ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ประเด็นน่าสนใจ

Show

  • ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่ทุกองค์กรหันมาใส่ใจในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เพราะนี่คือขุมพลังสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร้ขีดจำกัด
  • การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีไม่ใช่การให้ความสำคัญที่เรื่องอัตราจ้างเพียงอย่างเดียว แต่ควรหันมาใส่ใจการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรด้วย เพราะทุกคนต้องการความก้าวหน้าและพัฒนาศักยภาพในชีวิต

Contents

      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • แนวคิดของหลักการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
    • 1. กลุ่มนักคิดในสหรัฐอเมริกา
    • 2. กลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • บทบาทและความรับผิดชอบในข่ายงานของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Roles and Responsibilities of Human Resource Management)
    • 1. การสรรหาทรัพยากรบุคคลและจัดการด้านแรงงาน (Recruitment and Staffing)
    • 2. อบรมและพัฒนาบุคลากร (Training and Development)
    • 3. การบริหารจัดการด้านอัตราจ้างงาน (Payroll Management)
    • 4. การบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพของการทำงานตลอดจนการประผลการทำงาน (Appraisals and Performance Management)
    • 5. การแก้ปัญหาและลดความขัดแย้ง (Conflict Resolution)
    • 6. แรงงานสัมพันธ์ (Employee Relation)
  • บทสรุป

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ปัจจัยสำคัญของการบริหารนั้นประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ 4 ประการ นั่นก็คือ มนุษย์, เงินทุน, วัสดุอุปกรณ์ต่าง, และการบริหารจัดการ ใน 4 ประการนี้ส่วนที่มีความสำคัญที่สุดเห็นจะเป็นมนุษย์นั่นเอง เพราะนี่คือทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์มากที่สุดในการบริหารจัดการแต่ละองค์กร บุคคลที่มีศักยภาพย่อมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีศักยภาพในคราวเดียวกันด้วย การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้องค์กรเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างไม่สะดุดใดๆ หน้าที่ในการบริหารจัดการบุคคลนี้ถือว่าเป็นภาระกิจสำคัญอย่างยิ่งสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพนั้นต่างก็มีรายละเอียดมากมายด้วยเช่นกัน

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM) คือ กลยุทธ์ตลอดจนกระบวนการในการจัดการบุคลากรในองค์กรตามมิติต่างๆ เพื่อให้บุคลากรสามารถดำเนินการทำงานตามหน้าที่ของตนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดปัญหาให้น้อยที่สุด รวมถึงการพัฒนาให้บุคลากรมีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพื่อการปฎิบัติงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อความสำเร็จขององค์กรที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

การบริหารจัดการในด้านความสามารถของบุคลากรนี้เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เพราะนั่นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนขององค์กร การบริหารจัดการในส่วนของบุคคลนี้ก็ได้แก่ เรื่องทักษะการทำงาน, ประสบการณ์การทำงาน, ไปจนถึงเรื่องของลักษณะนิสัย หากทุกอย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับการทำงานก็จะยิ่งทำให้ทำงานได้ราบรื่นไม่เกิดปัญหาใดๆ แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถฝึกอบรมได้เพื่อให้บุคลากรแต่ละคนพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้สูงขึ้นได้เช่นกัน

ศัพท์ด้านสายงานบริหารทรัพยากรบุคคลที่ควรรู้

HRM – Human Resource Management = การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

  • การบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรในทุกๆ ด้าน เพื่อให้พนักงานเกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และองค์กรมีศักยภาพ

HRD – Human Resource Development = การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  • การพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ตั้งแต่เรื่องทักษะในการทำงาน, องค์ความรู้ที่จำเป็น, ตลอดจนเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนทำให้การทำงานดีขึ้นและองค์กรเพิ่มศักยภาพได้มากยิ่งขึ้น

HRP – Human Resource Planning = การวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์

  • การวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อกำหนดวิธีการจัดการและฝึกอบรมต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนด้านกำลังคนให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละแผนกอีกด้วย

HRBP – Human Resource Business Partner = การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการบริหารธุรกิจ

  • การพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนอัตรากำลังคน การสรรหา การพัฒนา รวมไปถึงการรักษาขวัญกำลังใจพนักงานให้อยู่กับองค์กรในระยะยาว

HROD – Human Resourceand Organization Development = การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาองค์กร

  • การพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่เน้นเรื่องขององค์กร โดยจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพขององค์กร ไม่ได้เน้นที่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

Q: เราควรวางแผน HRM ทีละขั้นตอนอย่างไร

อยากรู้ว่าการวางแผน HRM มีอะไรบ้าง รวมไปถึงขั้นตอนอย่างรายละเอียดทั้งหมดแบบทีละสเต็ปครับ

A: การอธิบายทีละขั้นตอนอาจใช้เวลานาน

สามารถดูการวางแผน HRM ได้จากภาพข้างล่างนี้เลย,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

แนวคิดของหลักการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

 ยุคก่อนที่จะมีการบริหารจัดการบุคคลนั้น มนุษย์ถูกมองว่าเป็นเพียง “แรงงาน” ซึ่งเป็นแค่หนึ่งปัจจัยในการผลิตเท่านั้น แต่ในยุคปัจจุบันได้มีการยกระดับแรงงานให้กลายเป็น “ทรัพยากร” ที่มีคุณค่าและความสำคัญขึ้น ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคใหม่นั้นคือขุมพลังสำคัญที่จะทำให้องค์กรเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ดีนั้นก็ย่อมส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน หากกล่าวถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นถึงแม้ว่าศาสตร์นี้จะเพิ่งเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้ไม่นานแต่ก็มีการศึกษาและพัฒนาอย่างจริงจังเรื่อยมา สำหรับแนวความคิดที่เป็นเสมือนหลักวิชาการสนับสนุนนั้นได้มีนักวิชาการที่เริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่อดีต โดยขอบข่ายของแนวความคิดในด้านนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มประเทศใหญ่ๆ ที่สนใจศึกษาวิจัยอย่างจริงจังนั่นก็คือ 1.กลุ่มนักคิดในสหรัฐอเมริกา และ 2.กลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร โดยสามารถจำแนกแนวความคิดต่างๆ ได้ดังนี้

1. กลุ่มนักคิดในสหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกาเองก็มีกลุ่มนักคิดที่แบ่งออกเป็น 2 สำนักใหญ่ๆ ซึ่งมีตัวแบบในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ดังนี้

  • 1.1 ตัวแบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มฮาร์วาร์ด (The Harvard Model) กลุ่มแนวคิดนี้บางครั้งถูกเรียกว่าแนวคิดแบบ “มนุษย์นิยมเชิงพัฒนาการ (Developmental Humanism)” ซึ่งมีรากฐานทางความคิดมาจากสำนักคิดสาย “มนุยสัมพันธ์” ที่เน้นเรื่องของการสื่อสารในองค์กร การสร้างระบบทำงานแบบทีม และการใช้ความสามารถของแต่ละบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแก่นของแนวคิดนี้ก็คือการต้องสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เพราะเมือบุคลากรได้รับการตอบสนองจากองค์กรที่ดีและเหมาะสมแล้ว ก็จะเกิดแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน มีความสุขในการทำงาน สังคมการทำงานก็ดี งานมีประสิทธิภาพขึ้น และสุดท้ายแล้วผลประกอบการขององค์กรก็ดีขึ้น องค์กรมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้ค่อนข้างจะเป็นแนวคิดกระแสหลักและทรงอิทธิพลมากที่สุด ทั้งยังมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายที่สุดด้วย
  • 1.2 หลักการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสำนักมิชิแกน (The Michigan School) กลุ่มแนวคิดนี้บางครั้งถูกเรียกว่าแนวความคิดแบบ “บริหารจัดการนิยม (Managerialism)” ซึ่งจะเน้นไปที่การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์มากกว่าการบริหารจัดการเชิงบุคคล ซึ่งแนวคิดกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับฝ่ายจัดการมากกว่า โดยมองทรัพยากรมนุษย์เป็นเพียงเครื่องมือในกระบวนการทำงานหนึ่ง แต่ก็มีการใส่ใจมากกว่าแต่ก่อน แนวความคิดนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งแนวความคิดนี้ก็ถูกเรียกว่า “ประโยชน์-กลไกนิยม (Utilitarian-instrumentalism)” คือมองผลประโยชน์ขององค์กรหรือผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก แต่ก็มีการบริหารทรัพยากรบุคคลอันเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้องค์กรประสบผลสำเร็จ

2. กลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร

กลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักรเองก็มีแนวความคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่คล้ายๆ กันกับทางกลุ่มนักคิดของสหรัฐอเมริกา โดยมีการนำเสนอแนวคิดออกมาเป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ ดังนี้

  • 2.1 กลุ่มแนวความคิดแบบอ่อน (Soft) กลุ่มนักคิดนี้ให้ความสำคัญที่มีน้ำหนักไปทาง “คน” มากกว่า “การบริหารจัดการ” โดยกลุ่มนี้เชื่อว่าบุคคลากรทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีความสามารถในตนเอง การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้นจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยปลดปล่อยพลังตลอดจนศักยภาพของมนุษย์ออกมาได้ ดังนั้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวนี้จึงเน้นไปในเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การสร้างพันธกิจผูกพัน (Commitment) เกี่ยวข้อง (Involvement) และ การมีส่วนร่วม (Participation) ให้เกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กร
  • 2.2 กลุ่มแนวความคิดแบบแข็ง (Hard)กลุ่มนักคิดนี้ให้ความสำคัญที่มีน้ำหนักไปทาง “การบริหารจัดการ” มากกว่า “คน” โดยกลุ่มนี้เชื่อว่าการบริหารจัดการเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด หากบริหารจัดการดีจะทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากบุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เช่นกัน สามารถใช้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด แนวคิดนี้ยังสนับสนุนการบูรณาการ (Integrate) เรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร ไม่ได้มุ่งเน้นที่การจัดการด้านทรัพยากรเป็นหลัก แต่จะมุ่งเน้นที่ระบบการบริหารจัดการก่อนเป็นอันดับแรก และจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม เพื่อให้ระบบบริหารจัดการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

CHECK!!

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

Q: จริงๆ แล้วเรามี HR กันไปเพื่ออะไร แล้วอนาคตของ HR จะเป็นอย่างไร

อยากจะมาชวนกันคุย ชวนแลกเปลี่ยนกันว่าทุกวันนี้บทบาทของ HR คืออะไร ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปไวอย่างนี้หรือที่คนในแวดวง HR เรียกกันว่า VUCA era ( ย่อจาก volatility, uncertainty, complexity, and ambiguity) อนาคตของ HR จะเป็นไปอย่างไร เราจะต้องปรับตัวเพื่อเปลี่ยนบทบาทตัวเองไปอย่างไรบ้าง แสดงความเห็นกันได้เต็มที่ไม่มีผิดมีถูกเลยนะคะ

A: งาน HR ผมขออนุญาตแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนะครับ

1. HR Admin Expert ตำแหน่งนี้ก็คือเป็นงานด้านการจัดการงานรูทีนทั้งหมดของงาน HR
2. HR Strategic กลุ่มนี้เป็นมันสมอง และมีระบบความคิดใหม่ๆเข้ามาช่วยองค์กรในเชิงของการบริหารคนให้สอดคล้องกับภาระงานที่มีในปัจจุบัน สามารถเลือกคนที่ใช่มาทำงานได้อย่างเหมาะสม และสามารถพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ รวมถึงการรักษาคนในองค์กรให้เขารู้สึกว่ายังอยากอยู่กับองค์กรนี้ต่อไป,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

บทบาทและความรับผิดชอบในข่ายงานของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Roles and Responsibilities of Human Resource Management)

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์กรมากที่สุดก็คือทรัพยากรมนุษย์ ยุคปัจจุบันหลายองค์กรหันมาใส่ใจเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง โดยการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นมีหลากหลายมิติซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในขอบข่ายงานดังนี้

1. การสรรหาทรัพยากรบุคคลและจัดการด้านแรงงาน (Recruitment and Staffing)

หนึ่งในหน้าที่หลักของงานบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลก็คือการสรรหาบุคลารและจัดการด้านแรงงาน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนด้านแรงงาน ประเมินกำลังคน จัดสรรกำลังพลให้เหมาะสม เพื่อให้การทำงานขององค์กรราบรื่นไม่ติดขัด หน้าที่สำคัญด่านแรกก็คือการสรรหาบุคลากรเข้ามาทำงานในองค์กร โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้องสามารถประเมินศักยภาพของพนักงานได้ดีและจัดจ้างพนักงานที่ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงมีกลยุทธ์ในการสรรหาบุคลากรที่ยอดเยี่ยมที่จะทำให้ได้บุลากรที่ดีมีความสามารถตลอดจนมีศักยภาพเข้ามาร่วมงานและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

2. อบรมและพัฒนาบุคลากร (Training and Development)

ทรัพยากรบุคคลต้องการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ หน้าที่สำคัญหนึ่งของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและเป็นภาระกิจสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลก็คือการอบรมพัฒนาบุคคลากรให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในด้านทักษะ, องค์ความรู้, หรือแม้กระทั่งทักษะใหม่ๆ, บางองค์กรในยุคปัจจุบันยังส่งเสริมการอบรมทักษะในด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง แต่มุ่งเน้นที่การบริหารงานด้วย อย่างเช่น การอบรมการเป็นผู้นำ, การอบรมการทำงานเป็นทีม เป็นต้น ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากจะช่วยส่งเสริมศักยภาพของพนักงานแล้วก็ยังช่วยให้องค์กรมีศักยภาพมากขึ้นตามไปด้วย

3. การบริหารจัดการด้านอัตราจ้างงาน (Payroll Management)

เรื่องอัตราจ้างงานนั้นถึงแม้ว่าจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่กลับกลายเป็นเรื่องสำคัญและละเอียดอ่อน ปัจจุบันฝ่ายทรัพยากรบุคคลเข้ามามีบทบาทในเรื่องการบริหารจัดการอัตราจ้างเป็นอย่างมาก โดยไม่ใช่เฉพาะการจ่ายเงินเดือนเท่านั้น แต่รวมถึงการดูแลระบบการจ่ายเงินเดือนไม่ให้สะดุด รวมถึงตามเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ทัน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการประเมินงบประมาณอัตราจ้าง การบริหารงบประมาณ การประเมินเงินเดือนให้แต่ละตำแหน่ง รวมไปถึงการบริหารจัดการด้านการเงินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน เช่น ประกันสังคม, ประกันสุขภาพ, กองทุนต่างๆ, ภาษี, ค่าชดเชยในกรณีต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงการต้องติดตามอัพเดทข้อมูลด้านนี้ตลอดเวลาทั้งในระดับบริษัทด้วยกัน ไปจนถึงนโยบายของรัฐบาลที่มีผลต่อองค์กร

4. การบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพของการทำงานตลอดจนการประผลการทำงาน (Appraisals and Performance Management)

หลังจากที่รับพนักงานเข้ามาทำงานในองค์กรแล้วฝ่ายทรัพยากรบุคคลยังคงต้องคอยติดตามดูประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงานแต่ละคนด้วย ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าได้คัดสรรคนเข้ามาทำงานได้ตรงตามที่องค์กรต้องการหรือไม่ มีประสิทธิภาพในการทำงานเพียงไร สมควรจะจ้างต่อหรือไม่ หรือสมควรจะส่งเสริมด้านใดให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นหรือเปล่า การประเมินผลนี้นอกจากจะดูในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานที่ส่งผลต่อพนักงานหรือองค์กรแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ต่อการประเมินอัตราจ้าง, โบนัส, การเลื่อนตำแหน่ง, หรือการเปลี่ยนสายงานได้อีกด้วย และองค์กรที่มีการประเมินผลการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เห็นว่าองค์กรนั้นมีศักยภาพในระดับใด ควรปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องตรงจุดไหนด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรให้สูงยิ่งขึ้น

5. การแก้ปัญหาและลดความขัดแย้ง (Conflict Resolution)

ในแต่ละองค์กรต่างก็มีความหลากหลายของบุคลากร ตลอดจนมีพื้นฐานการศึกษาที่แตกต่างกันด้วย ฉะนั้นจึงไม่ใช่สิ่งแปลกที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ ทั้งความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัวไปจนถึงความขัดแย้งในเรื่องงาน ลดปัญหา และช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถใช้ระบบตลอดจนบริการต่างๆ แก้ได้ เช่น การกู้เงินฉุกเฉิน, ประกันอุบัติเหตุ, หรือแม้แต่การช่วยเหลือเรื่องสิทธิในการลาจากกรณีต่างๆ เป็นต้น

6. แรงงานสัมพันธ์ (Employee Relation)

หนึ่งในหน้าที่หลักของฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นก็คือเรื่องแรงงานสัมพันธ์ที่ฝ่ายบุคคลจำเป็นจะต้องประสานความสัมพันธ์ของแรงงานในส่วนต่างๆ ให้ดี แรงงานสัมพันธ์นี้คือเชื่อมความสัมพันธ์ในองค์กรให้เกิดความรักสามัคคีในการทำงานด้วย และหากพนักงานเกิดความร่วมมือกันอย่างดีเยี่ยม แน่นอนว่าองค์กรย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงตามไปด้วย อันที่จริงแล้วแรงงานสัมพันธ์นั้นมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย ตั้งแต่การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับแรงงาน ไปจนถึงการประสานเรื่องแรงงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้องค์กรไม่เกิดปัญหาในเรื่องนี้ขึ้น ฝ่ายบุคคลที่ดีนั้นควรสร้างความสัมพันธ์ของคนในองค์กร และไม่ควรสร้างความแตกแยก หรือไม่อำนวยความสะดวกให้กับแรงงาน เพราะหากงานแรงงานสัมพันธ์บกพร่องก็อาจเป็นส่วนที่ทำให้องค์กรล่มสลายได้เช่นกัน

บทสรุป

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM) นั้นเป็นกลยุทธ์สำคัญขององค์กรที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) จะต้องใส่ใจดำเนินการอย่างรอบคอบและจริงจัง เพราะหากการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว บุคคลในองค์กรก็จะมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพตามมาด้วย แล้วแน่นอนว่าท้ายที่สุดองค์กรก็จะประสบความสำเร็จทั้งยังเพิ่มศักยภาพขององค์กรให้มากยิ่งขึ้น ในจุดนี้ทั้งบุคลากรและองค์กรเองก็ก้าวหน้าไปพร้อมกันด้วย

คุณกำลังหาข้อมูลบริการและผลิตภัณฑ์ HR อยู่ใช่หรือเปล่า?

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

HR Explore แพลตฟอร์มแรกในไทยที่รวบรวม HR Products & Services มากที่สุด

มาพร้อมระบบเปรียบเทียบราคาเพื่อช่วยตัดสินใจ จะเป็น SMEs หรือธุรกิจใหญ่ ที่นี่มีครบ !

ปรัชญา นโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์คืออะไร

จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า ปรัชญาของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ1 ) สมาชิกในองค์การ ที่มีความรู้ความสามารถจะทาให้องค์การพัฒนาและเจริญเติบโต 2)ความพึงพอใจของสมาชิกต่อเพื่อน ร่วมงานและระหว่างสมาชิกกับ ผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ 3) สมาชิกในองค์การมีความถนัด ความสามารถ ของตน จะเกิดความพึงพอใจและมีความสุขในการทางาน 4) การทางาน ...

นโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง

1. การวางแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล 2. การจ้างงาน 3. การบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 4. ระบบค่าจ้างและผลตอบแทน 5. การพัฒนาบุคลากร 6. การบริหารความก้าวหน้าทางอาชีพ 7. การส่งเสริมจริยธรรมของบุคลากรในหน่วยงาน

กระบวนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีอะไรบ้าง

ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการจัดการตามขั้นตอนที่มี โดยเริ่มจากขั้นตอนที่ 1 การ วางแผน ขั้นตอนที่2 การสรรหา การคัดเลือก การทดสอบและการสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 3 การแต่งตั้ง การปฐมนิเทศ และการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 4 การบริหารค่าตอบแทน ขั้นตอนที่ 5 การวัดผล และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่6 การเลื่อนตา ...

ทรัพยากรที่สําคัญที่สุดที่กําหนดความสําเร็จขององค์การ คืออะไร เพราะอะไร

ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากสำหรับทุกองค์กร และถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้อีกด้วย นับตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเริ่มมีการศึกษาศาสตร์แห่งการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจังขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้มีหลักการในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย และ ...