วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

        วันเข้าพรรษาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตรงกันทุกปี เพราะถือเอาแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ถ้าปีใด มีเดือนแปด(๘) สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘)  เป็นวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา

ความหมายของวันเข้าพรรษา

        การเข้าพรรษา หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆ ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติ ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา จึงเป็นวันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอยู่ประจำในวัด และไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

วันเข้าพรรษาของประเทศไทย

        เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะพักประจำอยู่ที่วัดโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกว่า

จำพรรษา เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน ๗ คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) เรียกว่า "ปุริมพรรษา" จน ถึง ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) หรือวันออกพรรษาของทุกปี โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘)) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

        สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน ๗ วัน นั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน ๗ วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้ ได้แก่
        ๑. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
        ๒. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
        ๓. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
        ๔. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
        ๕. เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
        ๖. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
        ๗. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
        ๘. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
        ๙. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
       ๑๐. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้นอพยพหนีไปก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
       ๑๑. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
       ๑๒. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
       ๑๓. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

วันเข้าพรรษาต่างประเทศ

        พระสงฆ์ต่างก็ถือว่าวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นการถือศีลและปฏิบัติธรรมไปจนครบ ๓ เดือน และกำหนดให้วันเข้าพรรษาให้เป็นวันเริ่มการทำความดีเช่นเดียวกัน สำหรับในประเทศอินเดียไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาให้เท่าเทียมกับวันวิสาขบูชา และไม่ได้กำหนดให้วันเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ แต่ในปัจจุบันกลับมีพระสงฆ์จากประเทศ ไทย พม่า ศรีลังกา และบางส่วนของญี่ปุ่น ฯลฯได้เดินทางไปทำพิธีวันเข้าพรรษาที่ประเทศอินเดียและประเทศเนปาล ยังสถานที่สำคัญต่างๆ ที่เคยเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ๆ เช่น พุทธคยา เมืองกุสินารา สวนลุมพินี เมืองกบิลพัสดุ์

วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

ประวัติของวันเข้าพรรษา

        วันเข้าพรรษา มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา

ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน

        ชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ ที่เดินย่ำไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ไม่ยอมหยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝน เพราะแม้แต่ฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยวไปไหน และเมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า "อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง" หมายถึง "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"

        สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดตลอด ๓ เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆเพราะอยู่ในช่วงฤดูฝนจะเป็นไปด้วยความยากลำบากและเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และเป็นช่วงเวลาหรือโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกัน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

        พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ตั้งแต่

สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน" ซึ่งนอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทยยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น อย่างการถวาย เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในเดือนแปด(๘)

        ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" อีกด้วย และประกาศห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักรในปีถัดมาทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง ๓ เดือน ระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อเป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

ความสำคัญวันเข้าพรรษา

    ๑. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์

    ๒.  หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน

    ๓.  เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา

    ๔. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

    ๕.  เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

กิจกรรมที่นิยมทำในวันเข้าพรรษา

        ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทย ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการที่ชาวไทยได้มีโอกาสทำบุญในวันสำคัญทางศาสนานี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเอง ซึ่งอาจได้ทำบุญกันแบบพร้อมหน้าครอบครัวด้วยเพราะเป็นวันหยุดต่อเนื่องจากวัน อาสาฬหบูชา

เข้าวัดทำบุญ
        เป็นอีกหนึ่งวันที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย จะได้เข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา หลังจากวัน อาสาฬหบูชา เรียกว่า ได้มีโอกาสทำบุญติดกันถึงสองวัน เลยทีเดียว นอกจากการทำบุญแล้ว ยังมีการถวายหลอดไฟ , เทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา มีชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนหลลายคน ที่ นิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง ๓ เดือน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บวชเอาพรรษา"

        ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

หล่อเทียนพรรษา
        ก่อนวันเข้าพรรษา ที่มักจะเห็นกันบ่อยๆ ก็คือพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา ซึ่งตามสถานศึกษา นักเรียนก็จะได้ทำกิจกรรมนี้ในโรงเรียน หรือตามวัด สถานที่ราชการ และตามห้างสรรพสินค้า ที่จะจัดให้มีการหล่อเทียน แม้ว่าเทียนอาจไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องใช้สักเท่าไหร่แล้ว แต่ก็เป็นกิจกรรมส่งเสริมและถือว่าให้ความสำคัญกับประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่สืบต่อกันมานั่นเอง

วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

ถวายเทียนพรรษา

        เมื่อทำการหล่อเทียนพรรษาเสร็จแล้ว ก็ต้องมีพิธีถวายเทียนพรรษา แล้วก็มีประเพณี พิธีแห่เทียนจำนำพรรษาที่ชาวพุทธนิยมทำกัน ซึ่งจะมีขบวนสาธุชน ดอกไม้ อาจมีการเวียนรอบพระอุโบสถก่อน แล้วจึงนำไปถวายแด่คณะสงฆ์วัดนั้น ๆ สมัยนี้นอกจากเทียนแล้ว การถวายหลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งก็เป็นการถวายแสงสว่างให้กับพระภิกษุสงฆ์เหมือนกับเราได้ถวายเทียนพรรษานั่นเอง ซึ่งถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง

งดเว้นอบายมุขต่าง ๆ
        สำหรับกิจกรรม

งดเหล้าเข้าพรรษา ก็เป็นกิจกรรมที่มีหน่วยงานให้การสนับสนุน แม้ว่า ๓ เดือน อาจไม่เพียงพอต่อการงดเหล้า เพราะเหล้าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่อย่างน้อยก็เป็นสิ่งดี ๆ ที่เราจะได้เริ่มต้นตั้งใจในการทำความดีเพื่อตนเองและอาจมีกำลังใจในการเลิกเหล้าไปตลอดชีวิตเลยก็ได้

ข้อควรระวังและสิ่งที่ไม่ควรทำในกิจกรรมวันเข้าพรรษา

        การงดเว้นบาปและความชั่วต่าง ๆ เป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ต้องการให้ชาวไทยทุกคนยึดมั่น และยึดถือต่อ ๆ กันมา ในสิ่งที่ดี ๆ การได้เริ่มต้นทำสิ่งดี ๆ ในช่วงสามเดือนนี้ อาจจะทำให้เป็นการเริ่มต้นที่ดีของวันต่อ ๆ ไป แต่ข้อควรระวัง และสิ่งที่ไม่ควรทำในวันเข้าพรรษาที่ไม่น่าจะทำเลยก็คือ

การทำบาป
        เพราะวันเข้าพรรษา ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ควร

งดเว้นจากบาป ความชั่ว และอบายมุขต่าง ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี บางคนไม่ได้ตั้งใจจะรักษาศีล เพราะไม่ได้สมาทานไว้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้เสียศีล ก็จะสามารถใช้สติและคิดงดเว้นได้ขณะนั้น เช่น เจอกระเป๋าเงิน เจ้าของวางไว้ คิดจะหยิบไป แต่แล้วช่วงเวลานั้น ก็เกิดละอายใจและกลัวบาป จึงไม่ขโมย

อบายมุข
        การ

งดเว้น ความชั่ว และอบายมุข ด้วยการรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ จากพระสงฆ์ พยายามไม่ทำให้ศีลขาด แม้จะมีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้า เช่นการพนันทุกชนิด ถือว่าเป็นการงดเว้นด้วยความตั้งใจที่จะปฏิบัติ เป็นความตั้งใจที่จะรักษาศีลอยู่ตลอดเวลา ควรใช้สติก่อนที่จะลงมือเล่น เพราะอาจจะทำให้เสียทรัพย์สินจนหมดตัว ทำให้ขาดสติ และอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

งดดื่มเหล้า
        เป็นหนึ่งในอบายมุข เหล้าเป็นของมึนเมา ที่จะทำให้ผู้ดื่มขาดสติ ซึ่งจะนำมาต่อการเสียทรัพย์สินหรือชีวิตเช่นกัน จึงได้มีประกาศออกมาให้วันเข้าพรรษา เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ อีกด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า "งดเหล้าเข้าพรรษา" ซึ่งอบายมุข หรือ ช่องทางของความเสื่อม มีด้วยกัน ๖ ทาง คือ ๑.ติดสุราและของมึนเมา ๒.ชอบเที่ยวกลางคืน ๓.ชอบเที่ยวดูการละเล่น ๔.เล่นการพนัน ๕.คบคนชั่วเป็นมิตร ๖.เกียจคร้านการงาน

        เพราะว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังเป็น ปุถุชน ที่ยังหลงมัวเมาอยู่ในกิเลส ตัณหาที่หลอกล่อให้เราติดใจในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสการกระทำความดีนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงปฏิบัติอยู่แล้ว ส่วนการทำความชั่ว หากได้ลองทำสักครั้งหนึ่งอาจยากที่จะถอนตัว คนเราจึงเกิดความทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด

วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมในวันเข้าพรรษา

        เพราะวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางศาสนา เป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ได้กระทำมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน เป็นการแสดงออกถึงการยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพุทธศาสนาและเป็นกาละเป็นการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ซึ่งการส่งเสริมแนวทางการจัดกิจกรรมวันเข้าพรรษาก็เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน แสดงให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความสามัคคีของคนในชุมชน

ร่วมทำกิจกรรมในชุมชน
        การหล่อเทียนจำนำพรรษา หรืองาน

แห่เทียนพรรษา เป็นงานที่ทำให้วัยรุ่น หนุ่มสาว เยาวชน ได้มีโอกาสใกล้ชิดและสัมผัส กับศิลปวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด จะมีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มสาว ซึ่งรวมถึงการทำบุญตักบาตร และกิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน ซึ่งคาดหวังได้ว่า ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จะสืบทอดต่ออีกยาวนาน

ส่งเสริมศาสนา กิจกรรมการศึกษา และวัฒนธรรม
        เพื่อเป็นการส่งเสริม สืบสาน และอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรม ของท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณ ให้ยังคงอยู่ โดยทำการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีกับคนไทยตลอดไป

การจัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา
        การจัดกิจกรรมวันเข้าพรรษาเพื่อให้เด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดี ที่ทำให้ประชาชนในชุมชน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ตลอดจนการร่วมแรง ร่วมใจ ของหน่วยงานต่าง ๆ และภาคประชาชน เพื่อให้ประเพณีไทย สืบต่อไป

ปลูกฝังประเพณีวัฒนธรรมไทย
        เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีของคนในชุมชน และทำให้ประชาชน จะได้ร่วมกันทำบุญ การปลูกฝังขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่น ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ถือว่าเป็นการยื่นข้อมูลดี ๆ ให้กับเยาวชน เพื่อปลูกฝังแต่สิ่งที่ดี จะได้ช่วยกันรักษาธรรมเนียม ประเพณี นี้ตลอดไป

        ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด การเน้นแนวทางสำคัญ ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึง วันสำคัญต่าง ๆ ที่สามารถสืบทอดต่อไปจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลานกันสืบไป

    

    นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา"ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า–เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อม ใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว  ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว

   

วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

    ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมาก ๆ ก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตร เช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่างโดยเฉพาะ แสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและเพื่อต้องการใช้แสงสว่างโดยตรง ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา ๓ เดือนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆ บ้านเป็นพุทธบูชา เทียนดังกล่าวเรียกว่า เทียนจำนำพรรษา

        ก่อนจะนำเทียนไปถวายนี้ ชาวบ้านมักจัดเป็นขบวนแห่แหนกันไปอย่างเอิกเกริกสนุกสนานเรียกว่าประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษา ดังเนื้อหาจากหนังสือนางนพมาศ ดังนี้

        เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบกและทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำประดับธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถหอพระธรรม และพระวิหารจุดตามให้สว่างไสวในที่นั้น ๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ ทุกพระอาราม

        ในวัดราษฎร์ทั้งหลาย ก็มีพิธีทำนองนี้ทั่วพระราชอาณาจักร ปัจจุบัน ประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษานี้ยังถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป บางจังหวัด เช่น อุบลราชธานี ถือให้เป็นประเพณีเด่นประจำจังหวัดตนได้จัดประดับตกแต่งต้นเทียนใหญ่ๆ มีการประกวดแข่งขันแล้วแห่แหน ไปถวายตามวัดต่าง ๆ

ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

        การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้ เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขาได้ทูลของพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ 

        ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี จึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายผ้าอาบน้ำฝนถวายพระสงฆ์ผู้จะอยู่พรรษา พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ

        แม้ในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไทยก็คงยังปฏิบัติกิจกรรม อย่างนี้อยู่บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลา ประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก) หรือ ผ้าจำนำพรรษาและเครื่องใช้อื่น ๆ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้าน

วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

ประเพณีตักรบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษา
        การตักบาตรดอกไม้ เดิมทีเดียวได้มีเรื่องราวในสมัยพุทธกาลของนายสุมนมาลาการที่ได้ถวายดอกมะลิ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวมีอยู่ว่า ในกรุงราชคฤห์มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อ "สุมนะ" ทุก ๆ เช้า เขาจะนำดอกมะลิ ๘ ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร และจะได้ทรัพย์มาเป็นค่าดอกไม้วันละ ๘ กหาปณะเป็นประจำ วันหนึ่ง ขณะที่เขาถือดอกไม้จะนำไปถวายพระราชา พระบรมศาสดาเสด็จมาบิณฑบาต พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกาย นายสุมนะเห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก อยากจะถวายดอกมะลิทั้ง ๘ ทะนาน ที่ถืออยู่ในมือ เพื่อเป็นพุทธบูชา เขาคิดว่า "ถ้าหากพระราชาไม่ได้รับดอกไม้เหล่านี้ในวันนี้ เราอาจจะถูกประหาร หรือถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้นก็ได้ แต่ก็ช่างเถอะ เพราะถึงพระราชาจะทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการพระราชทานทรัพย์เป็นค่าดอกไม้ ก็คงพอเลี้ยงชีวิตได้แค่ในภพชาตินี้เท่านั้น แต่การบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านี้ จะทำให้เราได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"  

        เขาคิดอย่างนี้แล้วก็ตัดสินใจสละชีวิต โปรยดอกไม้ทั้ง ๘ ทะนาน บูชาพระบรมศาสดาทันที ทันใดนั้น สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น คือ ดอกมะลิทั้ง ๘ ทะนาน ไม่ได้ตกถึงพื้นดินเลย ดอกมะลิ ๒ ทะนาน ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ แผ่อยู่เหนือพระเศียรของพระบรมศาสดา อีก ๒ ทะนาน แผ่เป็นกำแพงดอกไม้ลอยอยู่ข้างขวา และ ๒ ทะนานอยู่ข้างซ้าย ส่วนอีก ๒ ทะนาน อยู่ข้างหลัง กำแพงดอกไม้ทั้งหมดนี้ ลอยไปพร้อมกับพระบรมศาสดา เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำเนิน กำแพงดอกมะลิทั้งหมดก็ลอยตามไป เมื่อประทับยืน กำแพงดอกมะลิก็หยุดอยู่กับที่เหมือนกัน 

วันใดที่นำเทียนพรรษาไปถวายวัด

        นายสุมนะเห็นดังนั้น เกิดความปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่อง แทนที่จะลงโทษกลับชื่นชมและปูนบำเหน็บรางวัล ทำให้นายมาลาการมีชีวิตที่สุขสบายขึ้น เพราะเหตุนี้ ได้มีประเพณีตักบาตรเข้าพรรษาของไทยที่ได้สืบทอดมานาน และเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีการใช้ดอกไม้ชนิดหนึ่งในการใส่บาตรเรียกว่า "ดอกเข้าพรรษา" ซึ่งดอกไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามไหล่เขา มีเฉพาะในช่วงเข้าพรรษา ที่จังหวัดสระบุรีเพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น และในขณะที่พระภิกษุเดินขึ้นบันไดเพื่อที่จะนำดอกเข้าพรรษาไปนมัสการรอยพระพุทธบาทนั้นชาวบ้านก็จะนำขันน้ำ หรือภาชนะใส่น้ำลอยด้วยดอกพิกุล นั่งรออยู่ตามขั้นบันไดเพื่อคอยที่จะ ล้างเท้าให้แก่พระภิกษุ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไป


ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

        ผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ที่นั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา”

        ผ้าอาบน้ำฝน คือ ผ้าที่สำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอดเดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าวัสสิกสาฏิกา”

คำถวายเทียนพรรษา

บทสวดถวายเทียนพรรษา ภาษาบาลี

        ยคฺเฆ ภนฺเต สงฺโฆ ปฏิชานาตุ มยํ ภนฺเต เอต ปทีปยุตํ สปริวารํ เตมาสํ พุทฺธสฺส ปูชนตฺถาย อิมัสฺมิงฺ อุโปสถาคาเร นิยฺยาเทม อยํ เตมาสํ พุทฺธสฺส ปูชนตฺถาย ปทีปยุคสฺส ทานสฺส อนิสํโส อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุอาทีนญฺจ ปิยชนานํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย สํวตฺตตุ ฯ

บทสวดถวายเทียนพรรษา ภาษาไทย

        ยัค เฆ ภันเต สังโฆ ปะฏิชานาตุ มะยัง ภันเต เอตัง ปะทีปะยุตัง สะปะริวารัง เตมาสัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ อิมัสมิง อุโปสะถาคาเร นิยยาเทมะ อะยัง เตมาสัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ ปะทีปะยุคัสสะ ทานัสสะ อะนิสังโส อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ปิยะชะนานัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ ฯ

คำแปล

        ข้า แต่ท่านผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ พระอุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออนิสสงส์แห่งการถวายคู่เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษานี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนาน เทอญ.

วันใดที่มีการถวายเทียนพรรษา

การถวายเทียนจำนำพรรษาได้กระทำขึ้นก่อนเทศกาลเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาทุกปี คือก่อนวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือน ๘ ที่สอง ในกรณีที่มีอธิกมาส พุทธศาสนิกชนก็จะพากันขวนขวายให้มีการถวายเทียนจำนำพรรษาแก่วัดในท้องถิ่นของตน เพื่อให้พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ เดือน สมัยก่อนเทียนพรรษามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ...

หล่อเทียนวันไหน

วันเข้าพรรษาปี 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาซึ่งมี "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีสำคัญที่กระทำต่อกันมาเป็นประจำทุกปีเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาเนื่องจากพระภิกษุจะต้องมีการจุดธูปเทียนเพื่อจุดบูชา สวดมนต์ทำวัตร ทุกเช้า-เย็น ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเวลา 3 ...

พรรษาตรงกับวันอะไร

พิธีเข้าพรรษา ตามปกติจะเริ่มนับในวันเข้าพรรษาแรก หรือปุริมพรรษา ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือถ้าหากปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งในปี 2565 นี้ วันเข้าพรรษา จะตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม

ทำไมต้องถวายเทียนเข้าพรรษา

เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน