การ ทํา งานของมอเตอร์ 1 เฟส

หลักการทำงาน
ของ

มอเตอร์

คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง
ของวิชาฟิสิกส์ เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องมอเตอร์ไฟฟ้า โดยได้ศึกษา
ผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ อาทิเช่น ตำรา หนังสือ และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์
ต่างๆ โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า
หลักการทำงานของมอเตอร์ และชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งไฟฟ้ากระแสตรง
และไฟฟ้ากระแสสลับ

ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำเอกสารฉบับนี้จะมีข้อมูลที่
เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี

นางสาวบัณฑิตา คงเจริญ

สารบัญ ข

เรื่อง หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
ทำความรู้จักกับมอเตอร์ 1
หลักการทำงานของมอเตอร์ 2
ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า 3
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
4
ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 7
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 9
ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 12
ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 13
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 15
ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 22
บรรณานุกรม

1

ทำความรู้จักกับมอเตอร์

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักความกับมอเตอร์ไฟฟ้ากันก่อน มอเตอร์
ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็น
พลังงานกล ซึ่งมีใช้งานกันแพร่หลายตั้งแต่อุปกรณ์ของเด็กเล่น เครื่องใช้
ไฟฟ้าภายในบ้าน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาด
ใหญ่ ซึ่งนำมาใช้งานในลักษณะเป็นเครื่องผ่อนแรง อุปกรณ์อำนวยความ
สะดวก เครื่องออกกำลังกาย และควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลใน
กระบวนการผลิตต่าง ๆ

2

หลักการทำงาน
ของมอเตอร์

เมื่อมีกระแสไหลในขดลวดตัวนำที่พันอยู่บนแกนอาร์เมเจอร์ จะเกิดสั่นแรง
แม่เหล็กรอบ ๆ ตัวนำ และทำปฏิกิริยากับเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจากขั้วแม่เหล็กของ
มอเตอร์ ทำให้เกิดแรงผลักขึ้นบนตัวนำทำให้อาร์เมเจอร์หมุนไปได้ขดลวดที่มีกระแส
ไฟฟ้าไหลและวางอยู่บนแกนของอาร์เมเจอร์ โดยวางห่างจากจุดศูนย์กลางเป็น
ระยะ r กำหนดให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดที่ปลาย A และไหลออกที่ปลาย B
จากคุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็กจะไม่ตัดผ่านซึ่งกันและกัน ดังนั้นปริมาณของ
เส้นแรงแม่เหล็กจะมีจำนวนมากที่ด้านบนของปลาย A จึงทำให้เกิดแรง F1 กดตัวนำ
A ลงด้านล่างและขณะเดียวกันที่ปลาย B นั้น เส้นแรงแม่เหล็กจะมีปริมาณมากที่
ด้านหน้าทำให้เกิดแรง F2 ดันให้ตัวนำ B เคลื่อนที่ด้านบนของแรง F1 และ F2 นี้
เองทำให้อาร์เมเจอร์ของมอเตอร์เกิดการเคลื่อนที่ไปได้ดังนั้นการทำงานของมอเตอร์
จึงขึ้นอยู่กับหลักการที่ว่า เมื่อเอาตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปวางในสนามแม่
เหล็ก มันจึงพยายามทำให้ตัวนำเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก

3

ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า

จำแนกของมอเตอร์ไฟฟ้าออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Motor)
โดยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ยังสามารถแยกย่อยออกเป็น 3 ชนิด

- มอเตอร์แบบอนุกรมหรือเรียกว่าซีรีส์มอเตอร์ (Series Motor)
- มอเตอร์แบบอนุขนานหรือเรียกว่าชันท์มอเตอร์ (Shunt Motor)
- มอเตอร์ไฟฟ้าแบบผสมหรือเรียกว่าคอมปาวด์มอเตอร์
(Compound Motor)

2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Motor)
โดยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับยังสามารถแยกย่อย ได้ 3 ชนิด

- มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส ประกอบด้วย สปลิทเฟสมอเตอร์
(Split-Phase motor), คาปาซิเตอร์มอเตอร์(Capacitor motor), รีพัลชั่น
มอเตอร์(Repulsion-type motor), ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์(Universal motor)
และ เช็ดเดดโพลมอเตอร์(Shaded-pole motor)

- มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 2 เฟส
- มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟส

4

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
1.) ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field Coil) คือขดลวดที่ถูกพันอยู่กับขั้วแม่เหล็กที่ยึดติด
กับโครงมอเตอร์ ทำหน้าที่กำเนิดขั้วแม่เหล็กขั้วเหนือ (N) และขั้วใต้ (S) แทนแม่
เหล็กถาวรขดลวดที่ใช้เป็นขดลวดอาบน้ำยาฉนวน สนามแม่เหล็กจะเกิดขึ้นเมื่อจ่าย
แรงดันไฟตรงให้มอเตอร์

2.) ขั้วแม่เหล็ก (Pole Pieces) คือแกนสำหรับรองรับขดลวดสนามแม่เหล็กถูกยึด
ติดกับโครงมอเตอร์ด้านใน ขั้วแม่เหล็กทำมาจากแผ่นเหล็กอ่อนบางๆ อัดซ้อนกัน
(Lamination Sheet Steel) เพื่อลดการเกิดกระแสไหลวน (Edy Current) ที่จะ
ทำให้ความเข้าของสนามแม่เหล็กลดลง ขั้วแม่เหล็กทำหน้าที่ให้กำเนิดขั้วสนามแม่
เหล็กมีความเข้มสูงสุด แทนขั้วสนามแม่เหล็กถาวร ผิวด้านหน้าของขั้วแม่เหล็กทำให้
โค้งรับกับอาร์เมเจอร์พอดี

5

3.) โครงมอเตอร์ (Motor Frame) คือส่วนเปลือกหุ้มภายนอกของมอเตอร์ และยึิด
ส่วนอยู่กับที่ (Stator) ของมอเตอร์ไว้ภายในร่วมกับฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ โครง
มอเตอร์ทำหน้าที่เป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็กระหว่างขั้วแม่เหล็กให้เกิดสนาม
แม่เหล็กครบวงจร
4.) อาร์เมเจอร์ (Armature) คือส่วนเคลื่อนที่ (Rotor) ถูกยึดติดกับเพลา (Shaft)
และรองรับการหมุนด้วยที่รองรับการหมุน (Bearing) ตัวอาร์เมเจอร์ทำจากเหล็กแผ่
นบางๆ อัดซ้อนกัน ถูกเซาะร่องออกเป็นส่วนๆ เพื่อไว้พันขดลวดอาร์เมเจอร์
(Armature Winding) ขดลวดอาร์เมเจอร์เป็นขดลวดอาบน้ำยาฉนวน ร่องขดลวด
อาร์เมเจอร์จะมีขดลวดพันอยู่และมีลิ่มไฟเบอร์อัดแน่นขึดขดลวดอาร์เมเจอร์ไว้
ปลายขดลวดอาร์เมเจอร์ต่อไว้กับคอมมิวเตเตอร์ อาร์เมอเจอร์ผลักดันของสนามแม่
เหล็กทั้งสอง ทำให้อาร์เมเจอร์หมุนเคลื่อนที่

6

5.) คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) คือส่วนเคลื่อนที่อีกส่วนหนึ่ง ถูกยึดติดเข้ากับ
อาร์เมเจอร์และเพลาร่วมกัน คอมมิวเตเตอร์ทำจากแ่ท่งทองแดงแข็งประกอบเข้า
ด้วยกันเป็นรูปทรงกระบอก แต่ละแท่งทองแดงของคอมมิวเตเตอร์ถูกแยกออกจาก
กันด้วยฉนวนไมก้า (Mica) อาร์เมเจอร์ คอมมิวเตเตอร์ทำหน้าที่เป็นขั้วรับแรงดันไฟ
ตรงที่จ่ายมาจากแปรงถ่าน เพื่อส่งไปใ้ห้ขดลวดอาร์เมอร์
6.) แปรงถ่าน (Brush) คือ ตัวสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์ ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผลิตมา
จากคาร์บอนหรือแกรไฟต์ผสมผงทองแดง เพื่อให้แข็งและนำไฟฟ้าได้ดี มีสายตัวนำ
ต่อร่วมกับแปรงถ่านเพื่อไปรับแรงดันไฟตรงที่จ่ายเข้ามา แปรงถ่านทำหน้าที่รับแรง
ดันไฟตรงจกแหล่งจ่าย จ่ายผ่านไปให้คอมมิวเตเตอร์

