ปัจจุบัน ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือ พระพุทธ ศาสนา ควบคู่ ไปกับลัทธิหรือศาสนาใด

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

เท่าที่ปรากฏหลักฐาน พบว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิมิ่งตี่ แห่งราชวงศ์ฮั่น โดยพระองค์ส่งสมณทูตไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย และเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ รูป คือ พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย

                เมื่อพระเถระ รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระจักรพรรดิมิ่งตี่ได้ทรงสั่งสร้างวัดให้เป็นที่อยู่ของพระเถระทั้ง และตั้งชื่อว่า วัดแปะเบ้ยี่ ซึ่งแปลว่าเป็นไทยว่า วัดม้าขาว ซึ่งเป็นอนุสรณ์ให้ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากับพระเถระทั้ง รูป

                ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมแต่ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือในหมู่ข้า ราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื้อนัก ปราชญ์ผู้มีความสามารถได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้เห็นถึง ความจริงให้ชาวจีนเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากกว่า ลัทธิศาสนาอื่น ๆ

                จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161-1450) พระพุทธศาสนาก็เจริญสูงสุดและได้มีการส่งพระเถระเดินทางไปสืบพระพุทธใน อินเดียและอัญเชิญพระไตรปิฎก กลับมายังจีน และได้มีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนอีกมากมาย

พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อพระเจ้าบู๊จง ขึ้น ปกครองประเทศ เพราะพระเจ้าบู๊จงนับถือลัทธิเต๋า ทรงสั่งทำลายวัด บังคับให้พระภิกษุลาสิกขา ทำลายพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ จนถึง พ.ศ.1391 เมื่อพระเจ้าชวนจง ขึ้นครองราชย์ ทรงสั่งห้ามทำลายวัด และนำประมุขลัทธิเต๋ากับพวกไปประหารชีวิต พร้อมกันนั้นก็ได้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง  พระพุทธศาสนาในประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองสลับกับเสื่อมโทรมตามยุคสมัยของราชวงศ์ที่จะทรงนับถือลัทธิหรือศาสนาใด

                ใน พ.ศ.2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนา แต่กลับสนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ จนใน พ.ศ.2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่งชื่อว่า ไท้สู ได้ทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ขึ้นที่ วูชัง เอ้หมึง เสฉวน และหลิ่งนาน และจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน ขึ้น ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้น

                พ.ศ.2492 สาธารณรัฐจีน ได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่าง มากรัฐบาลได้ยึดวัดเปนของราชการ ทำลายพระคัมภีร์ต่าง ๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ.2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีน คือ เติ้งเสี่ยวผิง คลายความเข้มงวดลงบ้าง และให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น สภาวการณ์ทางพระพุทธศาสนาจึงเริ่มกลับฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนและสภาการศึกษาพระ พุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งด้วย ปัจจุบันชาวจีนนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิ เต๋า

พุทธศาสนาในประเทศจีน

การเข้ามาของพุทธศาสนาในประเทศจีน 

ปัจจุบัน ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือ พระพุทธ ศาสนา ควบคู่ ไปกับลัทธิหรือศาสนาใด

แนวคิดเกี่ยวกับการเข้ามาของพุทธศาสนาในดินแดนจงหยวน (ประเทศจีน)

พุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสามศาสนาใหญ่ในประเทศจีน ความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาในจีนนั้น ไม่ได้ด้อยไปกว่าลัทธิขงจื๊อ และศาสนาเต๋าซึ่งเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในจีนเอง นักพุทธศาสตร์ของจีน มีข้อสันนิษฐานเรื่องกาลเวลาที่พุทธศาสนาแผ่เข้าจีน

ปัจจุบัน ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือ พระพุทธ ศาสนา ควบคู่ ไปกับลัทธิหรือศาสนาใด

แตกต่างกันหลายทัศนะดังนี้

กลุ่มแรก สันนิษฐานว่า เข้าไปในจีนตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินสื่อหวงตี้ (ฉินซีฮ่องเต้ พ.ศ.297-333)

กลุ่มที่สอง สันนิษฐานว่าเข้าไปเมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงกระทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 3 (พ.ศ.278) แล้ว ได้ส่งพระธรรมทูตออกเผยแผ่พุทธศาสนานอกดินแดนชมพูทวีป และในครั้งนั้น พระองค์ก็ได้ส่งพระมหาเถระเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศจีนด้วย

          อย่างไรก็ตามพระพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทในราชสำนักจีนและได้รับการอุปถัทภกจากจักรพรรดิจีน สมัยราชวงศ์ตงฮั่น(ฮั่นตะวันออก) ดังที่ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิหย่งผิง (ฮั่นหมิงตี้หรือเม่งเต้) ทั้งนี้ เพราะนักโบราณคดีได้ขุดพบพระพุทธรูปในสมัยนี้หลายแห่งด้วยกัน เช่น พระพุทธรูปที่ภูเขาเผิงซัน มณฑลเสฉวน พระพุทธรูปที่ภูเขาข่งอ้วงซัน มณฑลเจียงซู เป็นต้น ในสมัยของพระจักรพรรดิหมิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นพระองค์ได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครลั่วหยาง พระเจ้าฮั่นหมิงเต้ ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้นพระปาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่มแรก

สังคมจีนกับการเข้ามาของพุทธศาสนา ในยุควางรากฐานพุทธศาสนาบนดินแดนจงหยวน

สำหรับชาวจีน พุทธศาสนาเป็นศาสนาและวัฒนธรรมต่างชาตินำเข้าไป ฉะนั้น เมื่อแรกแผ่เข้าไปนั้น จึงประสบกับการถูกกีดกันอย่างรุนแรงจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนเป็นเบื้องแรก กว่าจะเป็นที่ยอมรับและกลายเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของจีนได้ ก็กินเวลาหลายร้อยปี ซึ่งพุทธศาสนาแผ่เข้าในจีนได้ผ่านวิวัฒนาการอย่างสลับซับซ้อนถึง 3 ระยะ คือ
          ระยะแรก เป็นระยะที่อาศัยวัฒนธรรมจีนเป็นทุ่นเกาะ เพื่อประคองตัวเองให้ปักหลักลงได้บนผืนแผ่นดินจีน แล้วค่อย ๆ เผยแผ่ออกไป
          ระยะที่สอง เป็นระยะที่เกิดภาวะขัดแย้งและปะทะกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนอย่างรุนแรง
          ระยะที่สาม เป็นระยะที่เป็นที่ยอมรับและกลายเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของจีน

          ในส่วนท่าทีของวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนที่มีต่อศาสนาพุทธเมื่อแรกแผ่เข้าไปนั้น ก็มีวิวัฒนา การที่สลับซับซ้อนพอ ๆ กัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะเช่นกัน คือ หนึ่ง ระยะรับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ สอง ระยะกีดกันและต่อต้าน และสาม ระยะยอมรับเป็นศาสนาและวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของจีน ดังรายละเอียดดังนี้

ระยะแรก อาศัยวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนเป็นทุ่นเกาะ
         
ตั้งแต่ปลายยุคราชวงศ์ซีฮั่น(ฮั่นตะวันตก)ถึงยุคตงฮั่น เข้าสู่ยุคสามก๊กจนถึงยุคราชวงศ์จิ้น เป็นยุคที่จีนมีสงครามกลางเมืองติดต่อสืบเนื่องกันมาตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี มีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินกันอยู่เนือง ๆ สภาพสังคมตกอยู่ในภาวะผันผวนและเปลี่ยนแปลงโดยชนชั้นปกครองที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเป็นใหญ่เรื่อยมา ชนชั้นปกครองในช่วงหลายร้อยปีมานี้ ส่วนใหญ่จะดำเนินนโยบายเปิดสู่โลกภายนอก พุทธศาสนาจึงได้แผ่เข้ามาในช่วงโอกาสดังกล่าว และใช้เวลาหลายร้อยปีค่อย ๆ แผ่ขยายออกไป จนในที่สุดเป็นที่ยอมรับของชาวจีนทั่วไป

          ในระยะที่แรกแผ่เข้าไปนั้น ท่าทีของวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนที่มีต่อพุทธศาสนาจะอยู่ในลักษณะปกป้อง ดูเชิงและคุ้มครองตัวเองมากกว่าที่จะใช้ท่าทีก้าวร้าว ซ้ำยังเป็นฝ่ายส่งอิทธิพลกระทบพุทธศาสนาอีกด้วย จึงทำให้พุทธศาสนาที่แรกแผ่เข้าไปนั้นได้วิวัฒนาการไปตามครรลองของวัฒนธรรมจีน ในเวลานั้น กระแสหลักของแนวความคิดแต่ละยุค แต่ละสมัยของวัฒนธรรมจีนเองซึ่งก็ได้วิวัฒนาการตัวเองไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา มีผลต่อวิวัฒนาการของพุทธศาสนาที่แพร่เข้าไปอย่างมาก พุทธศาสนาเองก็มีอรรถเนื้อหาอุดมไพศาลและมีพุทธนิกายต่าง ๆ แตกแขนงออกไปมากมายหลายนิกาย นิกายต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อแรกแผ่เข้าไปในจีนก็แยกย้ายกันไปเสาะหาวัฒนธรรมอันมีอยู่หลายแขนง หลายประเภทของจีนเป็นทุ่นเกาะตามที่เห็นเหมาะสม

          เมื่อดูวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ เราจะเห็นว่า ในสมัยราชวงศ์ฮั่นนั้น มโนคติเกี่ยวกับทางด้านศาสนา พุทธศาสนาจะอาศัยไสยศาสตร์ของเต๋าเป็นทุ่นเกาะ เพื่อให้ตัวเองปักหลักลงได้ ส่วนทางศาสนธรรมนั้น พุทธต้องอาศัยแนวความคิดของลัทธิขงจื๊อเป็นทุ่นเกาะเพื่อเผยแผ่ตัวเอง

          ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ไสยศาสตร์ในจีนเฟื่องฟูมาก ผู้คนบูชาเทพเจ้า บูชาเซียน นับถือพ่อมดหมอผี เชื่อเรื่องโชคลาง เชื่อเรื่องเวทมนต์คาถา ชอบพยากรณ์โชคชะตาของตนตามจักรราศีบ้าง ตามลักษณะสีสันของก้อนเมฆ (ภาษาจีนเรียกว่า อ้วงชี่ ) บ้าง ตามลักษณะการเคลื่อนไหวของลม (ภาษาจีนเรียกว่า เฟิงเจี่ยว) บ้าง หรือไม่ก็ทำนายดวงชะตาของตนด้วยกระดองเต่า กระดูกสัตว์หรือด้วยซือเฉ่า ( หญ้าชนิดหนึ่ง) เป็นต้น วิทยาอาคมต่าง ๆ ในสมัยนั้น จะถูกนำมาใช้ในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ในการพยากรณ์โชคลาง ในการขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ หรือขอให้ได้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้ได้ในสิ่งที่ปรารถนา เป็นต้น

ศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือกันในสมัยนั้น คือหวงเหล่าเสฺวีย ซึ่งได้พัฒนาเป็นศาสนาเต๋าในกาลต่อมา คำว่า หวง หมายถึงหวงตี้ ตามตำนานจีน ชาวจีนนับถือว่าเป็นบรรพบุรุษของตน เหล่า คือ เล่าจื้อนั่นเอง ทั้งหวงตี้และเล่าจื้อนั้น ศาสนาเต๋าบูชานับถือเป็นศาสดาจารย์แห่งลัทธิของตนทั้งสองท่าน อันหวงเหล่าเสฺวียนั้น แม้จะเป็นสำนักปรัชญาสำนักหนึ่ง แต่โดยกำเนิดก็มีพื้นฐานมาจากไสยศาสตร์โบราณและผูกพันเหนียวแน่นกับไสยศาสตร์ซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น วิธีเผยแพร่แนวความคิดของหวงเหล่าเสฺวียก็โดยการกระทำพิธีต่าง ๆ ทางไสยศาสตร์เป็นสำคัญ

พุทธศาสนาแพร่เข้าไปในจีนอย่างเป็นหลักเป็นฐานก็ในสมัยช่วงที่หวงเหล่าเสฺวียและไสยศาสตร์ต่าง ๆ กำลังรุ่งเรืองสุดขีด จึงถูกชนชาวจีน โดยเฉพาะชนชั้นปกครองมองด้วยสายตาอย่างมองไสยศาสตร์แขนงหนึ่ง เช่นเดียวกับที่มองหวงเหล่าเสฺวีย คนทั่วไปบูชานับถือพระพุทธเจ้าเป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง เช่นเดียวกับหวงตี้และเล่าจื้อ คนส่วนใหญ่มักจะเอาปรัชญาและทฤษฎีของหวงเหล่าเสฺวีย ทำความเข้าใจหรืออรรถาธิบายพระคัมภีร์และพระสูตรของพุทธศาสนา เช่น มักจะเข้าใจเบญจศีลข้อแรกกับข้อที่สาม ที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ว่า ให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ให้ละเว้นจากการผิดประเวณีว่าเป็นสิ่งเดียวกับ "รักชีวิต เกลียดการเข่นฆ่า งดเมถุน เว้นความฟุ่มเฟือย" ของหวงเหล่าเสฺวีย แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ศีลสองข้อนี้ของพระพุทธองค์เป็นคำสอนให้ละเว้นจากการทำบาป ทำชั่ว อันเป็นวิถีที่จะช่วยให้ผู้คนขจัดปัดเป่าความทุกข์ ความเจ็บปวดให้พ้นไปจากชีวิต ซึ่งเป็นคนละนัยกับปรัชญาของหวงเหล่าเสฺวียที่เน้นว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงควรจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่าได้ริไปเสริมแต่งให้ผิดทำนองคลองธรรมดั้งเดิมของมัน ในสมัยสามก๊ก ก็มีการถอดคำว่า "นรก"ออกเป็น "ไท่ซัน" ทั้งนี้ก็เพราะชาวจีนในสมัยนั้นเชื่อกันว่า คนเราเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณจะล่องลอยไปที่ภูเขาไท่ซันก่อน จากสองตัวอย่างนี้เราจะเห็นได้ว่าท่าทีของชาวจีนที่มีต่อพุทธศาสนาเมื่อแรกแผ่เข้าไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านปรัชญาหรือด้านความรับรู้ ล้วนแล้วแต่เป็นท่าทีที่ใช้ปฏิบัติต่อหวงเหล่าเสฺวียนั่นเอง

ในส่วนพุทธศาสนาเอง เมื่อแรกแผ่เข้าไปนั้น ก็ได้อาศัยหวงเหล่าเสฺวียเป็นทุ่นเกาะ เพื่อโน้มน้าวผู้คนให้เชื่อถือศรัทธา ชาวพุทธในสมัยนี้ ขนานนามพุทธศาสนาว่า "โฝเต๋า" เรียกพระภิกษุสงฆ์ว่า                  "เต๋าเหยิน" ซึ่งนักบวชเต๋าจะเรียกตัวเองว่า "เต๋าซื่อ" คำเอ่ยอ้างที่ว่า " เต๋ามี 96 แขนง ที่ยิ่งใหญ่เลิศล้ำคือ "โฝเต๋า"นั้น เป็นเนื้อหาสำคัญที่ชาวพุทธในสมัยนั้นใช้เผยแผ่พุทธศาสนาในเวลานั้น ซึ่งก็พอจะทำให้มองเห็นภาพได้ว่าชาวพุทธนั้น พยายามที่จะใช้เต๋าให้เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่ตนเองเพียงไร และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ การยืมเอาวิธีการทางไสยศาสตร์ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสังคมยุคนั้น เป็นเครื่องมือในการเผยแผ่พุทธธรรม ก็เป็นวิธีเดียวกับที่นักบวชเต๋าชอบทำกัน เช่นการใช้เวทมนต์คาถารักษาโรคภัยไข้เจ็บ การทำพิธีสะเดาะเคราะห์ การทำนายโชคลางต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นหนทางที่นำตัวเองเข้าไปใกล้ชิดกับมหาชนได้ง่ายขึ้นและอย่างมีผล ในหนังสือประวัติพุทธศาสนาในจีน ซึ่งมีผู้เขียนกันมากมายมาแต่โบราณกาล ก็ได้บันทึกถึงบรรดาพระมหาเถระที่เข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในจีนนั้น ล้วนมีวิทยาอาคมแก่กล้ากันทุกคน เช่น พระอาจารย์อันซื่อเกา พระอาจารย์คังเซิงฮุ้ย พระอาจารย์ธรรมกาล พระอาจารย์คุณภัทร ล้วนได้ชื่อว่าเป็นพหูสูตที่มีความรอบรู้ในพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง และมีความสามารถในด้านโหราศาสตร์ ด้านการทำนายโชคลาง การรักษาโรคร้ายด้วยเวทมนต์คาถา การเสดาะเคราะห์ เป็นต้น จนสามารถพูดได้ว่า แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นที่สนใจและดึงดูดใจผู้คนในสมัยนั้น ให้เกิดศรัทธาในพุทธศาสนายิ่งกว่าพุทธธรรมที่เผยแผ่อยู่ในเวลานั้น ภาพลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในมโนคติของชาวจีนในยุคนั้น จะเป็นภาพของเทพเจ้าที่มีอภินิหารยิ่งใหญ่ บนพระศอมีรัศมีเป็นพวยพุ่งและสามารถเนรมิตกายได้ตามใจชอบ ภาพลักษณ์เช่นนี้ ความจริงเป็นภาพของเซียนที่ชาวจีนรู้จักมักคุ้นมาแต่โบราณ

นักพุทธศาสตร์จีนในปัจจุบัน ลงความเห็นว่า การที่พุทธศาสนาเมื่อแรกแผ่เข้าไปนั้นต้องอาศัยวัฒนธรรมจีนเป็นทุ่นเกาะ เพื่อให้ตัวเองสามารถเผยแผ่ออกไปได้นั้น เป็นกฎทั่ว ๆ ไปในการแทรกซึมของวัฒนธรรรมหนึ่งสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง การที่ศาสนาใหม่ศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะศาสนาต่างชาติเมื่อแผ่เข้าไป
จะให้ศาสนธรรมหรือปรัชญาของตนเป็นที่ยอมรับนับถือในหมู่ชนที่แปลกใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย เพราะวัฒนธรรมดั้งเดิมของทุกชาติ ล้วนมีด้านที่จะอนุรักษ์ คุ้มครองตนเองและต่อต้านสิ่งที่เข้าไปใหม่อยู่ในตัวเองเป็นวิสัย ดังนั้น ผู้เผยแผ่จะต้องสันทัดในการปรับปรุงสิ่งที่นำเข้าไปใหม่ ให้สอดคล้องกับแนวความคิดและความต้องการของผู้คนในดินแดนแห่งนั้น ทั้งยังต้องทำให้หมู่ชนนั้นเชื่อว่า การเสาะแสวงหาของตนมีหนทางเป็นจริงขึ้นได้ ศาสนานั้นจึงจะสามารถสร้างศรัทธาปสาทะขึ้นในหมู่ชนเหล่านั้นและเป็นที่ยอมรับในที่สุด

