ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

          ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด มีข้อแตกต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
          2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้
          3. ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้
          4. จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
          5. เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
          6. เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
          2. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
          3. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
          4. ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
          5. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ
          6. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ

Show

ห้างหุ้นส่วนจัดว่าเป็นรูปแบบองค์กรทางธุรกิจที่นิยมจัดตั้งที่มากสุด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสามารถจัดตั้งได้ง่ายขั้นตอนการจดทะเบียนไม่ซับซ้อน เหมาะกับกิจการขนาดเล็กจนถึงกลาง ซึ่งในบทความนี้ จะนำเสนอรายละเอียด ความสำคัญและการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สามัญ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเลือกจัดตั้งรูปแบบองค์กรธุรกิจที่เหมาะสมกับกิจการของตนเอง ดังนี้

ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ?

ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ (Ordinary Partnership) รูปแบบองค์กรธุรกิจที่หุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนชนิดที่ ” ไม่จำกัดความรับผิดชอบ ” นั่นหมายถึง กรณีห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ หุ้นส่วนทุกคนจะเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยแบ่งสัดส่วนตามข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ ซึ่งองค์กรธุรกิจประเภทนี้สามารถเลือกได้ว่า จะจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือไม่ก็ได้

ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีกี่ประเภท ?

ห้างหุ้นส่วนสามัญแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน (ไม่ถือเป็นนิติบุคคล ) และ
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (เป็นนิติบุคคล)

ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

หากเป็นการประกอบกิจการในรูปหุ้นส่วนโดยไม่จดทะเบียน จะมีสถานะเป็น ห้างหุ้นส่วน สามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งกิจการรูปแบบนี้จะไม่มีตัวตนแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน เช่น กรณีฟ้องร้องคดี จะใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนในการฟ้องไม่ได้ ต้องใช้ ชื่อผู้จัดการหุ้นส่วน หรือตัวแทนหุ้นส่วน เป็นผู้ฟ้องคดี ในขณะเดียวกัน หากประกอบกิจการในรูปของหุ้นส่วนและมีการจดทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะมีสถานะเป็นห้างหุ้นส่วน สามัญ “นิติบุคคล” โดยมีผลทางกฏหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

สิทธิหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนรวมทั้งมีความรับผิด

การดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ  หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินการการจัดการห้าง มีสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนรวมทั้งมีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกันแยกได้ ดังนี้

การจัดการห้าง

การจัดการห้าง คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างก็มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งตามหลักกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าการจัดการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน โดยให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนเป็น “ผู้จัดการ”ทุกคนและถ้ามีการตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการห้าง สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่ได้เป็นผู้จัดการห้าง มีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการทำงานของห้างหุ้นส่วนที่จัดการอยู่นั้นได้ทุกเมื่อ เรียกว่า “การดูแลครอบงำการจัดการห้างหุ้นส่วน สามัญ” ดังนั้น การจัดการห้างหุ้นส่วน สามัญ จึงอาจเป็นการร่วมกันทำงานทั้งหมดหรือแบ่งงานกันทำ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. การจัดการโดยตรง หมายถึง หุ้นส่วนเข้ามาบริหารร่วมกันทุกคน เป็นผู้จัดการทุกคน อาจแบ่งหน้าที่กันทำงาน เช่น คนหนึ่งทำหน้าที่ดูแลจัดระเบียบสำนักงาน อีกคนหนึ่งติดต่อลูกค้า ตลาดการค้า หรืออีกคนหนึ่งบริการรับและส่งสินค้า เป็นต้น
  2. จัดการโดยเสียงข้างมาก หากได้มีการตกลงกันไว้ว่าการจัดการงานของห้างให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่งเสียงโดยไม่ต้องคำนึงจำนวนหุ้นที่ลงไว้มากหรือน้อยเพียงใด
  3. การดูแลครอบงำการจัดการ หมายถึง มีการจัดตั้งหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียวบุคคลที่เหลือไม่ใช่ผู้จัดการแต่ย่อมมีสิทธิที่จะตรวจคัดสำเนาสมุดบัญชี และเอกสารใดๆ ของห้างหุ้นส่วนได้ สิทธิอันนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า”สิทธิการดูแลครอบงำการจัดการห้างหุ้นส่วน สามัญ”
ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
การจัดการห้าง

สิทธิหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน

สิทธิหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน คือ การเป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน โดยทุกคนจะต้องปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

  • ห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด ที่มีสภาพเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการห้างหุ้นส่วน ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ของตน หรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ
  • ห้ามให้บุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันทั้งหมดทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
  • ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายให้ใช้กฎหมายเรื่องตัวแทนมาบังคับ
  • การได้กำไรหรือขาดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนใดได้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว แต่ห้างยังใช้ชื่อของตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ออกไปนั้นจะขอให้งดใช้ชื่อของตนเสียก็ได้ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะเรียกเอาส่วนของตนจากหุ้นส่วนอื่นๆ แม้ในกิจการค้าขายใดๆ ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนก็ได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
สิทธิหน้าที่ของผู้เป็นหุ้นส่วน

ความเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก

สามารถแบ่งออกได้ 5 ประการ ดังนี้

  1. ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญจะถือเอกสิทธิใดๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขาย ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนเป็นคู่สัญญา เพราะห้างหุ้นส่วน สามัญไม่ใช่นิติบุคคล การทำสัญญาในกิจการใดๆ แม้จะทำในนามห้างก็ผูกพันเฉพาะคู่สัญญาที่ลงนามเท่านั้น ไม่ผูกพันบุคคลอื่นแม้จะเป็นหุ้นส่วนด้วยก็ตาม แต่ในความรับผิดชอบระหว่างหุ้นส่วนด้วยกัน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันโดยไม่จำกันจำนวน
  2. ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่ก่อให้เกิดขึ้น ก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน และระหว่างที่ตนยังเป็นหุ้นส่วน หากมีหนี้สินหรือขาดทุน ก็ต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วนไป
  3. ข้อจำกัดภายในห้างไม่มีผลถึงบุคคลภายนอก สามารถใช้ได้เฉพาะหุ้นส่วนด้วยกันเองภายในเท่านั้น
  4. ผู้ที่ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนแต่แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน โดยการแสดงออกด้วยวาจาก็ดี ด้วยลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี หรือยินยอมให้เข้าใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้าง รู้แล้วไม่คัดค้านบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างเสมือนเป็นหุ้นส่วนของห้างนั้น
  5. หุ้นส่วนตายแล้ว แต่ยังมีชื่อผู้ตายเป็นหุ้นส่วนใหญ่อยู่ หรือมีชื่อผู้ตายควบอยู่ในห้างก็ดี ก็ไม่กระทบต่อกองมรดกของผู้ตาย หากหนี้สินนั้นก่อขึ้นภายหลังการตาย

หสม คือ ย่อมาจาก

หสม ย่อมาจาก ห้างหุ้นส่วน สามัญ ตามมาตรา 1025 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันว่าห้างหุ้นส่วน สามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ตัวย่อ-หสม

inc ย่อมาจาก

  • Inc. ย่อมาจาก Incorporated หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  • ห้างหุ้นส่วน สามัญ ตัว ย่อ คือ หสม
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ ภาษาอังกฤษ ตัวย่อ Inc. ย่อมาจาก Incorporated หมายถึง “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

เปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีหุ้นส่วน สองคนขึ้นไป ผู้เป็นหุ้นส่วนจะอยู่ฐานะผู้จัดการ และทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน ตามกฎหมายเรียกว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญ และเรียกผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานของห้างว่า “หุ้นส่วนผู้จัดการ”
การประกอบการแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีลักษณะเหมือนกับ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ทุกประการ แต่มีข้อแตกต่างกัน คือการนำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีผลให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากห้างหุ้นส่วน ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

  1.  การเสียภาษีแบบนิติบุคคล
  2. ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น เนื่องจากมีผู้สอบบัญชี
  3. มีการร่วมลงทุนและความรู้ของหุ้นส่วน