7

หลักการทำงานของ
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

มอเตอร์ไฟฟ้ามีส่วนประกอบหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่กับที่หรือที่
เรียกว่า Stator คือส่วนที่จะเป็นโครงสร้างหลักของมอเตอร์หรือเฟรมภายนอก ชุดนี้
ประกอบด้วย ตัวโครง ขั้วแม่เหล็กไฟฟ้า ขดลวดสนาม (Field Winding) มี 2 ชุด มี
ชุดขดลวดแบบอนุกรม ชุดขดลวดแบบขนาน ชุดแปรงถ่าน และลูกปืน ทำหน้าที่เป็น
ทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็กระหว่างขั้วเหนือและขั้วใต้

ส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างที่ติดตั้งอยู่ Stator คือ ขั้วแม่เหล็ก หรือ Pole ในส่วนนี้
จะประกอบไปด้วยแกนของขั้วแม่เหล็กและขดลวด ทำด้วยแผ่นเหล็กบาง ๆ กั้นด้วย
ฉนวนประกอบกันเป็นแท่งยึดติดกับเฟรม ที่ส่วนปลายขึ้นรูปให้มีความโค้ง รับกับ
โรเตอร์ หรือ ขั้วแม่เหล็ก เพื่อต้องการให้ขั้วแม่เหล็กและโรเตอร์แนบสนิทโดยเว้น
ช่องว่างเพียงเล็กน้อย เพื่อเมื่อโรเตอร์หมุนตัดกับขั้วแม่เหล็กจะส่งผลให้เกิดเส้น
แรงแม่เหล็กมากที่สุด

8

อีกส่วนเป็นขดลวดพันรอบแกนขั้วแม่เหล็ก เมื่อมีการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไป ก็จะ
ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กขึ้น ทั้งด้านบวกและด้านลบ มีทำให้เกิดแรงเสริมและหัก
ล้างกันกับสนามแม่เหล็กของอาเมเจอร์ทำให้เกิดแรงบิดเกิดการหมุน

9

ชนิดของมอเตอร์
ไฟฟ้ากระแสตรง

1. มอเตอร์แบบอนุกรม (Series Motor) คือมอเตอร์ที่ขดลวดสนามแม่เหล็กต่อ
อนุกรมกับอาร์เมเจอร์ของมอเตอร์มีคุณลักษณะเด่นคือให้แรงบิดสูง ส่วนใหญ่นำ
ไปใช้กับรถไฟฟ้า เครนไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องผสมอาหาร สว่านไฟฟ้าจักรเย็บ
ผ้า เครื่องเป่าผม มอเตอร์ประเภทนี้เหมาะกับงานหนัก อย่างไรก็ตามมอเตอร์ชนิด
นี้ เมื่อไม่มีโหลดรอบจะสูงมาก ดังนั้นเวลาสตาร์ทมอเตอร์จึงจำเป็นต้องต่อโหลดไว้
เสมอ

2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบขนาน (Shunt Motor) คือมอเตอร์ที่ขดลวดสนาม
แม่เหล็กจะต่อขนานกับขดลวดชุดอาเมเจอร์ข้อดีของมอเตอร์ชนิดนี้มีคุณลักษณะ
เด่นที่ให้ความเร็วรอบคงที่ มีแรงบิดตอนเริ่มหมุนต่ำ เหมาะสำหรับประกอบเป็น
พัดลม เนื่องจากพัดลมต้องการความเร็วคงที่

10

3. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบผสม (Compound Motor) เป็นมอเตอร์ที
ประกอบด้วยขดลวดสนามแม่เหล็ก 2 ชุด คือ ขดลวดขนานและขดลวดอนุกรม ซึ่ง
สนามแม่เหล็กจากขดลวดทั้ง 2 ชุดจะเสริมกัน และเมื่อโหลดเพิ่มขึ้น กระแสที่ไหล
ผ่านขดลวดขนานก็จะลดลง แต่กระแสที่ไหลผ่านขดลวดอนุกรมจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้
สนามแม่เหล็กมีความเข้มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นกับขดลวดทั้ง 2
ขดลวดมีการชดเชยกัน ส่งผลให้สนามแม่เหล็กคงที่ โดยนำข้อดีของมอเตอร์ไฟฟ้า 2
แบบแรกมาผสมกัน จะทำให้มีคุณลักษณะพิเศษคือมีแรงบิดสูง (High staring
torque) แต่ให้ความเร็วรอบที่คงที่ ขณะยังไม่มีโหลดจนกระทั้งมีโหลดเต็มที่
มอเตอร์แบบนี้ สามารถต่อขดลวดได้ 2 แบบ

3.1 แบบที่ 1 ต่อขดลวดแบบชันท์ขนานกับอาเมเจอร์เรียกว่า ชอทชันท์
(Short Shunt Compound Motor)

การต่อวงจรในลักษณะนี้จะทำให้มอเตอร์มีแรงบิดในขณะเริ่มหมุนสูงกว่าการ
ต่อแบบลองชันต์คอมปาวด์มอเตอร์ ในขณะที่ความเร็วรอบจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง
แต่เปลี่ยนแปลงน้อยกว่าซีรีส์มอเตอร์ เนื่องจากการที่ขดลวดชันต์ฟิลด์ได้รับกระแส
ที่ไหลผ่านมาจากขดลวดซีรีส์ฟิลด์ดังนั้นหากโหลดของมอเตอร์มีมากขดลวดซีรีฟิลด์
ซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำกว่าขดลวดชันต์ฟิลด์จะดึงกระแสมาก ทำให้มีกระแสไหล
ผ่านขดลวดชันต์ฟิลด์น้อยลงส่งผลให้ความเร็วรอบของมอเตอร์เปลี่ยนแปลง

11

3.2 แบบที่ 2 ต่อขดลวดขนานกับขดลวดอนุกรมและขดลวดอาเมเจอร์เรียกว่าลอง
ชั้นท์คอมปาวด์มอเตอร์(Long shunt motor)

เป็นต่อขดลวดชันต์ขนานระหว่างขดลวดอนุกรมและขดลวดอาเมเจอร์การต่อวงจรใน
ลักษณะนี้จะส่งให้มอเตอร์มีแรงบิดในขณะเริ่มหมุนต่ำกว่าการต่อแบบ
ช๊อร์ตชันต์คอมปาวด์มอเตอร์ ในขณะที่ความเร็วรอบจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า
ช๊อร์ตชันต์คอมปาวด์มอเตอร์ เนื่องจากการที่ขดลวดชันต์ฟิลด์ได้รับกระแสไฟฟ้าโดยตรง
จากแหล่งจ่ายทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไปยังขดลวดชันต์ฟิลด์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แต่แรงบิดจะลดลงเนื่องจากกระแสที่ไหลผ่านขดลวดซีรีส์ฟิลด์ลดลง

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบผสมแบบนี้ขณะหมุนตัวเปล่าหรือไม่มีโหลด กระแสที่
ไหลในขดลวดอนุกรมจะมีจำนวนเล็กน้อย มอเตอร์จะหมุนโดยอาศัยเส้นแรงแม่เหล็กส่วน
มากจากขดลวดขนานทำให้มีความเร็วรอบคงที่เช่นเดียวกับมอเตอร์แบบขนาน

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบผสมจะเหมาะสมกับงานที่ต้องการแรงบิดตอน Start
สูง และมีความเร็วรอบคงที่ขณะไม่มีโหลด โดยจะนำไปใช้หมุนขับโหลดหนัก ๆ อาทิ เครื่อง
ตัดโลหะ เครื่องม้วนโลหะเครื่องรีดโลหะ และลิฟต์เป็นต้น และหลังจากนั้นมอเตอร์ก็จะหมุน
ด้วยความเร็วรอบคงที่

12

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

1 สเตเตอร์หรือตัวอยู่กับที่ (Stator) จะเป็นส่วนที่อยู่กับที่ซึ่งจะประกอบด้วยโครง
ของมอเตอร์ แกนเหล็กสเตเตอร์ และขดลวด
2 โรเตอร์หรือตัวหมุน (Rotor) มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำจะมีโรเตอร์ 2 ชนิด คือ
โรเตอร์แบบกรงกระรอกและโรเตอร์แบบขดลวดพันหรือแบบวาวนด์ ซึ่งจะมีส่วน
ประกอบดังนี้คือ แกนเหล็กโรเตอร์ ขดลวด ใบพัด และเพลา

13

2.1 โรเตอร์แบบกรงกระรอก (Squirrel cage rotor) จะประกอบด้วยแผ่นเหล็กบาง ที่
เรียกว่าแผ่นเหล็กลามิเนทซึ่งจะเป็นแผ่นเหล็กชนิดเดียวกันกับสเตเตอร์ มีลักษณะเป็นแผ่น
กลม ๆ เซาะร่องผิวภายนอกเป็นร่องโดยรอบตรงกลางจะเจาะรูสำหรับสวมเพลาและจะ
เจาะรูรอบ ๆ รูตรงกลางที่สวมเพลาทั้งนี้เพื่อช่วยให้ในการระบายความร้อน เมื่อนำแผ่น
เหล็กไปสวมเข้ากับแกนเพลาแล้วจะได้เป็นแกนเหล็กโรเตอร์หลังจากนั้นก็จะใช้แท่งตัว
ทองแดงหรือแท่งอะลูมิเนียมหล่ออัดเข้าไปในร่องของแกนเหล็กสเตเตอร์เข้าไปวางทั้งสอง
ด้านด้วยวงแหวนตัวนำทั้งนี้เพื่อให้ขดลวดครบวงจรไฟฟ้าหรืออาจนำแกนเหล็กสเตเตอร์
เข้าไปในแบบพิมพ์แล้วฉีดอะลูมิเนียมเหลวเข้าไปในร่อง จะได้อะลูมิเนียมอัดแน่นอยู่ในร่อง
จนเต็มและจะได้ขดลวดตัวนำแบบกรงกระรอกฝังอยู่ในแกนเหล็กขดลวดในโรเตอร์นั้นจะ
เป็นลักษณะของตัวนำที่เป็นแท่งซึ่งอาจใช้ทองแดงหรืออะลูมิเนียมประกอบเข้าด้วยกันเป็น
ลักษณะคล้ายกรงนกหรือกรงกระรอก

2.2 โรเตอร์แบบขดลวดพันหรือแบบวาวนด์ (Wound Rotor) โรเตอร์ชนิดนี้จะมีส่วน
ประกอบคล้าย ๆ กับโรเตอร์แบบกรงกระรอก คือ มีแกนเหล็กที่เป็นแผ่นลามิเนทอัดเข้าด้วย
กันแล้วสวมเข้าที่เพลา แต่จะแตกต่างกันตรงที่ขดลวดจะเป็นเส้นลวดชนิดที่หุ้มด้วยน้ำยา
ฉนวนอีนาเมลพันลงไปในร่องสล็อตของโรเตอร์จำนวน 3 ชุดซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับที่
พันบนสเตเตอร์ของมอเตอร์ 3 เฟสแล้วต่อวงจรขดลวดเป็นแบบสตาร์โดยนำปลายทั้ง 3 ที่
เหลือต่อเข้ากับวงแหวนตัวนำทั้งนี้เพื่อให้สามารถต่อวงจรของขดลวดของโรเตอร์เข้ากับตัว
ต้านทานที่ปรับค่าได้ที่อยู่ภายนอกตัวมอเตอร์ เพื่อการปรับค่าความต้านทานของโรเตอร์ ซึ่ง
จะสามารถควบคุมความเร็วของโรเตอร์

14

3 ฝาครอบ (End Plate) ส่วนมากจะทำด้วยเหล็กหล่อเจาะรูตรงกลางและคว้าน
เป็นรูกลมใหญ่เพื่อัดแบริ่งหรือตลับลูกปืนรองรับแกนเพลาของโรเตอร์
4. ฝาครอบใบพัด (Fan End Plate) จะมีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กเหนียวขึ้นรูปให้มี
ขนาดสวมฝาครอบได้พอดี มีรูเจาะเพื่อระบายอากาศ และยึดติดกับฝาครอบด้านที่มี
ใบพัด ส่วนใหญ่จะมีในมอเตอร์ 3 เฟสและมอเตอร์ 1 เฟสขนาดใหญ่
5. ใบพัด (Fan) จะทำด้วยเหล็กหล่อ มีลักษณะเท่ากันทุกครีบเท่ากันทุกครีบจะสวมยึด
อยู่บนเพลาด้านตรงข้ามกันกับเพลางานใบพัดนี้จะช่วยในการระบายอากาศและความ
ร้อนได้มากทีเดียวใบพัดนี้ส่วนใหญ่จะมีในมอเตอร์ 3 เฟสและมอเตอร์ 1 เฟสขนาดย่อย
ถึงขนาดใหญ่เช่นเดียวกับฝาครอบใบพัด
6. สลักเกลียว (Bolt) จะทำด้วยเหล็กเหนียวจะมีลักษณะเป็นเกลียวตลอด ถ้าเป็น
มอเตอร์ 3 เฟส จะประกอบด้วยสลักเกลียว 8 ตัวทำหน้าที่ยึดฝาครอบให้ติดกับโครงถ้า
เป็นมอเตอร์ 1 เฟสขนาดเล็ก เช่นมอเตอร์สปลิตเฟสจะเป็นสลักเกลียวยาวตลอดความ
ยาวของตัวมอเตอร์ทำเกลียวเฉพาะด้านปลายและมีน็อตขันยึดไว้ ดังนั้นจึงมีเพียง 4 ตัว