ครั้นเข้าสู่ยุคราชวงศ์เว่ย (ค.ศ.220 – 256 ยุคสามก๊ก) และจิ้น (ค.ศ.265 - 420) พุทธศาสนาก็เปลี่ยนจากอาศัยหวงเหล่าเสฺวียมาอาศัยเสฺวียนเสฺวียเป็นทุ่นเกาะ เพื่อเผยแพร่ตนเอง ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสหลักแห่งวัฒนธรรมจีนในยุคนี้คือเสฺวียนเสฺวีย ในยุคนี้ เสวียนเสวียกับพุทธมีท่าทีถ้อยปรองดองกัน และรับเอาอิทธิพลของกันและกันไว้ โดยเฉพาะ เสฺวียนเสฺวียดูเหมือนจะเป็นฝ่ายรับอิทธิพลของพุทธมากกว่าจะเป็นฝ่ายส่งอิทธิพลกระทบพุทธ เข้าสู่ยุคนี้ แต่ละพุทธนิกายในจีน จะเผยแพร่พระคัมภีร์หมวดปรัชญา ปารมิตาสูตรเป็นหลัก และต่างก็เอาภาษาของเสฺวียนเสฺวียมาอรรถาธิบายคัมภีร์พุทธศาสนา พุทธศาสนาจึงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ตรงกันข้ามกับเสฺวียนเสฺวียซึ่งกลับเสื่อมลง แต่มีข้อน่าสังเกตคือ ทฤษฎีของเสฺวียนเสฺวียที่ชาวพุทธอาศัยเป็นทุ่นเกาะในเวลานั้น ค่อนข้างจะสับสน ไม่เป็นระบบและมีความขัดแย้งในตัวของมันเองอยู่มาก จึงทำให้พระคัมภีร์หมวดปรัชญาปารมิตาสูตรเกิดความแปลกแยกและแตกแขนงออกไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง พุทธนิกายในจีนในเวลานั้นแตกแขนงออกเป็น "หกสำนัก เจ็ดนิกาย" ทั้งนี้ เนื่องด้วยแต่ละนิกายมีความเข้าใจในหลัก"สุญญตา"อันเป็นหัวใจสำคัญของพระคัมภีร์หมวดปรัช-ญาปารมิตาสูตรแตกต่างกันออกไป หลังอุบัติ "หกสำนัก เจ็ดนิกาย" แล้วก็เกิดทฤษฎี "ว่าด้วยสิ่งทั้งหลายทั้งปวงแท้คือมายานั้นเป็นสุญญตา"ของพระอาจารย์เซิงเจ้า พุทธศาสนาในสมัยนี้วิวัฒนา-การจากฝ่ายอาศัยเสฺวียนเสฺวียเป็นทุ่นเกาะ กลายมาเป็นฝ่ายเติมเต็มความไม่สมบูรณ์ของเสฺวียนเสฺวีย

นอกจากหวงเหล่าเสฺวียกับเสฺวียนเสฺวียแล้ว พุทธศาสนาเมื่อแรกแผ่เข้าสู่จีนนั้น ยังได้อาศัยแนว
ความคิดลัทธิขงจื๊อเป็นทุ่นเกาะเพื่อเผยแพร่พุทธธรรมอีกด้วย พูดถึงหลักปฏิบัติแล้ว แนวความคิดลัทธิขงจื๊อกับหลักธรรมของพุทธแตกต่างกันมาก เช่น หลักปรัชญาของขงจื๊อ จะเน้นให้เห็นถึงความถูกต้องในความเลื่อมล้ำต่ำสูงของความสัมพันธ์ในสังคมว่า"ผู้มีฐานะสูงกว่าสมควรที่จะได้ปกครองผู้มีฐานะต่ำกว่า ผู้มีฐานะต่ำกว่าสมควรที่จะต้องปฏิบัติตามความต้องการของผู้มีฐานะสูงกว่า" หลักความคิดเช่นนี้ ผิดกับหลักธรรมพุทธศาสนาที่ให้คนเราตั้งความสัมพันธ์อยู่บนความเสมอภาคและเคารพซึ่งกันและกัน แต่เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับศีลธรรมและมโนคติของชาวจีน ชาวพุทธที่เผยแผ่พุทธธรรมในสมัยนั้น เวลาแปลหรืออธิบายหลักธรรมของพุทธ ก็จะพยายามเลือกสรรและเพิ่มเติมเนื้อหาที่เห็นว่าชาวจีนสามารถรับได้เข้าไว้ และตัดทอนเนื้อหาที่เห็นจะรับไม่ได้ออกไป เช่น พระอาจารย์อันซื่อเกาในสมัยซีฮั่น เมื่อแปลพระคัมภีร์สิคาโลสูตรก็ได้เพิ่มเติมและดัดแปลงเนื้อความในพระสูตรนี้ให้เข้ากับหลักจริยธรรมของลัทธิขงจื๊อ ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพระจักรพรรดิกับขุนนาง ระหว่างบิดากับบุตร สามีกับภรรยา พี่กับน้องและระหว่างเพื่อนฝูงด้วยกันเข้าไป เพื่อให้เป็นที่รับได้ของชาวจีนทั่วไป และเมื่อพระอาจารย์คังเซิงฮุ้ยแปลและเรียบเรียงพระคัมภีร์หมวดษฑปารมิตาสูตรได้นำเอาหลักเมตตาบารมีของมหายานผสมผสานเข้ากับมโน คติเกี่ยวกับ"เหยินอ้าย"หลักเมตตาการุญของลัทธิขงจื๊อ โดยการเสนอทัศนคติว่า "การปกครองอาณาประชาราษฎร์ เคารพผู้อาวุโสกว่า กตัญญูกตเวทีต่อผู้บังเกิดเกล้าและผู้มีพระคุณ ละเว้นจากการกระทำทุกข์ทรมานและเข่นฆ่าผู้อื่น ละเว้นจากความละโมบ เหล่านี้ล้วนเป็นมโนคติที่ประสานเข้ากันได้อย่างสนิทกับทฤษฎีทางการเมืองของลัทธิขงจื๊อ พระอาจารย์ฮุ้ยเหยี่ยนในสมัยตงจิ้นได้เสนอทัศนคติว่า "อันศาสนธรรมทั้งนอกและในนั้น หากรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้แล้วไซร้ ก็จะนำความสว่างรุ่งโรจน์มาสู่" คำว่า "ใน" ในที่นี้หมายถึงลัทธิขงจื๊อ อันเป็นสำนักปรัชญาที่ถือกำเนิดขึ้นในจีนเอง ส่วนคำว่า "นอก" นั้นหมายถึง "พุทธศาสนา" อันเป็นศาสนาที่แพร่เข้ามาจากอินเดีย

ระยะที่สอง เกิดภาวะขัดแย้งและปะทะกับวัฒนธรรมจีน
         
พุทธศาสนากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนโดยแก่นแท้แล้วผิดแผกแตกต่างกันมาก จึงขัดแย้งกันตั้งแต่แรกแผ่เข้าไป แต่ชาวฮั่นในสมัยนั้น รู้จักและเข้าใจพุทธศาสนาแต่พียงผิวเผิน ประกอบกับอิทธิพลของพุทธยังไม่เด่นชัดนัก และที่สำคัญคือชาวพุทธเองได้พยายามอาศัยวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนเป็นทุ่นเกาะ เพื่อเผยแผ่ตัวเอง ดังนั้นความขัดแย้งต่าง ๆ เมื่อแรกแผ่เข้าไปนั้น จึงดูไม่โดดเด่น การปะทะกันซึ่งมีอยู่บ้างก็ไม่รุนแรงอะไร แต่พอล่วงเข้าสมัยราชวงศ์จิ้น มีการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาอย่างเป็นระบบและเป็นล่ำเป็นสัน จำนวนคัมภีร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้แปลมีความเข้าใจในพุทธปรัชญาและพุทธธรรมลึกซึ้งยิ่งขึ้น แปลได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น ช่วยให้คนทั่วไปเข้าใจและมองเห็นความแตกต่างระหว่างพุทธกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนได้ชัดเจน

ความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เคยแฝงเร้นอยู่ก็ปรากฏเด่นชัดออกมา ดังนั้น จึงเกิดปัญหาว่าจะยืนหยัดในหลักพุทธธรรม หรือจะยังคงอรรถาธิบายพุทธคัมภีร์และพระสูตรต่าง ๆ ตามครรลองความรับรู้ของคนจีนต่อไป ปัญหานี้จึงเป็นปัญหามูลฐานที่เป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งอื่น ๆ ตามมา คัมภีร์ต่าง ๆ ที่แพร่เข้าไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ธรรมบางข้อก็เป็นที่ยอมรับของชาวจีนในสมัยนั้น บางข้อก็ไม่เป็นที่ยอมรับกัน แต่จะอย่างไรก็ตาม ผลกระทบของพุทธศาสนาต่อสังคมยุคนั้น ก็แผ่กว้างและเติบใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ การอาศัยวัฒนธรรมจีนเป็นทุ่นเกาะเพื่อเผยแผ่ตัวเองลดน้อยลง มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ความขัดแย้งและการปะทะกันจึงเป็นไปอย่างเปิดเผย และทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ และที่พิเศษออกไปอีกก็คือพุทธศาสนาในจีนนั้น ยังข้องเกี่ยวอยู่กับการเมืองและมีระบบเศรษฐกิจที่เป็นเอกเทศจากบ้านเมือง ซึ่งเรียกกันว่า "เศรษฐกิจวัด" โดยวัดแต่ละวัดจะมีที่ดินเป็นของตนเองมากมายกว้างใหญ่ไพศาลและให้เช่า ทำรายได้ให้สูงมาก นอกจากนี้ วัดยังมีรายได้จากทางอื่นอีกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จึงเป็นเหตุให้เกิดขัดแย้งในด้านผลประโยชน์กับชนชั้นปกครองขึ้นอีกเปลาะหนึ่ง ทำให้ความขัดแย้งดังกล่าวเพิ่มความซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะนอกเหนือจากความขัดแย้งทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจแทรกรวมอยู่ด้วย ความขัดแย้งนี้ บางครั้งก็นำไปสู่การปะทะกันด้วยกำลังอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในยุคหนานเป่ยเฉา (ราชวงศ์เหนือใต้ ค.ศ. 420589) ดูจะดุเดือดรุนแรงยิ่งกว่ายุคใด ๆ ในประวัติศาสตร์ ข้อขัดแย้งบางกรณีเรื้อรังจนถึงยุคราชวงศ์สุย (ค.ศ.581 - 618) และถัง (ค.ศ.618907 ) จึงได้ยุติลง

ในหนังสือ "หงหมิงจี๋" และ "กว่างหงหมิงจี๋ " ซึ่งเป็นหนังสือที่พระภิกษุสมัยราชวงศ์หนานเฉา (ราชวงศ์ใต้ ค.ศ. 420589 )และราชวงศ์ถัง เรียบเรียงขึ้นเพื่อสดุดีพุทธศาสนา และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับพุทธศาสนาในสองสมัยนั้น ช่วยให้ชนรุ่นหลังทราบถึงความขัดแย้งและการปะทะกันระหว่างพุทธกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนอย่างค่อนข้างละเอียด ความขัดแย้งต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ จะปรากฏในรูปของการปะทะกันระหว่างพุทธกับลัทธิขงจื๊อและพุทธกับเต๋า ซึ่งมีการขับเคี่ยวกันมาทั้งในด้านปรัชญา ในด้านศีลธรรมและในด้านการสถาปนาสถานะความเป็นหนึ่งใน ศาสนมณฑล ในด้านปรัชญานั้น มีการโต้แย้งกันด้วยปรัชญาว่าด้วย "การเกิด การตาย" "กายและจิต" และ "กฎแห่งกรรมมีจริงหรือไม่" ทัศนะของลัทธิขงจื๊อเห็นว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงในสากลโลก ย่อมเกิดและตายไปตามธรรมชาติของมันเอง อันคนเรานั้นเมื่อตายไปแล้วจิตย่อมดับไปด้วย ส่วนทัศนะของเต๋านั้น แม้จะเน้นเรื่องทำอย่างไรคนเราจึงจะหลุดพ้นจากความตายไปได้ ทำอย่างไรจึงจะบำเพ็ญตนให้บรรลุเป็นเซียนได้ แต่เต๋าก็เห็นว่า กายและจิตนั้นจะแยกออกจากกันไม่ได้ ปรัชญาเหล่านี้ ตรงข้ามกับปรัชญาพุทธที่เห็นว่า สิ่งมีชีวิตทั้งมวลย่อมมีการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอันเป็นทฤษฎี"จิตไม่ดับตามสังขาร" ความขัดแย้งที่ตามมากับสองทฤษฎีนี้คือ ปัญหาว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรมมีจริงหรือไม่ พุทธปรัชญาเห็นว่า สรรพชีวิตจะเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารตามกรรมที่ก่อไว้ มีแต่ผู้บรรลุนิพพานภาวะแล้วเท่านั้น จึงจะหลุดพ้นจากกฎนี้ได้ ดังนั้น กรรมใดที่สร้างไว้ ก็อาจตอบสนองได้ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้าและชาติที่ไกลออกไป ความจริงทฤษฎีว่าด้วยกฎแห่งกรรมนี้ มีอยู่ในความเชื่อดั้งเดิมของจีนเหมือนกัน ผิดกันตรงที่ของจีนนั้น เชื่อว่ากรรมจะตามสนองให้เห็นทันตาในชาตินี้มิใช่ชาติหน้า เพราะถือคติความเชื่อที่ว่า ร่างกายเมื่อตายไปแล้ว จิตย่อมแตกดับไปด้วย แต่จะอย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารของปรัชญาพุทธนั้น มีอิทธิพลต่อจิตใจของชาวจีนในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้คนหวาดกลัวการทำบาป และมุ่งมั่นในการทำความดี    ความขัดแย้งในด้านศีลธรรมนั้น ขัดแย้งกันในปัญหาเรื่อง "สมณะควรจะกราบไหว้กษัตริย์หรือไม่"ซึ่งเป็นปัญหาที่โต้แย้งกันมาหลายร้อยปี ระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ของจีน ถือว่า กษัตริย์เป็นโอรสแห่งสวรรค์ รับราชโองการจากสวรรค์ อันเป็นโองการที่ใครจะฝ่าฝืน ละเมิดหรือปฏิเสธไม่ได้เด็ดขาด การที่ภิกษุสงฆ์ไม่ยอมกราบไหว้กษัตริย์ จึงถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อศีลธรรมจรรยาอย่างร้ายแรง ความขัดแย้งที่สัมพันธ์โดยตรงกับปัญหานี้ คือ ความแตกต่างกันในด้านขนบประเพณีระหว่างพุทธกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ลัทธิขงจื๊อและเต๋าพยายามทุกวิถีทางที่จะต่อต้านขนบประเพณีต่าง ๆ ของพุทธ ด้วยเห็นว่าเป็นประเพณีของชาวต่าง ชาติ ส่วนชาวพุทธนั้นก็พยายามยืนยันให้เห็นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สถิตเสถียรอยู่เหนือเทพเจ้าทั้งปวงและทรงคุณธรรมประเสริฐสุด

ส่วนทางด้านความขัดแย้งในการสถาปนาสถานะความเป็นหนึ่งในศาสนมณฑลนั้น เป็นการต่อสู้กันด้วยปรัชญาว่าด้วยโลกียะและโลกุตตระเป็นสำคัญ ปรัชญาลัทธิขงจื๊อเป็นปรัชญาทางสังคมศาสตร์ เน้นเรื่องหน้าที่ของบุคคลต่อสังคมปฏิเสธการตัดทางโลกหันเข้าหาทางธรรมของพุทธ ลัทธิขงจื๊อพยายามแสดงและยืนยันว่าการปลูกฝังจริยธรรมให้กับชนในชาติ และการปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขนั้น ปรัชญาลัทธิขงจื้อเพียงสำนักเดียวก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยปรัชญาของพุทธ ส่วนพุทธก็ใช้วิธีปรองดองเข้าหา ด้วยการสร้างทฤษฎี "รวมเป็นหนึ่งเดียว" ในขณะเดียวกัน ก็พยายามเผยแพร่ปรัชญาความรับรู้เรื่อง"ไตรชาติ" (อดีตชาติ ปัจจุบันชาติและปรชาติ) ว่าเหนือกว่าของลัทธิขงจื๊อที่ถือทฤษฎีเพียงชาติเดียว

ส่วนกับเต๋านั้น ชาวพุทธไม่เคยยอมปรองดองด้วย ไม่ว่าในด้านหลักทฤษฎีหรือหลักปฏิบัติ ลัทธิเต๋าวิวัฒนาการมาจากสำนักคิดขึ้นเป็นศาสนานั้น มีปัจจัยส่งเสริมหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งคือ มีบุคคลจำนวนหนึ่ง อันประกอบด้วยนักบวช พวกผู้วิเศษและพ่อมดหมอผี มีความรู้สึกต่อต้านพุทธศาสนาอย่างรุนแรง จึงได้รวมตัวกันสถาปนาลัทธิเต๋าขึ้นเป็นศาสนา วัตถุประสงค์ก็คือต่อต้านพุทธศาสนานั่นเอง ในการขับเคี่ยวระหว่างพุทธกับเต๋านั้น เต๋าได้เปรียบในด้านที่เป็นวัฒนธรรมของจีนเอง     จึงพยายามเข้าครอบงำความรู้สึกในด้านชาตินิยมของชนในชาติด้วยการตอกย้ำว่า พุทธนั้นเป็นศาสนาต่างชาติต่างแดน นอกจากนี้ บางครั้งเต๋ายังยืมอำนาจพระจักรพรรดิอันเป็นอำนาจสูงสุดมากวาดล้างทำลายพุทธ ในประวัติศาสตร์ เคยมีเหตุการณ์กวาดล้างพุทธศาสนาหวังจะให้สิ้นสูญไปถึงสามครั้ง เรียกกันว่า " ภัยจากซันอู่" "ซันอู่" หมายถึงจักรพรรดิไท่อู่ตี้ในสมัยราชวงศ์เว่ย (ค.ศ. 220 - 265) จักรพรรดิโจวอู่ตี้ในสมัยราชวงศ์เป่ยโจว (ค.ศ. 557 - 581)และจักรพรรดิถังอู่ตี้ในสมัยราชวงศ์ถัง การกวาดล้างทั้ง 3 ครั้งนี้ นอกจากจะมีปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นมูลเหตุแล้ว ยังมีการต่อสู้ระหว่างพุทธกับเต๋าเป็นปัจจัยสำคัญรวมอยู่ด้วย

กล่าวโดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนา ลัทธิขงจื๊อและศาสนาเต๋าในระยะที่สองนี้ จะเป็นดังนี้ ลัทธิขงจื๊อกีดกันพุทธมากกว่าที่คิดจะปรองดอง ไม่กีดกันศาสนาเต๋าแต่ก็ไม่ยอมปรองดองด้วย เต๋ามีท่าทีปรองดองกับลัทธิขงจื๊อมากกว่ากีดกัน ส่วนพุทธนั้นก็พยายามที่จะปรองดองกับลัทธิขงจื๊อมากกว่ากีดกัน แต่ระหว่างพุทธกับเต๋านั้น มีแต่การกีดกัน ต่อต้านและปะทะกันตลอดมา ไม่เคยปรองดองกันเลย

ระยะที่สาม เป็นที่ยอมรับและกลายเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของจีน
         
ในยุคราชวงศ์หนานเป่ยเฉา เป็นยุคที่พุทธ ลัทธิขงจื๊อและเต๋าเกิดความขัดแย้งและปะทะกันอย่างรุนแรงที่สุด ชนชั้นปกครองในยุคนี้บ้างก็อุปถัมภ์พุทธ ทำลายเต๋า บ้างก็อุปถัมภ์เต๋า ทำลายพุทธ แต่ทั้งพุทธและเต๋าก็ไม่เคยถูกทำลายสิ้นไป ไม่นานก็กลับฟื้นตัวขึ้นใหม่ได้ทุกคราไป เมื่อล่วงเข้ารัชสมัยจักรพรรดิถังไท่จงของราชวงศ์ถัง พระองค์ทรงดำเนินนโยบายอุปถัมภ์ทั้งสามศาสนาให้อยู่ควบคู่กันไป ผิดกับพระจักรพรรดิองค์ก่อน ๆ ที่ยอมให้มีอยู่ได้เพียงศาสนาเดียว ถึงแม้ว่าในปลายรัชสมัยราชวงศ์ถัง จักรพรรดิถังอู่จงย้อนกลับมากวาดล้างพุทธอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงกระแสแห่งการปรองดองเพื่ออยู่ร่วมกันไปของสามศาสนาได้

นโยบายของจักรพรรดิถังไท่จง มีความสำคัญอย่างอเนกอนันต์ต่อการปรองดอง ประนี ประนอมเข้าหากันของสามศาสนา นโยบายนี้ได้ดำเนินต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งนี้ ก็เพราะชนชั้นปกครองส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องต้องกันว่า หลักปรัชญาของลัทธิขงจื๊อนั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการบริหารปกครองแผ่นดิน หลักพุทธธรรมมีคุณค่าประเสริฐเลิศล้ำในด้านปลูกฝังศีลธรรมและจริยธรรม ส่วนวิถีแห่งเต๋านั้น ดีสำหรับทำนุบำรุงร่างกายให้มีพลานามัยแข็งแรง อายุยั่งยืน

ในส่วนสามศาสนาเองนั้น จากการที่ได้ขัดแย้ง ขับเคี่ยวกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน จึงทำให้เกิดผลสะท้อนกลับถึงกันอย่างหยั่งลึก ทั้งพุทธ ลัทธิขงจื๊อและเต๋าต่างก็รับเอาอิทธิพลของอีกสองฝ่ายไว้ ในสังคมเกิดกระแสความคิดที่จะ "รวมสามให้เป็นหนึ่ง"ขึ้น ด้วยเห็นว่าทั้งสามศาสนานี้ มีรากฐานความคิดที่เป็นเอกฉันท์อยู่ข้อหนึ่งซึ่งอาจรวมเข้ากันเป็นหนึ่งเดียวได้ คือ "การเน้นการฝึกทางจิตและการปลูกฝังคุณธรรม"พุทธศาสนาในระยะนี้สามารถหลอมตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนได้อย่างสนิท และสามารถผูกกระชับจิตใจและศีลธรรมของชาวจีนไว้อย่างเหนียวแน่น การประสานเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน เราอาจจะวิเคราะห์จากความเป็นจริง 2 ด้านคือ หนึ่งพุทธรับเอาแนวคิดของลัทธิขงจื๊อและศาสนาเต๋าไว้ในปรัชญาและทฤษฎีของตน สองลัทธิขงจื๊อและศาสนาเต๋ารับเอาหลักธรรมของพุทธไว้ในปรัชญาของตน

พุทธรับเอาแนวความคิดของลัทธิขงจื๊อและเต๋ามาเป็นของตน ทำให้เกิดพุทธนิกายที่เป็นลักษณะของจีนเองขึ้นกว่าสิบนิกาย นิกายที่สำคัญได้แก่ นิกายฮวาเอี๋ยนจงหรือที่เรียกว่านิกาย อวตังสกะ นิกายเทียนไถจงที่เรียกว่านิกายสัทธรรมปุณฑริก และนิกายฉันจงหรือนิกายเซนเป็นต้น พุทธนิกายที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ ส่งอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะต่อปรัชญาของจีนในกาลต่อมา นิกายฮวาเอี๋ยนจงซึ่งนับถือและเผยแพร่พระคัมภีร์พุทธาวตสฺก มหาไวปุลฺยสูตร (Buddhã vatamska–Mahãvaipulya Sūtra) เป็นสำคัญนั้น ได้ผสมผสานเบญจจรรยา (เมตตา กตัญญู มารยาท ปัญญา สัจจะ) ของลัทธิขงจื๊อให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับเบญจศีลในพุทธศาสนา พุทธนิกายเทียนไถจงซึ่งนับถือและเผยแพร่พระคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นหลัก ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วย "เวไนยสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีวิธีจะหลุดพ้นจากโอฆสงสารได้หลายวิถีด้วยกัน"โดยเนื้อแท้แล้ว ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่เปิดหนทางปรองดองระหว่างพุทธกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนขึ้น ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือนิกายฉันจง(เซน)ซึ่งนับถือคัมภีร์ลังกาวตารสูตร คัมภีร์มหายานศรัทโธฏปาทศาสตร์ เป็นต้น ได้เสนอทฤษฎีว่าคนเราอาจจะบรรลุโพธิสัตว์ภูมิได้โดยไม่จำเป็นต้องตัดทางโลก ทฤษฎีนี้โดยเนื้อแท้แล้วก็คือการรับเอาอิทธิพลลัทธิธรรมชาติของลัทธิเต๋าและการทำตัวตามอารมณ์ของเสฺวียนเสฺวีย

นิกายทั้งสามนี้ เจริญรุ่งเรืองและเป็นที่ศรัทธาปสาทะในหมู่ชาวฮั่นมาก ตรงข้ามกับโยคะนิกายที่พระถังซำจั๋งนำเข้าไปในสมัยราชวงศ์ถัง แม้ว่าจะเคยเจริญมากในยุคหนึ่ง แต่ก็แพร่หลายอยู่เพียง 30 ปีเท่านั้น ภายหลังพระถังซำจั๋งแล้วก็เสื่อมลง ทั้งนี้ ก็เพราะนิกายนี้ไม่ได้ผสมผสานเอาวัฒนธธรรมดั้งเดิมของจีนเข้าไว้ เป็นพุทธศาสนาแบบอินเดียแท้ จึงไม่เป็นที่นิยมของชาวจีนทั่วไป         

ปัญหาเรื่อง"สมณะควรจะกราบไหว้กษัตริย์หรือไม่" ถูกนำมาถกเถียงอีกครั้งในยุคนี้ จักรพรรดิถังเกาจงเคยมีพระราชโองการให้พระภิกษุสงฆ์กราบไหว้พระจักรพรรดิและบิดามารดา แต่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากพระเถระทั้งปวง จึงจำต้องโอนอ่อนผ่อนปรนให้เป็นไหว้เฉพาะผู้บังเกิดเกล้าเท่านั้น แม้กระนี้ก็ดี ในสมัยราชวงศ์ถังตอนกลาง หนังสือที่พระเถระผู้ใหญ่มีถึงพระจักรพรรดิก็ได้เปลี่ยนสรรพนามที่ใช้เรียกขานตนเองว่า"ผินเซิง"(อาตมา) หรือ"ซาเหมิน"(สมณะ) เป็น"เฉิน"(ข้าพุทธเจ้า) และต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน เมื่อมีการชำระเรียบเรียงหนังสือ "ไป่จั้งชิงกุย" ขึ้นใหม่ ก็ได้นำบทถวายพระพรพระจักรพรรดิเป็นบทประณามพจน์ ติดตามด้วยบทฉลองคุณบิดรมารดา แล้วจึงถึงบทสดุดีพระพุทธคุณ สุดท้ายจึงเป็นบทอภิวาทน์เจ้านิกาย การขับเคี่ยวกันในปัญหานี้ ซึ่งเรื้อรังมาหลายร้อยปีก็เป็นอันยุติลงด้วยลักษณะนี้

การปรองดองกันของพุทธกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนในอีกด้านหนึ่งคือ ลัทธิขงจื๊อและศาสนาเต๋ารับเอาหลักพุทธธรรมและพุทธปรัชญาไว้เป็นของตนมากมายเช่นกัน จนกลายเป็นพลังผลักดันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงของสองลัทธิดั้งเดิมของจีน

ลัทธิเต๋านับแต่วิวัฒนาการเป็นศาสนาขึ้นแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตาต่อต้านพุทธ แต่ถ้าว่าโดยระบบแนวคิดแล้ว เต๋าไม่อาจจะเทียบกับพุทธได้เลย ก่อนหน้านี้ เต๋าไม่มีคัมภีร์อะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน วัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ส่วนใหญ่ลัทธิขงจื๊อสืบทอดไว้เกือบทั้งหมด เต๋าจึงหันมารับและลอกเลียนเอาพุทธปรัชญาและทฤษฎีต่าง ๆ ของพุทธไว้มากมาย และนำมาดัดแปลงเป็นคัมภีร์ของตน จนอาจพูดได้ว่า คัมภีร์ต่าง ๆ ของเต๋าจำนวนมากรับอิทธิพลของพุทธไว้ แม้ว่าจุดแสวงหาในขั้นบั้นปลายของพุทธกับเต๋าจะเป็นคนละขั้วก็ตาม

เหยินจี้อี๋ นักพุทธศาสตร์ชื่อดังยุคปัจจุบันของจีน มีความเห็นว่า ตรรกวิทยาและจิตวิทยาของพุทธปรัชญานั้นลึกซึ้ง ละเอียดกว่าและมีความกระชับรัดกุมกว่าทั้งปรัชญาศักดินาของจีน และเทววิทยาของยุโรปกลางมาก การแพร่เข้าสู่จีนของพุทธมีผลทำให้ลัทธิขงจื๊อหันมาปรับปรุง ปฎิรูปตนเองอย่างแข็งขัน จากการเป็นสำนักคิดกลายเป็นศาสนา ในสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หมิง ซึ่งเรียกกันว่า"ซ่งหมิงหลี่เสฺวีย นี่คือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนา ที่สามารถหลอมรวมตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีน

อิทธิพลของพุทธที่มีต่อลัทธิขงจื๊อ จะเห็นได้จากการที่ลัทธิขงจื๊อเปลี่ยนจุดยืนจากการให้ความสำคัญด้านสังคมและการเมืองมาเป็นการให้ความสำคัญในด้านฝึกฝนจิตใจและปลูกฝังคุณ-ธรรม บนรากฐานนี้ ลัทธิขงจื๊อได้กำหนดหนังสือที่จะใช้เป็นคัมภีร์ของตนให้แน่ชัดลงไป อันได้แก่ "เหมิ่งจื๊อ ต้าเสฺวีย จงยง หลุนอฺวี่ รวมเรียกว่า "ซื่อซู"หรือ "หนังสือสี่เล่ม" หนังสือเหล่านี้กลายเป็นหนังสือคัมภีร์ของลัทธิขงจื๊อและต่อมาทางราชสำนักก็กำหนดให้หนังสือสี่เล่มนี้เป็นหนังสือที่เป็นบรรทัดฐานสำหรับปลูกฝังคุณธรรม ที่ผู้จะสอบเข้าเป็นขุนนาง ต้องเรียนรู้ให้ถ่องแท้ทุกคน

อนึ่ง พุทธนิกายต่าง ๆ ในจีน มักจะย้ำเรื่องจิตแท้ของคนว่า แก่นแท้ของจิตคนนั้นเป็นจิตบริสุทธิ์
แต่ต้องกลายมาไม่บริสุทธิ์เพราะถูกความเพ้อเจ้อ ความไร้แก่นสารครอบคลุม พูดง่าย ๆ ก็คือ เพราะไปรับเอากิเลส ตัณหาและอุปาทานเข้าไว้ ทำให้มัวหมอง ปรัชญาแนวนี้ แต่เดิมนั้นไม่มีในปรัชญาของขงจื๊อ แต่มารับเอาไว้ในสมัยราชวงศ์ซ่งและสร้างปรัชญาว่าด้วย "จิตแห่งธรรมและจิตแห่งวัตถุ"ขึ้น อันเป็นปรัชญาที่พูดถึงการดำรงอยู่อย่างตรงข้ามของศีลธรรมกับกิเลสตัณหาและอุปาทาน พุทธปรัชญาว่าด้วยจิตแท้จึงเป็นแม่บทของปรัชญาเกี่ยวกับจิตของลัทธิขงจื๊อในยุคหลัง

นอกจากจะส่งอิทธิพลต่อศาสนาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในจีนแล้ว พุทธศาสนายังส่งผลกระทบในด้านคีตศาสตร์ นาฏยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์และวรรณคดีจีนอย่างลึกซึ้งอีกด้วย

สรุปแล้ว การที่พุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาของคนต่างชาติ ต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนเมื่อแรกแผ่เข้าไปนั้น สามารถแทรกตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนได้สำเร็จ นับเป็นผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนา และผลสำเร็จนี้มาจากปัจจัย 2 ประการคือ หนึ่ง พุทธศาสนาเป็นศาสนาใหญ่และมีปรัชญาที่ละเอียดลึกซึ้งมาก"จิตแห่งธรรมและจิตแห่งวัตถุ" ในพุทธปรัชญานั้น มีหลาย ๆ สิ่งที่วัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนไม่มี และในระหว่างที่เผยแผ่ตัวเองอยู่นั้น พุทธศาสนาสามารถรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตนให้คงอยู่ได้อย่างมั่นคง มีบทบาทในการเติมเต็มสิ่งที่วัฒนธรรมจีนยังขาดตกบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ สอง พุทธศาสนาสามารถปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคมจีน

 ฉะนั้น การเข้ามาของพุทธศาสนาในจีน จึงไม่ใช่การเรียกร้องให้ชาวท้องถิ่นปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่เข้าไป ตรงกันข้าม กลับปรับวัฒนธรรมอินเดียให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้ชาวท้องถิ่นยอมรับการดำรงอยู่ของตน แล้วจึงค่อย ๆแทรกซึมเข้าไป จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนและส่งผลกระทบต่อจีนจนตราบเท่าทุกวันนี้

ประวัติพุทธศาสนาในประเทศจีน แบ่งตามยุคราชวงศ์

      ยุคราชวงศ์ฮั่น

          ในสมัยราชวงศ์ฮั่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมใสแต่ก็ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือ ในหมู่ข้าราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่แพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวเมือง เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื๊อ นักปราชญ์ผู้มีความสามารถยิ่งได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้เห็นถึงความจริงแท้อันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาเหนือกว่าลัทธิเดิม กับอาศัยความประพฤติอันบริสุทธิ์ของพระสงฆ์เป็นเครื่องจูงใจให้ชาวจีนเกิดศรัทธาเลื่อมใส จนทำให้ชาวเมืองหันมานับถือพระพุทธศาสนามากกว่าลัทธิศาสนาอื่นๆ พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ

          ระหว่าง พ.ศ. 850 - 1150 พระพุทธศาสนาในประเทศจีนกำลังเจริญรุ่งเรืองจนถึง พ.ศ. 1450 ในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง เป็นอันถึงที่สุด พระธรรมได้แพร่หลายในประเทศจีน และราชวงศ์ฮั่น มีการส่งคณะฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไต้เซียะ (ประเทศธิเบต) และคณะฑูตได้มีโอกาสรู้ว่า ถัดประเทศนี้ไปยังประเทศใหญ่ ๆ อีกประเทศหนึ่งคืออินเดีย ในบัดนี้ ซึ่งในสมัยนั้นจีนเรียกว่า ชิงตูหรือเทียนโจว

          พ.ศ. 541 เป็นปีแรกในรัชสมัยของจักรพรรดิอ้ายตี้ในปีรัชศก เหยียนซ่ง แห่งราชวงศ์ฮั่น ปราชญ์จีนผู้หนึ่งชื่อ จิ้น จิงเสียน ได้สดับรสพระธรรมจากคำบรรยายด้วยวาจา ซึ่งได้บันทึกไว้ต่อไปอีกจนเป็นพระสูตร ๆ หนึ่ง

          พ.ศ. 607 จักรพรรดิหมิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ได้ส่งคณะฑูตไปยังประเทศอินเดียเพื่อเสาะแสวงหาพระไตรปิฏกเมื่อคณะฑูตเดินทางไปถึงก็ได้พบพระภิกษุ 2 รูปมีฉายาว่า โกภารณะกับมานทังคะ ซึ่งกำลังจะนำคัมภีร์ไปเผยแพร่ยังประเทศจีนอยู่แล้ว คณะฑูตจึงกลับประเทศจีนพร้อมภิกษุ 2 รูปนั้น กลับถึงเมืองโล่หยางเมื่อ พ.ศ. 610 พร้อมกับนำพระคัมภีร์ 42 ยกและพระรูปของพระพุทธเจ้าบรรทุกบนหลังม้าขาว และได้สร้างวัดขึ้นที่ชานเมืองโล่หยางวัดหนึ่งชื่อวัดม้าขาว เพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อตั้งหลักสงฆ์ที่วัดม้าขาวแล้ว พระเถระทั้งสององค์ก็ได้เริ่มแปลพระคัมภีร์ แปลได้ 6 ยก พระมาจากประเทศใกล้เคียงช่วยแปลอีกครั้นถึงรัชสมัยราชวงศ์เว่ย และราชวงศ์จิ้น มีคฤหัสถ์และบรรพชิตเดินทางไปประเทศตะวันตกมากขึ้น เพื่อศึกษาค้นคว้น
พระพุทธศาสนา

          ประมาณ พ.ศ. 1061 ในประเทศจีนมีวัดถึง 301,000 วัด พระพุทธองค์ใหญ่ที่สร้างด้วยหินและโลหะมีอยู่ทั่วไปในวัดต่าง ๆ พ.ศ. 1149 พระมหากษัตริย์และรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฏีกาตั้งสำนัก การแปลวรรณคดีพระพุทธศาสนาขึ้นที่เมืองโล่หยาง และมีตั้งผู้แปลประจำสำนักในตำแหน่ง บัณฑิต

     สมัยสามก๊กหรือยุคน่ำปัก
         
ในยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคปลายสมัยสามก๊ก พระเจ้าโจผีราชวงศ์เว่ย(วุยก๊ก) ทรงอาราธนาพระภิกษุ ชาวอินเดียชื่อว่า "พระธรรมกาละ" เข้ามาเป็นพระอุปัชฌาย์แก่ประชาชนชาวจีนที่ต้องการอุปสมบท ก่อนหน้านี้ชาวจีนอุปสมบทไม่ได้ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ชาวจีนอุปสมบทในประเทศของตนได้ พระธรรมกาละยังได้แปลวินัยปาฏิโมกข์ขึ้นเป็นการเปิดศักราชแห่งนิกายวินัยขึ้นในจีนอีกด้วย

     ยุคราชวงศ์จิ้น
         
พระพุทธศาสนาได้แพร่ไปยังประชาชนทั่วไป ธรรมทูตจากเอเซียกลางบ้าง จากอินเดียบ้าง จาริกเข้าสู่ประเทศจีนไม่ขาดระยะ สมัยนี้ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองมาก หลวงจีนฟาเหียนได้เดินทางไปศึกษาภาษาสันสกฤตและพระธรรมวินัยควบคู่กันไป และท่องเที่ยวนมัสการสังเวชนียสถานทั่วชมพูทวีป แล้วเดินทางกลับทางเรือผ่านเกาะสิงหล เกาะชวา กลับถึงประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 957 รวมระยะเวลา 15 ปี ท่านได้นำพระธรรมวินัยปิฎกและพระปฏิมากรกลับมาด้วย ในครั้งนั้นท่านยังได้เขียนจดหมายเหตุเรื่องเดินทางไปประเทศอินเดียอย่างละเอียด สามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของนักค้นคว้าทั่วไป และได้ลงมือแปลคัมภีร์ที่นำมาจากอินเดียด้วย

          ในราวพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านกุมารชีพซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วเอเซียกลางที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ติปิฏกธราจารย์" ได้รับนิมนต์ให้เข้ามาสู่ประเทศจีน ท่านกุมารชีพทำการแปลพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม มากกว่า 300 ผูก และแปลศาสตร์ต่าง ๆ ของฝ่ายศูนยตวาทิน ทำให้ปรัชญามาธยมิกเจริญแพร่หลาย พร้อมกันนั้นยังได้แปลคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ ผลงานของท่านได้รับความนับถืออย่างสูง โดยเฉพาะภาษาหนังสือที่ท่านแปลออกมาสู่ภาษาจีนเป็นสำนวนที่ไพเราะซาบซึ้ง จนถือเป็นแบบฉบับของภาษาชั้นสูงของประเทศจีน ประชาชนหันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก วัดอารามได้ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก

     ยุคจักรพรรดิเหลียงอู๋ตี้
         
ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 พระเจ้าเหลียงอู๋ตี้(บู้ตี้)เป็นปฐมราชวงศ์เหลียง ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเจ้าอโศกของจีน พระองค์วางรากฐานพระพุทธศาสนาไว้อย่างมั่นคง ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย ในยุคนี้ท่านโพธิธรรมซึ่งชาวจีนเรียกว่า "ตั้กม้อโจ้วซือ" ท่านเป็นผู้นำนิกายเซียมจงหรือนิกายเซนเข้ามาสู่ประเทศจีน ทางอุตตรนิกายยกย่องท่านในตำแหน่งพระบุพพาจารย์อันดับหนึ่ง นิกายของท่านได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูงจากพระเจ้าจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง และในปลายศตวรรษที่ 12 ก็มีพระโพธิรุจิ
อีกรูปหนึ่งเดินทางเข้าสู่ประเทศจีน ท่านได้แปลทศภูมิศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมายพร้อมกับให้กำเนิดนิกายภูมิศาสตร์

          ในปลายศตวรรษที่ 2 นี้ ก็ยังมีคณาจารย์จีนอีกท่านหนึ่งชื่อว่าตี้เจี้ย ได้ประกาศปรัชญานิกายเทียนไท้แพร่หลาย ท่านเป็นผู้ที่มีเกียรติคุณโด่งดังมีศิษย์บริวารเป็นจำนวนมาก นิกายเทียนไท้เจริญมากในประเทศจีน และยังเป็นที่เคารพของพระเจ้าจักรพรรดิอีกด้วย