ข้อดี ของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

  1. การจัดตั้งกระทำได้ง่าย
  2. มีการร่วมทุนและความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  3. สามารถขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนหรือรับหุ้นส่วนเพิ่มได้

ข้อเสีย ของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

  1. เมื่อห้างมีการขาดทุนและเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีฐานะการเงิน ดีจะถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้ของห้างทั้งหมดได้
  2. ความคล่องตัวและความเป็นอิสระ ในการบริหารงานลดลง
  3. การเสียภาษี เป็นการเสียแบบบุคคลธรรมดา
  4. ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ร่วมกันโดย เจ้าหนี้ อาจจะเรียกให้หุ้นส่วนคนใดชำระหนี้ให้จนครบจำนวนย่อมได
ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ข้อดีข้อเสีย ห้างหุ้นส่วนมามัญ

จัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

การจดทะเบียนจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ?
เมื่อหุ้นส่วนทุกคนยินยอมและตกลงกันในเรื่องการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนได้แล้ว ให้ดำเนินการจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

  • ตั้งชื่อและทำการจองชื่อห้างหุ้นส่วนกับระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อไม่ให้มีชื่อซ้ำกับกิจการอื่น พร้อมทั้งจัดทำตราประทับของกิจการ
  • จัดเตรียมคำขอและข้อมูลสำหรับการยื่นจดทะเบียน เช่น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกิจการ ที่ตั้งสำนักงาน รายการชื่อที่อยุ่หุ้นส่วนทุกคน ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการพร้อมข้อจำกัดอำนาจ
  • จากนั้นหุ้นส่วนผู้จัดการทำหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ที่กรมพัมนาธุรกิจการค้าหรือยื่นทางเว็บไซต์ www.dbd.go.th
    เมื่อการดำเนินการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดเสร็จสิ้น ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องทำจัดงบการเงินประจำปี ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นความรับผิดชอบหลักสำหรับองค์กรธุรกิจประเภทจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนสามัญ กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

หากกล่าวโดยสรุป องค์กรธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วน มีข้อดีในเรื่องความมั่นคงและน่าเชื่อถือเนื่องจากประกอบกิจการด้วยความสามารถของหุ้นส่วนหลายคน อีกทั้งการจัดตั้งไม่ยุ่งยากและสามารถเลิกกิจได้ง่าย แต่ธุรกิจประเภทนี้มีข้อจำกัดในเรื่องการโอนหุ้นหรือถอนเงินทุนของกิจการ อีกทั้งอายุธุรกิจถูกจำกัดด้วยชีวิตของผู้เป็นหุ้นส่วน และอาจเกิดความขัดแย้งภายในจากประเภทของหุ้นส่วนได้ง่าย
 
ก่อนจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วน ผู้ร่วมลงทุนต้องมีการเจรจาตกลงที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ เพื่อลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นและช่วยการบริหารงานเป็นระบบก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นนิติบุคคลหรือไม่

 

เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำากัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำาตัวผู้เสียภาษีอากร ของกรมสรรพากรด้วย

ห้างหุ้นส่วนสามัญกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลต่างกันยังไง

ห้างหุ้นส่วนสามัญเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของกิจการเปิดธุรกิจร่วมกัน (โดยไม่ต้องจดทะเบียน) หุ้นส่วนทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อกิจการทันที ส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีหน้าที่และความรับผิดชอบไม่ต่างจากการจดทะเบียน แต่ห้างหุ้นส่วนนั้นมีความเป็นนิติบุคคลแยกออกจากหุ้นส่วน

ข้อแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจํากัดมีอะไรบ้าง

ห้างหุ้นส่วนสามัญ: หุ้นส่วนทุกคนรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นจาการประกอบกิจการไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากทรัพย์สินส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: แบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ และหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลประกอบไปด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนกี่ประเภท

ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น) และ อีกประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด)

ห้างหุ้นส่วนสามัญถือเป็นนิติบุคคลไหม

เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำากัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำาตัวผู้เสียภาษีอากร ของกรมสรรพากรด้วย