เครื่องใช้สํานักงาน หมวดไหน

ความหมายของสินทรัพย์ (Assets)
                 บัญญัติศัพท์โดยสมาคมบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ให้ความหมายสินทรัพย์ว่า หมายถึง สื่งมีตัวตนหรือหรือไม่มีตัวตน
อันมีมูลค่าซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิครอบครอง โดยถูกต้องตามกฎหมาย
                 สินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่สัมผัสได้ มองเห็นและมีตัวตนได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินรับ ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ วัสดุสำนักงาน ที่ดิน อาหาร และอุปกรณ์ ฯ ลฯ
                 สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่อาจสัมผัสได้ไม่อาจแลเห็น แต่ให้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะเป็นสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายที่กำหนด เช่น สัมปทาน สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ค่าความนิยม เครื่องหมายการค้า สัญญาเช่า ค่าใช้จ่าย
ในการจัดตั้งกิจการ และค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี ฯลฯ

ประเภทของสินทรัพย์ (Assets)
                 ในการจัดประเภทของสินทรัพย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

                 1.  สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง เงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีเหตุผลจะคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไประหว่างรอบระเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ ถ้ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการสั้นกว่า 1 ปี ให้ถือระยะเวลา
1 ปีเป็นเกณฑ์ในการจัดประเภทสินค้าหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ฯลฯ

                 2. ที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์ (Property Plant and Equipment) คือ สินทรัพย์ที่มีลักษณะคงทนถาวรมีอายุการ ใช้งานเกิน
กว่า 1 ปี และกิจการมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานปกติ มิได้มีไว้เพื่อขาย เช่น ที่ดินอาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น ซึ่งอาจเรียกอีกชื่อหนึ่ง
ได้ว่าสินทรัพย์ถาวร(Fixed assets)
                 3. สินทรัพย์อื่น (Other Assets Sundry Assets ) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่อาจจัดเข้าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ถาวรได้
เช่น สัมปทาน สิทธิบัตร
                       ตัวอย่างที่ 1  สินทรัพย์บุคคลธรรมดา เช่น นายกฤษณ์มีรายการสินทรัพย์ดังนี้
                                                   เงินสด                                                                            1,000      บาท
                                                   รถยนต์                                                                        200,000     บาท
                                                   บ้าน                                                                            200,000     บาท
                                                   ที่ดิน

300,000   

บาท
                                                   รวมสินทรัพย์

701,000   

บาท

                 ตัวอย่างที่ 2  สินทรัพย์ของกิจการค้า เช่น ร้านคัธรินมีสินทรัพย์ดังนี้
                                                   เงินสด                                                                            20,000    บาท
                                                   อุปกรณ์สำนักงาน                                                            50,000    บาท
                                                   รถบรรทุก                                                                    400,000    บาท
                                                   อาคารสำนักงาน                                                        1,000,000    บาท
                                                   เครื่องจักร

800,000   

บาท
                                                   รวมสินทรัพย์

2,270,000   

บาท

ความหมายของหนี้สิน  (Liability)
                 บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทสไทยได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการ
เป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้  เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น

ประเภทของหนี้สิน (Liability)
                 หนี้สินของกิจการที่แสดงในงบดุลแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
                 1. หนี้สินหมุนเวียน  (Current Liabilities) หนี้สินที่ต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน คือ 
                            1.1  หนี้สินนั้นถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี นับจากวันที่ในงบดุล
                            1.2  กิจการคาดว่าจะชำระหนี้สินนั้นคืนภายในรอบระยะเวลาดะเนินงานปกติหนี้สินหมุนเวียนดังกล่าวข้างต้นได้แก่ หนี้สินที่กิจการต้อง
ชำระให้หมดไปภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติของกิจการหรือภายใน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่าย เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร  ภาษีเงินได้ค้างจ่าย  เงินปันผลค้างจ่าย  ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต่าง ๆ การแยกหนี้สินหมุนเวียนออกต่างหากดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการวิเคราะห์ความสามารถ
ในการชำระหนี้ หนี้สินบางชนิด จะมิได้ชำระให้หมดไปในระหว่างรอบการดำเนินงานหากแต่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปีนับจากวันที่ในงบดุล ก็ให้ถือว่าเป็น
หนี้สินหมุนเวียน เช่นหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

                 2. หนี้สินระยะยาว หรือหนี้สินอื่นๆ  (Long term or other Liabilities)คือหนี้สินที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้เกินรอบระยะเวลา
การดำเนินงานปกติ หรือเกินกว่า 1 ปี และหนี้สินที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มหนี้สินหมุนเวียนเช่น หุ้นกู้ เงินกู้ยืม เงินกู้ยืมระยะยาวจากกรรมการและลูกจ้าง เป็นต้น

ความหมายของส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity )
                 ส่วนของเจ้าของ(Owner’s Equity) ตามคำนิยาม หมายถึง ส่วยได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินออกแล้ว เป็นสินทรัพย์สุทธิ (Net Assets) ของกิจการ

ตัวอย่าง  

ร้านเสริมสวยสลิตา มีสินทรัพย์และหนี้สิน ดังต่อไปนี้
                              เงินสด                                                      50,000            บาท
                              เงินฝากธนาคาร                                      120,000            บาท
                              อุปกรณ์เสริมสวย                                      75,000             บาท
                              อาคาร

750,000           

บาท
                             รวมสินทรัพย์                                995,000            บาท

หัก

เจ้าหนี้การค้า

35,000           

บาท
                                     สินทรัพย์สุทธิ

960,000           

บาท
                 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ร้านเสริมสวย สลิตา    มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น  995,000 บาท แต่มีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า เป็นเงิน 35,000 บาท ดังนั้นสิทธิการเป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือส่วนของเจ้าของ (Ower’s Equity)  ของร้านเสริมสวย สลิตาเท่ากับ 960,000 บาท

สมการบัญชี (Accounting Equation)
                 สมการบัญชี คือ สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ทุน) จะแสดงความสมดุลกันอยู่เสมอ  สามารถเขียนเป็นรูปสมการบัญชี ได้ดังนี้
                   สินทรัพย์        =  หนี้สิน   +  ส่วนของเจ้าของ
                   Assets        =   Liability   +   Owner’s Equity
   หรือเขียนเป็นตัวย่อว่า A           =        L         +        OE
จากตัวอย่าง ร้านสลิตามีสินทรัพย์  995,000  บาท หนี้สิน  35,000 บาท และส่วนของเจ้าของ 960,000 บาท จะเขียนในรูปสมการบัญชีได้ดังนี้

                                  A                  =         L              +        OE
                 995,00        =        35,000     +        960,000

ความหมายของงบดุล  (Balance Sheet)
                 งบดุล หมายถึง รายงานที่แสดงให้ทราบถึงฐานะทางการเงินของบุคคลหรือกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
เป็นจำนวนเท่าใด
                 สินทรัพย์ที่ปรากฏในงบดุล ณ วันใดวันหนึ่ง จะมีจำนวนเท่ากับผลรวมของจำนวนหนี้สินทั้งหมดกับส่วนของเจ้าของซึ่งอาศัยหลักของสมการบัญชี
ีดังนี้
               สินทรัพย์          =          หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
               Assets          =           Liabilities +  Owerner' Equity
               A                     =           L   +    OE
ดังนั้น การแสดงความสมดุลระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ นอกจากแสดงในรูปแบบสมการบัญชีแล้ว สามารถนำมาจัดทำในงบดุลได้

การจัดประเภทของรายการในงบดุล
                  การแบ่งประเภทของรายการในงบดุล แบ่งออกได้ 3 ส่วน ได้แก่
                 1. สินทรัพย์ แบ่งออกเป็น สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร เช่น  ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และสินทรัพย์อื่น ๆ  เช่น  ค่าลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร  ค่าความนิยม
                 2. หนี้สิน แบ่งออกเป็น หนี้สินหมุนเวียนแล ะหนี้สินระยะยาว
                 3. ส่วนของเจ้าของ ได้แก่ ทุน  ถอนใช้ส่วนตัว
ประเภทของงบดุล   งบดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                 1.    งบดุลแบบบัญชี
                 2.    งบดุลแบบรายงาน
หัวงบดุล  ให้เขียนกลางหน้า  จำนวน 3 บรรทัด  ดังนี้
บรรทัดแรก        เขียนชื่อบุคคลหรือกิจการ
บรรทัดที่สอง     เขียนคำว่า  งบดุล  ตรงกลาง
บรรทัดที่สาม     เขียน  วัน  เดือน  ปี  ที่จัดทำงบดุล
ตัวอย่างงบดุลแบบบัญชี

                                                                                   ร้านสุขุมวิท
                                                                                       งบดุล วันที่  18  พฤษภาคม  2548


ตัวอย่างงบดุลแบบรายงาน
                                                                                 ร้านสุขุมวิท
                                                                                     งบดุล
                                                                     วันที่  18  พฤษภาคม  2548
                                                            สินทรัพย์
                                                            เงินสด                                                                                5,000 -
                                                            เครื่องตกแต่ง                                                                      6,000 -
                                                            อุปกรณ์สำนักงาน

8,000

-
                                                                     รวมสินทรัพย์

19,000


                                                            หนี้สินและสินทรัพย์ของเจ้าของ
                                                            เจ้าหนี้ – ร้านอุปกรณ์                                                            1,000 -
                                                            ทุน   -  นายสุขุม

18,000


                                                                     รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ

19,000

วัสดุสํานักงานอยู่ในหมวดใด

หมวดบัญชีสินทรัพย์ คือ สินทรัพย์ สิทธิต่างๆ ที่กิจการครอบครองอยู่ เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เครื่องจักร วัสดุ/อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในสํานักงาน มีอะไรบ้าง

ชนิดเครื่องใช้ส านักงาน 1. เครื่องคานวณ 2 2. เครื่องพิมพ์ดีด 2 3. เครื่องอัดส าเนา 2 4. เครื่องถ่ายเอกสาร 3 5. เครื่องโทรศัพท์ 5 6. เครื่องโทรสาร 6 7. เครื่องคอมพิวเตอร์ 6 8. เครื่องพิมพ์ 7 9. เครื่องสแกนเนอร์ 9 10. เครื่องตัดกระดาษ 10 11. เครื่องเคลือบเอกสาร 11 12. เครื่องเจาะกระดาษ 11 13. เครื่องเย็บเอกสาร 11.

เครื่องคอมพิวเตอร์จัดเป็นประเภทใดของสํานักงาน

อุปกรณ์สำนักงานเพื่อจัดทำข้อมูล ได้แก่ 1. เครื่องคำนวณเลข (Adding & Calculating Machine) 2. เครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) 3. คอมพิวเตอร์ (Computer) 4. เครื่องเจาะบัตร (Punch Card Machine)

เครื่องใช้สํานักงานคืออะไร

เครื่องใช้สำนักงาน หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยในการปฏิบัติงานของพนักงานในสำนักงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและถูกต้องชัดเจน สร้างความประทับใจแก่ผู้รับอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการติดต่อ เครื่องใช้สำนักงานในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะเป็นกลไกอิเล็กทรอนิกส์หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นเครื่องใช้สำนักงาน ...