15

หลักการทำงานของ
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

มอเตอร์ที่ใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับเป็นเครื่องกลไฟฟ้าที่ทำหน้าที่
เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกลส่วนที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าคือขด
ลวดในสเตเตอร์และส่วนที่ทำหน้าที่ให้พลังงานกล คือ ตัวหมุนหรือโรเตอร์ซึ่งเมื่อขด
ลวดในสเตเตอร์ได้รับพลังงานไฟฟ้าก็จะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมาในตัวทที่อยู่กับที่
หรือสเตเตอร์ ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเคลื่อนที่หรือหมุนไปรอบ ๆ สเต
เตอร์เนื่องจากการต่างเฟสของกระแสไฟฟ้าในขดลวดและการเปลี่ยนแปลงของ
กระแสไฟฟ้าในขณะที่สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปสนามแม่เหล็กจากขั้วเหนือก็จะพุ่ง
เข้าหาขั้วใต้ซึ่งจะไปตัดกับตัวนำที่เป็นวงจรปิดหรือขดลวดกรงกระรอกของตัวหมุน
หรือโรเตอร์ ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของกระแสไฟฟ้าขึ้นในขดลวดของโรเตอร์ซึ่ง
สนามแม่เหล็กของโรเตอร์นี้จะเคลื่อนที่ตามทิศทางการเคลื่อนที่จองสนามแม่เหล็กที่
สเตเตอร์ก็จะทำให้โรเตอร์ของมอเตอร์เกิดจะพลังงานกลสามารถนำไปขับภาระที่
ต้องการหมุนได้

16

ชนิดของมอเตอร์
ไฟฟ้ากระแสสลับ

สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

อะซิงโครนัสมอเตอร์ (Asynchronous)
ซิงโครนัสมอเตอร์ (Synchronous)

ซึ่งที่กล่าวในโมดูลนี้จะเป็นมอเตอร์อะซิงโครนัส หรือที่เรียกว่ามอเตอร์
ชนิดเหนี่ยวนำ (Induction Motor) ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่เล็ก ๆไปจนถึงขนาด
หลายร้อยแรงม้า มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำมีทั้งที่เป็นมอเตอร์ชนิด 1 เฟส
(Single Phase) และชนิดที่เป็นมอเตอร์ 3 เฟส (Three Phase) มอเตอร์
ชนิดเหนี่ยวนำนั้นส่วนมากแล้วจะหมุนด้วยความเร็วคงที่แต่ก็มีบางชนิดที่
สามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วได้ เช่น มอเตอร์สลิปริงหรือมอเตอร์ชนิดขด
ลวดพัน ซึ่งจะเป็นมอเตอร์ชนิด 3 เฟส

สำหรับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส
สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดได้แก่

สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split Phase Motor)
คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor)
รีพัลชั่นมอเตอร์ (Repulsion Motor)
ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor)
เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ (Shaded Pole Motor)

17

ในส่วนของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์
ยังสามารถแบ่งได้อีก 3 ชนิด ได้แก่

มอเตอร์คาปาซิเตอร์สตาร์ท (Capacitor Start Motor)
มอเตอร์คาปาซิเตอร์รัน (Capacitor Run Motor)
มอเตอร์คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรัน (Capacitor Start and Run Motor)

ในส่วนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟส
เมื่อแบ่งตามลักษณะของโรเตอร์ (Rotor) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
คือ แบบสคิวเรลเคจโรเตอร์ (Squirrel Cage Motor)
และแบบวาวด์โรเตอร์ หรือมอเตอร์ชนิดขดลวดพัน (Wound Rotor)

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส (Single Phase Motor)

1. สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split phase motor)
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับชนิดเฟสเดียวแบบสปลิทเฟสมอเตอร์มีขนาดแรงม้า

ขนาดตั้งแต่ 1/4 แรงม้า , 1/3 แรงม้า, 1/2 แรงม้าจะมีขนาดไม่เกิน 1 แรงม้าบางทีนิยม
เรียกสปลิทเฟสมอเตอร์นี้ว่า อินดักชั่นมอเตอร์(Induction motor) มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้
งานมากในตู้เย็น เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า เป็นต้น

ลักษณะสปลิทเฟสมอเตอร์ โครงสร้างภายในของสปลิทเฟสมอเตอร์

18

2. คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor)
คาปาซิเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟส
มอเตอร์มากต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมาทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติ
พิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อย
มอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง10 แรงม้ามอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยว
กับ ปั๊ มน้ำ เครื่องอัดลม ตู้แช่ตู้เย็น ฯลฯ

ลักษณะคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์

2.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์
(Capacitor start motor)

ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิสเตอร์สตาร์ท
มอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ท
พันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟสและพันจ านวนร
อบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์
(ชนิดอิเล็กโทรไลต์)อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท
มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์
และขดสตาร์ทออกจากวงจร

ลักษณะของคาปาซิเตอร์
ชนิดอิเล็กโทรไลต์

19

2.2 คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ลักษณะคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์
(Capacitor run motor)

ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคา
พาซิสเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคา
พาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มีสวิตช์แรงเหวี่ยง
ตัวคาปาซิสเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอด
เวลา ทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น
และโดยที่คาปาซิสเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่
ขณะทำงานดังนั้นคาปาซิเตอร์ประเภท
น้ำมัน หรือกระดาษฉาบโลหะ

ลักษณะของคาปาซิเตอร์ ที่ใช้
กับคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์

2.3 คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์
(Capacitor start and run motor)

ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิสเตอร์
สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์ 2
ตัวคือคาปาซิสเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิสเตอร์รัน
คาปาซิสเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรง
เหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์
ส่วนคาปาซิสเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา
คาปาซิสเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคา
ปาซิเตอร์ทั้งสองนั้นมีค่าแตกต่างกัน

ลักษณะคาปาซิเตอร์สตาร์และรันมอเตอร์

20

3. รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion Motor) ลักษณะรีพัลชั่นมอเตอร์
เป็นมอเตอร์ที่มีขดลวดโรเตอร์ (Rotor) จะต่อเข้ากับ

คอมมิวเตเตอร์และมีแปรงถ่านเป็นตัวต่อลัดวงจร จึงทำให้
ปรับความเร็วและแรงบิดได้ โดยการปรับตำแหน่งแปรงถ่าน
สเตเตอร์(Stator) จะมีขดลวดพันอยู่ในร่องเพียงชุดเดียว
เหมือนกับขดรันของสปลิทเฟสมอเตอร์ เรียกว่า ขดลวดเมน
(Main winding) ต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง แรงบิดเริ่ม
หมุนสูง ความเร็วคงที่ มีขนาด 0.37-7.5 กิโลวัตต์ (10
แรงม้า) ใช้กับงาน ปั๊มคอมเพลสเซอร์ ปั๊มลม ปั๊มน้ำขนาด
ใหญ่

4. ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor) ลักษณะของของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์
เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กมีขนาดกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 1/200

แรงม้าถึง 1/30 แรงม้า นำไปใช้ได้กับแหล่งจ่าไฟฟ้ากระแสตรง
และใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส มอเตอร์ชนิด
นี้มีคุณสมบัติที่โดดเด่น คือให้แรงบิดเริ่มหมุนสูง นำไปปรับ
ความเร็วได้ทั้งปรับความเร็วได้ง่ายทั้งวงจรลดแรงดันและวงจร
ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ นิยมนำไปใช้เป็นตัวขับเครื่องใช้ไฟฟ้า
ภายในบ้าน เช่น เครื่องบดและผสมอาหาร มีดโกนหนวดไฟฟ้า
เครื่องนวดไฟฟ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า สว่านไฟฟ้า เป็นต้น

5. เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์
(Shaded Pole Motor)

เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่สุดมี
แรงบิดเริ่มหมุนต่ำมากนำไปใช้งาน
ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ๆ
เช่น ไดร์เป่าผม พัดลมขนาดเล็ก

ลักษณะของเช็ดเด็ดโพลมอเตอร์

21

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส (Three Phase Motor)
1. สคิวเรลเคจโรเตอร์มอเตอร์ (Squirrel Cage Rotor Motor)

อินดักชั่นมอเตอร์สามเฟสแบบสคิวเรลเคจโรเตอร์เป็นโรเตอร์ที่ให้กำลังแรงม้าต่ำเมื่อเทียบ
กับมอเตอร์แบบอื่นๆ แต่จะมีข้อดีคือจะมีความเร็วรอบการทำงานคงที่ในโหลดที่มีขนาดต่างๆ กัน
และการบำรุงรักษามอเตอร์แบบนี้ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้อินดักชั่น
มอเตอร์สามเฟสแบบสคิวเรลเคจโรเตอร์เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย

ลักษณะสคิวเรลเคจโรเตอร์มอเตอร์ ลักษณะของโรเตอร์แบบสคิวเรลเคจ

2. วาวด์โรเตอร์มอเตอร์ (Wound Rotor)

มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ (Wound-rotor) หรือแบบ Slip-ring จะมีแกนหมุนพันขดลวดที่
มีตัวนำไฟฟ้านำไปสู่ Slip Rings เพื่อสอดแทรกตัวความต้านทานไว้เพิ่มแรงบิดในขณะสตาร์ทและ
ลดกระแสในการสตาร์ทและยังวางใจได้ต่อการลดความเร็วลง 50% ภายใต้แรงบิดขณะรับภาระ
เต็มที่ มอเตอร์แบบนี้เหมาะกับอุปกรณ์ขนถ่ายทุกชนิดที่ต้องควบคุมแรงบิดในขณะสตาร์ท

มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ อาจจะใช้เป็นมอเตอร์ความเร็วคงที่หรือเป็นมอเตอร์ปรับความเร็ว
ได้ทั้ง 2 แบบ มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ สามารถควบคุมแรงบิดในขณะช่วงเวลาการสตาร์ทได้โดย
การเพิ่มความต้านทานภายนอก เข้าไปในขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ของมอเตอร์ ผ่าน
ทาง Slip Rings ทำให้สามารถกำหนดโปรแกรมแรงบิด ระหว่างการสตาร์ท ให้เหมาะสมกับมอเตอร์
ที่ขับอุปกรณ์ขนถ่ายแต่ละแบบการขับประเภทนี้ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในสายพานลำเลียง
ขนาดใหญ่ ๆ

ลักษณะวาวด์โรเตอร์มอเตอร์ ลักษณะของโรเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์

22

บรรณนานุกรม

ดวงดารา. (2564). AC Motor.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ. สืบค้น 16 มกราคม
2565, จาก //torterakit.com/wp/blog/article/ac-motor

นายช่างมาแชร์. (2564). มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor). สืบค้น
16 มกราคม 2565, จาก //naichangmashare.com/
2021/05/28/electric-motor-ep-1/

นายช่างมาแชร์. (2564). มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบซิงโครนัส (AC Motor
,Synchronous Motor). สืบค้น 16 มกราคม 2565, จาก //
naichangmashare.com/2021/06/19/electric-motor-ep-2/

บริษัทพีเอสพีเทคจำกัด. (2558). ส่วนประกอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง.
สืบค้น 16 มกราคม 2565, จาก //www.psptech.co.th/

มงคล ทองสงคราม. (2535). เครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ. กรุงเทพ ฯ :
รามาการพิมพ์.

ไมตรี วรวุฒิจรรยากุล. (2534). เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง : เครื่องกลไฟฟ้า
เบื้องต้น เล่ม 1. ฉะเชิงเทรา : ศูนย์การพิมพ์พลชัย.

จัดทำโดย
นางสาวบัณฑิตา คงเจริญ
ชั้น ม.6 ห้อง 15 เลขที่ 30

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด