เปิดบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ก

ใครเคยใช้ PayPal รับเงินเป็น USD น่าจะรู้ว่า PayPal คิดอัตราแลกเปลี่ยนจาก USD เป็น THB ได้โหดมาก คิดค่าธรรมเนียมการแปลงค่าเงินไปตั้ง 2.5% อย่างตอนนี้ 1 USD = 35.61 บาท แต่ PayPal ให้แค่ 34.719 บาทเท่านั้น

หากยอดเงินไม่เยอะก็คงไม่เป็นอะไรมาก เสียนิดๆหน่อยๆ แต่ถ้ายอดเงินเยอะอย่างสัก 10,000 USD นี่คือเสียไปฟรีๆ $250 เลยนะ เยอะเกิ๊น

เราเลยมีวิธีดีๆมานำเสนอ ... จริงๆเป็นวิธีที่มีมาหลายปีละแต่เพิ่งมีโอกาสได้ใช้บริการคือ "การโอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ก"

โดยวิธีการคือเราจะโอนเงินจาก PayPal เข้าธนาคารกรุงเทพที่สหรัฐฯ มีเสียเป็นค่าธรรมเนียมเล็กน้อยตามจำนวนเงินที่โอน เรตตามตารางด้านล่าง และเนื่องจากมันเป็นเงิน USD จึงไม่มีค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนหน่วยเงิน

สังเกตดูว่าถ้ายอดเงิน 50-100USD จะไม่คุ้มเท่าไหร่ เพราะเงินจะหายไป 3-6% เลยทีเดียว เยอะกว่าที่ PayPal หักอีก ดังนั้นการโอนท่านี้จึงเหมาะกับเงินก้อนใหญ่ในหลักร้อย USD เป็นต้นไปเท่านั้นถึงจะเริ่มคุ้ม

จากนั้นธนาคารกรุงเทพก็จะเปลี่ยนเงินนั้นมาเป็นเงินไทยด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปกติของธนาคารแบบเต็มจำนวนพร้อมโอนเข้าบัญชีไทยให้เราในระยะเวลา 3-4 วัน ซึ่งธนาคารกรุงเทพที่ไทยก็จะหักค่าธรรมเนียมไปอีก 0.25% (ขั้นต่ำ 200 บาท สูงสุด 500 บาท)

คราวนี้จะลองคำนวณให้ดู เอาเรต ณ วันนี้เลยละกันนะ 1USD = 35.61 บาท และ = 34.719 บาทด้วยเรตของ PayPal หากโอนเข้ามาสัก $1000 ผลจะเป็นตามนี้

PayPal

ได้ 34,719 บาท

ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน

BBL-NY

โดนสาขานิวยอร์กหักไป $5 เหลือ $995

โอนเข้าไทยแปลงเป็นเงินไทย $995 * 35.61 = 35,431.95 บาท

โอนไทยหักไป 0.25% = 88.88 บาท แต่ขั้นต่ำอยู่ที่ 200 บาท ดังนั้นโดนหักไปรวม 200 บาท

สรุปสุดท้ายได้ 35,231.95 บาทครับ

ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน

ยอดเงินต่างกัน 513 บาท ถือว่าต่างกันเยอะพอสมควรครับ ประมาณ 1.5%

หรือถ้าโอน $10,000 จะได้ตามนี้ (คำนวณแบบไวๆเลยละกันนะ)

PayPal= 347,197.95 บาท

BBL-NY= 354,854.54 บาท

ต่างกัน 7,657 บาทหรือประมาณ 2% เลย

จากการคำนวณคร่าวๆจะเห็นได้ว่าถ้ายอดต่ำๆ การโอนผ่าน PayPal ตรงจะได้เงินเยอะกว่า แต่ถ้ายอดเยอะๆควรจะโอนผ่าน BBL-NY คำถามคือจุดคุ้มทุนจะตัดอยู่ที่เท่าไหร่ถึงควรจะโอนด้วย BBL-NY?

หลังจากคำนวณด้วยโปรแกรมแล้ว ค่าเงินที่ทำให้การโอนตรงผ่าน PayPal และการโอนผ่าน BBL-NY ให้ค่าเงินบาทออกมาเท่ากันคือ $425-$430 แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น

สรุปแล้วถ้าเงินเยอะกว่า $425 ใช้ BBL-NY จะคุ้มกว่า แต่ถ้าต่ำกว่า $425 ให้ใช้การโอนตรงเหมือนเดิมจะคุ้มกว่าครับ

1) ขั้นตอนแรกคือเดินไปเปิดบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงเทพก่อนนะ ... เราต้องมีบัญชีธนาคารกรุงเทพที่ไทยก่อนครับ โดยบัญชีต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อใน PayPal ไม่งั้นโดน Reject นะนะนะนะ

2) พอมีบัญชีในไทยแล้วก็เปิดเว็บ PayPal แล้วเพิ่มบัญชีธนาคารได้ทันที กดตามนี้

แล้วก็กด Add จากนั้นใส่ข้อมูลไปตามนี้ครับ

Bank Name: Bangkok Bank

Account Type: เลือก Checking สำหรับกระแสรายวันหรือ Savings Account สำหรับออมทรัพย์

Routing Number: 026008691

Account Number: เลขที่บัญชี 10 หลักของคุณ

Re-enter Account Number: ใส่เลขที่บัญชี 10 หลักของคุณซ้ำอีกหนึ่งครั้ง

3) แล้วคุณจะพบว่ามัน Add ไม่ได้ ... มันจะขึ้นว่า "You cannot link a bank account at this time" ซะอย่างงั้น ทั้งนี้เพราะบัญชี PayPal ของเราเป็นแอคเค้าท์ไทย การจะเพิ่มบัญชี USA ถือว่าเป็นสิ่งที่แปลก ทาง PayPal เลยล็อคไว้ วิธีแก้ไขก็ไม่ยาก ให้เปิดหน้านั้นทิ้งไว้อย่าเพิ่งปิดไปแล้วโทรไปหา Call Center ได้เลยจ๊ะ กดเข้าไปที่ลิงก์นี้เพื่อรับเบอร์โทรแล้วโทรไปตามเบอร์นั้นเลยครับ

//www.paypal.com/selfhelp/contact/call

ไม่ต้องกังวล ทางระบบจะตรวจเจอเองว่าเราเป็นคนไทยและ Call Center ที่รับสายก็จะเป็นคนไทยครับ คุยกันได้ง่ายๆ บอกไปว่าจะเพิ่มบัญชีธนาคารกรุงเทพที่นิวยอร์กแต่เพิ่มไม่ได้ รบกวนช่วยปลดล็อคแอคเค้าท์ให้หน่อย เค้าจะถามรายละเอียดแอคเค้าท์คุณไป ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที ทุกอย่างก็จะเสร็จสิ้น พอเค้าบอกว่าเรียบร้อยก็ลองกดเพิ่มอีกครั้งนึงครับ

เป็นอันเสร็จพิธี ทันทีที่เพิ่มเสร็จคุณก็จะสามารถโอนผ่าน BBL-NY ได้แล้ว

ย้ำอีกทีนะครับ วิธีนี้เหมาะกับเงินที่ใหญ่กว่า $425 น้อยกว่านั้นไม่ต้องทำ เสียดายเงินนน

อ้างอิง BangkokBank

ธนาคารกรุงเทพเปิดจองซื้อหุ้นสามัญ 'OR' ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2564 ถึงเที่ยงของวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ประเดิมฟีเจอร์ใหม่ "จองซื้อหลักทรัพย์" ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Mobile Banking) อำนวยความสะดวกลูกค้าขั้นสุด จองซื้อหลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเองเพียงปลายนิ้วจากที่บ้าน เติมเต็ม Digital Experience ครบทั้งการทำธุรกรรม และการลงทุน พร้อมช่องทาง Physical Touchpoint ผ่านสาขาธนาคารกรุงเทพทุกแห่งที่เปิดให้บริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง

นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงเทพเปิดจองซื้อหุ้นสามัญ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) 'OR' ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2564 ถึงเวลา 12.00 น. (เที่ยง) ของวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีราคาเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายย่อยอยู่ที่ 18.00 บาทต่อหุ้น จำนวนจองซื้อขั้นต่ำ 300 หุ้น (หรือเท่ากับ 5,400 บาท) และเพิ่มเป็นจำนวนทวีคูณของ 100 หุ้น ไม่จำกัดจำนวนจองซื้อสูงสุด โดยธนาคารจะเปิดให้บริการจองซื้อผ่าน 2 ช่องทาง คือ ผ่านฟีเจอร์ใหม่ "จองซื้อหลักทรัพย์" ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ หรือ สามารถจองซื้อผ่านธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ

"เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ประชาชนรักษามาตรการเว้นระยะห่าง หรือ Social Distancing ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะ "เพื่อนคู่คิด" ที่เข้าใจความต้องการและพร้อมอยู่เคียงข้างลูกค้าในทุกสถานการณ์ จึงได้นำเสนอฟีเจอร์ "จองซื้อหลักทรัพย์" บนแพลตฟอร์มโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ประเดิมด้วยการเปิดจองซื้อหุ้นสามัญ OR ที่กำลังจะเข้า IPO ในไม่กี่วันข้างหน้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้านักลงทุนรายย่อยของธนาคาร สามารถจองซื้อหุ้นได้ด้วยตัวเองจากที่บ้าน และไม่พลาดโอกาสทองในการเป็นเจ้าของหุ้น OR ที่หลายคนเฝ้ารอมานาน ขณะเดียวกันยังเป็นการเติมเต็ม Digital Experience ในการใช้งานแพลตฟอร์มโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ให้มีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นในทุกมิติ ทั้งเรื่องของการลงทุน และการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนในที่เดียว"

