แบบทดสอบออนไลน์ ภาษาไทย ได้ เกียรติ บัตร ฟรี

Skip to content

แบบทดสอบออนไลน์ ภาษาไทย ได้ เกียรติ บัตร ฟรี
แบบทดสอบออนไลน์ “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ วันภาษาไทย หลักภาษาไทย และวรรณคดีไทย”

วันนี้ คุณครูดอทคอม ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมทำแบบทดสอบออนไลน์ “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ วันภาษาไทย หลักภาษาไทย และวรรณคดีไทย”

หากทำแบบทดสอบได้คะแนนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป จะได้รับเกียรติบัตรทางอีเมลที่ท่านแจ้งไว้ (กรุณาตรวจสอบชื่อ-นามสกุล และที่อยู่อีเมลให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันความผิดพลาด)

หากไม่ได้รับเกียรติบัตรทางอีเมล โปรดตรวจสอบที่ถังขยะ หรือติดต่อที่เพจโรงเรียนบ้านวังตาอินทร์ได้เลยค่ะ

แบบทดสอบออนไลน์ ภาษาไทย ได้ เกียรติ บัตร ฟรี
ตัวอย่างเกียรติบัตร

ทำแบบทดสอบที่นี่

ที่มา : กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านวังตาอินทร์

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2

วรรณคดีไทย วันภาษาไทยแห่งชาติ หลักภาษาไทย แบบทดสอบออนไลน์ โรงเรียนบ้านวงตาอินทร์

  • คำชี้แจง
  • ตัวอย่างเกียรติบัตรวันภาษาไทยแห่งชาติ
  • ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
  • เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
  • ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ
  • ความสำคัญของภาษาไทย

สวัสดีครับ วันนี้ปันสื่อฟรีดอทคอม ขอนำเสนอ แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรวัวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 60 % ขึ้นไป
จัดทำขึ้นโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนหนองโดนวิทยา

คำชี้แจง

1. ให้ผู้แบบทดสอบกรอกข้อมูล ที่อยู่อีเมล/ชื่อสกุล ให้ถูกต้อง ครบถ้วน
2. แบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยชุดนี้เป็นชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน)
ให้ผู้ทำแบบทดสอบเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
3. เมื่อผู้สอบทำคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) ระบบจะส่งเกียรติบัตรไปยังที่อยู่อีเมลที่ลงทะเบียนไว้

*** หากท่านผ่านการทดสอบแล้วไม่ได้รับอีเมล ให้ตรวจสอบในอีเมลขยะ (จดหมายขยะ)***

ตัวอย่างเกียรติบัตรวันภาษาไทยแห่งชาติ

แบบทดสอบออนไลน์ ภาษาไทย ได้ เกียรติ บัตร ฟรี
ตัวอย่างเกียรติบัตรวันภาษาไทยแห่งชาติ

หมายเหตุ
*** หากท่านผ่านการทดสอบแล้วไม่ได้รับอีเมล ให้ตรวจสอบในอีเมลขยะ (จดหมายขยะ)***

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

แบบทดสอบออนไลน์ ภาษาไทย ได้ เกียรติ บัตร ฟรี
ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ประวัติความเป็นมาสืบเนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์, วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งวันดังกล่าวตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราช ดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง และเนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติ เรา มีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้… สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…” นับ เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า
“ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ” นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรง รอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น

ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ

1. วันภาษาไทยแห่งชาติ จะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ
2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลงจนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็น เอกลักษณ์ของชาติ
3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป

ความสำคัญของภาษาไทย

 ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “ความเป็นชาติโดยเเท้จริง” ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น”

หมายเหตุ
*** หากท่านผ่านการทดสอบแล้วไม่ได้รับอีเมล ให้ตรวจสอบในอีเมลขยะ (จดหมายขยะ)***
จัดทำขึ้นโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนหนองโดนวิทยา