โน๊ ต บุ๊ค เพื่อ การ ศึกษา


ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ในหลายด้าน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่จำเป็นต้องได้โอกาสที่จะเข้าถึงความรู้ต่าง ๆ อย่างทัดเทียม รวมถึงต้องมีทักษะในศตวรรษที่ 21 และความสามารถในด้านดิจิทัล ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก็ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาใช้ประกอบการเรียนการสอน แต่โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน อีกทั้งโรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการจัดซื้อ จึงเป็นที่มาของโครงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษาให้นักเรียนและครูใช้ประกอบการเรียนการสอน

คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education)

          โรงเรียนบ้านทุ่งโป่งมิตรภาพที่ 78 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก เปิดทำการสอนระดับปฐมวัย  และระดับประถมศึกษา มีนักเรียน 172 คน มีเขตบริการ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งโป่ง บ้านกุงแกง และบ้านใหม่ห้วยทราย ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน จึงทำให้ไม่สามารถสนับสนุนช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์พัฒนาการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับงบประมาณที่โรงเรียนได้รับจัดสรรจากรัฐบาลมีจำนวนจำกัด ทำให้โรงเรียนมีปัญหาการขาดแคลนสื่ออุปกรณ์ทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการศึกษาแก่นักเรียนจำนวนมาก และนักเรียนอยู่ในสภาพที่ด้อยโอกาสที่จะได้เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญและทำให้เกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) ทั้งด้านการเงิน การขาย การผลิต และอื่น ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคนซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีทักษะด้านไอซีที (ICT Literacy) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นของศตวรรษที่ 21 (21st Century Skill) ทำให้โรงเรียนไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาให้มีคุณภาพการศึกษาตามเป้าหมายได้  จึงเข้าร่วมการรับบริจาคเพื่อการศึกษา
          เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนบ้านทุ่งโป่งมิตรภาพที่ 78 มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาจากการจัดสรรจากงบรัฐบาล และรับบริจาค จำนวน 14 เครื่อง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งโป่งมิตรภาพที่ 78 จึงมีความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการใช้เทคโนโลดิจิทัล มีทักษะในการเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างทัดเทียมกัน รวมทั้งให้ครูและนักเรียนสามารถใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสื่อการสอนดิจิทัลและแหล่งเรียนรู้จากทั่วทุกมุมโลก ด้วยการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
2. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ในแบบ Active Learning นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21
3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalized Learning) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการข้อมูล
4. เพื่อส่งเสริมผู้สอนและผู้เรียนให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

1. ครูหรือบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 คน

2. นักเรียนป.4 จำนวน 21 คน

รายละเอียดโครงการ

          โครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education) มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้ผู้สอนละผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้จากทั่วทุกมุมโลก สื่อการสอนดิจิทัล และแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทั้งด้านทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพไปพร้อมกัน              

รายการชุดอุปกรณ์

  • คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
  • อุปกรณ์กระจายสัญญาณ
  • เมาส์
  • หูฟัง

กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Notebook
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
         เมื่อผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นแบบ Active Learning เช่น Inquiry-based Learning, Problem-based Learning, Project-based Learning หรืออื่น ๆ ผู้สอนสามารถออกแบบให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก โดยกระบวนการสืบค้นข้อมูลหรือการสืบเสาะหาความรู้นี้ 
2. การใช้สื่อเสริมการเรียนรู้
        เป็นสื่อการสอนดิจิทัลที่ประกอบด้วยเนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งหลักสูตรคุณธรรมจริยธรรม ภาษาอังกฤษ การฝึกทักษะการอ่าน การเขียน ที่มีความน่าสนใจ ง่ายต่อการเรียนรู้  โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ในห้องเรียนหรือเรียนรู้ที่บ้าน เป็นการเรียนรู้เพื่อทบทวนบทเรียนหรือการเรียนรู้ก่อนเรียนก็ได้


การใช้ notebook เป๋นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้

1. นักเรียนและครูสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ได้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
2. ครูมอบหมายงานให้นักเรียนผ่านระบบเครือข่าย
3. นักเรียนเรียนรู้หรือทำงานผ่านระบบเครือข่าย
4. ครูมอบหมายให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยสื่อเสริมการเรียนรู้
5. นักเรียนทบทวนบทเรียนหรือเรียนรู้ด้วยตนเองก่อนล่วงหน้าผ่านสื่อเสริมการเรียนรู้
6. นักเรียนและครูสืบค้นข้อมูล อ่านบทความ ดูคลิป หรือใช้แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต
7. นักเรียนทำรายงานโดยใช้ Google Docs และ Google Slides

แผนการดำเนินงาน

ประชุมและสรุปแผนการดำเนินโครงการ สิงหาคม 2564
ติดตามรายการบริจาคและจัดทำ e-Donation ตุลาคม 2564
สรุปยอดหลังบริจาค มกราคม 2565
ปรับข้อมูลโครงการตามยอดบริจาคจริง กันยายน 2564
จัดซื้อ Notebook พร้อมอุปกรณ์ และบันทึกครุภัณฑ์โรงเรียน มีนาคม 2565
ติดตั้ง Software ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมษายน 2565
เข้ารับการอบรมการออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ เมษายน 2565
ประชุมและออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน พฤษภาคม 2565
ดำเนินการตามแผนจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน พฤษภาคม 2565
ประเมินผลการดำเนินงาน ตุลาคม 2565

การประเมินผล

1. ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สื่อการสอนดิจิทัล และเเหล่งเรียนรู้ออนไลน์ได้

2. ครูผู้สอนจัการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้ Active Learning

3. ผู้เรียนมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับดีขึ้นไป

งบประมาณ

ลำดับ รายการ จำนวน ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
1 คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 26 เครื่อง 18,000.00 468,000.00
2 เมาส์ 26 ชุด 200.00 5,200.00
3 หูฟังแบบสาย 26 ชุด 350.00 9,100.00
4 อุปกรณ์กระจายสัญญาณ Access Point 1 เครื่อง 4,590.00 4,590.00
รวม 486,890.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายธนภัทร จองหมุ่ง, นางนิตยพร ยุ้งทอง,นางอัญชลี บุญมาตา, นางอุทัยวรรณ อินต๊ะ, นางฉวีวรรณ จันทร์เพชร, นางสาววรรณี เดชหิรัญกุล, นางสาวธนัชพร สุดใจ

นางนิตยพร ยุ้งทอง

นางอัญชลี บุญมาตา

นางนิตยพร ยุ้งทอง

นายอัฐกานต์ เติ๊กทอน

นางนิตยพร ยุ้งทอง

นางนิตยพร ยุ้งทอง, นางอุทัยวรรณ อินต๊ะ, นางฉวีวรรณ จันทร์เพชร, นางสาววรรณี เดชหิรัญกุล, นางสาวธนัชพร สุดใจ

นางนิตยพร ยุ้งทอง, นางอุทัยวรรณ อินต๊ะ, นางฉวีวรรณ จันทร์เพชร, นางสาววรรณี เดชหิรัญกุล, นางสาวธนัชพร สุดใจ

นางนิตยพร ยุ้งทอง, นางอุทัยวรรณ อินต๊ะ, นางฉวีวรรณ จันทร์เพชร, นางสาววรรณี เดชหิรัญกุล, นางสาวธนัชพร สุดใจ

นายธนภัทร จองหมุ่ง