นายทวีลาภ กล่าวต่อว่า นอกจากการมอบความสะดวกในการเป็นเจ้าของหุ้น OR ได้ด้วยตัวเอง ผ่านแพลตฟอร์มโมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารกรุงเทพแล้ว ธนาคารยังมีช่องทางการซื้อหุ้น OR ผ่านทุกสาขาของธนาคารกรุงเทพ เพื่อเป็นอีกหนึ่ง Touchpoint ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าธนาคารได้อย่างครอบคลุมครบถ้วนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยมีรายละเอียดการจองซื้อหุ้น OR ในแต่ละช่องทาง ดังต่อไปนี้

ช่องทางโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ

สามารถซื้อหุ้น OR ผ่าน โมบายแบงก์กิ้ง ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องออกจากบ้าน ตั้งแต่ 9.00 น. ของวันที่ 24 มกราคม 2564 ถึง 12.00 น. (เที่ยง) ของวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจองซื้อหุ้นสามารถสร้างโปรไฟล์จองซื้อหลักทรัพย์ได้ที่เมนูการลงทุน ในแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยสามารถศึกษารายละเอียดขั้นตอนการสร้างโปรไฟล์ และการจองซื้อหลักทรัพย์ผ่านช่องทางโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ได้ที่ www.bangkokbank.com/OR ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

สำหรับผู้สนใจลงทุนแต่ยังไม่มีบัญชีธนาคารกรุงเทพ สามารถเปิดบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ e-Saving เพื่อเป็นบัญชีชำระค่าจองซื้อหลักทรัพย์ ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้งได้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยสามารถศึกษารายละเอียดการเปิดบัญชีธนาคารกรุงเทพ ได้ที่ //www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Digital-Banking/Bualuang-mBanking/How-to-Use/Open-eSavings

สำหรับการจองซื้อผ่านช่องทางสาขาธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ

ลูกค้าผู้สนใจสามารถจองซื้อผ่าน ธนาคารกรุงเทพทุกสาขาที่เปิดทำการ ในวันและเวลาทำการของสาขาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2564 ถึง 12.00 น. (เที่ยง) ของวันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกยิ่งขึ้นลูกค้าสามารถนัดหมายวัน เวลา สถานที่ เพื่อจองคิวรับบริการจองซื้อหุ้น OR ที่สาขาธนาคารกรุงเทพล่วงหน้า ผ่านเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ www.bangkokbank.com/OR หรือ Bangkok Bank LINE Official Account ตั้งแต่วันนี้ - 1 กุมภาพันธ์ 2564 และโปรดนำบัตรประชาชนตัวจริง สมุดบัญชีเงินฝากตัวจริง ขณะมารับบริการที่สาขา เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้าทุกท่าน กรณีลูกค้ายังไม่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงเทพ สามารถเลือกชำระเงินค่าจองซื้อด้วยการ scan QR code เพื่อชำระเงิน (บริการ QR Cross Bank Bill Payment) ได้ที่สาขาธนาคาร

สำหรับการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อย ทางผู้จัดจำหน่ายจะใช้วิธี Small Lot First ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของ SETTRADE ซึ่งผู้จองซื้อมีสิทธิจะได้รับการจัดสรรขั้นต่ำทุกคน โดยจะประกาศผลการจัดสรรภายในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564

ข้อแนะนำก่อนการจองซื้อ

ผู้จองซื้อจะสามารถจองซื้อได้ต่อเมื่อผ่านการทำแบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน (Suitability Test) แล้ว กรณีที่ยังไม่เคยทำ หรือเคยทำแล้วแต่ผลประเมินหมดอายุ สามารถติดต่อสาขาธนาคารกรุงเทพ หรือเข้าใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง หรือ ผ่านช่องทาง Banner ในแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง เพื่อทำแบบประเมินได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

ลูกค้าสามารถศึกษารายละเอียดการจองซื้อทั้ง 2 ช่องทางเพิ่มเติมได้ที่ สื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารกรุงเทพทุกช่องทาง ได้แก่ www.bangkokbank.com , Bangkok Bank Line Official หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือโทร. 0 2230 2328, 0 2626 3592 รวมทั้งสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลของบริษัท OR เพิ่มเติมได้ที่ OR Contact Center โทร.1365 หรือ //investor.pttor.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด