การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ

การวิเคราะห์ SWOT หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภท

 

ความหมาย SWOT

จุดแข็ง (Strengths) : จุดเด่นหรือจุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ) เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน และข้อได้เปรียบด้านการผลิต และด้านทรัพยากรบุคคล โดยบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด  

จุดอ่อน (Weaknesses) : จุดด้อยหรือจุดอ่อน ข้อเสียเปรียบเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทาง การบริการที่ไม่แน่นอน หรือบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท  

โอกาส (Opportunities) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ โดยการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น  

อุปสรรค (Threats) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง และพยายามขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้  

การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน

การวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในบริษัททุก ๆ ด้านเพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย

การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก

ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค การดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ

การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) การประกอบธุรกิจในฟินแลนด์

จุดแข็ง

1. การจัดตั้งบริษัทง่ายและกฎระเบียบไม่ซับซ้อน

2. รัฐมีระบบการสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับการเริ่มประกอบธุรกิจ

3. การประกอบธุรกิจมีความชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้

จุดอ่อน

1. ผู้ประกอบการควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา และพฤติกรรมการบริโภคของชาวฟินแลนด์

2. ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายแรงงานของฟินแลนด์ 

3. มีกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างที่นายจ้างจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เช่น การทำประกันสังคมและ ประกันสุขภาพ รวมถึงประกันอุบัติเหตุจากการจ้างงานซึ่งทำให้มีต้นทุนสูงในการประกอบธุรกิจ

โอกาส

1. การประกอบธุรกิจที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยจะดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า เนื่องจากชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจประเทศไทยเป็นอย่างมาก

2. ธุรกิจสามารถเติบโต สร้างความมั่นคง และสร้างเงินหมุนเวียนได้

3. ชาวฟินแลนด์มีรายได้ดี และกำลังซื้อสูง

4. การเลือกประกอบธุรกิจในทำเลที่ดีจะสามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้สูงและมีลูกค้าประจำ

อุปสรรค

1. ชาวฟินแลนด์มีความรอบคอบในการเลือกที่จะบริโภคสินค้าราคาถูกที่มีปริมาณมาก

2. ชาวฟินแลนด์ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การสื่อสาร เป็นสิ่งที่ชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจมากกว่า

3. พื้นที่เช่าในทำเลย่านธุรกิจมีการแข่งขันสูงทำให้หาพื้นที่ทีมีศักยภาพดียากขึ้น หรืออาจหาได้ในราคาที่สูงเกินไป

4. ผู้ประกอบการควรต้องรู้ภาษาท้องถิ่น แม้ว่าชาวฟินแลนด์มากกว่าร้อยละ 85 สามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่ก็คาดหวังที่จะได้รับการบริการและการสื่อสารในภาษาท้องถิ่น

สภาพแวดล้อมของบรรษัท (Corporate Environment) เป็นกลุ่มของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์การที่มีผลต่อความก้าวหน้าและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์การการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหมายถึงการติดตาม  ตรวจสอบ  พยากรณ์และ / หรือคาดการณ์   และประเมินความเป็นไปในสภาพแวดล้อมขององค์การ  เพื่อจะกำหนดประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอุปสรรคและโอกาสที่จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะมีความสำคัญต่อการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ  ดังที่ Michael E. Naylor (1985) ซึ่งเป็น
นักวางแผนกลยุทธ์ของ General Motors หรือ GM กล่าวว่า  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การจะช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถตอบสนองต่อสภาวการณ์สำคัญๆ  ของบริษัทได้อย่างเหมาะสม  โดยพยายามคาดการณ์เหตุการณ์สำคัญๆที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือพยากรณ์สถานการณ์ในอนาคตเพื่อที่จะกำหนดประเด็นสำคัญของแต่ละสถานการณ์  เพื่อที่จะวางแผนในการตอบสนองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือ
นำเอาสิ่งที่เรียนรู้จากการตรวจสอบสภาพแวดล้อมมาใช้ประกอบในการตัดสินใจที่สำคัญขององค์การความตื่นตัวของผู้บริหารต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดและสาเร็จขององค์การในปัจจุบัน  ซึ่งฝ่ายจัดการควรที่จะมอบหมายให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมและพิจารณาข้อมูลที่เป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมขององค์กรอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว  ขับซ้อน  ปรับตัวตลอfเวลา  และส่งผลกระทบต่อธุรกิจในมุมกว้างกว่าในอดีตมาก

นอกจากนี้แนวความคิดเรื่องระบบ (System Approach) ยังเป็นเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้บริหารระดับสูงต้องทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมขององค์การ  เนื่องจากองค์การเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งต้องดำเนินงานเกี่ยวข้องกับปัจจัยแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยองค์การจะได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากสภาพแวดล้อม  ในขณะเดียวกันองค์การต้องติดต่อสัมพันธ์และมีอิทธิพลกับสภาพแวดล้อมเช่นกัน  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและนักกลยุทธ์ที่จะต้องหาแนวทางปฏิบัติ  เพื่อให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นประโยชน์หรือไม่ก่อผลคุกคามต่อการดำเนินงานและอนาคตของธุรกิจ  ซึ่งจะทำให้องค์การสามารถดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องและมีพัฒนาการที่มั่นคง
ดังนั้นถ้าเราสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยมีหลักเกณฑ์เหมาะสมและมีประสิทธิภาพก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้องค์การประสบความสำเร็จในอนาคต  ซึ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อองค์การ 3 ประการดังต่อไปนี้

1. บทบาทเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย   เป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายแรกของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  ปกติการดำเนินงานระดับนโยบายจะให้ความสนใจในหัวข้อเชิงกลยุทธ์ที่กว้างๆ  ซึ่งจะมีผลกระทบต่อองค์การทั้งหมด  เช่น  ทัศนคติ  บรรทัดฐาน  หรือกฎหมาย  โดยที่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในระดับนโยบายจะอยู่ในลักษณะที่ไม่มีโครงสร้าง  นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ทางอ้อมและ
ไม่เป็นทางการกับการวางแผนขององค์การ  ดังนั้นบทบาทเดียวกับการกำหนดนโยบายจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงมีข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม  โดยที่บทบาทนี้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มต้น  เพื่อให้
ผู้บริหารระดับสูงสามารถตัดสินใจตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม  ปกติบุคคลที่ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสำหรับการกำหนดนโยบายจะให้ความสำคัญกับภาพรวมของการดำเนินงานระดับองค์การ  และมักจะปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูง

2. การบูรณาการเข้ากับแผนกลยุทธ์ของกลยุทธ์  เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อที่จะกำหนดแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานขององค์การ  โดยช่วยให้ผู้บริหารระดับสูง  ผู้บริหารตามหน้าที่ทางธุรกิจ  หรือสายงานต่างๆ ตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของธุรกิจ  ซึ่งจะมีผลกระทบและมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนในทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับองค์การ  ระดับธุรกิจและระดับหน้าที่ทางธุรกิจ  ปกติบุคคลที่ทำหน้าที่วิเคราะห์สภาพแวดล้อมมักจะทำงานในระดับหน่วยงานหรือระดับองค์การ  ซึ่งจะมีการรายงานผลหรือดำเนินงานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวางแผน

โดยปกติการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์การซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์สภาพแวดล้อม  เพื่อที่จะกำหนดสมมติฐานพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการขององค์การและแผนงานในอนาคต  ตลอดจนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข้อมูลและให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญของสภาพแวดล้อม  ซึ่งมีผลกระทบต่ออนาคตขององค์การ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรมีอะไรบ้าง

ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน สามารถท าการวิเคราะห์ได้หลากหลายวิธี ใน ที่นี้จะขอน าเสนอวิธีที่นิยมน าไปใช้อย่างแพร่หลาย 3 วิธี ได้แก่ 1. การวิเคราะห์โดยห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis) 2. การวิเคราะห์โดยแบบจ าลอง 7S's Model (Mc Kinsey 7S's Model ) 3. การวิเคราะห์โดยหน้าที่ทางธุรกิจ (Functional Analysis) ซึ่ง ...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีความสําคัญอย่างไร

การวิเคราะห์ SWOT หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภท

สภาพแวดล้อมขององค์กรหมายถึงอะไร

หมายถึง : ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภายนอกขอบเขต ขององค์การซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การหรือส่วนใด ส่วนหนึ่งขององค์การ

สภาพแวดล้อมในองค์กรมีอะไรบ้าง

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จะแบ่งออกได้เป็น สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก องค์กร โดยสภาพแวดล้อมภายใน หรือเรียกว่า Internal environment จะประกอบด้วย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน กระบวนการทำงาน ระบบงาน เทคโนโลยีที่ใช้ ความสามารถของพนักงาน จำนวนพนักงาน การสื่อสารภายในองค์กร ความเป็นผู้นำ วัฒนธรรม ขีดความสามารถขององค์กร