     ยุคราชวงศ์ถัง

          พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง มีพระภิกษุชาวจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่ง ชื่อว่าเฮี่ยงจัง หรือเรารู้จักกันในนาม "พระถังซำจั๋ง" เป็นชาวมณฑลเหอหนาน ท่านเป็นติปิฏกธราจารย์ ได้เดินทางไปศึกษาพุทธธรรมในประเทศอินเดีย โดยได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ประกอบกับท่องเที่ยวนมัสการปูชนียสถานที่อินเดีย รวมเวลาไปกลับ 16 ปี เมื่อจาริกกลับประเทศจีนท่านได้เริ่มแปลคัมภีร์ได้จำนวนได้ 1,335 ปริเฉท และยังได้เขียนบันทึกการเดินทางไปอินเดียชื่อว่าบันทึกแคว้นตะวันตก หนังสือเล่มนี้ ได้นำประโยชน์อย่างมหาศาลแก่นักศึกษาผู้ค้นคว้าหรือนักโบราณคดี ตลอดถึงนักประวัติศาสตร์ นักศาสนา ได้รับประโยชน์เช่นกัน เพราะท่านได้บันทึกลัทธิศาสนาของประเทศอินเดียโบราณและของประเทศบริเวณแถบเอเซียกลาง

          ใน พ.ศ. 1160 สมัยราชวงศ์ถัง พระพุทธศาสนาก็เจริญสูงสุด เพราะได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าจักรพรรดิตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตต่างๆโดยมีการสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง และมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนมากมาย พระสงฆ์และอุบาสกของจีน และประเทศตะวันตก คืออินเดียได้ไปมาหาสู่กันเสมอ ได้แปลคัมภีร์ทั้งมหายานและหีนยานไว้อย่างสมบูรณ์มีวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นประมาณ 400 เรื่อง มีวัดถึง 40,000 วัด มีพระและนางชีประมาณ 2 แสนเศษ พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในประเทศจีน และเจริญรุ่งเรือง

          พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อพระเจ้าถังอู๋จงขึ้นปกครองประเทศ เพราะพระเจ้าอู๋จงทรงเลื่อมใสในลัทธิเต๋า พระองค์ได้ทำลายพระพุทธศาสนา เช่น ให้ภิกษุ ภิกษุณี ลาสิกขาบท ยึดวัด ทำลายพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ เป็นต้น พระพุทธศาสนาไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนัก ก็เริ่มเสื่อมลงตั้งแต่บัดนั้น

     ยุคราชวงศ์หยวน
         
พระพุทธศาสนาในสมัยของราชวงศ์หงวน ปรากฏว่าจักรพรรดิหยวนซื่อจู่ กุ๊บไลข่านทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาแบบมหายานในลัทธิตันตระมนตรยานแบบธิเบต และทรงยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำสำนัก โปรดให้พิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นใหม่ ยกเลิกเก็บภาษีวัด ทรงศรัทธามากในพระลามะ ธิเบตรูปหนึ่งชื่อว่า ฟาซือปา ในกาลต่อมาลามะฟาซือปาได้รับการสถาปนาให้เป็นสกลสังฆปริณายก

     ยุคราชวงศ์หมิง
         
ในสมัยราชวงศ์ของพระเจ้าหมิงไท่จู่ หรือหงหวู่ พระพุทธศาสนาได้รับการยกย่องเป็นอย่างดีจากกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายสุขาวดีกับนิกายเซน ได้รับการยกย่องจากราชการอีกด้วย แต่เมื่อมาถึงสมัยของพระเจ้าหมิงซีจง กษัตริย์องค์นี้เลื่อมใสในลัทธิเต๋ามาก และกระทำพระองค์เป็นปฏิปักษ์กับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจึงถูกทำลายครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เริ่มทำลายพระพุทธรูปทำลายวัด ให้นักบวชพวกเต๋ายินเข้าไปอยู่ในวัด วัดถูกแปลงเป็นสำนักเต๋า

     ยุคราชวงศ์ชิงหรือเซ็ง
          เมื่อราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นเผ่าแมนจูได้ปกครองจีนในพุทธศตวรรษที่ 22 ได้บังคับให้ประชาชนไว้ผมเปีย และให้แต่งกายแบบแมนจู มีชาวจีนโดยเฉพาะพวกฮั่นได้ถูกประหารชีวิตไปเป็นจำนวนมาก กิจการทางด้านพระพุทธศาสนา กลับกวดขันในการบวช โดยต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนจึงจะบวชได้ ห้ามสร้างวัดใหม่ แต่ก็ยังให้การสนับสนุนทางศาสนาอยู่บ้าง เช่น ให้รวบรวมพระไตรปิฎกถวายวัดทุกวัด พร้อมทั้งให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาแมนจูเรีย ทรงอุปถัมภ์เฉพาะพระลามะเท่านั้น

     ยุคสาธารณรัฐจีน
         
ใน พ.ศ. 2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยน ชื่อ ประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนในพระพุทธศาสนา แต่สนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ ซึ่งลัทธิดังกล่าว ได้โจมตีพระพุทธศาสนาตลอดมา และมีการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยเอาวัดไปใช้เป็นสถานที่ราชการอื่นๆ สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาจึงยังไม่ดีขึ้น

          ใน พ.ศ. 2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระอาจารย์ไท้สู ได้ช่วยกู้ฐานะของพระพุทธศาสนาไว้บางส่วนคือ ท่านได้ทำการปฏิรูปพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง แม้จะมีกำลังน้อย เริ่มด้วยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นที่ วูซัน เอ้หมิง เสฉวน และ หลิ่งหนาน เพื่อฝึกผู้นำทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ทางพระธรรมวินัยและวิชาการทางโลกสมัยใหม่ และนำมาเผยแผ่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม จนผู้คนเลื่อมใสมากขึ้น จึงตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนขึ้น

          ใน พ.ศ. 2472 ความพยายามของพระอาจารย์ไท้สู ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น ทางราชการได้ออกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของวัดห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น

          ใน พ.ศ. 2473 สาธารณรัฐจีนมีพระภิกษุและภิกษุณีรวม 738,000 รูป มีวัดทั้งสิ้น 267,000 วัด ซึ่งนับว่าพระพุทธศาสนาเจริญในประเทศจีนพอสมควร

     ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน
         
ใน พ.ศ. 2492 สาธารณรัฐจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์นี้มีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนาจึงไม่อาจอยู่ได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระยะแรกพรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าพระพุทธศาสนายังมีอิทธิพลอยู่ในจิตใจของประชาชนจึงไม่ใช้ความรุนแรง

          ใน พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย เพิกถอนสิทธิวัดในการยึดครองที่ดิน ซึ่งเป็นการบีบให้พระสงฆ์ต้องลาสิกขาบทโดยทางอ้อม พระภิกษุที่ยังไม่ลาสิกขาก็ต้องไปประกอบอาชีพเอง เช่น ทำไร่ ทำนา เป็นต้น ทั้งที่ยังครองเพศเป็นภิกษุอยู่ และในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

          ใน พ.ศ. 2509 - 2512 ได้มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากคือ รัฐบาลได้ยึดวัดเป็นของราชการ ห้ามประกอบศาสนกิจต่างๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นความผิดกฎหมาย พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสิกขา พระคัมภีร์ต่างๆ ถูกเผา พระพุทธรูปและวัดถูกทำลายไปเป็นอันมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พระพุทธศาสนา เกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม

          ใน พ.ศ. 2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีนก็คลายความเข้มงวดลงบ้างและให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น

การเผชิญกับความเชื่อเดิมของพุทธศาสนาในประเทศจีน

ความเชื่อของชาวจีนก่อนการเข้ามาของพุทธศาสนา

ความเชื่อเดิมของชาวจีน ก่อนที่พุทธศาสนาจะได้รับการอุปถัมภกจากจักรพรรดิจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ตงฮั่น) ในรัชสมัยจักรพรรดิหย่งผิง (ฮั่นหมิงตี้明帝 ครองราชย์ พ.ศ.600-618) ชาวจีนมีระบบความเชื่อหลักๆ สองระบบความเชื่อที่เกิดการปะทะสังสรรค์มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ตั้งแต่ยุค ชุนชิว สองระบบความเชื่อที่ว่านี้คือ การนับถือลัทธิขงจื้อ และการนับถือลัทธิเต๋า ซึ่งดูเหมือนว่า ลัทธิขงจื้อจะประสบความสำเร็จมากกว่าลัทธิเต๋า เพราะคำสอนอันถือเป็นปรัชญาของลัทธิขงจื้อ เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการปกครองของจักรพรรดิ ต่อมาเมื่อศาสนาพุทธได้ประดิษฐานพระศาสนาในแผ่นดินจงหยวน (จีน) ศาสนาพุทธจึงต้องเผชิญกับระบบความเชื่อที่ผูกโยงสังคมจีนเข้าไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น แต่ในที่สุดพุทธศาสนาก็เกิดการประยุกต์หลักคำสอนที่สามารถปรับเข้าหา สิ่งที่สังคมจีนมีต้นทุนอยู่แล้ว นั้นคือ การทำให้ความเชื่อของ พุทธ ขงจื้อ และเต๋า สามารถไปร่วมกันได้ในแผ่นดินจงหยวน เหตุนี้ การจะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดศาสนาพุทธจึงต้องเกิดการปะทะสังสรรค์กับระบบความเชื่อเดิมของจีน เราจึงต้องทำความเข้าใจ หลักการและแนวคิดของทั้ง ขงจื้อ และ เต๋า เพื่อที่จะพิจารณาดูว่า ตกลงแล้ว เพราะพุทธมีความคล้ายคลึงระบบความเชื่อเดิมของจีน จึงทำให้ศาสนาพุทธเกิดการปะทะสังสรรค์และสามารถอยู่ร่วมกับระบบความเชื่อเหล่านั้นได้ ทั้งที่ระบบความเชื่อเหล่านั้น เป็นรากฐานของสังคมจีนมาอย่างยาวนานนับพันปี

ลัทธิเต๋า

ประวัติความเป็นมาและต้นกำเนิดของลัทธิเต๋า ผู้ ก่อตั้งลัทธิเต๋ามีชื่อเดิมว่า หลีโอว แต่รู้จักกันทั่วไปว่าเล่าจื้อ เล่าจื้อเป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง ความคิดเห็นส่วนใหญ่ของเล่าจื้อปรากฎอยู่ในหนังสือเต๋าเตอเชง ปรัชญาในหนังสือนี้มีอิทธิพลแก่ความคิดและศิลปวิทยาของจีนเป็นอย่างยิ่ง หนังสือเต๋าเตอเชงนี้ส่วนใหญ่บรรจุข้อเขียนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในชีวิต อาทิเช่น ผู้ที่รอบรู้มักจะไม่พูดมาก และผู้ที่พูดมากมักจะไม่รู้ เป็นต้น

แนวคิดและหลักคำสอน ปรัชญาเต๋า ความเชื่อถือบูชาธรรมชาติ

ปรัชญาเต๋า (Taoism) เกิดขึ้นจากความเชื่อถือบูชาพระเจ้าประจำธรรมชาติ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของจีน คำว่า เต๋าในความหมายทางปรัชญาและศาสนาหมายถึง สิ่งสมบูรณ์สูงสุดเต๋าเป็นต้นกำเกิดของสิ่งทั้งปวง และครอบคลุมทุกอย่างเอาไว้ ทั้ง จักรวาล โลก สังคมและชีวิต                        เต๋าเป็นกฎธรรมชาติ สรรพสิ่งจึงดำเนินไปตามวิถีของเต๋า

คำสอนเกี่ยวกับจุดหมายในชีวิตของลัทธิเต๋า มีสาระสำคัญ คือ การเข้าถึงเต๋าและการรวมอยู่กับเต๋า ซึ่งหมายถึงการดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ ตามความเห็นของเล่าจื้อองประการคือ

ประการแรก การดิ้นรนฝืนวิถีของธรรมชาติเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ ไม่มีสิ่งใดดีหรือเลวในตัวเอง มนุษย์เป็นผู้ตัดสินตามความรู้สึกส่วนตัวว่า สิ่งนั้นๆดีหรือเลว แล้วปล่อยตัวให้เคลิบเคลิ้มไปกับการตัดสินนั้น

ประการที่สอง หนทางนำไปสู่ความสุข คือ การยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายตามธรรมชาติ ไม่แก่งแย่งชิงเด่น ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน มีความอดทน อ่อนน้อมถ่อมตน จุดหมายในชีวิตไม่ใช่เกียรติยศชื่อเสียง แต่เป็นความสงบที่เกิดจากการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ

คุณสมบัติของเต๋า

เต๋าเป็นสิ่งที่เรียกขานด้วยชื่อไม่ได้ เป็นสิ่งนามธรรม ไม่มีรูปร่างลักษณะ อยู่เหนืออำนาจของกาลเวลา เต๋าเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง สรรพสิ่งในโลกล้วนเกิดจาก ภาวะและภาวะคือ ฟ้า ดินและ อภาวะซึ่งก็คือเต๋า   เต๋ามีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง เต๋าเป็นต้นตอให้สรรพสิ่งเกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งต่างๆย่อมมีเต๋าอยู่เสมอการรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิต การปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ ความรู้สึกที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายใน ทั้งหมดคืออุดมคติแห่งเต๋า

อิทธิพลของลัทธิเต๋าที่มีต่อสังคมจีน

 ลัทธิเต๋าของเล่าจื้อ ได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ผู้ถูกกดขี่ แต่คนชนชั้นที่มีการศึกษาดี ไม่มีใครนิยมชมชอบนัก ผลก็คือลัทธิเต๋าจึงค่อยๆ เสื่อมไป ต่อมาคนส่วนมากยังศรัทธาในลัทธิแบบเชื่อในโชคลางและไสยศาสตร์อีกด้วย ทำให้พวกนับถือลัทธิของขงจื้อพากันเหยียดหยาม ก็เพราะลัทธิขงจื้อเหยียดหยามลัทธิเต๋านี่เอง คนเลยไม่ สนใจวิทยาศาสตร์ ดังนั้นประเทศจีนจึงเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์น้อยเกินไป เพราะไปหลงตำหนิลัทธิเต๋า ลัทธิเต๋านั้นค้นพบเรื่องทางวิทยาศาสตร์มาก่อนชนชาติใด เช่น การประดิษฐ์ดินปืน นอกจากนี้ความปรารถนาของผู้นิยมลัทธิเต๋าในอันที่จะค้นหาความจริงเกี่ยวกับ ชีวิต และหนีปัญหาต่างๆ ด้วยการไปชีวิตใกล้ธรรมชาติ ทำให้ค้นพบการบำบัดรักษาโลกด้วยสมุนไพร ซึ่งทำให้เกิดวิวัฒนาการด้านความรู้ทางแพทย์อีกด้วย

ลัทธิขงจื้อ

ประวัติและความเป็นมาของลัทธิขงจื้อ

นับตั้งแต่ขงจื๊อเริ่มรวบรวมตำราและคัมภีร์โบราณได้ห้าเล่ม คือ ซือจิง หรือคัมภีร์กวีนิพนธ์ ซูจิงหรือประวัติศาสตร์โบราณ หลี่จี้ หรือบันทึกว่าด้วยธรรมเนียมประเพณี อี้จิงหรือคัมภีร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงและชุนชิว หรือประวัติศาสตร์สมัยชุนชิว แล้วได้ตั้งสำนักวิชาให้การศึกษาแก่ประชาชน หลังขงจื๊อเสียชีวิตไปแล้ว เม่งจื๊อหรือเมิ่งจื่อ กลายเป็นนักคิดคนสำคัญของสำนักวิชาขงจื๊อหรือหยู เม่งจื๊อได้สังเคราะห์แนวคิดจากคัมภีร์ทั้งห้า ที่เน้นเสนอแนะให้ผู้ปกครองยึดมั่นคุณธรรมและสันติวิธี ยุติศึกสงครามที่กำลังดำเนินอยู่และเดินทางไปเสนอความเห็นแก่ผู้ปกครองในอาณาจักรต่าง ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก ความคิดสำคัญของเม่งจื๊อคือความเชื่อในความดีงามตามธรรมชาติของมนุษย์ การส่งเสริมการศึกษาและยังเสนอว่าผู้ปกครองต้องมีคุณธรรมเหนือกว่าประชาชน อีกทั้งประชาชนพึงเคารพนับถือผู้ปกครองที่มีคุณธรรม หากผู้ปกครองไร้คุณธรรม การล้มล้างเป็นสิ่งที่ชอบธรรม

นักคิดคนสำคัญอีกคนของสำนักขงจื๊อคือซุนจื๊อหรือสวินจื่อ ซึ่งเสนอให้อบรมสั่งสอนผู้คนให้มีคุณธรรมเคร่งครัด โดยเห็นว่าธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีคุณธรรมมากขึ้น ซุนจื๊อเชื่อว่า "มนุษย์มีธรรมชาติที่ชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน" ทำให้ต้องมีการควบคุมและอบรมสั่งสอนให้ยึดมั่นคุณธรรมอย่างจริงจัง

นักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อกลับถูกปราบปรามกวาดล้างครั้งใหญ่ในสมัยราชวงศ์ฉินหรือจักรพรรดิจิ๋นซี ในเหตุการณ์ "เผาตำรา ฝังบัณฑิตเพราะเห็นว่าปัญญาชนขงจื๊อต่อต้านการปกครองและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลว่าไร้คุณธรรม อย่างไรก็ตาม ลัทธิขงจื๊อได้รับการฟื้นฟูและมีบทบาทอีกครั้งในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 -763) และกลายเป็นลัทธิคำสอนที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของจีนมากที่สุด รวมถึงได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายในสังคมในฐานะหลักในการดำเนินชีวิตของผู้คน คัมภีร์และตำราของสำนักวิชาขงจื๊อกลายเป็นตำราเรียนและวิชาหลักของชาวจีนตั้งแต่โบราณจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24

แนวคิดและหลักคำสอนในลัทธิขงจื้อ

หลักการคำสอนสำคัญของขงจื้อ คือ เน้นให้ผู้คนเกิดรูปแบบการประพฤติปฎิบัติตนอยู่ในสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อให้สังคมมีสันติภาพ แนวคิดและหลักคำสอนโดยส่วนใหญ่ของขงจื้อ จึงเป็นหลักการทางจริยธรรมมากกว่า ฉะนั้น การพิจารณาเกี่ยวกับหลักทางจริยศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อการศึกษาแนวคิดและหลักคำสอนของขงจื้อ จึงขอกล่าวสรุปหลักจริยศาสตร์ของขงจื้อ กล่าวคือ หลักจริยศาสตร์ของขงจื้อจัดอยู่ในปรัชญาจีนที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความเชื่อถือเกี่ยวกับการเคารพบูชาบรรพบุรุษของตนเป็นรากฐานเชื่อมโยงไปสู่การนำเอาขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีมาเป็นบรรทัดฐานในการประพฤติปฏิบัติของผู้คนในสังคม โดยมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องของมนุษย์ ปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาของมนุษย์เท่านั้น              โดยสอนให้ปัจเจกชนทุกคนในสังคมทำหน้าที่ของตนแต่ละคนให้เหมาะสมและสมบูรณ์ตามสถานภาพของตนซึ่งหลักจริยศาสตร์ ของขงจื้อนั้น มี 5 ประการได้แก่ ความเมตตา ความชอบธรรม ความเหมาะสมความรอบรู้ หรือ ปัญญา และความเป็นผู้น่าเชื่อถือได้โดยสรุปลงเป็น 2 ลักษณะได้แก่

หลักจริยศาสตร์ทางกายและทางใจ หลักทั้ง 2 นี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับปัจเจกชนและระดับสังคมโดยมีวิธีการปฏิบัติ 2 ทาง คือทางการเมืองการปกครอง เป็นการปฏิบัติของข้าราชการบ้านเมืองเพื่อความสงบสุขของสังคมและหลักปฏิบัติตามฐานะหน้าที่ของผู้คนในสังคมซึ่งมีอยู่ 5 จำพวก ได้แก่ ผู้ปกครองกับประชาชนบิดามารดากับบุตรธิดา สามีกับภรรยา พี่กับน้องและระหว่างมิตรกับมิตร ดังนั้น บุคคลต้องสามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมและบำเพ็ญประโยชน์อย่างมหาศาลให้แก่ชาวโลกได้อย่างยิ่งใหญ่ รวมทั้งการบรรลุถึงสรวงสวรรค์ชั้นฟ้าด้วยซึ่งถือเป็นจุดหมายสูงสุดทางจริยศาสตร์ของขงจื้อ

ส่วนระดับจริยศาสตร์ของขงจื้อนั้นเน้นเพียงให้ผู้คนในสังคมเกิดความสงบสุขร่วมกันในภาวะแห่งความทุกข์ยากเท่านั้น ขงจื้อใช้หลักมนุษยธรรมเป็นเกณฑ์สูงสุดในการตัดสินการกระทำความดี-ความชั่วทางจริยศาสตร์ โดยมีขนบจารีตเป็นเครื่องมือ กล่าวคือ มุ่งเน้นให้ปัจเจกชนมีความรู้ดีมีความสุขและสังคมมีความเที่ยงธรรมโดยยึดหลักขนบธรรมเนียมประเพณีในครั้งโบราณมาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลดังกล่าว นั่นคือ ความสงบสุขของบ้านเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการศึกษาและปฏิบัติตนในกรอบแห่งศีลธรรม จริยศาสตร์ของขงจื้อมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน เพราะเป็นหลักปฏิบัติที่ตรงจุดในการแก้ไขปัญหาของชีวิตในด้านต่างๆ เช่น หลักคำสอนเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง การเมืองการปกครอง หลักคำสอนสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติต่อกันตามฐานะหน้าที่ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ทางด้ายกาย (ทาน/ศีล) จิตใจ (สมาธิ) และปัญญาได้อันแสดงถึงลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนเกี่ยวกับหลักการ(ปริยัติ) การลงมือปฏิบัติ (ปฏิบัติ) และผลสำเร็จของชีวิต (ปฏิเวธ)

ฉะนั้น ถ้าสถาบันต่างๆ ทางสังคมอันมีสถาบันทางการเมืองการปกครองและสถาบันการศึกษา เป็นต้น ต้องการเห็นสังคมแห่งสันติสุขที่แท้จริงแล้ว สถาบันที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นควรยึดหลักจริยศาสตร์ของขงจื้อมาเป็นแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงทัศนคติ พฤติกรรมของพลเมืองในประเทศชาติด้วยการต่อไปเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการมีมโนธรรม รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว รู้ว่าคนเราเมื่ออยู่ร่วมกันพึงปฏิบัติต่อกันอย่างไร อันเป็นความดีงาม เช่น ความเมตตา กรุณากตัญญู และเสียสละ เป็นต้น ให้ประชาชนใช้ความรู้ความสามารถ รวมทั้งใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาทั้งหลายทั้งของตน ของครอบครัว และสังคมของตนเองได้ โดยให้มีการร่วมมือร่วมใจกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอันเป็นการแสดงออกซึ่งปัญญาอันถูกต้อง และสนับสนุนและส่งเสริมให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อให้มีความสามารถให้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสมคือ อยู่ในวัยเรียนก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน อยู่ในวัยทำงานก็รู้จักนำความรู้ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติมาบริหารงานของตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งเสริมให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนและผู้อื่นในฐานะต่างๆ เช่น เป็นบิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

ดังนั้น เราจึงจะเห็นว่า แท้จริงแล้ว จุดมุ่งหมายแห่งชีวิตตามคติของขงจื้อ คือการปฏิบัติตนในโลกปัจจุบันให้ดีที่สุด และใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์ โดยยึดหลักคุณธรรม และจารีตประเพณี

อิทธิพลของลัทธิขงจื้อต่อสังคมจีน

ปรัชญาขงจื๊อ ได้มีอิทธิพลต่อชาวจีนอย่างใหญ่หลวงรอบด้าน คำสอนของขงจื๊อถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต และเป็นมาตรฐานของสังคม ความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนจะแนบแน่นอยู่กับปรัชญาขงจื๊อ งานนิพนธ์ของขงจื๊อ ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมชั้นสูง และเป็นหลักสูตรใช้ศึกษากันในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกทั้งเป็นวิชาสำหรับสอบไล่ของทางราชการอีกด้วย ปรัชญาขงจื๊อทำให้ชาวจีนมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนหลายอย่าง เช่น

1. ชาวจีนให้ความสำคัญในเรื่องครอบครัวมาก ถือว่าครอบครัวเป็นรากฐานของสังคม จึงพยายามสร้างครอบครัวให้เป็นปึกแผ่น เป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคนหลายรุ่น ทั้งพ่อ แม่ ปู่ ย่า ลูก หลาน เหลน ทั้งในภาษาจีนก็เอื้ออำนวย คือมีคำบอกลำดับญาติไว้อย่างชัดเจน ว่าใครมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มาจากสายไหน สืบสายมาจากบิดา หรือมารดา ดุจคำว่าน้าและอา ในภาษาไทยฉันนั้น รวมความแล้ว ชาวจีนให้ความสำคัญต่อญาติมาก

2. ชาวจีนให้เกียรติผู้สูงอายุ ทั้งใช้สรรพนามให้เหมาะสมกับวัย เรียกพี่ ป้า น้า อา เป็นต้น แม้ต่อคนที่ไม่ใช่ญาติ ดุจเดียวกับธรรมเนียมไทย คนจีนมีลูกหลานแล้วมักจะไว้หนวดเพื่อแสดงว่าตัวแก่แล้ว

3. ชาวจีนให้ความสำคัญต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จะต้องดูแลสถานที่ฝังศพบรรพบุรุษให้ดี ตลอดถึงคอยเซ่นไหว้อยู่เสมอ และให้ดีด้วย

4. ชาวจีนนิยมยกย่องครูบาอาจารย์ไว้สูง แต่ไม่นิยมยกย่องทหาร ชาวจีนให้ความสำคัญต่อผู้ใช้ความรู้มากกว่าผู้ใช้กำลัง ตามคำสอนของขงจื๊อ

5. ชาวจีนไม่ชอบมีเรื่องต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แต่จะพยายามตกลงปรองดองกันให้ได้

เหล่านี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นปรัชญาขงจื๊อจึงเป็นแม่แห่งวัฒนธรรมจีนตลอดมากว่า 2,000 ปี

พุทธศาสนากับการประนีประนอมกับระบบความเชื่อตามลัทธิขงจื้อและเต๋า

ในประเด็นที่แล้วทำให้เราทราบหลักการสำคัญของระบบความเชื่อเดิมของชาวจีน ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเจริญงอกงามขึ้นในจงหยวน รามสมัยราชวงศ์ถัง เราจะเห็นว่า หลักคำสอนของทั้ง เต๋า และขงจื้อ ต่างกล่าวถึง สรรพสิ่งที่ควรเป็นไปตามธรรมชาติ ทุกอย่างล้วนมีทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรอยู่เหนือความเป็นจริงทางธรรมชาติไปได้ หลักการเหล่านี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา ที่ไม่สอนให้คนฝืนธรรมชาติ แต่สอนให้คนอยู่กับธรรมชาติอย่างมีความสุข ฉะนั้น เมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนจงหยวนอย่างเป็นทางการในรัชสมัยจักรพรรดิหย่งผิง แห่งราชวงศ์ฮั่น ศาสนาพุทธซึ่งเป็นสิ่งใหม่ของสังคมจีน จึงสามารถดำรงอยู่และกลายเป็นรากฐานต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมจีนในเวลาต่อมา ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นต้น

การเข้ามาของพุทธศาสนาในดินแดนจงหยวน อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นนั้น พุทธศาสนาต้องเผชิญกับระบบความเชื่อเดิมที่สังคมจีนยึดถือปฏิบัติอยู่ ภายใต้สังคมจารีตนิยมแบบขงจื้อ และมีส่วนผสมของลัทธิเต๋าร่วมด้วย ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ภูตผี ไสยศาสตร์ ต่างๆ พุทธศาสนาจึงต้องเผชิญกับแรงต้านทานจากระบบความเชื่อดังกล่าว  เช่น ในระยะแรกศาสนาพุทธเป็นที่นับถือเฉพาะของขุนนางและชนชั้นสูงเท่านั้น เพราะได้รับการอุปถัมภกจากองค์จักรพรรดิ แต่สำหรับชาวบ้านแล้วศาสนาพุทธเป็นเรื่องใหม่ ที่ไม่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของพวกเขา ในระยะแรกๆ พุทธศาสนาจึงมีผู้นับถือในวงแคบๆ

อย่างไรก็ตาม ศาสนาพุทธกับระบบความเชื่อดั่งเดิมของจีน ไม่ได้มีการต่อสู้จนเกิดความรุนแรง แต่อย่างไร เพราะพระสงฆ์ในศาสนาพุทธในจีนมีการปรับหลักคำสอนบางประการให้เข้ากับแนวคิดของลัทธิขงจื้อและเต๋า การเผชิญหน้าของพุทธศาสนากับระบบความเชื่อดังเดิมในจีน จึงเป็นไปในลักษณะของการประนีประนอมมากกว่าใช้ความรุนแรง ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

ประการแรก การประนีประนอมกับความเชื่อดั่งเดิม คือ ขงจื้อและเต๋า ถ้าจะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธ กับลัทธิขงจื้อและศาสนาเต๋าแล้ว จะเห็นได้ว่าพุทธเป็นศาสนาที่มีลักษณะประนีประนอมกว่าอีก สองศาสนาของจีนเอง วิวัฒนาการเป็นพัน ๆ ปีของพุทธศาสนาในจีน ทำให้สามารถมองเห็นลักษณะนี้ของพุทธได้อย่างชัดเจน

พุทธศาสนาเมื่อแรกแพร่เข้าสู่จีนนั้น ต้องประสบอุปสรรครอบด้าน ต้องปะทะขับเคี่ยวและต่อสู้กับอารยธรรมดั้งเดิมของจีน กับอำนาจอันล้นฟ้าของจักรพรรดิ กับทฤษฎีและหลักปรัชญาของขงจื้อและศาสนาเต๋าตลอดมา แต่ถ้ามองโดยลักษณะรวมแล้ว จะเห็นว่า ชาวพุทธในจีนจะใช้วิธีประนีประนอมกับฝ่ายตรงข้าม แล้วค่อย ๆ แทรกตัวเองเข้าเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของจีน มากกว่าที่จะปะทะกันถึงในขั้นแตกหัก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ตลอดช่วงระยะเวลาเกือบสองพันปีที่ผ่านมา นอกจากในสมัยราชวงศ์สุยและถัง (ค.ศ. 581–907) ซึ่งเป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่แล้ว ในรัชสมัยอื่น ๆ พุทธศาสนาจะอยู่ในฐานะเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนเท่านั้น

ความหมายของคำว่าประนีประนอมในที่นี้ หมายถึงการยอมรับ การยินยอมคล้อยตามแนวคิดและทัศนคติจากภายนอก ซึ่งก็คือหลักทฤษฎีของขงจื้อและเต๋านั่นเอง พุทธศาสนาทำการประนีประนอมกับแนวคิดภายนอก ได้ดำเนินคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลง ของกระแสแนวคิดของสังคมแต่ละสมัย ดังนั้นจึงมีลักษณะของยุคสมัยอย่างเด่นชัด ดังเช่น ในสมัยฮั่นตะวันออก (ค.ศ.25–220) ถึงสมัยสามก๊ก (ค.ศ.220–280) เป็นช่วงที่ไสยศาสตร์ของเต๋าเจริญรุ่งเรืองมาก ชาวพุทธในจีนรวมทั้งพระอาจารย์ที่เดินทางเข้า ไปจากเมืองพุทธอื่น ๆ ได้พยายามศึกษาไสยศาสตร์ในยุคนั้นไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการดึงดูดใจผู้คนให้เกิดความสนใจในพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่เข้าไป พอเข้าสู้ยุคราชวงศ์จิ้น (ค.ศ.256–420) กับราชวงศ์หนานเป่ยเฉา (ค.ศ.420–589) ปรัชญาเสียนเซียะได้เข้าแทนที่ไสยศาสตร์เต๋า ชาวพุทธในจีนก็พยายามปรับปรุงตนให้สอดคล้องกับปรัชญาของเสียเซียะด้วยการนำเอาแนวคิด คำศัพท์ต่าง ๆ ของเสียเซียะมาอรรถาธิบายหลักปรัชญาปารมิตาสูตร

การนำเอาหลักทฤษฎีความคิดของเต๋าและขงจื้อมาอรรถาธิบายหลักทฤษฎีและปรัชญาของพุทธนั้น มีให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น การเอาหลัก "อู๋อุ๋ย" ซึ่งมีความหมายว่าการคล้อยตามความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติมาอธิบายหลักนิพพานของพุทธ ซึ่งในทางเป็นจริงแล้ว ปรัชญาทั้งสองข้อนี้แตกต่างกันมาก             แต่ชาวพุทธในจีนในสมัยนั้นก็พยายามที่จะอรรถาธิบายปรัชญาพุทธด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ตนเอง ปักหลักลงได้บนแผ่นดินใหม่ผืนนี้ให้ได้ นักพุทธศาสตร์สมัยนั้น เวลาถ่ายทอดหรือเรียบเรียงพุทธคัมภีร์ออกสู่ภาคภาษาจีน ก็จะพยายามปรับให้ไม่ขัดต่อหลักของ ขงจื้อ ตัวอย่างเช่นในสิคาโลวาทสูตร ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก พี่กับน้อง ครูกับศิษย์ สามีกับภรรยา นายกับบ่าวว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเสมอภาคกัน เช่นนายกับบ่าว นายต้องให้ความนับถือบ่าว บ่าวต้องจงรักภักดีต่อนาย เป็นต้น แต่เมื่อพระอาจารย์อันลิเกาพระภิกษุชาวปาเธียร์แปลมาถึงข้อความตอนนี้ ก็ได้ตัดเนื้อหานี้ออก ทั้งนี้เพราะทัศนคติที่ว่านี้ขัดต่อความรับรู้ในความสัมพันธ์เหล่านี้ว่า ต้องมีลดหลั่นต่ำสูงตาม ประเพณีจีน

นอกจากดำเนินนโยบายประนีประนอมดังได้กล่าวมาแล้ว ชาวพุทธในจีนก็ยังได้สร้าง หลักปรัชญาขึ้นใหม่ตามระบบความคิดดั้งเดิมของจีนเองอีกด้วย เช่น หลักทฤษฎีที่ว่า "สรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ด้วยกันทุกตัวตน แม้พวกอิจฉันติกะ ก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ในที่สุด" หลักทฤษฎีนี้แม้จะมีอยู่จริงในมหาปรินิรวาณสูตร แต่ว่าก่อนที่พระสูตรนี้จะแพร่เข้าสู่จีน พระอาจารย์เต้าอันซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก ( ค.ศ. 317-420) ก็ได้เสนอทฤษฎีนี้ขึ้นก่อนแล้ว โดยได้รับอิทธิพลจากหลักทฤษฎีของขงจื้อที่ว่า "ทุกคนล้วนเป็นเหยาและซุ่น"

หากจะถามว่าทำไมชาวพุทธในจีนต้องใช้นโยบายประนีประนอมเช่นนี้ คำตอบก็คือเพราะ จีนเป็นชาติที่มีอารยธรรมอันรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น เป็นตัวของตัวเองอย่างมั่นคงเหนียวแน่น การปรับตนเองให้สอดคล้องกับประเพณี แนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม ย่อมจะได้ผลกว่าการใช้วิธีปะทะกันจนถึงขั้นแตกหัก การสามารถรวมตัวเองเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนเคียงบ่าเคียงไหล่กับลัทธิขงจื้อและศาสนาเต๋าจึงเป็นคำตอบที่มีน้ำหนักที่สุด

ประการที่สอง การประนีประนอมระหว่างวิถีชีวิตของชาวจีนกับหลักปฎิบัติทางพุทธศาสนา กล่าวคือ เป็นการทำให้พุทธศาสนาอำนวยความสะดวกทางจิตวิญญาณของชาวจีน คือ การสร้างความเรียบง่ายในการปฏิบัติตน ความเรียบง่ายนี้เป็นลักษณะพิเศษอีกลักษณะหนึ่งของพุทธศาสนาในจีนและเป็นปัจจัย สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พุทธศาสนาอันเป็นศาสนาของชาวต่างชาติ สามารถหยั่งรากลงบนผืนแผ่นดินจีน ความเรียบง่ายในที่นี้หมายถึง ความเรียบง่ายในวินัย และอรรถต่าง ๆ ในพุทธศาสนา พุทธศาสนาเมื่อแรกแพร่เข้าสู่จีนนั้น ในความรู้สึกของคนจีนทั่วไป จะรู้สึกว่ามีความยากยิ่งที่จะเรียนรู้หรือเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นในด้านบำเพ็ญตบะฌาน ในด้านการเรียนรู้อรรถคำสอนต่าง ๆ หรือในด้านการใช้ภาษา ก็ดูยากที่จะเข้าใจถ่องแท้ หรือปฏิบัติตามให้ถูกต้อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะขัดแย้งกับนิสัยของความเรียบง่ายของชาวจีน จึงทำให้พุทธนิกายต่าง ๆ ที่ไม่ได้ปรับปรุงตนเองให้เรียบง่ายนั้นยากที่จะดำรงอยู่ได้ อาทิ นิกายโยคาจารที่พระถังซำจั๋งอาราธนาเข้าไปจากอินเดียนั้น เพราะความที่ท่านเคร่งครัดในระเบียบ วินัยและอรรถคำสอน ต่าง ๆ ตามแบบดั้งเดิมของอินเดีย และไม่คิดที่จะปรับปรุงให้เรียบง่ายยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะนิกายฌานและนิกายสุขาวดีได้ปลดตัวเองจากวินัยและพิธีปฏิบัติทางศาสนาอันสลับซับซ้อนทั้งปวงจนหมดสิ้น นิกายฌาน (ฉันจง) ยึดหลักธรรมที่ว่า การบรรลุสู่พุทธภาวะจะกระทำได้โดยการรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยถือว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เป็นภาวะที่บริสุทธิ์แต่ดั้งเดิม ซึ่งก็คือจิตเดิมแท้ของแต่ละบุคคลนั่นเอง ดังนั้น การชี้ตรงไปยังจิตใจของคน ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริงอย่างฉับพลัน ก็จะบรรลุซึ่งความเป็นพุทธะ นิกายนี้เห็นว่า คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะอธิบายถึงสัจจะภาวะอันนี้ไม่ แต่จะหาได้จากการหันมา บำเพ็ญจิตใจของตน เพราะความจริงแล้วมันก็อยู่ภายในตัวเราเอง สิ่งที่อาจารย์ในนิกายฌาน (ฉันจง) ย้ำนักหนาจึงอยู่ที่การปฏิบัติทางจิต โดยการสำรวมจิตให้อยู่กับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากสิ่งที่มีอยู่ที่เป็นอยู่ใน เวลาธรรมดาเลย ไม่จำเป็นต้องมีการสวดมนต์ภาวนา ดังนั้นนิกายฌาน (ฉันจง) จึงไม่ยึดติดกับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก หรือพระสูตรใด ๆ ทั้งไม่นับถือวัตถุรูปปั้นและศาสนาพิธีต่าง ๆ

ส่วนนิกายสุขาวดี (จิ้งถู่จง) ได้ถือหลักทฤษฎี "ทางสะดวก" เป็นทางบรรลุสู่พุทธภาวะ นิกายนี้เห็นว่า การบรรลุสู่พุทธะนั้นมี 2 ทางด้วยกัน คือ "ทางทุรกันดาร" กับ "ทางสะดวก" การปฏิบัติตามอริยมรรค 8 ประการด้วยกำลังของตนเองโดยไม่มีกำลังช่วยจากภายนอกแล้วจะสำเร็จผลได้โดยยากยิ่ง ตรงกันข้ามถ้าได้พลังช่วยจากองค์พระอมิตาภะ อันถือว่าเป็นพลังช่วยภายนอก ก็จะสามารถไปเกิดยังแดนสุขาวดีได้ง่ายและสะดวกกว่ากันมาก วิธีปฏิบัติก็แสนง่าย เพียงแต่หมั่นท่องบ่นถึงพระนามขององค์พระอมิตาภะอยู่เสมอ ก็จะบังเกิดผลและเชื่อว่าบางคนท่อง เพียงครั้งเดียวก็อาจพาตนให้หลุดพ้นจากสังสารทุกข็ได้ วิธีปฏิบัตินิกายนี้ แม้จะแผกไปจากคำสอนดั้งเดิม แต่ความเรียบง่ายในการปฏิบัติก็ทำให้นิกายนี้แพร่หลายไปอย่าง กว้างขวาง ทั้งในเมืองใหญ่ เมืองเล็ก และทุกซอกทุกมุมในชนบทจีน

ทั้งนี้เพราะชนชั้นที่นับถือศาสนาในจีนนั้น จะเป็นชนชั้นประเภทหาเช้ากินค่ำเป็นหลัก โดยเฉพาะชนชั้นชาวนาซึ่งมีจำนวนมหาศาล เปรียบได้ดังหยดน้ำในมหาสมุทรและด้วยเหตุที่พวก เขามีการศึกษาน้อย ไม่อาจเข้าใจหลักทฤษฎีและปรัชญาอันลึกซึ้งยิ่งของพุทธคัมภีร์ต่าง ๆ ประกอบกับที่ต้องทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ ไม่สามารถจะหาเวลาทำพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาได้ ดังนั้น หลักทฤษฎีการบรรลุเป็นพุทธด้วยการรู้แจ้งอย่างฉับพลันของนิกายฌาน (ฉันจง) และการท่องบ่นแต่คำว่า "นะโมอมิตาภะ" ของนิกายสุขาวดี (จิ้งถู่จง) จึงง่ายและเหมาะสมกับสภาพของพวกเขา

ความเรียบง่ายของสองนิกายนี้ ได้ส่งผลให้ทั้งสองนิกายกลายเป็นพุทธนิกายที่ได้รับความ เชื่อถือศรัทธาและแพร่หลายมานับเป็นพัน ๆ ปีในจีนแม้จนกนะทั่งทุกวันนี้

สรุป การเผชิญกับความเชื่อเดิมของพุทธศาสนาในประเทศจีน

พุทธในจีน สามารถปรับและผสมกลมกลืนกับแนวทางของระบบความเชื่อเดิมได้อย่างลงตัว ขงจื้อและเต๋าก็ได้รับแรงกระทบจากการเข้ามาของพุทธไม่น้อย จึงต้องมีการปรับแก้วิธีการและคำสอนบางประการ ให้เข้ากับพุทธ  เต๋า  ขงจื้อ  และพุทธ จึงผสมผสานกัน  กลายเป็นระบบความเชื่อที่สามสถาบันความเชื่อนี้ จะเกื้อกูลกันตามโอกาสอันสมควร ดังนั้น เมื่อเราเทียบกับระบบความเชื่อในประเทศไทยแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า เต๋า  ขงจื้อ  และพุทธ  คือ  ผี  พราหมณ์ พุทธ  ที่ผสมผสาน  อยู่ในรัฐไทย

ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในประเทศจีน

ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในประเทศจีน ในยุคราชวงศ์สุยและถัง เพราะระยะเวลาก่อนหน้าราชวงศ์สุยและถัง พุทธศาสนาได้หล่อหลอมเข้ากับระบบความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวจีนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การเข้ามาของพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการในสมัยจักรพรรดิหย่งผิงแห่งราชวงศ์ฮั่น และกระบวนการปรับตัวของพุทธศาสนาในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับระบบความเชื่อเดิมคือ ขงจื้อ และเต๋า ในประเทศจีน ช่วงเวลาในระหว่าง พ.ศ. 763-1124 ตั้งแต่แผ่นดินยุคสามก๊กไปจนถึงการสถาปนาราชวงศ์สุยของหยางเจียง หรือจักรพรรดิสุยเหวินตี้ ในรัชศกไคหยวน ช่วงเวลานี้ ในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ยุคหนานเป่ยเฉา หรือยุคราชวงศ์เหนือและยุคราชวงศ์ใต้ เพราะทางตอนเหนือและใต้มีราชวงศ์ปกครองคนละราชวงศ์ แต่ละราชวงศ์ปกครองในระยะเวลาอันสั้น ยกเว้นแต่ราชวงศ์จิ้น และราชวงศ์เป่ยเว่ยของราชสกุลเผ่าถัวป๋า เท่านั้นที่ปกครองในระยะเวลามากกว่าร้อยปี ช่วงเวลากว่า 361 ปีนี้ ดินแดนจงหยวนต้องประสบกับภัยสงครามภายในอย่างต่อเนื่อง การขึ้นสู่อำนาจและสิ้นสุดอำนาจของเจ้าราชวงศ์ต่างๆ แทบไม่อยู่ในความรับรู้ของผู้คนแม้แต่น้อย ชาวจีนที่เป็นชนชั้นล่างๆในสังคม จึงต้องแบกรับภาวะความไม่แน่นอนของศูนย์อำนาจที่ไร้ประสิทธิภาพ  ช่วงเวลานี้เองที่พุทธศาสนาสามารถยั่งรากในแผ่นดินจีนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น เมื่อล่วงเข้าสู่ราชวงศ์สุยและถัง จีนจึงก้าวสู่ความรุ่งเรื่องของพุทธศาสนาด้วยปัจจัยดังนี้  

ปัจจัยที่ทำให้พุทธศาสนาในจีนเจริญรุ่งเรือง

1.การอุปถัมภ์จากกษัตริย์ส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอินเดีย

ในสมัยราชวงศ์ถังพุทธศาสนาในจีนเจริญได้ด้วยการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสและศรัทธาอย่างแรงกล้า จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนการส่งพระภิกษุจีนให้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกเพื่อนําพุทธศาสนามาเผยแผ่ในจีน ซึ่งการเดินทางไปในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับอินเดียอีกด้วย ทําให้พุทธศาสนาเจริญกว่า 30 ปี

2.พุทธศาสนากับหลักการประนีประนอม

นโยบายของจักรพรรดิถังไท่จง ที่ทรงอุปถัมภ์ศาสนาทั้ง 3 อันได้แก่ พุทธ เต๋า และขงจื๊อ ด้วยการ

ประนอมเข้าหากัน ทําให้เกิดการผสมผสานระหว่างสามแนวคิด คือพุทธได้รับเอาแนวคิดของเต๋าและขงจื๊อไว้ในปรัชญาและทฤษฎีของตน ขงจื๊อและเต๋าก็รับเอาหลักธรรมของพุทธไว้ในปรัชญาของตนเช่นกัน ด้วยเหตุนี้นิกายต่างๆจึงเกิดขึ้นมากมาย ทําให้การเข้าถึงพุทธศาสนาขยายตัวมากขึ้น พุทธศาสนาจึงค่อยๆหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีน

ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาสมัยสุยและถัง

สมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ. 1124-1161)

ประมาณ พ.ศ. ๑๐๖๑ ในประเทศจีนมีวัดถึง ๓๐๑๐๐๐ วัด พระพุทธองค์ใหญ่ที่สร้างด้วยหินและโลหะมีอยู่ทั่วไปในวัดต่าง ๆ พ.ศ. ๑๑๔๙ พระมหากษัตริย์และรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฏีกาตั้งสำนัก “การแปลวรรณคดีพระพุทธศาสนา” ขึ้นที่เมืองโล่หยาง และมีตั้งผู้แปลประจำสำนักในตำแหน่ง “บัณฑิต

สมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450)

พระสงฆ์ที่มีบทบาทต่อความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง

พ.ศ. 1172ในรัชกาลของพระเจ้าถังไทจง พระถังซัมจั๋ง (บางทีเรียกหลวงจีนเฮี้ยนจัง หรือยวนฉาง)ออกจาริกไปสืบสานศาสนาในชมพูทวีปกลับมาถึงจีนใน พ.ศ. 1188ทรงอาราธนาให้สถิต ณ เมือง              ลั่วหยาง ทรงอุปถัมภ์ในการแปลพระสูตรมากมายที่นำมาจากอินเดีย  รวมเวลาไปกลับ ๑๖ ปี เมื่อจาริกกลับประเทศจีนท่านได้เริ่มแปลคัมภีร์ได้จำนวนได้ ๑,๓๓๕ ปริเฉท พระถังซัมจั๋งได้เขียนบันทึกการเดินทางชื่อ “บันทึกแคว้นตะวันตก” ไว้ อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมากมาย หนังสือเล่มนี้ ได้นำประโยชน์อย่างมหาศาลแก่นักศึกษาผู้ค้นคว้าหรือนักโบราณคดี ตลอดถึงนักประวัติศาสตร์ นักศาสนา ได้รับประโยชน์เช่นกัน เพราะท่านได้บันทึกลัทธิศาสนาของประเทศอินเดียโบราณและของประเทศบริเวณแถบเอเชียกลาง และได้ปฏิบัติศาสนกิจต่อมาจนถึงมรณภาพในพ.ศ. 1208 ในรัชกาลพระเจ้าถังเกาจง

พ.ศ. 1214ในรัชกาลพระเจ้าเกาจง หลวงจีนเต้าซวนผู้ริเริ่มนิกายวินัยได้ถึงมรณภาพและในปีเดียวกันหลวงจีนอี้จิง (งี่เจ๋ง) ออกจาริกไปอินเดีย และพักที่สุมาตราหลายปี กลับถึงจีนใน พ.ศ. 1238 พระนางอู๋เจ๋อเทียน เสด็จไปรับถึงหน้าประตูวัง หลวงจีนอี้จิงพูดได้หลายภาษา แปลคัมภีร์พระวินัยและพระสูตร และประพันธ์หนังสือเรื่อง “ประวัติสงฆ์จีนจาริกไปอินเดีย” และ “พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในเกาะแถบทะเลใต้” ท่านถึงมรณภาพใน พ.ศ. 1255

สมณอี้จิง ชาวเมืองฟันยาง ที่จาริกไปประเทศอินเดียได้ศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความเพียรอยู่ร่วม ๒๕ ปี ได้เดินทางไปหลายประเทศ และเดินทางกลับประเทศจีนโดยทางเรือ พร้อมทั้งอัญเชิญพระคัมภีร์มาเกือบ ๔๐๐ ผูก ท่านได้ร่วมกับพระภิกษุอื่นแปลพระคัมภีร์รวมได้ ๕๖ เล่ม

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง นับได้ว่าเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขีดสูงสุด จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนเลยทีเดียว ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ชนชั้นปัญญาชนได้ช่วยกันสนับสนุนเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างสำคัญ

ลัทธิของพุทธศาสนาสมัยราชวงศ์ถัง

การเกิดขึ้นของลัทธิต่างๆในสมัยราชวงศ์ถัง บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาสมัยถังอย่างมาก เพราะการมีลัทธิหรือนิกายย่อยๆจำนวนมากๆนี้ จะทำให้พุทธศาสนามีความเข้มแข็ง สามารถขยายวงผู้นับถือออกไปอย่างกว้างขวางตามความเชื่อของแต่ละสำนักพุทธศาสนาในจีน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่า เพราะทางราชสำนักให้การสนับสนุนพุทธศาสนาจึงเป็นแรงจูงใจให้พุทธศาสนาในจีน มีนิกายย่อยต่างๆ เพื่อสร้างความศรัทธาและให้ราชสำนักให้ความสำคัญกับนิกายของตน

สมัยราชวงศ์ถังเริ่มตั้ง พ.ศ. 1262 มีนิกายพระพุทธศาสนาใหม่เกิดขึ้นหลายนิกายเช่น นิกายธรรมลักษณ์ (ฮสโซซิว) นิกายมนตรยาน (ชิน งน ชิว) นิกายสุขาวดี (โจ โดะ ชิว) นิกายธรรมลักษณ์พระเฮี้ยวจัง (เง็นโจ) คือพระถังซัมจัง (หมายถึง พระติปิฏกธราจารย์ แห่งราชวงศ์ถังได้เดินทางจากจีนเมื่อ พ.ศ. 1172 กลับถึงจีน พ.ศ. 1187 เป็นเวลา 16 ปี ได้คัมภีร์ต่าง ๆ รวมทั้งพระสูตรฝ่ายมหายาน ๖๕๗ ฉบับ)

พุทธศาสนากับความเจริญรุ่งเรืองทางด้าน ศิลปะ  และวรรณกรรม สมัยราชวงศ์ถัง

ด้านศิลปะ  สถาปัตยกรรม ในสมัยราชวงศ์ถังมีการสร้างถ้ำหินสำคัญที่มีการสลักเรื่องราวทางพุทธศาสนาไว้อย่างวิจิตรงดงามถึงสามแหล่ง คือที่ ถ้ำหินหยุนก่าง  ถ้ำหินหลงเหมิน  และถ้ำหินโม่เกา นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปและวัดวาอารามจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลานี้ เช่น พระพุทธรูปใหญ่เล่อชาน ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1256 รัชสมัยถังเสวียนจง ซึ่งเป็นพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำฉางเจียง

ด้านวรรณกรรม  พ.ศ. 1160 สมัยราชวงศ์ถัง การแปลวรรคดีกับพระพุทธศาสนาก็ได้เจริญก้าวหน้ามาก พระสงฆ์และอุบาสกของจีน และประเทศตะวันตกคืออินเดียได้ไปมาหาสู่กันเสมอ ได้แปลคัมภีร์ทั้งมหายานและหีนยานไว้อย่างสมบูรณ์มีวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นประมาณ 400 เรื่อง มีวัดถึง 40,000 วัด มีพระและนางชีประมาณ ๒ แสนเศษ พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในประเทศจีน   และเจริญรุ่งเรือง

สมัยราชวงศ์หงวน
          พระพุทธศาสนาในสมัยของราชวงศ์หงวน ปรากฏว่าพระเจ้ากุ๊บไลข่านทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาแบบมหายานในลัทธิตันตระมนตรยานแบบธิเบต และทรงยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำสำนัก โปรดให้พิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นใหม่ ยกเลิกเก็บภาษีวัด ทรงศรัทธามากในพระลามะ

ธิเบตรูปหนึ่งชื่อว่า ฟาซือปา ในกาลต่อมาลามะฟาซือปาได้รับการสถาปนาให้เป็นสกลสังฆปริณายก 

ความเสื่อมของศาสนาพุทธในจีน

สมัยราชวงศ์ถัง

พ.ศ. ๑๓๘๕ ได้เริ่มมีการทำลายล้างพระพุทธศาสนา โดยพระเจ้าบู่จงผู้ทรงเลื่อมใสลัทธิเต๋า ทรงแต่งตั้ง นักบวชเต๋าเป็นเสนาบดี แล้ววางแผนทำลาย โดยเริ่มให้มีการโต้วาทะหน้าพระที่นั่ง ระหว่างพระภิกษุกับนักบวชเต๋า ใน พ.ศ. ๑๓๘๙ แต่ฝ่ายเต๋าปราชัย ไม่สมพระทัยจึงทรงจัดการเองโดยพลการ คือ ให้ภิกษุและภิกษุณีลาสิกขา ๒๖๐.๐๐๐ รูป ริบที่ดินของสงฆ์ ยุบวัด หลอมพระพุทธรูปเผาคัมภีร์ เป็นต้น เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมแต่นั้นมาอีกหลายร้อยปี

สมัยห้าราชวงศ์ หรือ หงอโต้ว (พ.ศ. ๑๔๕๐๑๕๐๓)

พ.ศ. ๑๔๙๙ มีการทำลายพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่อีก โดยพระเจ้าซีจงแห่งแคว้นจิว ทรงกวดขันการบวช ยึดและยุบวัดที่ไม่มีพระบรมราชโองการให้สร้าง หลอมพระพุทธรูปตามวัดเอาไปทำเงินตราและบังคับราษฎรให้ขายพระพุทธรูปและเครื่องบูชาที่เป็นทองแดงให้แก่ราชการทั้งหมด

สมัยราชวงศ์ชิง หรือ เช็ง (พ.ศ. ๒๑๘๗๒๔๕๕)

พ.ศ. ๒๑๘๗๒๓๓๘ เมื่อราชวงศ์เซ็ง ซึ่งเป็นเผ่าแมลงจู ขึ้นครองมหาอาณาจักรจีน ก็ได้บังคับให้ประชาชนไว้ผมเปีย แทนไว้ผมยาว และให้แต่งกายแบบแมนจู มีชาวจีนที่ขัดขืนถูกประหารชีวิตไปนับล้าน ในครึ่งแรกของราชวงศ์นี้ มีกษัตริย์ยิ่งด้วยบุญญาธิการ ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าคังฮี และพระเจ้าเคียงล้ง ทรงเป็นนักรบที่เก่งกาจเป็นนักปกครองที่สามารถ ส่งเสริมวรรณกรรมการศึกษา วิชาการต่าง ๆ แต่ในทางพระพุทธศาสนา กลับทรงกวดขันการบวชต้องให้ได้รับอนุญาตจากทางการก่อน ห้ามสร้างวัดใหม่หรือขยายเขตวัดเก่า ส่วนในทางวิชาการทรงช่วยสนับสนุนบ้าง เช่นให้รวบรวมพระไตรปิฏกถวายวัดทุกวัด ให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาแมนจูเรีย ทรงอุปถัมภ์บำรุงเฉพาะพระลามะเท่านั้น  พ.ศ. ๒๓๙๗ เกิดขบถผมยาวของพวกนับถือคริสต์ศาสนา นานถึง ๑๕ ปี ทำให้วัดและพระคัมภีร์ในภาคใต้ถูกทำลายเกือบหมดสิ้น พ.ศ. ๒๔๐๙๒๔๕๕ ข้าราชการผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อ ยางวานฮุย ได้ขวนขวายฟื้นฟูการศึกษาพุทธศาสนา และเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ ช่วยให้สถานการณ์พระพุทธศาสนาซึ่งกำลังเสื่อมโทรมดีขึ้นบ้าง พ.ศ. ๒๔๔๗ราชการปรับปรุงระบบการปกครองใหม่ตามแบบตะวันตกให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง ทำให้คนที่คิดร้ายได้โอกาสเข้ายึดวัดและนาสวน โดยอ้างว่าจะดัดแปลงเป็นโรงเรียน วัดถูกทำลายไปมากมาย

พระพุทธศาสนาในจีนเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ถัง หลังจากนั้นก็เสื่อมโทรมลง กลับฟื้นฟูทรงตัวขึ้นได้ในสมัยราชวงศ์สุง หรือ ซ้อง ก็เสื่อมโทรมลงอีกนับแต่สมัยราชวงศ์หงวน ของ มงโกลเป็นต้นมา มีแต่พระเจ้าไท่โจ้ว ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เหม็งองค์เดียว ที่บำรุงพระพุทธศาสนาจริงจัง เพราะเคยผนวชมาก่อน นอกนั้น ยกย่องพระพุทธศาสนาบางคราวเพียงเพื่อผลในการปกครอง โดยเฉพาะเอาใจพระลามะเพื่อครอบครองทิเบตไว้โดยง่าย เป็นเหตุให้การศึกษาธรรมวินัยเสื่อมโทรมอย่างยิ่ง มีแต่ความเชื่อถือทางไสยศาสตร์และพิธีกรรมอ้อนวอน หนำซ้ำกษัตริย์บางองค์ยังเลื่อมใสลัทธิเต๋าแล้วทำลายพระพุทธศาสนาอีก พระพุทธศาสนาเสื่อมถึงขั้นที่วัดใหญ่พระต้องทำนาและอาศัยค่าเช่านาเป็นอยู่ ส่วนวัดเล็กก็อาศัยการให้เช่ากุฎิบ้าง ประกอบพิธีกงเต๊กบ้าง ไม่มีกำลังบำรุงให้ศึกษาธรรมวินัยได้ จนถึงปลายราชวงศ์เซ็ง จึงมีข้าราชการบางท่านช่วยฟื้นฟูประคับประคองไว้บางส่วน

สมัยสาธารณรัฐ (พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นต้นมา)

พ.ศ. ๒๔๖๕ เฟงยูเซียง ผู้นับถือคริสต์ศาสนาและมีสมญาว่า นายพลคริสต์ได้เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑล โฮนาน ท่านผู้นี้ได้สั่งทำลายวัดพระพุทธศาสนาและสำนักเต๋าในโฮนานลงทั้งหมด วัดแปะเบ้ยี่ ที่สร้างครั้งพระพุทธศาสนาแรกเข้าสู่ประเทศจีน ก็ได้ถูกทำลายลงในครั้งนี้ด้วย

สมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นต้นมา)

คอมมิวนิสต์ ได้เข้าครองอำนาจในประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ สถานการณ์พระพุทธศาสนา ในระยะหลังจากนี้ ไม่สู้เป็นที่รู้กระจ่างชัด ในที่นี้จะกล่าวตามแนวที่ เคนเนธเฉิน แสดงไว้ในหนังสือ พระพุทธศาสนาในประเทศจีนในฐานะที่ชาวคอมมูนิสต์นับถือลัทธิมาร์กซ์ อันเป็นลัทธิหนึ่งต่างหาก และมีพื้นฐานคำสอน ขัดแย้งกับศาสนาทั้งหลาย จึงมิได้ต้องการให้มีพระพุทธศาสนาอยู่ร่วมด้วย แต่เบื้องต้นเห็นว่าพระพุทธ-ศาสนาแม้จะเสื่อมลงแล้ว แต่ก็มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งในหมู่ประชาชน จึงยังไม่เห็นเป็นโอกาสที่จะเกี่ยวข้อง โดยใช้มาตรการตรงหรือแสดงออกชัดเจน เริ่มแรกจึงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาก่อน แต่ย้ำเสรีภาพในการที่จะไม่เชื่อและยอมให้มีการตีความเสรีภาพนี้ ไปในแง่สิทธิที่จะต่อต้านความเชื่อถือศาสนา

พ.ศ. ๒๔๙๓ออกประกาศข้อกำหนดว่าพระสงฆ์เป็นกาฝากสังคม พร้อมกันนั้นก็สร้างความรู้สึกให้มีการแบ่งแยกชาวบ้านกับพระสงฆ์และพระสงฆ์ทั่วไปกับพระผู้บริหารว่าเป็นคนต่างชนชั้นกัน

พ.ศ. ๒๔๙๔เพิกถอนสิทธิของวัดในการยึดครองที่ดิน เป็นการบีบรัดในด้านการดำรงชีพ เท่ากับบังคับโดยอ้อมให้พระภิกษุและภิกษุณีสึก ส่วนผู้ที่ไม่สึกก็ต้องประกอบอาชีพ เช่น ทำนา ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม ปลูกชา สอนโรงเรียนเป็นต้น พร้อมกันนั้นก็พยายามกล่อมเกลาให้ละเลิกความเชื่อถือในลัทธิคำสอนอันนอกเหนือจากลัทธิมาร์กซิสม์

พ.ศ. ๒๔๙๖เมื่อจำนวนพระสงฆ์ลดน้อยและอ่อนกำลังลง จึงตั้ง พุทธสมาคมแห่งประเทศจีนขึ้นในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม โดยวัตถุประสงค์ว่า เพื่อผนึกชาวพุทธทั้งปวงภายใต้การนำของรัฐบาลประชาชนเพื่อแสดงความรักต่อปิตุภูมิและรักษาสันติภาพของโลกแล้วจำแนกวัตถุประสงค์ออกเป็น ๔ ข้อ คือ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างรัฐกับพุทธศาสนิกชน เพื่อฝึกพุทธบุคลากร เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา และส่งเสริมความร่วมมือทางพุทธศาสนากับนานาชาติ

ทั้งนี้ผู้เขียนหนังสือ พระพุทธศาสนาในจีนนั้น สรุปว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็เพื่อเป็นศูนย์สำหรับให้รัฐบาลสอดส่องดูแลและควบคุมพุทธศาสนิกชนทั้งหมดได้ และเป็นช่องทางที่รัฐจะได้เป็นผู้แทนของชาวพุทธในกิจการระหว่างชาติ นอกจากนั้นเพื่อสนองนโยบายนี้ก็ได้ออกนิตยสารรายเดือนชื่อ พุทธศาสนาสมัยใหม่” (Modern Buddhism) ส่วนในด้านแนวความคิด ก็มุ่งให้หันเหจากหลักเมตตากรุณาไปสู่หลักความขัดแย้งและการต่อสู้

นอกจากนี้รัฐได้ทำการทะนุบำรุง ดูแลรักษาวัดและศิลปกรรมสวยงามในที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ถือว่าเป็นผลงานของประชาชน แต่ต่อมาปรากฏว่าศิลปวัตถุและศาสนาสถานต่าง ๆ ได้ถูกพวกเรดการ์ดทำลายลงเสียเป็นจำนวนมากพระพุทธศาสนาในจีนได้เสื่อมโทรมลง ตลอดเวลายาวนานในยุคหลัง ๆ เพราะประสบความ บีบคั้นต่าง ๆ และความอ่อนแอภายใน โดยเฉพาะในด้านการศึกษาปฏิบัติธรรมวินัย การทำหน้าที่ต่อประชาชน และการหันเหไปหาลัทธิพิธีต่าง ๆ สภาพเหล่านี้แม้คอมมูนิสต์ไม่เข้าครองถ้าไม่มีการทำลายต่อให้ถึงดับสูญเสียก่อน ก็จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงจนได้ เช่นที่ท่านไท้สูได้ริเริ่มขึ้นเป็นต้น แม้พระมหากษัตริย์ในปางก่อนก็ได้ทรงกระทำแล้วหลายครั้งคราว สิ่งที่ยังค้างวินิจฉัยมีอย่างเดียวคือ ที่ทำอย่างนั้น ๆ เป็นการปรับปรุงเพื่อฟื้นฟู หรือเป็นการทำลายหรือเป็นการปรับปรุงเพื่อทำลาย ซึ่งจะต้องพิสูจน์กันต่อไปเนื่องจากจีนเป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนามาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่ในยุคหลังนี้ ชาวพุทธภายนอกไม่มีโอกาสทราบข่าวความเป็นไปเท่าที่ควร เมื่อไม่ทราบข่าวทางศาสนาโดยตรง จึงขอนำเหตุการณ์ฝ่ายบ้านเมืองซึ่งเป็นเรื่องของชาติโดยส่วนรวมมาลงไว้ พอเป็นทางประกอบการพิจารณา สำหรับสันนิษฐานภาวการณ์ทางพระศาสนาในประเทศนั้น

การฟื้นฟูศาสนาพุทธในจีน

เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาลชุดใหม่ของจีนก็คลายความเข้มงวดลงบ้างและให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น ในปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาคู่ไปกับลัทธิขงจื้อ และเต๋า ซึ่งปัจจุบันมีผู้นับถือถึง 30

บทบาทของพุทธศาสนาในประเทศจีน

ด้านวัฒนธรรม

ประเพณีทางเทศกาลที่มีที่มาจากวัฒนธรรมพุทธ

ประเพณีทางเทศกาล (เทศกาลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ หมายถึงเทศกาลพุทธตามคติมหายานในจีน และช่วงเวลาที่พูดถึงก็เป็นช่วงเวลาตามคติมหายานในจีน) เทศกาลพื้นเมืองต่าง ๆ ในจีน มีอยู่ไม่น้อยที่มีบ่อเกิดจากวัฒนธรรมพุทธ เทศกาลที่ใหญ่ที่สุดที่สืบเนื่องมาจากเทศกาลพุทธ คือเทศกาล "อี้หลันเผิน" ซึ่งก็คือเทศกาลเทกระจาดในไทยนั่นเอง เทศกาลนี้จะจัดกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 อันตรงกับวันออกพรรษา เทศกาลนี้เริ่มขึ้นจากการที่ชาวราชวงศ์ซีจิ้น(ไซจิ้น 265-317) ได้แปลพุทธคัมภีร์เกี่ยวกับตำนานของพระโมคคัลลานว่า มารดาของพระโมคคัลลานตกเป็นเปรตอยู่ในนรก ต้องอดอยากทุกข์ทรมานแสนสาหัส พระโมคคัลลานก็มิรู้ที่จะช่วยมารดาของตนได้อย่างไร จึงได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าช่วย พระพุทธเจ้าตรัสว่า มารดาของพระโมคคัลลานนั้นบาปหนาหนักนัก ลำพังบุญบารมีของพระโมคคัลลานคนเดียวไม่พอที่จะช่วยมารดาให้พ้นทุกข์ได้ จำต้องนิมนต์พระภิกษุแสนรูปจากทศทิศมาร่วมแรงร่วมใจแผ่ส่วนกุศลไปให้พร้อมเพรียงกัน จึงจะหลุดพ้นจากห้วงทรมานได้ พระองค์ทรงแนะนำให้พระโมคคัลลานจัดอาหารใส่ลงใน "เผิน" (ภาชนะใส่อาหารชนิดหนึ่ง คล้ายกะละมัง ) สำหรับถวายพระภิกษุแสนรูป ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 อันตรงกับวันออกพรรษา เพื่อให้พระภิกษุแสนรูปนั้น ช่วยกันแผ่ส่วนบุญไปให้มารดาของพระโมคคัลลานโดยพร้อมเพรียงกัน และเมื่อพระโมคคัลลานได้ปฏิบัติตามดังที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว ก็สามารถช่วยมารดาของตนให้พ้นจากความเป็นเปรตได้สมดังหมาย

อรรถสาระของพุทธตำนานเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวของความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ให้กำเนิด จึงเป็นที่ยอมรับของชาวจีนทั่วไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ประเพณีดังกล่าวเมื่อแพร่เข้าสู่ราชสำนักในสมัยราชวงศ์หนันเฉา (ค.ศ. 402-589) ก็พัฒนาเป็นเทศกาลใหญ่โตและมีการจัดงานอี้หลันเผินขึ้นในกลุ่มชนทุกระดับชั้นของสังคมติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย แต่เมื่อล่วงเข้าสู่ราชวงศ์ซ่ง (960-1279) ประเพณีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากพิธีกรรมการจัดอาหารถวายพระ เพื่อแผ่ส่วนกุศลให้ผู้บังเกิดเกล้า ค่อย ๆ เลือนไป กลายเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับผีไม่มีญาติและได้เพิ่มการละเล่นต่าง ๆ เข้าในพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น การลอยประทีป การแสดงอุปรากรต่าง ๆ และในช่วงเวลาที่มีงานอี้หลันเผินนี้ ชาวบ้านยังนิยมจัดให้มีการเล่นงิ้วเรื่อง "พระโมคคัลลานช่วยแม่" เป็นประจำทุกปี เทศกาลนี้ได้สืบทอดกันมาจนถึงปลายราชวงศ์หมิง (1368-1644) ก็สิ้นสุดลง

เทศกาลทางพุทธที่สำคัญอีกเทศกาลหนึ่ง คือ เทศกาลสรงน้ำพระพุทธรูป หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาลวันประสูติของพระพุทธเจ้า พิธีสรงน้ำจะจัดทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งทางฝ่ายมหายานถือว่าเป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ตำนานมหายานมีว่า ในกาลสมัยที่พระพุทธ

เจ้าประสูตินั้น มีมังกร 9 ตัว (บางตำนานก็ว่า 2 ตัว) ได้มาช่วยกันพ่นน้ำสรงพุทธกุมารเมื่อประสูติแล้ว จึงเกิดประเพณีสรงน้ำพระขึ้นในวันนี้ วัดวาอารามต่าง ๆ จะตั้งรูปพุทธกุมารปางประทับยืน โดยพระหัตถ์ข้างหนึ่งชี้ขึ้นสู่ฟ้า พระหัตถ์อีกข้างหนึ่งทรงชี้ลงสู่ดิน ซึ่งมีความหมายว่า เหนือฟ้า ใต้ฟ้า พระองค์ท่านประเสริฐสุดยิ่งกว่าผู้ใด น้ำที่นำมาสรงนั้น เป็นน้ำที่ปรุงขึ้นจากเครื่องหอมต่าง ๆหลายชนิด รูปพระพุทธกุมารจะตั้งอยู่กลางภาชนะที่สามารถรองรับน้ำ เมื่อสรงเสร็จแล้ว คนสรงน้ำก็จะเอาน้ำนั้นลูบไล้กายตน เพื่อความเป็นสิริมงคล พิธีนี้จัดทำกันจนถึงทุกวันนี้ โดยทางวัดจะจัดให้พุทธศาสนิกเข้าร่วมพิธีด้วยทุกปี

เทศกาลขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ก็เป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่ชาวบ้านทั่วไปจัดทำกัน ชาวจีนเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลวัน "ล่าปา" "ล่า"หมายถึงเดือน 12 และ "ปา" หมายถึง "แปด" ซึ่งก็คือวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 นั่นเอง ชาวพุทธในจีนถือกันว่าวัน "ล่าปา"เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อกันว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาจนพระวรกายผ่ายผอมแทบจะทรงอยู่มิได้ มีหญิงเลี้ยงสัตว์คนหนึ่ง นำเอาข้าวต้มน้ำนมวัว (ข้าวมธุปายาส) มาถวาย และเมื่อพระองค์ทรงฉันอาหารที่หญิงเลี้ยงสัตว์ถวายแล้ว ก็ทำให้พระกำลังวังชาทรงกลับคืนมาอีก และทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวัน "ล่าปา"นี้เอง พุทธศาสนิกในจีนจึงได้มีประเพณีการกิน "ล่าปาโจว" (ข้าวต้มล่าปา) กันขึ้นในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ทุกปี จนกลายเป็นประเพณีพื้นบ้านจีนมาจนถึงทุกวันนี้ ข้าวต้มล่าปานี้ ปรุงขึ้นจากถั่วต่าง ๆ หลายชนิด เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง และงาเป็นต้น ซึ่งจะต้มผสมกับข้าวเหนียวปนกับข้าวจ้าว เวลากินเติมน้ำตาลลงไปด้วย

นอกจากเทศกาลที่มีบ่อเกิดจากวันสำคัญ ๆ ทางศาสนาที่มีหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีเทศกาลที่ชาวพุทธในจีนเองริเริ่มขึ้น เช่น เทศกาลวันประสูติของพระศรีอาริยเมตตรัย เทศกาลวันประสูติของพระมัญชุศรี เทศกาลวันประสูติ วันบรรลุธรรมและวันออกบวชของเจ้าแม่กวนอิม เทศกาลวันประสูติของพระอมิตาภะ เป็นต้น วันเทศกาลต่าง ๆ เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของพุทธศาสนาในจีนได้เป็นอย่างดี

ด้านศิลปะและวรรณกรรม

อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อศิลปะและวรรณกรรมจีน

วัฒนธรรมทางศาสนาย่อมเป็นบ่อเกิดของศิลปะ-ภาษาและวรรณกรรม ไม่ว่าจะโลกตะวัน ออกหรือโลกตะวันตก วัฒนธรรมพุทธเป็นวัฒนธรรมทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชาวตะวันออกอย่างลึกซึ้ง ซึ่งรวมทั้งต่อชาวจีนด้วย อิทธิพลของวัฒนธรรมพุทธที่มีต่อวัฒนธรรมจีนนั้น มิได้ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมจีนแต่เพียงฝ่ายเดียว หากยังส่งผลสะท้อนกลับไปสู่วัฒนธรรมพุทธอีกด้วย

เมื่อพุทธศาสนาแพร่เข้าสู่ดินแดนจีน พุทธปรัชญาว่าด้วยโลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้า กลายเป็นความรับรู้ใหม่อย่างสิ้นเชิงของชาวจีนทั้งมวล เป็นสิ่งที่ชาวจีนไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน สิ่งแรกที่ทำให้ชาวจีนทั่ว ๆ ไปเกิดความรู้สึกแปลกใหม่ ตื่นตาตื่นใจก็คือ ทฤษฎีการมุ่งสู่นิพพานและหนทางที่จะมุ่งสู่นิพพาน ในวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน แม้จะมีการแสดงออกถึงความเบื่อหน่ายโลก เบื่อหน่ายสังคม เบื่อหน่ายสิ่งแวดล้อมรอบตัวเหมือนกัน แต่วิถีทางหลุดพ้นของพวกเขาจะหยุดอยู่แค่ "ขี่วัวออกไปนอกเมือง" หรือไม่ก็ "กลายเป็นอินทรีบินไปสุดสวรรค์ชั้นเก้า" แม้แต่ยอดปรัชญาเมธีอย่างขงจื๊อ ก็คิดหลบหนีโลกอันอลเวงเพียงแค่ "ล่องแพออกไปสู่สมุทรกว้าง เมื่อศีลธรรมในสังคมเสื่อมสูญ" ทัศนคติเหล่านี้ ล้วนเป็นทัศนคติของคนที่ต้องการหนีโลกอันชุลมุนวุ่นวาย ซึ่งเต็มไปด้วยกิเลส ตัณหาร้อยแปด ไปแสวงหาความสงบ สันโดษ อันเป็นการตัดจากโลกภายนอก แต่การตัดโลกชนิดนี้ เป็นการตัดในขั้นกระพี้เท่านั้น ต่อเมื่อพุทธปรัชญาว่าด้วย โลกุตรธรรมและทฤษฎีว่าด้วยการเข้าสู่นิพพานได้เป็นที่รับรู้ของชาวจีนแล้ว ชาวจีนจึงได้ก้าวจากวงเวียนความรับรู้แต่ดั้งเดิมมา ด้วยการปฎิเสธโลกที่เป็นอยู่อย่างสิ้นเชิง แสวงหาทางหลุดพ้นที่องอาจกล้าหาญยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือการปฏิบัติตนเพื่อบรรลุสู่นิพพาน แทนที่จะหยุดอยู่แค่ "ขี่วัวออกไปนอกเมือง" หรือ "กลายเป็นอินทรีบินไปสุดสวรรค์ชั้นเก้า"อย่างแต่ก่อน สิ่งซึ่งตามมากับความรับรู้ใหม่คือ ความ รู้สึกพะว้าพะวัง ความรู้สึกหวาดหวั่น เกรงขามเมื่อแหงนหน้าขึ้นมองฟากฟ้ากว้าง อันเชื่อว่าที่สุดแห่งนิพพานนั้นอยู่ที่นั่นว่า ดูช่างสูงส่งและห่างไกลเหลือประมาณ ซึ่งนี่แหละคือฐานแห่งแนว ความคิดของศิลปะการสร้างพระพุทธรูปอันสูงใหญ่กว่ามนุษย์ชาวพาราหลายร้อยหลายพันเท่า ที่สร้างไว้มากมายในป่าเขาลำเนาไพรบนผืนแผ่นดินจีน เช่น พระพุทธรูปหินแกะสลักที่ตุนหวง ที่หยุนกั่ง ที่ต้าจุ๊ เป็นต้น พระพุทธรูปในสมัยแรกเริ่มนั้น จะมีลักษณะเหมือนกันอยู่ข้อหนึ่งคือ องค์พระพุทธรูปจะสูงใหญ่มหึมา ดูน่าเกรงขาม น่าหวาดหวั่นสำหรับผู้ที่คิดจะใกล้ชิด อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกคนในยุคนั้นที่มีต่อพระพุทธศาสนาและทฤษฎีว่าด้วยการบรรลุซึ่งนิพพานว่าช่างสูงส่งและห่างไกลเหลือที่จะประมาณ

ครั้นพอล่วงเข้าสู่ยุคราชวงศ์ถัง(618-907) และซ่งความรู้สึกเกรงขาม ความรู้สึกที่ว่าช่างห่างไกลสุดไขว่คว้า ค่อย ๆ ลบเลือนไป ความรู้สึกสนิทสนม ใกล้ชิด อบอุ่น ได้ค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ ความรู้สึกเหล่านี้ เราจะเห็นได้จากการสร้างพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ในสมัยนี้ว่า จะอยู่ในอิริยาบถที่แสดงความเมตตา อารี เป็นที่อบอุ่นใจของผู้ที่คิดจะชิดใกล้ จึงมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนชั้นนำติดตัวไปไหนมาไหนได้ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งมวล ซึ่งเคยมีรูปร่างสูงใหญ่มหึมา ก็เสมือนละจากแท่นดอกบัวอันสูงส่งบนกลีบเมฆ ละจากหุบเขาลำเนาไพรอันห่างไกล ซึ่งล้วนแล้วแต่ที่มนุษย์ไปไม่ถึง เข้ามาสถิตอยู่ในห้องพระ ในตู้พระของชาวบ้านร้านถิ่นทั่วไป

นักพุทธศาสตร์จีนเห็นว่า มีแต่เข้าสู่ยุคนี้แล้วเท่านั้น พุทธศาสนาจึงอาจจะพูดได้ว่า หยั่งรากลึกลงบนผืนแผ่นดินจีนแล้วและสิ่งที่ติดตามมาด้วยก็คือ การปรากฏขึ้นของรูปแบบวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ที่สืบเนื่องมาจากการเผยแพร่พุทธคัมภีร์ รูปแบบวรรณกรรมที่ว่านี้ เรียกว่า "สูเจี่ยง" ซึ่งก็คือการเล่านิทานหรือตำนานต่าง ๆ ในพุทธคัมภีร์ด้วยภาษาตลาด บ่อเกิดแห่งวรรณกรรมประเภทนี้สืบเนื่องมาจากเพราะพุทธคัมภีร์มีความละเอียดลึกซึ้ง ยากต่อการเข้าใจของคนทั่ว ๆ ไป ประกอบกับผู้คนในสมัยนั้นรู้หนังสือน้อย ระดับความสามารถในการรับรู้ปรัชญาและทฤษฏีต่าง ๆ อยู่ในขั้นต่ำ ดังนั้น การจะเผยแพร่พุทธคัมภีร์หรืออธิบายพุทธปรัชญาต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องใช้ภาษาง่าย ๆ ที่ชาวบ้านทั่วไปฟังเข้าใจ ทั้งยังต้องมีความสนุกสนาน ดึงดูดใจผู้ฟัง ด้วยเหตุผลนี้ พระอาจารย์ที่ทำหน้าที่ "สูเจี่ยง" จึงใช้ทั้งวิธีขับ ร้อง อ่าน และเล่าประกอบกันไป บางท่านก็จะเล่าโดยปากเปล่า บางท่านก็จะเขียนต้นฉบับไว้ก่อน ต้นฉบับเหล่านี้ถือกันว่าเป็นต้นแบบวรรณกรรมหลายประเภทของจีนทีเดียว

นอกจากเรื่องราวที่เล่ามานี้แล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ พุทธศาสนาในจีน เมื่อวิวัฒนาการมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง(ซ้อง)แล้ว สิ่งที่ชาวพุทธในจีนให้ความเชื่อถือศรัทธาอย่างแก่กล้านั้น กลับไม่ใช่พระหรือโพธิสัตว์ที่เกิดในอินเดีย กลับเป็นพระอาจารย์ที่มีตัวตนจริง ๆ ในจีนเอง พระอาจารย์เหล่านี้ ได้รับยกย่องบูชาเป็นกึ่งเทพเจ้า กึ่งมนุษย์ พระอาจารย์ที่มีตัวตนจริง ๆ เหล่านี้ ได้รับยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่งที่กลับชาติมาเกิด เช่น พระศรีอริยเมตตรัย หรือที่ชาวพุทธในจีนเรียกกันว่า "หมีเล่อโฝ" นั้น โดยประวัติแล้ว ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีการกล่าวถึงในพุทธคัมภีร์ เชื่อกันว่าท่านถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ ต่อมาได้ออกบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า แต่มรณภาพก่อนหน้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธทำนายว่า พระศรีอาริยเมตตรัยนั้น จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตต่อจากพระองค์ท่าน ดังนั้น พุทธศาสนิกทั้งมวลจึงเคารพบูชาท่านในฐานะพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องนี้ มีมาแล้วในจีนเป็นเวลายาวนาน รูปปฏิมาของท่านจะสร้างกันในลักษณะของพระโพธิสัตว์หรือไม่ก็สร้างเหมือนพระพุทธเจ้าเลยก็มี แต่พอเข้าสู่ยุคสมัย อู่ไต้ (907-960) ก็ปรากฏพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ ชิฉือ รูปร่างอ้วนเตี้ย พุงพลุ้ย หน้าตาอัปลักษณ์ เที่ยวเร่ร่อนบิณฑบาต ค่ำไหนนอนนั่น มิได้จำวัดเป็นหลักแหล่ง บนหัวไหล่จะมีย่ามที่ทำด้วยผ้าสะพายอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านจึงพากันขนานนามพระภิกษุรูปนี้ว่า "พระย่ามผ้า" เล่ากันว่าพระย่ามผ้านั้น ท่านมีหูทิพย์ตาทิพย์ สามารถทำนายทายทักโชคชะตา ทุกข์สุข เคราะห์ลางได้อย่างตาเห็น จึงเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของผู้คนทั่วไป และก่อนที่จะถึงแก่มรณกรรม ท่านได้เขียนโศลกไว้บทหนึ่ง มีใจความว่า ท่านคือ "หมีเล่อโฝ" ที่แบ่งภาคมาเกิด เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับสรรพสัตว์โลก และนับแต่นั้นมา ก็มีปฏิมากรรมชิ้นใหม่อีกชิ้นหนึ่งอุบัติขึ้นในวงการพุทธศาสนาในจีน นั่นก็คือ พระพุทธรูปอ้วน พุงพลุ้ย หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส บ่งบอกความเมตตาอารี นั่งอยู่ในท่าขัดสมาธิ มีย่ามผ้าสะพายอยู่บนบ่าและนี่แหละคือ "หมีเล่อโฝ" หรือพระศรีอาริยเมตตรัยในมโนคติของชาวจีน

ด้านภาษา

วัฒนธรรมพุทธกับภาษาจีน

ในภาษาจีนฮั่น ไม่ว่าจะเป็นนิทาน ตำนาน สุภาษิตหรือคำศัพท์ต่าง ๆ จะมีร่องรอยของวัฒนธรรมพุทธปรากฏให้เห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะสุภาษิตกับคำพังเพยจำนวนมากที่มาจากข้อคิดหรือปรัชญาพุทธ ดังจะยกตัวอย่างให้เห็นดังต่อไปนี้

"ทะเลแห่งความทุกข์นั้นเวิ้งว้าง หันกลับมาก็คือฝั่ง" คำว่า "หันกลับมา" มีความหมายว่ารู้แจ้งเห็นจริง " ฝั่ง" ในที่นี้มีความหมายว่า สู่นิพพาน สุภาษิตบทนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวจีนมาจนถึงทุกวันนี้ โดยจะเอามาใช้อุปมาว่า คนเราถ้าทำผิดแล้ว (คือตกอยู่ในทะเลอันเวิ้งว้าง) ก็ให้รีบกลับตัว คือถึงฝั่ง ซึ่งก็คือบรรลุนิพพานนั่นเอง

"วางมีดฆ่าสัตว์ลง ก็จะบรรลุซึ่งอรหันต์" สุภาษิตบทนี้เป็นพุทธภาษิตที่สอนให้คนเราละความชั่ว ทำความดี แต่ชาวจีนทั่วไปจะเอามาใช้ในความหมายว่า คนที่ทำชั่วนั้น ถ้าหากเลิกทำชั่วได้ ก็กลายเป็นคนดีได้

สุภาษิตต่าง ๆ เหล่านี้ บางบทมาจากพุทธศาสนาโดยตรง บางบทก็ได้รวมเอาทัศนคติของจีนเองแทรกอยู่ด้วย แต่มีข้อพึงสังเกตอยู่ข้อหนึ่ง คือการรับเอาวัฒนธรรมพุทธของชาวจีนนั้น ในบางครั้งภาพพจน์ของชาวพุทธจะถูกนำมาใช้ในทางเสียดสี หรือล้อเล่นหรือเอามาเปรียบเทียบกับสภาพใดสภาพหนึ่งในสังคม โดยการเสียดสีก็ดี ล้อเล่นก็ดีหรือเอามาเปรียบเทียบก็ดี จะเป็นไปในลักณะรักใคร่ หวังดี เป็นกันเอง มากกว่าจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม เช่น คำพังเพยที่ว่า "พระ 3 รูปไม่มีน้ำจะกิน" เป็นคำพังเพยที่นำมาพูดเสียดสีว่า ยิ่งมีคนมากก็ยิ่งเกี่ยงงานกัน มีเรื่องเล่ากันว่า ณ วัดแห่งหนึ่ง เมื่อแรกมีพระจำวัดอยู่รูปเดียว พระรูปนั้นจะลงจากภูเขาไปหาบน้ำไว้ดื่มไว้ใช้วันละหาบทุกวัน ต่อมามีพระมาร่วมจำวัดด้วยอีกรูปหนึ่ง พระสองรูปจะช่วยกันไปแบกน้ำกลับมาได้วันละถัง ครั้นพอมีพระมาอยู่ร่วมด้วยอีกรูป เป็นสามรูปด้วยกัน ต่างคนต่างก็เกี่ยงจะให้อีกสองคนไปแบกน้ำ ในที่สุดก็เลยไม่มีน้ำจะกิน

"โพธิสัตว์ที่ปั้นด้วยดินลุยข้ามแม่น้ำ ช่วยตัวเองไม่ได้ คำพังเพยนี้ ชาวจีนจะเอามาใช้ในความหมายว่า ตัวเองยังช่วยตัวเองไม่ได้ แล้วจะไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร เพราะพระโพธิสัตว์ที่ปั้นด้วยดินนั้น เมื่อลุยข้ามแม่น้ำ ตัวเองก็จะถูกน้ำเซาะละลายไป แล้วจะไปช่วยคนอื่นที่ตกน้ำได้อย่างไร "เป็นพระอยู่วัน ก็เคาะระฆังไปวัน ใช้เสียดสีคนที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม

นักพุทธศาสตร์จีนวิเคราะห์ว่า คำพังเพยประเภทนี้ สะท้อนให้เห็นว่า โดยส่วนลึกของวัฒนธรรมจีนแล้ว ก็ยังมีความรู้สึกกังขาว่า พุทธศาสนานั้น เป็นศาสนาของชาวต่างชาติที่แพร่เข้ามาในดินแดนของตนหลงเหลืออยู่ในความรู้สึก

สถานการณ์ปัจจุบันของพุทธศาสนาในประเทศจีน

ใน พ.ศ. 2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยน ชื่อ ประเทศเป็นสาธารณรัฐจีนรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนในพระพุทธศาสนา แต่สนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ซึ่งลัทธิดังกล่าว ได้โจมตีพระพุทธศาสนาตลอดมาและมีการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนามากขึ้น โดยเอาวัดไปใช้เป็นสถานที่ราชการอื่นๆ สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาจึงยังไม่ดีขึ้น

ในพ.ศ. 2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระอาจารย์ไท้สู ได้ช่วยกู้ฐานะของพระพุทธศาสนาไว้บางส่วนคือ ท่านได้ทำการปฏิรูปพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง แม้จะมีกำลังน้อย เริ่มด้วยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นที่ วูซัน เอ้หมิง เสฉวน และ หลิ่งนาน เพื่อฝึกผู้นำทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ทางพระธรรมวินัยและวิชาการทางโลกสมัยใหม่ และนำมาเผยแผ่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม จนผู้คนเลื่อมใสมากขึ้น จึงตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนขึ้นใน พ.ศ. 2472 ความพยายามของพระอาจารย์ไท้สู ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น ทางราชการได้ออกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของวัดห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น ใน พ.ศ. 2473 สาธารณรัฐจีนมีพระภิกษุและภิกษุณีรวม 738000 รูป มีวัดทั้งสิ้น 276000 วัด ซึ่งนับว่าพระพุทธศาสนาเจริญในประเทศจีนพอสมควร

พ.ศ. 2492 สาธารณรัฐจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธฺคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์นี้มีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระพุทธศานาจึงไม่อาจอยู่ได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระยะแรกพรรคคอมมิวนิสต์เป็นว่าพระพุทธศาสนายังมีอิทธิพลอยู่ในจิตใจของประชาชนจึงไม่ใช้ความรุนแรง จนใน พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย เพิกถอนสิทธิวัดในการยึดครองที่ดิน ซึ่งเป็นการบีบให้พระสงฆ์ต้องลาสิกขาบทโดยทางอ้อมพระภิกษุที่ยังไม่ลาสิกขาก็ต้องไปประกอบอาชีพเอง เช่น ทำไร่ ทำนา เป็นต้น ทั้งที่ยังครองเพศเป็นภิกษุอยู่ และในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของสาธษรณรัฐประชาชนจีน เมื่อ พ.ศ.2509 - 2512 ได้มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากคือ รัฐบาลได้ยึดวัดเป็นของราชการ ห้ามประกอบศาสนกิจต่างๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นความผิดกฎหมาย พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสิกขา พระคัมภีร์ต่างๆ ถูกเผา พระพุทธรูปและวัดถูกทำลายไปเป็นอันมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พระพุทธศาสนา เกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว

เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีนก็คลายความเข้มงวดลงบ้างและให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น ในปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาคู่ไปกับลัทธิขงจื้อ และเต๋า

ในปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาคู่ไปกับลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งปัจจุบันมีผู้นับถือถึง 30%

การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธจีน

จาก การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สอบถาม สังเกต ตลอดจนเอกสารที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของวัดในเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหางโจว พบว่า ชาวพุทธทั้งสองเมืองจะมีความเชื่อความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าผ่านพระโพธิ์ สัตย์ เมืองเซี่ยงไฮ้จะมีพระหยกขาว ส่วน เมืองหางโจว จะมี พระจี้กงโพธิสัตย์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตย์ที่ชาวพุทธให้ความเคารพนับถือมาก ส่วนด้านการพัฒนาตนเองนั้น ชาวพุทธได้ศึกษาหลักธรรมและปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา โดยจากการสัมภาษณ์ สนทนา สอบถามกับชาวพุทธและเยาวชนทั้งสองเมือง พบว่า ชาวพุทธมีการพัฒนาตนตามองค์ประกอบ ๔ ด้าน คือ ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต และ ภาวิตปัญญา ดังนี้

1.      ภาวิตกาย ชาวพุทธมีวิถีชีวิตที่มีความสมดุลทางกายกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเกื้อกูลซึ่งกันและกัน    รู้จักรักษาวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร การ แต่งกาย การใช้สอยสิ่งของอย่างรู้เท่าทันคุณค่า การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกับการปฏิสัมพันธ์อินทรีย์ ได้แก่ การกินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น ดูเป็น ฟังเป็น ฯลฯ

2.      ภา วิตศีล ชาวพุทธมีพฤติกรรมทางสังคมที่พัฒนาแล้ว มีความเอื้ออาทร เกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนก่อคามเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ดำรงตนอยู่ในวินัย และอาชีวะที่สุจริต มีความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะที่เกื้อกูล สร้างสรรค์ และ ส่งเสริมสันติสุข นั่นคือ คบหาเป็น สังคมเป็น พูดเป็น สื่อสารเป็น ทำเป็น โดยเฉพาะการดำเนินชีวิตตามหลักความเชื่อ วิถีทางแห่งความเป็นพระโพธิ์สัตย์ (พระจี้กง,พระพุทธเจ้าเป็นยา เป็นต้น)

3.      ภาวิตจิต  ชาว พุทธมีจิตใจที่ฝึกอบรมดีแล้ว สมบูรณ์ด้วยคุณภาพจิต ประกอบด้วยคุณธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความเอื้ออารี มีมุทิตา ความเคารพอ่อนน้อม ความกตัญญูกตเวที สมบูรณ์ด้วยสมรรถภาพจิต คือมีจิตใจเข้มแข็งมั่นคง มีความเพียรพยายาม มีอุตสาหะวิริยะ รับผิดชอบ มีสติ มีสมาธิ สมบูรณ์ด้วยสุขภาพจิต คือจิตใจร่าเริง เบิกบานสดชื่น หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตั้งจิตเป็น วางใจเป็น ทำใจเป็น พัฒนาตนเองด้วยการเข้าถึงหลักการดำเนินชีวิตด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา การแผ่เมตตา การรักษาจิตด้วยการฝึกฝนอบรมจิตใจอยู่สม่ำเสมอ

4.      ภาวิตปัญญา  ชาว พุทธรู้จักคิดรู้จักพิจารณา รู้จักวินิจฉัย รู้จักแก้ปัญหา และรู้จักจัดทำการต่าง ๆ ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ปราศจากอคติและแรงจูงใจเคลือบแฝงมีฉันทะเป็นแรงจูงใจ    ที่ บริสุทธิ์ เป็นอิสระจากการครอบงำของกิเลส อันเป็นแรงจูงใจฝ่ายชั่ว เป็นอยู่ด้วยความรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต เข้าถึงอิสรภาพ ปลอดทุกข์ ปราศจากปัญหา หรือ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ดับทุกข์เป็นด้วยตนเอง โดยมีกัลยาณมิตรช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาปัญญา สามารถนำพาชีวิตของตนออกจากวิกฤติของชีวิตได้ด้วยปัญญา

             สรุป ความได้ว่า การดำรงตนให้อยู่ในศีลซึ่งเป็นพฤติกรรมการแสดงออกตามข้อกำหนดในการดำรงตน เพื่อความเป็นพระโพธิสัตย์ ซึ่งชาวจีนส่วนใหญ่จะมุ่งที่จะยึดมั่นในหลักหรือกรอบของการดำรงชีวิตเพื่อ ความเป็นพระโพธิสัตย์ต้องการความสุขที่สามารถจับต้องได้ในโลกปัจจุบัน การพัฒนาตนด้านสมาธิ จากการสังเกตพบว่าชาวพุทธทั้งสองเมืองจะมีรูปแบบการทำสมาธิระหว่างมีการ ภาวนาเหมือนกัน โดยเฉพาะช่วงที่จุดธูปเทียนเพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพศรัทธาต่อพระ พุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตย์ทุกคนจะตั้งใจมาก มีสมาธิแน่วแน่ขณะเดียวกันก็สวดภาวนาไปด้วย บางคนก็เข้าวัดเพื่อทำสมาธิ,เพื่อทำบุญ,เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนหรือส่วน ใหญ่ด้วยการบริจาคทานส่งเสริมกิจกรรมของทางวัด ขณะที่วิถีชีวิตของคนทั้งสองเมืองจะเป็นคนเมืองแต่ก็ยังพยายามจะแสวงหาความ สุข สงบ ทางด้านจิตใจตามที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดและอบรมสั่งสอนผ่านกิจกรรมทางพระพุทธ ศาสนาและการฝึกปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิ์สัตย์ เมื่อทุกคนมีศีล มีความมุ่งมั่นตั้งใจดี ก็ก่อให้เกิดสมาธิและปัญญา สามารถนำพาชีวิตหลุดพ้นจากวิกฤติปัญหาที่เข้ามาในชีวิตได้ จากการสัมภาษณ์และการสังเกต พบว่า ชาวพุทธเข้ามาในวัดแล้วทำให้เกิดความสงบจากภายใน บางคนบอกว่า ความสุขที่แท้จริงเกิดมาจากภายใน มิใช่สิ่งอำนวยความสะดวกภายนอกที่เข้าพยายามแสวงหาอยู่ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า ขาวพุทธทั้งสองเมืองถึงแม้ว่าจะใช้ชีวิตในสังคมเมืองที่มีความเจริญทางด้าน เศรษฐกิจและเทคโนโลยีแต่ก็ยังแบ่งเวลามาฝึกอบรมพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อนำพาชีวิตเข้าถึงความสุขที่แท้จริง

บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อประกอบการเรียนรายวิชาพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน (0114302)



พุทธศาสนาของจีนเป็นแบบใด

พระพุทธศาสนาในประเทศจีนส่วนใหญ่เป็นนิกายมหายาน ซึ่งมีประเพณี คำสอน และหลักความเชื่อที่แตกต่างจากนิกายเถรวาท เช่น เถรวาทเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว แต่มหายานเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายมหาศาลเปรียบเสมือนเม็ดทรายบนชายหาด หรือการปรับกฏระเบียบต่างๆ และความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ แต่โดยเนื้อแท้แล้วทั้งสองนิกายก็มุ่ง ...

พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศจีนในสมัยใด

ศาสนาพุทธได้เริ่มเผยแพร่เข้าสู่จีนกลาง โดยเฉพาะในราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก โดยตามพงศาวดารได้ระบุไว้ว่า ในปี ค.. ๖๕ จักรพรรดิฮั่นหมิงตี้ (ครองราชย์ในปี ค..๕๘ – ๗๔ ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒ ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) ได้พระสุบินว่า มีรูปสีทองขนาดใหญ่ลอยมาจากสวรรค์ทางทิศตะวันออก พอมาถึงพระราชวัง รูปนั้นก็เปล่ง ...

พระพุทธศาสนามีความสําคัญต่อสังคมจีนอย่างไร

พุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสามศาสนาใหญ่ในประเทศจีน ความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาในจีนนั้น ไม่ได้ด้อยไปกว่าลัทธิขงจื๊อ และศาสนาเต๋าซึ่งเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในจีนเอง นักพุทธศาสตร์ของจีน มีข้อสันนิษฐานเรื่องกาลเวลาที่พุทธศาสนาแผ่เข้าจีนแตกต่างกันหลายทัศนะ บางท่านสันนิษฐานว่า เข้าไปในจีนตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินสื่อหวง (จิ๋น ...

พระพุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองในราชวงศ์ใด

พุทธศาสนาในเวียตนามจะเป็นนิกายมหายานเป็นส่วนมากจะเป็นแบบเซนหรือภาษาเวียตนามเรียก เถี่ยน (Thien Tong)ที่รู้จักแพร่หลายคือ ตรุก เลิม (Truc Lam)ของพระกษัตริย์เตริ่น เญิน ตง