาพักผ่อนมากกว่าและรับยกเว้นเกณฑ์เข้าเป็นทหารด้วย ที่กรมศุลกากร พระยาอนุมานราชธนได้พบนายนอร์แมน แมกสแวล ผู้เป็นทั้งหัวหน้าและเป็นผู้สอนภาษาอังกฤษให้พระยาอนุมานราชธนจนแตกฉาน รับราชการก้าวหน้ามาโดยตลอด และได้เลื่อนตำแหน่งจากขุน เป็นหลวง เป็นพระ ตามลำดับ

จนถึงปี พ.ศ. 2467 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุมานราชธน มีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 1000[3]

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีเหตุต้องออกจากราชการในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดี แต่สองปีถัดมา หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) ซึ่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ได้ชวนให้กลับมารับราชการที่กรมศิลปากร และด้วยความรู้ความสามารถของท่านจึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นตามลำดับ ตำแหน่งสุดท้ายได้เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งภายหลังการเกษียณอายุราชการและการต่ออายุราชการหลายครั้ง จึงออกจากราชการมารับบำนาญ

ครอบครัว[แก้]

พ่อพระยาอนุมานราชธน

พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

พระยาอนุมานราชธน สมรสกับคุณหญิงอนุมานราชธน (ละไม อนุมานราชธน) สกุลเดิม อุมารัติ บิดาและมารดาแยกทางกันจึงอาศัยอยู่กับป้า ชื่อ แม่หมออี้ ซึ่งเป็นชีอยู่นิกายคริสต์คาทอลิก นางสาวละไมจึงเข้ารีตตามป้าไปด้วย

ความรักของพระยาอนุมานราชธนกับคุณหญิงอนุมานราชธนเป็นรักแรกพบ มีความประทับใจเมื่อแรกเห็นจึงพยายามทำความรู้จัก และขอคุณหญิงอนุมานราชธนแต่งงานโดยเหตุที่ว่าเธอเป็นแม่บ้านแม่เรือนรู้จักจัดการต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และคงปรนนิบัติมารดาและพี่น้องของท่านให้ได้รับความสะดวกสบายได้

ท่านมิได้จัดงานเลี้ยง เนื่องจากทางครอบครัวโดยเฉพาะมารดาไม่พอใจกับสะใภ้ที่เข้ารีตผู้นี้ คุณหญิงอนุมานราชธนท่านก็มีขันติอดทนอดกลั้นเป็นอย่างดี พระยาอนุมานราชธนก็มีความซื่อสัตย์ต่อภริยาเป็นอย่างยิ่ง มิได้มีภริยาอื่นเพิ่มเติมอีก

พระยาอนุมานราชธน และคุณหญิงอนุมานราชธน มีบุตรธิดาร่วมกัน 10 คน ดังรายนามต่อไปนี้

  • นางสมไสว เหราบัตย์
  • นายสมจัย อนุมานราชธน
  • เด็กหญิงสมปอง อนุมานราชธน
  • นางสมศรี สุกุมลนันทน์
  • นางสาวภัทรศรี อนุมานราชธน
  • ศาสตราจารย์มัลลี เวชชาชีวะ
  • นายยรรยง อนุมานราชธน
  • นายญาณิน อนุมานราชธน
  • พันตำรวจเอก บรรยง อนุมานราชธน
  • ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุวัน อนุมานราชธน

หลังเกษียณอายุแล้ว ท่านก็ยังคงเขียนหนังสือและตำราออกมาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะงานเขียนร่วมกับพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ซึ่งมักทำงานด้วยกันโดยใช้นามปากกาว่า เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เรียบเรียงหนังสือ ตำรา และวรรณกรรมอันทรงคุณค่าออกมาเป็นจำนวนมาก

พระยาอนุมานราชธนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • 18 มกราคม พ.ศ. 2454 เป็น ขุนอนุมานราชธน[4]
  • 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 เป็น หลวงอนุมานราชธน มีตำแหน่งในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 600[5]
  • 22 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็น พระอนุมานราชธน มีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 800[6]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2467 เป็น พระยาอนุมานราชธน มีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือศักดินา 1,000[7]
  • 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ลาออกจากบรรดาศักดิ์[8]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2491 กลับคืนมีบรรดศักดิ์เป็นพระยาอนุมานราชธนตามเดิม[9]

ผลงานสำคัญ[แก้]

ผลงานสำคัญของพระยาอนุมานราชธนในช่วงเวลา 80 ปีเศษแห่งชีวิตของท่านมีมากนับเป็นหนังสือได้มากกว่า 200 รายการ ดังปรากฏในเว็บไซต์ของคลังปัญญาชนสยาม ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับงานวรรณกรรมของประเทศไทย เรียงตามลำดับปีที่ตีพิม์เท่าที่ทราบดังนี้

ผลงานที่ทราบปีที่ตีพิมพ์[แก้]

ปีที่ตีพิมพ์ที่ปรากฏเป็นปีตีพิมพ์ที่ทราบ มีหลายรายการที่มีการตีพิมพ์มาก่อนแล้ว เช่น หิโตปเทศ ที่ตีพิมพ์โดย "โรงพิมพ์ไท" มาตั้งแต่ครั้งแรกร่วมงานกับพระสารประเสริฐ หรือ "นาคะประทีป"

  • เรื่องคนมีประโยชน์ 2465
  • อุปกรณ์รามเกียรติ์ 2475
  • คำสอนของพระพุทธเจ้า งานแปล 2475
  • เรื่องไทย-จีน 2478
  • ตำนานศุลกากร 2482
  • วิจารณ์เรื่องประเพณีทำศพ 2482
  • เรื่องของชาติไทย 2483
  • ประติมากรรมไทย แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ ศิลป พีระศรี 2490
  • นิรุกติศาสตร์ 2493
  • พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง 2493
  • อธิบายนาฏศิลป์ไทย พร้อมด้วยคำนำเรื่องคีตศิลป์ 2494
  • เรื่องผีสางเทวดา 2495
  • เรื่องวัฒนธรรม 2496
  • ลัทธิของเพื่อน 2496
  • เรื่องแหลมอินโดจีนสมัยโบราณ 2497
  • ประเพณีและความรู้ทั่วไป 2498
  • เชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม 2498
  • กถาสริตสาคร (สาครเป็นที่รวมกระแสนิยาย) กถาบิฐและกถามุข แปลจากกาพย์ภาษาสันสกฤต 2499
  • เลิกทาสในรัชกาลที่ 5 2499
  • ศิลปสงเคราะห์ แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ ศิลป พีระศรี 2500
  • เทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ 2500
  • ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลเข้าพรรษา สารท ออกพรรษา 2500
  • ประเพณีเก่าของไทย ว่าด้วยการเกิด การปลูกบ้านสร้างเรือน ว่าด้วยการตาย 2500
  • ประเพณีการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ 2500
  • วัฒนธรรมเบื้องต้น 2501
  • ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย 2501
  • ประเพณีเก่าของไทย 5 ประเพณีเนื่องในการตาย 2501
  • กินโต๊ะจีน 2501
  • บันทึกความรู้ 2502
  • ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาล 2502
  • ค่าของวรรณคดี 2503
  • กามนิต ต้นฉบับแต่งโดยนักเขียนชาวเดนมาร์ก คาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป แปลร่วมกับ นาคะประทีป (โดยใช้ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย จอห์น อี โลกี) 2503
  • เรื่องเจดีย์ 2503
  • รสวรรณคดี 2504
  • เรื่องอัศจรรย์ของโลก 2504
  • โลกนิติ ไตรพากย์ 2504
  • กวนอิม 2505
  • ประเพณีเนื่องในเทศกาล 2506
  • หิโตปเทศ การผูกมิตร การแตกมิตร สงคราม ความสงบ 2507
  • วิวัฒนาการแห่งวัฒนธรรม 2507
  • ประเพณีเนื่องในการแต่งงานและประเพณีในการปลูกเรือน 2507
  • การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์ 2507
  • วรรณคดีที่น่ารู้ 2508
  • อาหรับราตรี 2509
  • รู้ไว้ 2509
  • ประเพณีเนื่องในการเกิดกับประเพณีเนื่องในการตาย 2510
  • ประเพณีเบ็ดเตล็ด 2510
  • ฟื้นความหลัง 2510
  • ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน 2510
  • ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพราหมณ์ พุทธ และชิน ในแง่ประวัติศาสตร์ 2511
  • อัตชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน 2512
  • อารยธรรมยุคดึกดำบรรพ์ 2512
  • ท้าววิศวามิตร 2512
  • ประเพณีปลูกเรือน-แต่งงาน 2512
  • พันหนึ่งทิวา 2512
  • โปแลนด์ราชย์ 2512
  • นานานีติ 2513
  • ชาติ-ศาสนา-วัฒนธรรม 2513
  • จดหมายโต้ตอบระหว่างเสฐียรโกเศศ กับ ส. ศิวรักษ์ พร้อมด้วยประวัติและข้อเกี่ยวกับพระยาอนุมานราชธน 2514
  • การศึกษาเรื่องประเพณีไทย 2514
  • เผชิญหน้ากับพระเจ้านโปเลียน 2514
  • ประวัตินานาประเทศ 2515
  • เมืองสวรรค์และผีสาง เทวดา 2515
  • วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ 2515
  • ศาสนาเปรียบเทียบ 2515
  • ขุมทรัพย์ของเด็กเรื่องคนมีประโยชน์ 2515
  • การศึกษาเรื่องประเพณีไทยและชีวิตไทยสมัยก่อน 2515
  • นิยายเบงคลี 2515
  • ประเพณีต่าง ๆ บางเรื่อง 2516
  • ประชุมเรื่องพระรามและแง่คิดจากวรรณคดี 2516
  • คำแก้ว 2516
  • สารานุกรมของเสฐียรโกเศศ 2516
  • ลัทธิ-ศาสนา 2516
  • การศึกษาศิลปและประเพณี 2517
  • เทศกาลสงกรานต์ 2525
  • ประเพณีต่าง ๆ ของไทย 2529
  • การเกิด 2531
  • แต่งงาน 2531
  • ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีและเทพนิยายสงเคราะห์ 2531
  • กำเนิดคน 2532
  • ชีวิตพระสารประเสิรฐที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2532
  • วรรณกรรมเลือกสรรสำหรับเด็ก 2532
  • ชั่วฟ้าดินสลาย

ผลงานที่ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจปีที่ตีพิมพ์[แก้]

  • เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระประเพณีเนื่องในการตาย
  • ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทง
  • ประเพณีไทยเก่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
  • ประเพณีเนื่องในการเกิด
  • ประเพณีในการสร้างบ้านปลูกเรือนวัตนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของไทย
  • โลกยุคดึกดำบรรพ์
  • เล่าเรื่องในไตรภูมิ
  • ลัทธิธรรมเนียมและประเพณีของไทย
  • ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทยเทศกาลสงกรานต์
  • ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน
  • อำนาจแห่งความพยายาม
  • นิยายเอกของปาชา
  • อสูรและยักษ์ต่างกันอย่างไร เทพนิยายสงเคราะห์ ภาค 2
  • ประวัติศาสตร์โลกสมัยโบราณ
  • ปลูกเรือน
  • ปลูกเรือน-แต่งงาน
  • วัฒนธรรม
  • ฟอลคอน
  • สดุดีเด็ก ๆ
  • สมญาภิธานรามเกียรติ์
  • พงศาวดารธรรมชาติของสัตว์
  • พระคเณศเทพนิยายสงเคราะห์ ภาค 4
  • ทศมนตรี
  • ไทย-จีน
  • ชีวิตของชาวนา
  • โซไรดา นางพญาแห่งทะเลทราย
  • การตาย
  • เรื่องพระโพธิสัตว์
  • เรื่องพระโมหมัด นะปีของอิสามิกชน
  • เรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง
  • เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
  • ขวัญและประเพณีการทำขวัญ
  • จดหมายจากพ่อถึงลูก
  • เครื่องราชูปโภคและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ 25??

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 8 ลำดับที่ 688, เล่ม 30, 21 ธันวาคม พ.ศ. 2456, หน้า 2133.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล, เล่ม 59, ตอนที่ 33 ง, 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2485, หน้า 1351.
  3. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 3403. 1 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2561.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 28, วันที่ 28 มกราคม ร.ศ. 130, หน้า 2441.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ พระราชทานบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 33, วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2459, หน้า 2391.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ พระราชทานบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 37, วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2463, หน้า 3255.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ พระราชทานบรรดาศักดิ์ ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เล่ม 41, วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467, หน้า 3403.
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับคืนมีบรรดาศักดิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (22 ง): 1607. 27 เมษายน 2491. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๙๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๖๙๑, ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๖, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๐, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • สมศรี สุกุมลนันทน์. (2549). พ่อ: พระยาอนุมานราชธน.[ลิงก์เสีย] กรุงเทพฯ: มูลนิธิเสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป.