งานทัศนศิลป์ท้องถิ่นภาคเหนือ

          ประเพณีภาคเหนือ เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของภาคเหนือ ทั้งการวัฒนธรรม พิธีกรรม ความเชื่อ ภาษา การแต่งกาย การละเล่นพื้นบ้าน และอาหาร ฯลฯ นับเป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน

          ภาคเหนือ หรือล้านนา ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนตร์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนัก ส่วนบรรดานักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชม ต่างก็ประทับใจกับสถานที่ท่องเที่ยวมากมายและน้ำใจอันล้นเหลือของชาวเหนือ ดังนั้นใครที่ยังไม่มีโอกาสได้ไปเยือนสักครั้งคงต้องไปแล้วล่ะค่ะ ว่าแล้วเราก็ขอนำประวัติเล็ก ๆ น้อย ๆ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของภาคเหนือมาฝากกัน เผื่อเป็นไกด์ให้เพื่อน ๆ ได้ศึกษาหาข้อมูลก่อนจะเดินทางไปเยือนเมืองเหนือยังไงล่ะ

งานทัศนศิลป์ท้องถิ่นภาคเหนือ

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก สมาคมคนเหนือ, เว็บไซต์ครูบ้านนอก, เว็บไซต์นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร, เว็บไซต์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, เว็บไซต์สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม, dusithost.dusit.ac.th

ในแต่ละท้องถิ่นยังมีผลงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นอีกด้วย เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจึงแตกต่างกันตามท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเราแบ่งลักษณะงานศิลปะออกไปตามภูมิภาค ดังนี

สำหรับ โบสถ์ หรือ โบสด = อุโบสถ หมายถึง อาคารที่พระสงฆ์ใช้ประชุมสังฆกรรมร่วมกัน ซึ่งการทำสังฆกรรมที่สำคัญที่สุดได้แก่การทำสังฆกรรม บวช ในวัฒนธรรมล้านนา แบบอย่างของวิหารรและโบสถ์มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่โบสถ์จะมีใบสีมา เป็นเครื่องหมายเขตบริสุทธิ์ล้อมรอบ อาคารที่เป็นตัวโบสถ์อีกชั้นหนึ่ง โดยจะกำหนดบริเวณทิศทั้ง 8 และฝังไว้ตรงกลาง รวมทั้งหมด 9 แห่ง การสร้างวิหารจะนิยมมากกว่าโบสถ์ อาจจะ เนื่องมาจากการมีประโยชน์ใช้สอยที่มากกว่า เพราะคติแต่เดิมโบสถ์ใช้ในการประชุมสังฆกรรมเพื่อการอุปสมบทพระสงฆ์ตามที่ บัญญัติไว้ในพระวินัยเป็น สำคัญ นอกจากนี้ก็จะมีการรับกฐิน การสวดปาติโมกข์ประจำทุก ๆ 15 ค่ำ ส่วนพิธีอื่น ๆ ที่เป็นประเพณีประจำปีมักจะกระทำในวิหาร อีกทั้งยังใช้เป็นที่อ ยู่อาศัยของสงฆ์ เป็นศาลาการเปรียญเป็นสถานที่ประชุมพุทธบริษัทต่างๆ รวมถึงคติการบวชดังที่เราจะพบอยู่บ่อยครั้งในตำนานทางภาคเหนือ จะนิยมบวชโดยใช้สมมุติสีมาน้ำที่เรียกว่า นทีสีมา หรือ อุทกสีมา ตามประเพณีที่ได้รับมาจากลังกา ดัง ปรากฏในสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน ได้มี พระเถระชาวเชียงใหม่ 25 องค์ กับพระเถระชาวเมืองลพบุรี 8 องค์ ไปลังกา มีพระเถระรามันร่วมไปด้วย 1 องค์ ได้ไปอุปสมบทใหม่ในเรือขนานที่แม่น้ำ กัลยาณีประเทศลังกาเมื่อพ.ศ1968แล้วกลับมา

สืบต่อในสมัยของพระเจ้าติโลกราช ซึ่งถือว่าเป็นยุคหนึ่งที่มีความเจริ?สูงสุดของพุทธศาสนาในล้านนา พระองค์มีจิตใจเลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอันมาก โปรดให้พระเถระชั้นผู้ใหญ่”มีพระมหาเถรเมธังกรญาณและพระมหามังคลสีลวงศ์เป็นประมุข…..อุปสมบทกุลบุตรประมาณ 500 คนที่ท่าสฐานหลวงใน แม่น้ำพิงค์เมื่อเดือนยี่” แลในสมัยนี้เอง ราวปี พ.ศ 1969 พระองค์โปรดให้สร้างโรงอุโบสถหลังหนึ่งในอารามวัดป่าแดงหลวง ซึ่งเป็นที่ถวายพระเพลิง พระบรมศพของพระราชบิดามารดา โดยทรงถวายที่ดินประมาณ 20 วา รอบโรงอุโบสถ เพื่อสมมติสีมา ทรงตรัสคำบาลีที่ที่มีมาในอรรถกถาว่า อิทวิสุคามกฺเขตตํ โหตุ แปลว่า สถานที่แห่งนี้ขอให้เป็นเขตวิสุงคาม คือ เขตแยกจากหมู่บ้าน โดยมีแผ่นหินเป็นนิมิต พระสงฆ์สวดกรรมวาจาสีมาสมมุติ ด้วยตนเอง เมื่อสร้างเสร็จจัดงานฉลองใหญ่ถึง 7 วัน ก็ใช้เป็นที่อุปสมบทกุถลบุตรเป็นจำนวนมากแทนการอุปสมบทโดยใช้เขตสีมาน้ำ(อุท กุกเขปสีมา ) แต่ความนิยมในการใช้สีมาน้ำก็ยังคงปรากฎต่อมา ในสมัยพระเจ้าพระเมืองแก้ว ซึ่งมีพระราชประสงค์จะทำการอุปสมบทในเมืองเชียงแสน จึงนิมนต์ คณะสงฆ์ทั้ง 3 คณะ มีพระมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดมหาโพธารามเป็นประธาน ลงเรือขนาน ยังกุลบุตรทั้งหลายให้อุปสมบทมีจำนวน 235 คน ด้วยอุทกุกเขปสีมา

การใช้พระอุโบสถร่วมกัน ปรากฏในลักษณะของระบบการจัดหัวหมวดอุโบสถ หรือ หัวหมวดวัด ที่มีการรวบรวมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น หมวด อุโบสถวัดนันทาราม ในเวียงเชียงใหม่ชั้นนอก มี 9 หัววัด

1. หัววัดหมื่นสาร ตั้งอยู่ในแขวงด้าวประตูไหยา (หายยา) ในเวียงเชียงใหม่ชั้นนอก เจ้า

2. นิกายงัวราย

3. วัดนันทาราม

4. วัดยางกวง

5. วัดพวกเปีย

6. วัดเมืองมาง

7. วัดหัวฝาย

8. วัดสุภัน

9. วัดกุดีคำ วัดดาววะดึง

อาจเป็นไปได้ที่ในบางวัดที่ไม่มีพระอุโบสถ ก็จะประกอบพิธีในอุโบสถของวัดที่อยู่ใน หมวดของตนเอง โดยมีพระเจ้าอาวาสหัวหมวดเป็นพระอุปัชฌาย์ และถือเป็นจารีตการปกครองของสงฆ์ล้านนา ที่จะเป็นไปในระบบอุปัชฌาย์ อาจารย์กับศิษย์ยานุศิษย์ (สิทธิงวิหาริกอันเตวาสิก)

คำ ว่า “หอ” หมายถึงอาคารหรือเรือน ส่วนคำว่า “ไตร” หรือ “ธรรม” มาจากคำว่า “ไตรปิฎก” หรือ “พระธรรม” อันหมายถึงหมวดพระธรรมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า 3 หมวด คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม นิยมสร้างหอธรรม เนื่องจากมีความเชื่อว่า การสร้างหรือจารพระคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาถือ กันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็นอย่างมาก เทียบได้กับอานิสงส์ในการสร้างวิหาร จากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภท ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก กฎหมาย จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไปถวายไว้ตามวัดต่าง ๆ จนกระทั่งมีประเพณี ตั้งธรรมหลวง ที่เป็นประเพณีการคัดลอกใบลานเพื่ออุทิศให้กับชุมชนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป แล้ว เมื่อมีคำภีร์ย่อมต้องมีสถานที่เก็บ ดังนั้นจึงมีคติใน การสร้างหอธรรมขึ้นเพื่อใช้เก็บพระคัมภีร์ต่าง ๆเหล่านี้ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกด้วย

หอไตรหรือหอธรรมถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนาหรือจารเรียบร้อยแล้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ควร ค่าแก่การเคารพบูชา และ หอไตรนิยมสร้างเป็นอาคารสูงสองชั้น หรือไม่ก็อยู่กลางน้ำ

เนื่องจากความเชื่อของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่า หากได้มีการสร้างคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาแล้วถือกันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็น อย่างมาก ดังนั้นจึงเป็น มูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก กฎหมาย จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไป ถวายไว้ตามวัดต่างๆ จนกระทั่งมีประเพณีตั้งธรรมหลวง ที่เป็นประเพณีการคัดลอกใบลานเพื่ออุทิศให้กับชุมชนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป แล้ว คัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้ในหอไตร (หอธรรม) ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนาและจาร เรียบร้อยแล้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ควรค่าแก่การเคารพบูชา และการสร้างหอไตรนั้นยังถือได้ว่าเป็นอานิสงส์เท่ากับการสร้างวิหารอีกด้วย แม้ว่าข้อความใน เอกสารของล้านนามีการกล่าวถึงการสร้างหอไตรมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ภายหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช แต่ ปัจจุบันไม่ปรากฏหอไตรที่มีอายุการก่อสร้างในสมัยนั้นเหลืออยู่เลย หอไตรของล้านนาอาจจำแนกรูปแบบได้ 3 ประเภทคือ

หอไตรแบบหอสูง

เป็นรูปแบบที่นิยมสร้างกันมากที่สุดของล้านนา แผนผังหอไตรมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและอาจแยกได้เป็น แผนผังที่สร้างให้มีมุขยื่นออกจากตัวอาคาร ซึ่งอาจจะมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เช่น หอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เข้าใจว่าเป็นหอไตร ที่สร้างเมื่อพ.ศ. 2355 ประติมากรรมเทวดา และรูปสัตว์ในกรอบช่องกระจก เข้าใจว่าเป็นงานสร้างพร้อมกับการสร้างหอไตร แต่งานปูนปั้นที่หน้าแหนบ ตลอดจนลายลงรักปิดทองที่ผนังไม้คงเป็นงานคราวซ่อมเมื่อพ.ศ.2471 แผนผังแบบระเบียงล้อมรอบ คือ สร้างระเบียงล้อมรอบตัวห้องที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ มีชายคาปีกนกป้องกันฝนสาดเข้าไปด้านใน โครงสร้างอาจเป็นครึ่ง ตึกครึ่งไม้ เช่น หอไตรวัดศรีสุพรรณ เชียงใหม่ หรือ โครงสร้างชั้นล่างเป็นใต้ถุนโปร่ง เช่น หอไตรวัดศรีชุม จ.แพร่ แผนผังแบบห้องทึบ คือทั้งด้านบนและด้านล่างมีช่องหน้าต่างเพียงเล็กน้อยพอให้แสงส่องเข้าได้เท่านั้น เช่น หอไตรวัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา ลำปาง หรือ ที่มีอายุหลังกว่า เช่น หอไตรวัดหัวข่วง จ.น่าน

หอไตรกลางน้ำ

โดยทั่วไปจะสร้างบนเสาไม้ที่ปักเข้าไปในน้ำ ลักษณะของแผนผังคงคล้ายกับหอไตรสองชั้นใต้ถุนโล่ง ชั้นบนมีระเบียงเดินล้อมรอบห้องเก็บรักษาคัมภีร์ เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลที่รับไปจากภาคกลางของประเทศไทย ไม่เกี่ยวกับคติการก่อสร้างของล้านนา แต่โครงหลังของหลังคาและการประดับตกแต่งนั้น คล้ายกัน แต่เดิมคาดว่าคงรักษาคติเดิมของการสร้างหอไตรกลางน้ำคือไม่มีการสร้างสะพาน เชื่อมต่อกับหอไตร แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการก่อสร้างสะพาน ถาวรเชื่อมกับตัวอาคารกลางน้ำไปหมดแล้ว ตัวอย่างของหอไตรกลางน้ำได้แก่ หอไตรวัดป่าเหียง ( รูปที่ 6 ) ลำพูน ที่หอไตรวัดสันกำแพง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ชั้นล่างมีฝาไม้ปิดโดยรอบ คงเป็นการเลียนแบบหอไตรแบบทึบนั่นเอง

หอไตรแบบพิเศษ

เป็นหอไตรที่มีจำนวนไม่มากนักในล้านนาและมีรูปแบบที่ต่างไปไม่สามารถจัดเป็น กลุ่มได้ เช่น หอไตรวัดดวงดี เชียงใหม่ ( รูปที่ 8 ) มีแผนผังรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ยอดเป็นหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกัน ตามแบบศิลปะพม่ารุ่นหลัง เข้าใจว่าคงสร้างราวปลาย พุทธศตวรรษที่ 24 หอไตรอีกแบบหนึ่งเป็นทรงตึกสองชั้นพบที่หอไตรวัดช่างฆ้อง เชียงใหม่ ( รูปที่ 9 ) ลายประดับมีลวดลายจีนปะปนด้วย หอไตร ที่วัดหนองเงือก ลำพูน ( รูปที่ 10 ) ก็มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ไม่มีระเบียงเหมือนหอไตรวัดช่างฆ้อง และภายในเขียนจิตรกรรมฝาผนังตามแบบสกุล ช่างไทยใหญ่

ศาลา บาตร : ชื่อเรียกศาลาประเภทหนึ่งที่ใช้ในเขตสังฆาวาส สำหรับเป็นที่ตั้งบาตรของพระสงฆ์ที่วางเรียงรายเป็นแถวยาว เพื่อรับเครื่องไทยทานที่ พุทธศาสนิกชนนำมาถวายให้ ก่อนที่ศิษย์วัดจะนำไปประเคนถวายพระภายหลัง ศาลาบาตรนี้มักพบในวัดที่อยู่ในเขตชุมชนมากกว่าในแถบชนบทหรือถิ่น กันดาร เพราะการที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่นทำให้เกิดกิจกรรมอันเนื่องในการทำบุญเลี้ยง พระบ่อยครั้งขึ้น การสร้างศาลาบาตรหรือศาลาตั้งบาตรนี้ ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการตักบาตรถวายมิให้เกิดความชุลมุนแย่งกันใส่บาตร และเพื่อมิให้เป็นการเจาะจงเลือกถวายเฉพาะแด่ พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ

ตำแหน่งที่ตั้งและลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม

ศาลาบาตรส่วนใหญ่เป็นอาคารไม้ชนิดโถง ทำหลังคาปีกนกยื่นคลุมโดยรอบ ขนาดอาคารก็ไม่ใหญ่โตนัก ตำแหน่งที่ตั้งแม้ว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ที่กำหนด ตายตัว ส่วนใหญ่แล้วมักจะวางให้ใกล้กับศาลาการเปรียญ เพราะสะดวกต่อการที่ศิษย์วัดจะนำบาตรที่รับเครื่องไทยทานแล้ว เข้าไปประเคนแด่พระสงฆ์ ซึ่งนั่งรอรับการถวายภายในศาลาการเปรียญนั้น

ศาลาบาตรชนิดหลังเดียวโดดๆไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก ด้วยต่อมาได้มีการพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของศาลาการเปรียญแทน โดยทำเป็นเรือนไม้ขวางหน้า -หลังประกบเรือนประธาน ทำให้ดูเป็นอาคารชุดเดียวกัน ซึ่งต่อมาพื้นที่ดังกล่าวนี้เนื่องด้วยติดชิดกับศาลาการเปรียญมากทำให้กลาย เป็นที่สำหรับใช้นั่ง พักหรือเตรียมของถวายพระในศาลาการเปรียญแทนในที่สุด

ศาลาบาตร อยู่รอบองค์พระบรมธาตุ เป็นศาลาสำหรับการใช้สำหรับพิธีทำบุญตักบาตร โดยพิธีทำบุญทางล้านนาในวันศีล (วันพระ) พระภิกษุสงฆ์จะนำ เอาบาตรมาวางเรียงลำดับในศาลา เพื่อให้ญาติโยมนำเอาข้าวปลาอาหารมาใส่ในบาตร เมื่อวัดมีพิธีอื่นๆ ก็ใช้เป็นสถานที่สำหรับนั่งประกอบพิธีกรรมของ ศรัทธาสาธุชน รอบ ๔ ทิศ แต่เดิมยังเป็นที่พักสำหรับผู้มาจำศีลในวันพระอีกด้วย

ในศาลาบาตร ยังมีพระพุทธรูปเรียงรายอย่างงดงามประดิษฐานอยู่ทุกทิศ มีจำนวน ๔๓ องค์ ได้แก่

ทิศตะวันออก มี ๑๑ องค์

ทิศตะวันตก มี ๗ องค์

ทิศเหนือ มี ๑๒ องค์

ทิศใต้ มี ๑๓ องค์

ลักษณะงานสถาปัตยกรรมประเภท วิหาร คำว่า วิหาร ในครั้งพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่ากุฏิ ภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปริพนิพานและมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทน พระพุทธองค์ จึงนิยมสร้างอาคารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าวเพื่อเป็นสถานที่สมมุติ ให้เป็นที่ประทับของพระองค์ คู่กับพระเจดีย์ ในอดีตวิหารล้านนามีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญดังนี้คือ

เป็น ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งเป็นประธานของวัด หรือพุทธรูปสำคัญอื่นๆ อันเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับเป็นประธานในการประชุมกิจของสงฆ์ หรือพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ เป็น สถานที่ประชุมเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น พิธีรดน้ำมูรธาภิเษก หมายถึงพิธีเลื่อนสมณะศักดิ์ของพระสงฆ์หรือพระเถร ซึ่งในพิธีการมีการรดน้ำ เรียกว่าน้ำมูรธาภิเษก การประกอบพิธีกรรมดังกล่าวจะกระทำกันในพระวิหาร พระประธานที่อยู่ภายในถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เป็นเหมือนองค์ประธานของพระภิกษุสงฆ์ในการประกอบกิจพิธีดังกล่าว ใช้ เป็นที่ประชุมสังฆกรรมแทนพระอุโบสถ การประชุมสังฆกรรมที่สำคัญได้แก่การทำสังฆกรรมบวช ในพระวิหารส่วนใหญ่มักใช้ประกอบพิธีกรรมในการบวชสามเณรเท่านั้น ส่วนการบวชพระภิกษุมักกระทำในพระอุโบสถ หรือบนแพขนานกลางแม่น้ำ

ใช้เป็น ที่ประกอบพิธีกรรมของราชสำนัก ใช้ประกอบพิธีกรรมในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมที่สำคัญ ๆ ทางด้านการปกครองและราชสำนัก เช่นพิธีถือน้ำพิพัฒสัตยาของพระมหากษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนคร ก่อนขึ้นครองราชย์ เป็นต้น

เป็นที่ประกอบประเพณีกรรมทางศาสนา เกี่ยวข้องกับฝ่ายสงฆ์และฆาวราส เช่นพิธีกรรมทางศาสนาในวันพระ หรือวันสำคัญทางศาสนา

ในวัฒนธรรมล้านนา มักสร้างวิหารหลายหลังภายในเขตพุทธาวาส วิหารที่ใช้เป็นประธานของวัดมักสร้างให้มีขนาดใหญ่ กว่าวิหารหลังอื่นๆ เรียกว่าวิหารหลวง และมักวางอาคารไว้ด้านหน้า พระเจดีย์ในแนวแกนเดียวกัน วิหารหลวงส่วนใหญ่จะเป็นที่ประดิษฐานพระประธานสำคัญของวัด ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ ดังได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ส่วนวิหารหลังอื่นๆ มักสร้างให้มีขนาดเล็กกว่า ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ โดยจะเรียกชื่อตามสิ่งที่อยู่ภายใน เช่น วิหารพระพุทธ วิหารพระนอน วิหารน้ำแต้ม (วิหารที่มีลายทองประดับภายใน) เป็นต้น

สำหรับรูปแบบวิหารในวัฒนธรรมล้านนา เราพบหลักฐานว่ามีการสร้างใน 2 ลักษณะ ได้แก่ วิหารโถง และวิหารปิด

วิหารโถง หมายถึงวิหารที่ ไม่มีผนังด้านข้าง (ยกเว้นผนังห้องสุดท้าย และด้านหลังของพระประธาน) แต่มักนิยมทำเป็นแผงไม้เพื่อป้องกันแสงแดด และฝนสาด แผงไม้ดังกล่าว จะทำเป็นบานลูกฟักยึดลงมาจากโครงสร้างหลังคาด้านข้าง เรียกว่าแผงน้ำย้อย ช่างมักเขียนภาพ หรือลวดลายทองประดับบริเวณแผงไม้ดังกล่าวนี้ นอกจากนั้นภายในตัววิหารมักนิยมประดับด้วยลวดลายทองบริเวณผนังด้านหลังของ พระประธาน ตลอดจนถึงบริเวณเสากลางที่อยู่ภายในรวมไปถึงส่วนของโครงสร้างหลังคา เพื่อประดับตกแต่ง และยังก่อให้เกิดความสว่างไสวภายในตัวอาคารอีกประการหนึ่ง ตัวอย่างของวิหารโถงที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันได้แก่ วิหารโถง วัดพระธาตุลำปางหลวง และวิหารโถงวัดปงยางคง จ.ลำปาง เป็นต้น

สำหรับวิหารปิด หมายถึงวิหารที่มีการสร้างผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน มีหน้าต่าง และช่องแสงโดยรอบทุกด้าน บริเวณผนังภายในมักเขียนด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง หรือฉลุลายปิดทองบริเวณผนังด้านหลังของพระประธาน สันนิษฐานว่าวิหารปิดอาจเป็นพัฒนาการสมัยถัดมาของวิหารโถง

ถึงแม้วิหารทั้งสองประเภทจะมีความแตกต่างกันบ้างทางด้านรูปแบบดังได้กล่าวไป แล้ว แต่ลักษณะการจัดแผนผังของอาคาร รูปทรงและโครงสร้างของวิหารทั้งสองประเภทมีความคล้ายคลึงกันจนอาจกล่าวได้ ว่าเป็นเอกลักษณ์ของวิหารล้านนา กล่าวคือ

ลักษณะเด่นของวิหารล้านนา

วิหารล้านนา จะออกแบบแผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการยกเก็จของผัง ภายในวิหารแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

พื้นที่ ของพระสงฆ์ ได้แก่ อาสนสงฆ์ และบุษบกธรรมมาสน์ สำหรับอาสนสงฆ์ เป็นที่นั่งพระภิกษุสามเณร มักทำเป็นแท่นยกพื้นอยู่ทางด้านขวามือของพระประธาน ส่วนบุษบกธรรมมาสน์หมายถึงแท่นสำหรับใช้เทศนาของพระภิกษุสงฆ์ในวันสำคัญทาง ศาสนา

พื้นที่ของฆาวาส ได้แก่ห้องโถงส่วนกลางของอาคาร เป็นพื้นที่นั่งของชาวบ้านเพื่อฟังเทศน์ในวันพระ ชาวบ้านจะนั่งกับพื้นซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่ต่ำกว่า พระสงฆ์ และพระประธาน โดยมักจะให้ผู้ชาย ซึ่งเป็นผู้อาวุโส นั่งด้านหน้าสุดใกล้พระประธาน ส่วน คนผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก จะนั่งถัดออกไป ด้านหลัง

ฐานชุกชี หรือแท่นแก้ว หมายถึงพื้นที่ด้านในสุดของวิหาร มักทำเป็นแท่นยกพื้นสูงกว่าอาสนสงฆ์ ใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นประธานของวัด พื้นที่บริเวณนี้ วิหารบางหลังอาจทำเป็นอุโมงค์โขงและเจดีย์ทรงปราสาทต่อท้ายจรนัมอยู่ด้าน หลัง ซึ่งภายในอุโมงค์โขงดังกล่าวเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธาน ของวิหารเช่นเดียวกัน นักวิชาการบางท่านเรียกวิหารประเภทนี้ว่า วิหารทรงปราสาท เนื่องจากหากมองจากภายนอก จะคล้ายกับมีเจดีย์ทรงปราสาทเชื่อมต่อท้ายตัวอาคาร ตัวอย่างเช่น วิหารวัดปราสาท จ.เชียงใหม่ และวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เป็นต้น

การแบ่งพื้นที่ใช้สอยดังกล่าวแสดงถึงการแบ่งระดับความสำคัญของบุคคลที่อยู่ ภายในอาคารอย่างชัดเจน โดยให้ความสำคัญต่อพระประธานที่อยู่ภายใน ในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ พื้นที่ดังกล่าวจะถูกออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งด้านในสุดและยกพื้นสูงเรียกว่า ชุกชี (บางแห่งเน้นความสำคัญด้วยการสร้างอยู่ในปราสาท เรียกว่าซุ้มโขงหรืออุโมงค์โขง) โดยช่างจะปั้นพระพุทธรูปให้มีพระเนตรเหลือบมองลงต่ำ คล้ายกำลังมองลงมาที่ชาวบ้านซึ่งนั่งอยู่กับพื้น

ส่วนพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จะใช้บุษกธรรมมาสน์ เป็นตัวแทน โดยจะสร้างเป็นแท่นยกพื้น แต่จะอยู่ต่ำกว่าฐานชุกชี ถัดมาคือพระสงฆ์ นั่งอยู่บนอาสนสงฆ์ ซึ่งต่ำกว่าแท่นธรรมมาสน์ แต่สูงกว่า ที่นั่งของฆารวาสซึ่งนั่งกับพื้น

ลักษณะโครงสร้างของอาคาร เป็นการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน กับ โครงสร้างไม้ กล่าวคือ ส่วนฐานของอาคารตลอดจนถึงผนัง มักก่อด้วยอิฐฉาบปูน เทคนิคปูนก่อและฉาบแบบโบราณ ส่วนเครื่องบนหรือหลังคา มักสร้างด้วยโครงสร้างไม้ในระบบเสาและคาน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของวิหารล้านนา เรียกว่าโครงสร้างแบบม้าต่างไหม หลังคาเป็นทรงจั่วมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสามชั้น ด้านหลังสองชั้น สัมพันธ์กับการยกเก็จของผัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือแป้นเกล็ด (หลังคาแผ่นไม้) สำหรับการสร้างวิหารช่างมักมีการสร้างส่วนประกอบทั้งหมดของโครงสร้างด้าน ล่างก่อน หลังจากนั้นจึงยกขึ้นประกอบพร้อมกัน

ลักษณะเด่นทางด้านโครงสร้าง และรูปทรงหลังคาดังกล่าว ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สำคัญของวิหารล้านนา ที่มีการถ่ายทอดและพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สันนิษฐานว่ารูปทรงดังกล่าวอาจมีเหตุผลในการออกแบบมาจากข้อจำกัดในเรื่อง วัสดุและความงามเป็นสิ่งสำคัญควบคู่กันไป เนื่องจากวิหารขนาดใหญ่ที่ใช้โครงสร้างหลังคาทำด้วยไม้ทั้งหมด จำเป็นต้องจัดหาวัสดุที่มีความยาวพอเหมาะกับขนาดของอาคาร ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญประการหนึ่ง อีกทั้งการสร้างอาคารขนาดใหญ่จะทำให้เกิดผืนหลังคาขนาดใหญ่ตามไปด้วย ลักษณะรูปทรงดังกล่าวนี้ ย่อมมีข้อด้อยในเรื่องของความงาม เนื่องจากจะทำให้อาคารมีขนาดใหญ่ และดูหนัก ดังนั้นเพื่อลดมวลของรูปทรงที่ใหญ่เทอะทะดังกล่าว การลดชั้นและซ้อนชั้นของหลังคาเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ช่างโบราณทราบมา ตั้งแต่อดีต ดังนั้นรูปทรงหลังคาที่มีการซ้อนชั้นดังกล่าว เมื่อสร้างเป็นอาคารขนาดใหญ่แล้ว จึงทำให้อาคารดูเบาลงซึ่งอาจสอดคล้องกับแนวคิดในการทำให้อาคารต่างๆในเขต พุทธาวาสมีความเบาสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องนิพพาน (ซึ่งอุปมาถึงได้ถึงภาวะที่เบาและหลุดพ้น)ได้อีกประการหนึ่ง นอกจากนี้การทำให้หลังคามีการซ้อนชั้นด้านหน้าสามชั้น เมื่อเรามองจากด้านหน้าของอาคาร เราอาจสันนิษฐานต่อไปได้ว่า ช่างโบราณ เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวิธีการออกแบบที่มีการคำนึงถึงการนำเข้าสู่ตัวอาคาร ที่มีเป้าหมายเพื่อเน้นพระประธานที่อยู่ภายในนั่นเอง

องค์ประกอบตกแต่ง วิหารล้านนา มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่ช่วยทำให้รูปทรงของอาคารมีความสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์ทั้งในแง่ของการตกแต่ง และเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง โดยมีคติความเชื่อต่างๆ ที่สำคัญ แฝงอยู่ เช่น เรื่องของคติจักรวาล เรื่องพุทธภูมิและนิพพาน รวมถึง คติเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และกิเลสตัณหา ทั้งนี้สามารถอธิบายองค์ประกอบตกแต่งที่สำคัญได้ดังนี้

หน้าบัน หมายถึงแผ่นไม้ลูกฟัก สร้างขึ้นเพื่อใช้ปิดช่องว่างที่เกิดจากโครงสร้างหลังคาด้านสกัด มักทำเป็นแผ่นไม้ตีเป็นช่องๆ ล้อกับโครงสร้างม้าต่างไหมที่อยู่ภายใน หน้าบันจะทำหน้าที่ปิดช่องว่าทั้งบริเวณจั่วด้านบนและจั่วปีกนกด้านข้าง โดยด้านล่างของแผ่นไม้มักประดับเป็นลวดลายรูปวงโค้งเรียกว่า โก่งคิ้ว มักมีการประดับลวดลายทองหรือกระจกบริเวณหน้าบันดังกล่าว หากมองในแง่ของการออกแบบสถาปัตยกรรม หน้าบันเป็นองค์ประกอบตกแต่งที่ทำให้ด้านสกัดของอาคารนั้นสมบูรณ์และสวยงาม ขึ้น สอดรับกับรูปทรงของหลังคาด้านบน แต่ในอีกด้านหนึ่งเราอาจมองได้ว่า หน้าบัน เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ถูกจัดวางไว้เพื่อสร้างกรอบในการเน้นมุมมอง ไปสู่พระประธานที่อยู่ภายใน ในแนวคิดเดียวกันกับการลดชั้นหลังคา เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าอาจมีแนวคิดเรื่องของการอุปมาอุปมัยถึงเรื่องกิเลส ตัณหาอันเปรียบเสมือนการเตรียมพร้อมให้กับบุคคลที่เข้าไปในพระวิหาร ได้ตระหนักและเตรียมตัวเข้าสู่พื้นที่ที่บริสุทธิ์ภายใน โดยแทนลวดลายที่อยู่บนหน้าบันนั้นเป็นเสมือนกิเลสตัณหาของมนุษย์ที่ยังไม่ ได้รับการขัดเกลานั่นเอง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้มักจะถูกย้ำด้วย การสร้างเสาคู่หน้าสุดของพระวิหารให้เป็นรูปแปดเหลี่ยมอันเปรียบเสมือนจิตใจ ของผู้คนที่หยาบกระด้างดั่งกิเลสตัณหาของมนุษย์ที่ยังไม่ได้ขัดเกลา และเมื่อเข้าไปสู่ภายในวิหาร เสาคู่ต่างๆ ภายในจะกลายเป็นรูปทรงกลม อันเปรียบเสมือนจิตใจที่บริสุทธิ์ของผู้ที่เข้าสู่ภายในวิหารซึ่งเป็นแทนของ พุทธภูมิหรือ สถานที่ของพระพุทธเจ้าผู้ซึ่งบรรลุนิพพาน ตัดแล้วซึ่งเกสตัณหานั่นเอง องค์ประกอบตกแต่งหลังคา ได้แก่ ป้านลม ช่อฟ้า ใบระกา หางวัน และปราสาทเฟื้อง เป็นองค์ประกอบตกแต่งที่ประดับไว้บนหลังคา สำหรับ ป้านลม (ประกอบด้วยชุดตกแต่ง ช่อฟ้า ใบระกา หางวัน) เป็นส่วนของโครงสร้าง ทำหน้าที่เพื่อปิดช่องว่างด้านสกัด ที่เกิดจากการมุงหลังคา เพื่อป้องกันลมตีกระเบื้อง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสวยงามทางด้านรูปทรง ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า เป็นการออกแบบที่อุปมาถึง สัตว์ในป่าหิมพานต์ หรือนาค ในคติความเชื่อเรื่องจักรวาล โดยนาคนั้น ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนของน้ำและความอุดมสมบูรณ์ และเป็นตัวแทนของสายรุ้ง ที่เชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ในแนวคิดเดียวกันกับการสร้างบันได นาคบริเวณด้านหน้าของวัดนั่นเอง สำหรับปราสาทเฟื้องหมายถึง องค์ประกอบตกแต่งบริเวณกึ่งกลางของสันหลังคาพระวิหาร มักทำเป็นรูปปราสาทเรียงกัน 7 ชั้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นแนวคิดในการออกแบบที่มีการอุปมาถึง เขาสัตตบริภัณฑ์ ในเรื่องคติจักรวาล ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับ การออกแบบ สัตตภัณฑ์ หรือเชิงเทียน 7 ชั้นที่อยู่ ภายในวิหาร ค้ำ ยัน บางครั้งเรียกว่า หูช้าง หรือนาคทัณฑ์ เป็นไม้แกะสลักรูปนาค หรือลวดลายพันธุ์พฤกษา ประดับอยู่บริเวณเสาด้านข้างของอาคาร ทำหน้าที่เป็นไม้ค้ำยันรองรับน้ำหนักชายคาของหลังคาด้านข้าง ภาพ จิตรกรรมฝาผนัง และลวดลายประดับภายอาคาร วิหารล้านนานิยมประดับตกแต่งผนังด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังหรือลวดลายทอง สำหรับจิตรกรรมฝาผนังนั้นมักเขียนด้วยสีฝุ่น เรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ หรือนิทานชาดก พร้อมทั้งแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวล้านนา ไว้ด้วย สำหรับลวดลายทอง นิยมประดับบริเวณผนังด้านหลังของพระประธาน รวมทั้งโครงสร้างส่วนต่างๆ เช่น เสา คาน เพดาน เป็นต้น ลวดลายทองมักเขียนด้วยเทคนิคฉลุลายทองผ่านกระดาษ (Stencil) มักทำเป็นลวดลายเทวดา โปรยดอกไม้ด้านหลังพระประธาน ส่วนบริเวณเสา หรือโครงสร้างทำเป็นรูปลวดลายพันธุ์พฤกษา รูปโคม และรูปหม้อน้ำมนต์ (เรียกว่าหม้อบูรณะฆฏะ) ลายทองเหล่านี้เชื่อว่าสร้างเพื่อเป็นพุทธบูชา ในความหมายของการสรรเสริญ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง อย่างไรก็ตาม ลายทองเหล่านี้มีประโยชน์อีกประการหนึ่ง คือทำให้ภายในวิหารเกิดความสว่างไสว อันเกิดจากแสงที่กระทบจากภายนอก ซึ่งเชื่อว่าช่างในอดีตตั้งใจที่จะทำให้เกิดมิติและบรรยากาศแห่งศรัทธา เปรียบประดุจสรวงสวรรค์ด้วยอีกประการหนึ่ง ซุ้มประตู ประตูทางเข้าวิหารด้านหน้า ส่วนใหญ่ (ยกเว้นวิหารโถง) มักประดับด้วยซุ้มประตู ทำเป็นกรอบประตูที่มีเสาก่อขึ้นไป และทำวงโค้งด้านบน เรียกว่า ซุ้มประตูโขง ลักษณะคล้ายกับ ประตูโขงบริเวณทางเข้าของวัด วงโค้งด้านบนประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษานาคหรือสัตว์ในป่าหิมพานต์ ซึ่งป่าหิมพานต์ดังกล่าวนี้ เป็นตัวแทนของทางเข้าชมพูทวีป ซึ่งหมายถึงโลกมนุษย์ ในคติความเชื่อเรื่องจักรวาล นั่นเอง

ลวด ลายสัตว์ เทวดา และยักษ์ต่าง ๆ ทั้งวิหาร และอาคารประเภทอื่นๆ ภายในวัดมักจะมีการประดับด้วยสัตว์ต่างๆ เช่น นาค มกร มอม กิเลน สิงห์ เป็นส่วนประกอบ สัตว์เหล่านี้ สันนิษฐานว่าเป็นตัวแทนของสัตว์ในป่าหิมพานต์ตามความเชื่อเรื่องจักรวาล และยังเป็นตัวแทนของอารักษ์หรือผู้คุ้มครองศาสนาสถานอีกทางหนึ่ง

ส่วนเทวดา และยักษ์ เป็นอารักษ์ผู้ดูแลศาสนสถาน และผู้เป็นตัวแทนของการสรรเสริญพระบารมีขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

ความแตกต่างของ วิหารและอุโบสถ ในวัฒนธรรมล้านนา

ในวัฒนธรรมล้านนา มีงานสถาปัตยกรรมอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับวิหาร ทั้งในแง่ของการจัดแผนผัง และรูปทรง เรียกว่า อุโบสถ หรือโบสถ์ พระอุโบสถในล้านนา เป็นอาคารขนาดเล็กที่ใช้สำหรับการทำสังฆกรรม ซึ่หมายถึง กิจกรรมหรือการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับหมู่สงฆ์เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับ ฆารวาส ซึ่งการทำสังฆกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่ การบวช และการสวดโอวาทปฏิโมก (การสวดทุกวันขึ้น 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ) เป็นต้น ในวัฒนธรรมล้านนาไม่นิยมสร้าง อุโบสถ เนื่องจากมีวัฒนธรรมในการใช้โบสถ์ร่วมกัน ดังนั้น ในชุมชนหนึ่งๆ อาจมีโบสถ์เพียง 1 หลัง ต่อวัด 5-10 วัด โดยมีวัดที่มีอุโบสถเป็นผู้นำ เรียกว่าหัวหมวดอุโบสถ ดังนั้นวิหารจึงมีความสำคัญมากกว่า อุโบสถมาโดยตลอด อีกทั้งการบวชบางครั้งไม่จำเป็นต้องกระทำในอาคาร เพียงกำหนดขอบเขตสีมา ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่บริสุทธิ์เท่านั้นก็เพียงพอต่อการทำพิธี ในอดีตบางครั้งจึงมีบวชกันกลางน้ำ กระทำบนแพขนาน ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่บริสุทธิ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่ง

ตัวอาคารของอุโบสถ กับวิหาร มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้งทางด้าน แผนผัง รูปทรงและการตกแต่ง เราสามารถสังเกตได้จาก ขนาดของอาคาร ซึ่งอุโบสถมักสร้างให้มีขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งมีการกำหนดเขตบริสุทธ์ เรียกว่าเขตสีมา ด้วย ก้อนหิน หรือใบเสมา ดังนั้นเราสามารถสังเกตุความแตกต่างของอาคารทั้งสองได้ด้วยสัญลักษณ์เสาเสมา หรือใบเสมาดังกล่าวนี้เป็นสำคัญ

วิหาร หรือ วิหาระ ( Vihara ) ในความหมายเดิมสมัยพุทธกาล หมายถึงสถานที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ แต่ต่อมาความหมายได้กลายมาเป็นความหมายของวัดไป ความหมายของวิหารในปัจจุบันจึงหมายถึงอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งสามารถใช้ประกอบพิธีกรรมในกิจของสงฆ์หรือพิธีกรรมอื่นที่ประชาชนสามารถ เข้าไปใช้สอยร่วมกันได้ ดังนั้นภายในวิหารของล้านนาจึงมักมีเครื่องใช้ประกอบศาสนพิธี ซึ่งเครื่องใช้เหล่านั้นมักประกอบด้วย

อาสนะสงฆ์ ที่จะอยู่ทางด้านขวาของพระประธาน

ธรรมมาสน์คือที่สำหรับแสดงธรรมมักวางใกล้กับอาสนะสงฆ์

สัตตภัณฑ์ เป็นเครื่องสักการะใช้สำหรับจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย ตั้งอยู่หน้าพระประธาน

ขันแก้วตังสาม คือพานที่ใช้สำหรับวางข้าวตอก ดอกไม้ บูชาพระรัตนตรัย วางไว้กลางวิหารระหว่างเสาคู่แรกหน้าพระประธาน

ขันขอศีล ใช้บูชาศีลตั้งถัดมาจากขันแก้วตังสาม

ขันนำทาน คือพานดอกไม้ที่ใช้ประเคนของที่หนักเกินไปตั้งถัดมาจากขันขอศีล

แว่นสายตาพระเจ้า หมายถึงการเกิดพระญาณ

กระถางธูป

องค์ประกอบของโครงสร้างวิหารล้านนา

โครงสร้างหลังคาของวิหารล้านนา นิยมสร้างด้วยเครื่องไม้ใช้ระบบเสาและคานในการรับน้ำหนัก โครงสร้างที่ถ่ายทอดน้ำหนักนี้เรียกว่า ระบบขื่อม้าต่างไหม ซึ่งปรากฏชื่อนี้ในเอกสารตั้งแต่รัชกาลพญามังรายคราวสร้างวิหารวัดกานโถม เวียงกุมกาม การเรียกชื่อขื่อม้าต่างไหมได้ชื่อมาจากลักษณะการบรรทุกของบนหลังม้าไปขายบน เส้นทางของพ่อค้าม้าต่างในล้านนา เครื่องไม้ที่ใช้ในระบบขื่อม้าต่างไหมนี้มี แปอ้าย แปยี่ เสาสะโก๋น กล๋อนลาด กั้นฝ้า ขื่อหลวง ขื่อยี่ เป็นต้น

ผนังอาคาร วัสดุที่ใช้สร้างมีทั้งก่ออิฐถือปูนหรือเป็นฝาผนังไม้ ผนังวิหารมักเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมีทั้งแบบบานเปิดธรรมดา แบบฝาไหล หรือแบบซี่ลูกมะหวด แต่ถ้าเป็นช่องรูปกากบาดด้านท้ายวิหารจะเรียกว่า ช่องตีนกา หรือ ปล่องจงกล

เครื่องประดับของวิหารล้านนา มีทั้งส่วนที่ใช้ประดับเชิงคติทางศาสนา ส่วนที่ประดับเพื่อความงาม และบางส่วนก็ผูกพันอยู่กับโครงสร้าง เครื่องประดับเหล่านั้นประกอบด้วย หน้าแหนบ คือรูปสามเหลี่ยมด้านหน้าและด้านหลังของโครงหลังคาวิหาร ช่องที่ปิดด้วยไม้ตามโครงสร้างม้าตั่งไหมนั้นเรียกว่า ดอกคอหน้าแหนบ ในส่วนของหลังคาปีกนกมีช่องสามเหลี่ยมก็เรียกว่า แหนบปีกนก

นาคขะตัน คือไม้ค้ำยันรูปสามเหลี่ยมที่รับน้ำหนักของชายคาลงมาที่เสาด้านข้างวิหาร ส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นรูปนาค

โก่งคิ้ว เป็นแผงไม้อยู่ใต้หน้าแหนบมีลักษณะเป็นแผงวงโค้ง ถ้าอยู่ที่ใต้แหนบปีกนกก็เรียกว่า โก่งคิ้วปีกนก มักมีลวดลายประดับอยู่เสมอ

แผงแล เป็นแผ่นไม้อยู่ระหว่างแปรับกลอนหลังคากับคอสองรับปีกนกด้านข้าง

ปากแล อยู่ด้านหน้าของแผงแล ที่เรียกว่าปากแลเพราะมักทำเป็นรูปปากนกแก้ว

ช่อฟ้า คือ องค์ประกอบส่วนบนสุดเหนือจั่วของวิหาร นิยมทำเป็นรูปพญานาค

หางหงส์ คือ เครื่องไม้ที่อยู่ปลายสุดของป้านลม นิยมสร้างรูปพญานาค และ บางแห่งก็เป็นรูปกระหนก

ปราสาทเฟื้อง คือ รูปจำลองปราสาทที่วางอยู่กลางสันหลังคามีความหมายเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุ

วิหารล้านนาอาจจะแบ่งแยกได้หลายประการ หากแบ่งตามลักษณะของผนังอาคารก็แยกเป็น

วิหารแบบเปิด

วิหารแบบนี้มักตั้งอยู่บนฐานเตี้ยๆ ที่ใช้เพียงเพื่อเป็นพื้นของอาคารเท่านั้น ผนังของวิหารเปิดโล่งทุกด้านยกเว้นห้องสุดท้ายด้านหลังที่จะก่ออิฐฉาบปูนทึบ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะต้องการป้องกันน้ำฝนสาดถูกพระประธานหรือโขงพระเจ้า ส่วนห้องด้านหน้านั้นอาจจะมีฝาย้อยห้อยใต้ท้องแปด้วยแต่ก็ยังอยู่เหนือระดับ ศรีษะอยู่ การที่มีฝาย้อยก็สามารถป้องกันการสาดของน้ำฝนที่จะเข้าไปด้านในวิหารได้ด้วย เหตุที่ผนังของวิหารกลุ่มนี้ต้องเปิดโล่งอาจเนื่องมาจากรูปแบบของหลังคา วิหารที่ต่ำมาก การเปิดโล่งอาจจะช่วยในการถ่ายเทอากาศและเปิดสายตาให้กับผู้ร่วมพิธีกรรมที่ ต้องนั่งรอบๆ วิหารหรือศาลาบาตร หรือในเชิงคติความเชื่อแล้วอาจเป็นการออกแบบที่มุ่งเน้นความเบาสบาย ไม่สร้างความอึดอัดแก่ผู้ที่เข้ามาในวิหาร ก่อให้เกิดสภาวะลอยสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นการชักจูงให้คนเข้ามาปฏิบัติธรรมเพื่อนำสู่นิพพาน โดยส่วนใหญ่แล้ววิหารแบบนี้มักจะมีขนาดเล็ก กะทัดรัด ตัวอย่างของวิหารแบบนี้ที่มีขนาดใหญ่น่าจะได้แก่ วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ( รูปที่ ) วิหารกลุ่มนี้เป็นกลุ่มวิหารรุ่นเก่าราวพุทธศตวรรษที่ 23 ที่พบมากจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของวิหารสกุลช่างลำปาง (รูปวิหารน้ำแต้ม หรือ วิหารวัดปงยางคก)

วิหารแบบปิด

คือวิหารที่มีผนังปิดทึบทั้งสี่ด้าน ผนังด้านท้ายสุดอาจจะมีการเจาะช่องช่องกากบาด (ปล่องจงกล ) เพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศและต้องการแสงสว่างด้วย ผนังด้านข้างมีทั้งที่สร้างด้วยอิฐฉาบปูนปิดตั้งแต่ฐานถึงใต้ท้องแป บางแห่งก็ก่อถึงแค่เสมอกรอบหน้าต่างด้านบนเป็นฝาไม้ บางแห่งก็สร้างเป็นฝาไม้ลายตาผ้าทั้งหมด ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างที่มีทั้งเป็นบานหน้าต่างเปิด แบบฝาไหล หรือ แบบลูกมะหวด ผนังด้านหน้ามีประตูทางเข้าที่มีประตูใหญ่เข้าตรงกลาง หรืออาจมีประตูเล็กขนาบข้าง หน้าประตูนิยมสร้างซุ้มโขงประดับลวดลายปูนปั้น ผนังห้องด้านหน้าสุดที่เป็นมุข บางแห่งก็เปิดโล่ง บางแห่งก่ออิฐฉาบปูนขึ้นมาเสมอเข่าแล้วตั้งลูกกรงลูกมะหวดต่อเนื่องด้วยฝา ย้อย

หากแยกตามแผนผังก็แยกได้เป็น

แผนผังแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จ

แผนผังของวิหารแบบนี้ได้รับความนิยมในการสร้างมากที่สุด เพราะพบเป็นจำนวนมากกว่าแบบอื่น แผนผังของวิหารเริ่มจากแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จออกทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง จำนวนการยกเก็จของแผนผังนั้นมีความสัมพันธ์กับการลดหลั่นของชั้นหลังคาด้วย ตามปกติแล้วการยกเก็จออกทางด้านหน้าจะยกมากกว่าด้านหลัง 1 เสมอ ยกเก็จด้านหลังสุดใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชี ด้านหน้าสุดใช้เป็นมุขโถง ด้านหน้าที่เป็นบันใดทางขึ้นนั้นในวิหารรุ่นเก่ามักจะมีหลังคลุม แต่การซ่อมแซมในระยะหลังได้รื้อทิ้งกันเป็นส่วนใหญ่ วิหารบางแห่งทางด้านข้างอาจมีมุขต่อออกไปเป็นทางขึ้นลงของพระสงฆ์ด้วย วิหารที่มีการยกเก็จทั้งด้านหน้าด้านหลังในจำนวนที่เท่ากันนั้นพบน้อยมาก ตัวอย่างที่เด่นชัดได้แก่ วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่ยกเก็จเพียงครั้งเดียวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ยังมีวิหารที่มีแผนผังของคูหาที่ต่อเนื่องจากท้ายวิหาร ซึ่งมีความหมายเป็น คันธกุฎี คือที่พักผ่อนอิริยาบถของพระพุทธเจ้า วิหารแบบนี้พบจำนวนน้อยเช่นกัน ที่สำคัญได้แก่ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เชียงใหม่ แผนผังแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ยกเก็จ

บางครั้งเรียกว่า วิหารทรงโรง เนื่องจากมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำให้มีลักษณะเป็นกล่องทรงสี่ เหลี่ยม พื้นที่ของวิหารมักแคบและความสูงของผนังมีมากกว่าวิหารแบบพื้นเมือง ทั้งนี้เพราะเป็นการได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาคกลางของประเทศไทย แต่ได้นำมาผสมผสานกับองค์ประกอบทางศิลปกรรมและลวดลายแบบพื้นเมืองจึงเกิด เป็นรูปแบบที่นิยมในยุคหลัง แต่สำหรับโครงสร้างหลังคานั้นยังมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าและหลัง และบางหลังมีการลดชั้นหลังคาด้านข้างด้วย ทั้งๆ ที่แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า การลดชั้นนั้นเกิดจากการลดชั้นบนโครงสร้างของหลังคาไม่เกี่ยวกับการยกเก็จ ของผังพื้นแต่อย่างใด ตัวอย่างวิหารทรงนี้ขนาดใหญ่ได้แก่ วิหารวัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ เป็นต้น

แผนผังแบบจัตุรมุข

แผนผังของวิหารแบบนี้เริ่มต้นจากผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากนั้นขยายออกทั้งสี่ด้าน พื้นที่ของมุขที่ขยายออกนั้นลดขนาดลงไปจากผังใหญ่ จึงมีรูปคล้ายเครื่องหมายบวก วิหารแบบจัตุรมุขในล้านนามีไม่กี่แห่ง แผนผังของวิหารแบบนี้ที่ชัดเจนได้แก่ วิหารวัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน แผนผังวิหารวัดภูมินทร์ส่อเค้าว่าต้นแบบน่าจะมาจากศิลปกรรมพม่า เพราะตรงกลางวิหารมีแท่งสี่เหลี่ยมรองรับน้ำหนักจากยอดหลังคา โดยรอบของแท่งสี่เหลี่ยมมีพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ทุกด้าน ซึ่งเป็นโครงสร้างของสถาปัตยกรรมพม่าตั้งแต่เมืองพุกามแล้ว อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของโครงสร้างหลังคาและซุ้มประตู ยังเป็นอิทธิพลจากศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ที่ผสมผสานกับแบบศิลปะพื้นเมืองแล้ว ส่วนวิหารที่วัดพระ

หากแยกตามลักษณะของกลุ่มชนที่เด่นๆได้แก่

วิหารแบบพม่า

วิหารประเภทนี้จัดเป็นอาคารเอนกประสงค์ เพราะเป็นสถานที่ที่เป็นทั้ง กุฏิ ศาลา หอฉัน โรงครัว และเป็นสถานที่สอนและฟังธรรมสำหรับประชาชน ดังนั้นพื้นที่ภายในของอาคารจึงเปิดโล่ง จะมีการกั้นบริเวณเฉพาะที่ใช้เป็นสถานที่ส่วนตัว เช่น กุฏิ เท่านั้น พื้นที่อื่นๆจะถูกแยกออกจากกันด้วยระดับของพื้นที่ต่างกัน บริเวณที่สูงที่สุดคือบริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งจะมีลวดลายตกแต่งมาก มาย บริเวณนี้เรียกว่า ข่าปาน ระดับต่อมาจะเป็นที่ประกอบพิธีกรรมของสงฆ์ ระดับต่ำที่สุดคือบริเวณที่ฟังธรรมของฆราวาส เนื่องจากการมีพื้นที่ใช้สอยหลายประเภทอยู่ร่วมกัน จึงทำให้ขนาดของวิหารประเภทนี้มีความใหญ่โตมากกว่าวิหารแบบพื้นเมืองล้านนา เอกลักษณ์ของวิหารประเภทนี้คือทรงของหลังคาที่ซ้อนลดกันหลายชั้น หลังคาที่ยกคอสองสองชั้นและทิ้งชายคาลงมาสามตับ ชาวไทใหญ่เรียกว่า เจตบุน ถ้ายกคอสองสามชั้นทิ้งชายลงสี่ตับเรียกว่า ยอนแซก หากต้องการซ้อนชั้นที่สูงกว่านี้ก็จะทำซ้อนกันแบบเรือนยอดทรงปราสาท ซึ่งแต่ละด้านของแต่ละชั้นมักจะทำเป็นซุ้มประดับลวดลายด้วย ที่หลังคาของวิหารมักมีลวดลายตกแต่งแต่เดิมเป็นแผ่นไม้ฉลุลาย ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโลหะประเภทสังกะสีผสมดีบุกฉลุลายแทน แผ่นที่ตกแต่งเป็นเชิงชายเรียกว่า ปานซอย แผ่นตกแต่งที่อยู่เหนือเชิงชายเรียกว่า ปานต่อง และส่วนที่ประดับมุมเรียกว่า กะหลุงต่อง

วิหารแบบไทลื้อ

วิหารแบบนี้มักจะมีผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นวิหารแบบปิดที่ผนังทั้งสี่ด้านก่อด้วยอิฐฉาบปูนตั้งแต่พื้นจรดหลังคา ผนังของอาคารใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักของหลังคาไปพร้อมๆกันจึงมีขนาดค่อน ข้างหนา เนื่องจากการใช้ผนังเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักทำให้โครงสร้างที่รับนำหนักของ หลังคาภายในวิหารจึงมีเสาคู่กลางเพียงคู่เดียว การถ่ายเทของน้ำหนักหลังคาใช้ระบบขื่อและคานอย่างง่ายๆ ผนังด้านข้างของวิหารจะเจาะเป็นช่องหน้าต่างขนาดเล็ก สัดส่วนของวิหารค่อนข้างเตี้ย ทั้งนี้เพราะชายหลังคาของวิหารจะปิดคลุมทั้งสี่ด้าน การที่ทำชายคาค่อนข้างเตี้ยนั้นอาจเนื่องมาจากภูมิอากาศที่หนาวเย็นของ พื้นที่เดิมของกลุ่มชนไทลื้อ ที่มีต้นกำเนิดในสิบสองปันนา หลังคาของวิหารอาจจะทำได้มากกว่าสองชั้นก็ได้ โดยชั้นบนสุดจะเป็นโครงสร้างแบบหน้าจั่ว

ลักษณะเฉพาะของวัดในวัฒนธรรมล้านนาและการจัดแผนผัง

วัดในวัฒนธรรมล้านนาแบ่งตามแนวทางปฏิบัติของสงฆ์ได้เป็น 2 ฝ่าย คือวัดฝ่ายคามวาสี และ วัดฝ่ายอรัญวาสี(วัดป่า) วัดฝ่ายคามวาสีจะมุ่งเน้นการปฏิบัติและการศึกษาทางด้านพระธรรมคัมภีร์ บางครั้งเรียกว่าฝ่าย คันถธุระ แปลว่าคัมภีร์ หมายถึงการมุ่งเน้นศึกษาเพื่อให้รู้ถึง พุทธพจน์ พระธรรมวินัย และพระอภิธรรมต่าง ๆ ส่วนพระฝ่ายอรัญวาสีนั้น จะมุ่งเน้นการปฏิบัติด้วยการ วิปัสสนาธุระ หรือการทำให้จิตใจสงบ เพื่อพัฒนาจิตไปสู่พระนิพพาน พระสงฆ์ฝ่ายนี้จึงมักจะปลีกความวุ่นวายจากเมืองไปสร้างวัดอยู่ไกลจากชุมชน ส่วนวัดฝ่ายคามวาสีมักจะอยู่ใกล้ชิดกับชุมชน

ในอดีต วัดที่มีความสำคัญมาก มักจะถูกเรียกว่าวัดหลวงหมายถึงวัดที่ได้รับการอุปถัมภ์โดยตรงจากพระมหา กษัตริย์ ส่วนวัดที่ไม่มีความสำคัญ หรือมีความสำคัญน้อย จะถูกเรียกว่าวัดราช โดยหมายถึงวัดที่อยู่ภายในชุมชน อุปถัมภ์โดยชาวบ้านหรือสามัญชนทั่วไป ซึ่งวัดสองกลุ่มนี้ การสร้างงานสถาปัตยกรรมภายในมักมีความแตกต่างกันทางด้านฝีมือการก่อสร้าง อย่างชัดเจนลักษณะเด่นของวัดในวัฒนธรรมล้านนา มักจะแบ่งพื้นที่ใช้สอย ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

  1. เขต พุทธาวาส หมายถึงพื้นที่สมมุติ ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของสงฆ์และ ฆารวาสเป็นที่ตั้งของ สถูป เจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร หอกลอง-หอระฆัง ซุ้มโขง และศาลาบาตร เป็นต้น ภายในเขตพุทธาวาส มักมี พระธาตุเจดีย์ หรือพระวิหาร เป็นประธานของวัด ซึ่งภายในวิหารจะประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ส่วนภายในองค์พระธาตุเจดีย์จะเป็นที่บรรจุอัฏฐิธาตุของพระพุทธเจ้าหรือพระ สาวก ซึ่งอาคารสองหลังนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ในฐานะประธานของพุทธศาสนา ซึ่งจะรับรู้ในทุกกิจกรรมทางศาสนาที่เกิดขึ้นภายในวัด สอดคล้องกับความหมายของคำว่า พุทธาวาส ซึ่งมาจากคำว่า พุทธ + อาวาส อันหมายถึง สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้านั่นเอง ผังวัดในล้านนาที่สมบูรณ์มักสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส หลายแห่งมักสร้างอยู่บนที่สูง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วและศาลาบาตร มีประตูทางเข้า 4 ทาง ทางเข้าหลักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือเส้นทางสัญจรหลัก เช่นแม่น้ำ ประตูทางเข้าหลักทางทิศตะวันออกนี้มักจะทำซุ้มประตูประดับด้วยลวดลายพันธุ์ พฤกษาหรือสัตว์ในเทพนิยาย เรียกว่า ซุ้มโขง โดยมีบันไดทางขึ้นเชื่อมต่อไปด้านล่าง พร้อมทั้งมีราวบันไดประดับด้วยรูปนาคทอดตัวยาวจากซุ้มประตูโขงลงสู่ด้านล่าง เช่นเดียวกัน เมื่อผ่านจากซุ้มประตูโขงเข้าไป จะเข้าสู่เขตพุทธาวาส ซึ่งมีพระวิหารและพระธาตุเจดีย์วางอาคารอยู่ในแนวเดียวกัน กับซุ้มโขงและบันไดทางขึ้น ในแนวแกนตะวันออกตะวันตก บริเวณโดยรอบจะประกอบไปด้วยอาคารอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น พระอุโบสถ หอไตร พระวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น พื้นที่โดยรอบมักปูด้วยลานทราย ซึ่งมีประโยชน์ในการดูดซับความชื้น ช่วยป้องกันอาคารที่สร้างด้วยไม้ ไม่ให้เสื่อมสภาพโดยง่าย ลักษณะแผนผังของวัด ในเขตพุทธาวาส ที่กล่าวมาข้างต้นเชื่อว่า เป็นการออกแบบที่แฝงไว้ด้วยแนวคิดที่มาจากคติความเชื่อเรื่องจักรวาล ซึ่งแนวคิดดังกล่าว น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู โดยเนื้อหาหลักของแนวคิดนี้ เป็นคติในการสร้างความสมดุลระหว่างโลกมนุษย์กับจักรวาลโดยเชื่อว่าหาก จักรวาลเล็กซึ่งหมายถึงโลก เกิดความสมดุลย์กับจักรวาลใหญ่แล้ว จะเกิดความอุดมสมบูรณ์และความสงบสุขขึ้นในโลกมนุษย์ ดังนั้นจึงออกแบบให้ผังวัดหรือศาสนสถานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัสอันเป็นตัว แทนของความสมดุลนั่นเอง แนวคิดเรื่องจักรวาลเชื่อว่าศูนย์กลางของจักรวาล จะประกอบไปด้วย เขาพระสุเมรุ ในศาสนสถานของเขมรจะแทนด้วย ปรางค์ประธานซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพสูงสุด คือพระศิวะ ส่วนในพุทธศาสนาจะแทนด้วย พระธาตุเจดีย์หรือพระวิหาร ในแนวคิดเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ซึ่งศูนย์กลางจักรวาลนี้จะเป็นเสมือนตัวแทนอำนาจของพระมหากษัตริย์ไปด้วยใน เวลาเดียวกัน ในแนวคิดที่เชื่อว่ากษัตริย์คือสมมติเทพที่อวตารมาจากเทพสูงสุดส่วนทางพุทธ ศาสนาก็เปรียบพระมหากษัตริย์เสมือนธรรมราชาซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า นั่นเององค์ประกอบทางด้านสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่อยู่ในผัง ล้วนสร้างโดยมีแนวคิดสอดคล้องกับคติจักรวาลทั้งสิ้น อาทิเช่น กำแพงสี่เหลี่ยมเปรียบเสมือนกำแพงจักรวาล พื้นทราย เปรียบเสมือนทะเลศรีทันดร ซุ้มโขง คือทางเข้าของป่าหิมพานต์ ปราสาทเฟื้องบนสันหลังคาของพระวิหาร เปรียบเสมือนเขาสัตตบริภัณฑ์เจ็ดชั้น เป็นต้น ซึ่งการอุปมาอุปมัยดังกล่าวล้วนเป็นเรื่องราวที่จำลองแผนผังของจักรวาลตาม ความเชื่อทางพุทธศาสนาลงไว้ในโลกมนุษย์เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง และแผนผังของวัดตามคติจักรวาลดังกล่าวนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่ได้กลายมาเป็นเสมือนสิ่งที่กำหนดบทบาทความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวล้านนา ไปด้วยในขณะเดียวกัน เนื่องจาก เมื่อเขตพุทธวาสหมายถึง พุทธภูมิ หรือที่อยู่พระพุทธเจ้าผู้ที่บริสุทธิ์ หรือผู้ที่รู้แจ้งแล้ว ดังนั้น ภายในเขตพุทธวาสจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่บริสุทธิ์หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง สวรรค์ตามความเชื่อของโลกทัศน์ชาวล้านนาดังนั้นชาวล้านนาจึงให้ความเคารพต่อ ศาสนสถานและเชื่อว่าการเข้าสู่เขตพุทธวาส เป็นการเข้าสู่พื้นที่บริสุทธิ์ เข้าใกล้สภาวะของการนิพาน

  2. เขตสังฆาวาส มาจากคำว่า สงฆ์ + อาวาส หมายถึงพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของอาคารอันเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมและ วัตรปฏิบัติของสงฆ์ ได้แก่ กุฏิ หอฉันเวจกุฏี(สุขา) ที่สรงน้ำโรงครัว ศาลา เป็นต้น ส่วนใหญ่มักแยกกันจากเขตพุทธาวาสอย่างเด็ดขาด แต่มักมีทางเชื่อมถึงกันได้โดยง่าย ในอดีตเขตสังฆาวาสอาจใช้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยของภิกษุสงฆ์ สามเณร และเป็นที่เรียนของเด็กวัดไปด้วยในขณะเดียวกัน

  3. เขตธรณีสงฆ์ ได้แก่ ข่วงวัด ที่เผาศพ ป่าช้า สวนป่า และที่ว่างอื่นๆ หมายถึงพื้นที่สาธารณะ ที่สามารถใช้ได้ร่วมกันทั้งสงฆ์และฆารวาส ข่วงวัดหรือที่ว่างด้านหน้าวัดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก วัดสำคัญๆ ในอดีต มักมีข่วงขนาดใหญ่ไว้ทางด้านทิศตะวันออก ใช้เป็นที่รวมพลและสร้างขวัญกำลังใจของทหารก่อนทำศึกสงคราม นอกจากนั้นยังเป็นจุดแวะพักของนักเดินทางหรือขบวนคารวานสินค้าต่างๆ บริเวณนี้จึงมักมีบ่อน้ำใช้ รวมถึงมีต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ร่มเงา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของสิ่งเหนือธรรมชาติที่เป็นอารักษ์ของศาสน สถาน นอกจากนี้ในช่วงที่มีเทศกาล ข่วงหน้าวัดมักจะถูกใช้เป็นที่ทำกิจกรรมรื่นเริงประจำปีต่างๆ อีกด้วย

ลักษณะงานสถาปัตยกรรม ประเภทเจดีย์

เจดีย์ เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า เจติยะ หมายถึงสิ่งของหรือสถานที่อันควรแก่การเคารพ ในวัฒนธรรมล้านนา บางครั้งเรียกพระธาตุ หรือกู่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บพระอัฎฐิธาตุของพระพุทธเจ้า สาวก หรือพระอรหันต์ มักสร้างเป็นประธานของวัดควบคู่กับพระวิหาร วางอยู่ในแนวแกนเดียวกับพระวิหาร ชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่านอกจากเจดีย์จะเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและเป็น ศูนย์ของจักรวาลแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนวิถีแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอีกด้วย โดยอุปมาว่าส่วนฐานของเจดีย์เปรียบเสมือน ภาวะแห่งกิเลสตัณหาของมนุษย์ เรียกว่ากามภูมิ คือภูมิที่จิตใจมนุษย์นั้นยังหยาบกระด้าง ยังคงมีการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนองค์ระฆังเรียกว่า รูปภูมิ หมายถึงจิตมนุษย์ ที่บริสุทธิ์ และส่วนยอดคือ อรูปภูมิ ภูมิ หรือจิตที่ละเอียดอ่อน ซึ่งไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอันหมายถึง พระนิพพาน ตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนานั่นเอง โดยมีความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำปีเกิด(พระเจดีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของนัก ษัตริย์ มี 12 องค์ ) ผนวกไว้ด้วยในแนวคิดเดียวกัน

ลักษณะของพระเจดีย์ล้านนาสามารถแบ่งประเภทออกได้สองแบบใหญ่ๆ คือ เจดีย์ทรงกลม(บางครั้งเรียกทรงระฆัง) และ เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงกลม เป็นเจดีย์ที่มีเรือนธาตุ เป็นรูปทรงกลมคล้าย องค์ระฆังคว่ำ ซึ่งต้นกำเนิดและพัฒนาการนั้นสันนิษฐานว่ามาจากเจดีย์สาญจี ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งในประเทศอินเดียเรียกเจดีย์รูปครึ่งวงกลม กว่า อัณฑะ หรือ ครรภะ ซึ่งหมายถึงศูนย์กลางจักรวาล สอดคล้องกับคติความเชื่อในเรื่องจักรวาล และเขาพระสุเมรุ นั่นเอง รูปแบบเจดีย์ดังกล่าวนี้ล้านนาน่าจะรับอิทธิพลมาจาก ประเทศ ศรีลังกา ผ่านมาจากอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพญากือนา

องค์ประกอบที่สำคัญของเจดีย์ทรงระฆัง ประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนองค์ระฆัง และส่วนยอด สำหรับส่วนฐานทำเป็นฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น 2-3 ชั้น เรียกว่าฐานเขียง ทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนบนของอาคาร เหนือจากฐานเขียงเรียกว่า ฐานบัว เป็นฐานสี่เหลี่ยมที่ออกแบบคล้ายรูปดอกบัวสี่เหลี่ยมที่มีกลีบบัวคว่ำและบัว หงาย ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วซ้อนชั้นกันขึ้นไป สามชั้น ซึ่งออกแบบเป็นรูปดอกบัวทรงกลมเช่นเดียวกัน ถัดจากช่วงฐานจะเป็นส่วนองค์ระฆังหรือส่วนเรือนธาตุของเจดีย์ จะออกแบบเป็นรูปทรงกลมคล้ายรูประฆังคว่ำ บางแห่งมีการประดับด้วยลวดลายรูปกระจัง สำหรับส่วนยอดนั้นจะเริ่มต้นด้วยบัลลังก์ ซึ่งทำเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กวางเหนือองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปทำเป็นปล้องไฉน ปลียอด และเม็ดน้ำค้างในส่วนปลายสุด

สำหรับวัสดุที่ใช้ในการสร้างเจดีย์ ส่วนใหญ่มักก่อด้วยอิฐฉาบปูนทั้งองค์ ตกแต่งตัวองค์เจดีย์ด้วยแผ่นโลหะที่มีส่วนผสมระหว่าง ดีบุก ตะกั่ว และทองแดง ซึ่งภาษาช่างเรียกว่า ทองจังโก๋ ส่วนใหญ่มักเจดีย์มักหุ้มด้วยจังโก๋ทั้งองค์ และปิดด้วยทองคำเปลว อีกชั้นหนึ่ง บริเวณตัวองค์ระฆังบางครั้งนิยมดุนเป็นลวดลายหรือจารึกต่างๆ เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าหรือผู้ที่สร้าง

เจดีย์ทรงปราสาท หมายถึงเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยม ซ้อนชั้น คล้ายรูปทรงปราสาทหรือที่อยู่ของกษัตริย์ เจดีย์รูปทรงนี้เชื่อว่าพัฒนาการมาจากเจดีย์ทรงศิขรของอินเดีย ในช่วงต้นของวัฒนธรรมล้านนา นิยมสร้างเจดีย์ทรงปราสาทที่มีการซ้อนชั้นมีซุ้มประดิษฐานโดยรอบทุกชั้น ตัวอย่างเช่นเจดีย์เหลี่ยมที่วัดจามเทวี และเจดีย์เหลี่ยมที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน เป็นต้น ต่อมาจึงพัฒนาการเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีเรือนธาตุและมีซุ้มประดิษฐานพระ พุทธรูปภายในชั้นเดียว และมีส่วนยอดทำเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กซ้อนชั้นขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ทรงปราสาทล้านนา

ลักษณะของเจดีย์ทรงปราสาท ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนฐาน และส่วนยอด สำหรับส่วนฐานนั้นทำเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกับกับเจดีย์ทรงกลม เรียกว่าฐานเขียง และมักทำซ้อนชั้น 2-3 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดซึ่งมักจำลองเอาส่วนยอดของเจดีย์ทรงกลมมาใช้ในลักษณะ เดียวกัน

ชาวล้านนามักเรียกว่า ธาตุ หรือ กู่ เหตุที่เรียกเนื่องจากส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้บรรจุอัฐิธาตุทั้งสิ้น และคำว่า กู่ นั้น เข้าใจว่าเป็นคำที่มาจากภาษาพม่า เจดีย์ในศิลปะล้านนาที่สำคัญมีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ เจดีย์ทรงระฆัง และ เจดีย์ทรงปราสาท แต่ยังมี เจดีย์แบบอื่น ที่แตกต่างออกไปด้วยเช่นกัน

เจดีย์ทรงระฆัง เหตุที่เรียกว่าทรงระฆังนั้นเพราะองค์ประกอบสำคัญของเจดีย์แบบนี้คือ องค์ระฆัง ซึ่งต้นกำเนิดนั้นคงมาจากรูปโดมครึ่งวงกลมของสถูปในประเทศอินเดียที่เรียก ว่า อัณฑะ หรือ ครรภะ ที่มีความหมายถึงศูนย์กลางจักรวาล ลักษณะของอัณฑะรูปครึ่งวงกลมนั้นเมื่อแพร่กระจายไปในดินแดนต่างๆ ก็มีพัฒนาการต่างกันไป เจดีย์ทรงระฆังของล้านนาอาจแยกได้ 3 กลุ่มคือ

เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มที่ 1 เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกาที่ผ่านจากศิลปะพม่าแบบพุกามแล้ว พัฒนาไปเป็น รูปแบบของเจดีย์พื้นเมือง

เจดีย์ที่วัดอุโมงค์เถรจันทร์ คาดว่าคงสร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 และเป็นหลักฐานที่อาจยืนยันถึงอิทธิพลทางศิลปะจากพุกามได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ยืนยันได้ค่อนข้างชัดเจนคือ ฐานปัทมในผังกลมซ้อนลดหลั่นกันสามฐาน ที่ท้องไม้ของแต่ละฐานเจาะช่องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นความนิยมที่สร้างกันในศิลปะพม่าที่พุกาม หลักฐานทางศิลปกรรมพ้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ระบุถึงการอาราธนาพระ มหาสามีอุทุมพรจากเมืองพัน มาเชียงใหม่ในราวต้นรัชกาลของพญากือนา อย่างไรก็ตามเจดีย์องค์นี้มีการบูรณะอย่างต่อเนื่องดังที่ระบุไว้ในชินกาล มาลีปกรณ์ว่า มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เจดีย์องค์นี้ด้วย หลักฐานทางศิลปกรรมที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับเหตุการณ์เมื่อกลางพุทธศตวรรษ ที่ 21 คือ ประติมากรรมเทวดาที่ประดับรอบก้านฉัตร แต่ส่วนยอดที่เป็นปัทมบาทนั้นคงสร้างขึ้นหลังจากที่มีความนิยมสร้างเจดีย์ แบบศิลปะพม่ารุ่นหลังแล้ว

เมื่อพ.ศ.1916 พญากือนาได้ยกอุทยานของพระองค์ให้เป็นวัด เพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระสุมนเถร เจดีย์ประธานของวัดคงจะสร้างขึ้นพร้อมกับคราวแรกที่สร้างวัดด้วย เนื่องจากพระสุมนเถรเป็นพระที่พญากือนาอาราธนามาจากเมืองสุโขทัย การผสมผสานทางด้านศิลปกรรมระหว่างศิลปะสุโขทัยกับศิลปะพุกาม ที่น่าจะแพร่หลายอยู่แล้วในล้านนาจึงปรากฏขึ้น แผนผังของเจดีย์วัดสวนดอก มีลักษณะคล้ายกับการยึดถือคติของพระธาตุศักดิ์สิทธ์ของศิลปะสุโขทัย คือมีเจดีย์บริวารล้อมรอบองค์ประธาน แต่การมีซุ้มโขงในแต่ละด้านนั้นกลับเป็นแบบประจำของศิลปะพุกาม ในขณะที่เจดีย์ประธานกับเจดีย์บริวารยังคงความเป็นเจดีย์พื้นเมืองที่พัฒนา จากเจดีย์วัดอุโมงค์เถรจันทร์ แต่ช่องสี่เหลี่ยมบริเวณท้องไม้ของฐานปัทมได้หายไปแล้ว จากภาพถ่ายเก่าพบว่าฐานเดิมของเจดีย์มีช้างยืนล้อมรอบ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสร้างหลายแห่งในศิลปะสุโขทัย เจดีย์องค์ปัจจุบัน เจดีย์บริวาร รวมทั้งซุ้มโขง เข้าใจว่าคงซ่อมครั้งใหญ่คราวครูบาศรีวิชัยเมื่อพ.ศ. 2474 ตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ บัลลังก์ประดับกระจก จืน ก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลี

ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา เจดีย์ทรงระฆังพื้นเมืองนี้คงปรับรูปแบบที่สมบูรณ์มากขึ้น โดยส่วนฐานเป็นฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกันรับฐานปัทมลูกแก้วอกไก่ยกเก็จ ต่อเนื่องด้วยฐานปัทมลูกแก้วอกไก่ในผังกลมซ้อนลดหลั่นกันสามฐาน รับองค์ระฆังกลมและยอด ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัย ที่ถึงแม้ว่าตำนานจะระบุระยะเวลาการสร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้าอาทิตยราชราว พุทธศตวรรษที่ 17 แต่เข้าใจว่าตามพัฒนาการของรูปแบบที่เห็นอยู่ในปัจจุบันควรเป็นงานซ่อมใน รัชกาลของพระเจ้าติโลกราชเมื่อพ.ศ. 1990

รูปแบบที่สูงเพรียวขึ้นของเจดีย์ทรงนี้อันเนื่องมาจากการเพิ่มความสูงของ ชั้นฐานบีบให้องค์ระฆังมีขนาดเล็กลงไปอีก น่าจะเป็นการพัฒนาการของรูปแบบราวพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว เช่น เจดีย์วัดปงสนุก เชียงแสน หรือเจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นคือ มีความนิยมเปลี่ยนแผนผังของฐานปัทมในผังกลมให้เป็นผังรูปแปดเหลี่ยม คาดว่าเป็นงานในรัชกาลของพระเมืองแก้ว เช่น เจดีย์วัดอาทิต้นแก้ว เจดีย์วัดแสนเมืองมา เชียงแสน และยังมีเจดีย์รูปแบบเดียวกัน แต่มีจระนำที่ส่วนฐานนับว่าแปลกออกไปคือ เจดีย์วัดธาตุโขง เชียงแสน คาดว่าคงมีความสัมพันธ์กับเจดีย์ในศิลปะพม่าที่พุกามในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ด้วย

การเพิ่มความสูงของฐานด้านล่างรวมทั้งการยืดสูงของฐานปัทม ทำให้ทรงของเจดีย์สูงขึ้นไปอีกที่เจดีย์วัดอีก้าง เวียงกุมกาม อ.สารภี ซึ่งควรเป็นงานซ่อมราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 แล้ว การเพิ่มความสูงของฐานอีกวิธีหนึ่งคือการเพิ่มจำนวนของฐานปัทมลูกแก้วอกไก่ ยกเก็จเป็นสองฐานซ้อนลดหลั่นกัน ตัวอย่างได้แก่ เจดีย์วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง ระยะเวลาคงเป็นการสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 22 เช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากตำนานของการสร้างวัดที่ระบุว่าสร้างตั้งแต่ครั้งพุทธกาล อันเป็นเอกลักษณ์ของการเขียนตำนานทางล้านนาที่มักจะอ้างอิงถึงความสำคัญของ พระธาตุต่างๆ โดยอ้างถึงการเสด็จมาแสดงพุทธทำนายของพระพุทธเจ้าเสมอ ระยะเวลาในการสร้างที่พิจารณาจากรูปแบบของศิลปะ น่าจะพ้องกับเหตุการณ์ที่ระบุในประวัติว่า มีการซ่อมครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุธโทธรรมราชาเมื่อ พ.ศ. 2179

เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มนี้ น่าจะมีการรื้อฟื้นรูปแบบขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 25 แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ในเมืองเชียงใหม่และลำพูนมีเจดีย์หลายองค์ที่สร้างในสมัยของครูบาศรีวิชัย เจดีย์ที่มีประวัติการสร้างแน่นอนองค์หนึ่งได้แก่เจดีย์ที่วัดพระนอนปูคา อ.สันกำแพง ความเด่นชัดของแท่งสี่เหลี่ยมอาจจะดูคล้ายกับเรือนธาตุของเจดีย์ทรงปราสาท บ้าง แต่ส่วนยอดและฐานปัทมในผังกลมก็มีความสูงเช่นกัน ทำให้แท่งสี่เหลี่ยมนั้นอาจเป็นรูปแบบของฐานปัทมที่ยกขึ้นสูงได้เช่นกัน ในขณะที่เจดีย์พระธาตุหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน สร้างโดยเจ้าอนันตวรฤิทธิเดช ฯ เมื่อพ.ศ. 2400 กลับมีฐานปัทมในผังสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการสร้างเจดีย์ของลาวด้วยส่วนหนึ่ง

เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มที่ 2 เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกาที่ผ่านจากศิลปะสุโขทัยเข้าสู่ล้านนาแล้วพัฒนา ต่อเนื่องสืบมา

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเจดีย์ทรงระฆังพื้นเมืองล้านนากับเจดีย์ทรงระฆัง ในศิลปะสุโขทัยนั้น อยู่ที่ชุดบัวถลากับชุดฐานปัทมที่รองรับองค์ระฆังเป็นสำคัญ ชุดบัวถลาในศิลปะสุโขทัยเป็นรูปวงแหวนรูปบัวคว่ำซ้อนกันสามชั้น ดังนั้นความสูงของชุดบัวถลาจึงน้อยกว่าชุดฐานปัทมของเจดีย์ทรงระฆังพื้น เมืองของล้านนา ความสูงต่ำของชุดบัวถลาจึงมีผลต่อรูปของทรงระฆังตลอดจนความสูงของรูปทรง เจดีย์

อิทธิพลของเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสุโขทัยที่ปรากฏในดินแดนล้านนา ถึงแม้จะมีบ้างที่เจดีย์วัดจอมหมอก เชียงแสน ซึ่งกำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 20 แต่ยังไม่เด่นชัดมากนัก รายละเอียดที่ชัดเจนพบที่เจดีย์วัดป่าแดง เชียงใหม่ ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นเจดีย์ที่ถ่ายแบบมาจากเจดีย์ประธานของวัดช้างล้อม เมืองศรีสัชชนาลัย ความชัดเจนของรูปแบบที่แสดงว่าเป็นอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยนอกจากชุดบัวถลา แล้ว ยังมีลักษณะของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป รวมทั้งการประดับช้างล้อมที่ฐานด้วย

รูปแบบของการสร้างเจดีย์ที่มีช้างล้อมนั้น ได้นำไปใช้กับเจดีย์ในศิลปะล้านนาหลายแห่งนอกจากเจดีย์ประธานวัดสวนดอกที่ กล่าวมาแล้ว ยังมีเจดีย์ที่วัดหัวหนอง เวียงกุมกาม เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ จ.น่าน และเจดีย์ทรงปราสาทวัดเชียงมั่น เชียงใหม่ เป็นต้น

เจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง แสดงถึงสุนทรียภาพทางด้านรูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังของศิลปะสุโขทัยในดินแดน ของล้านนาที่ค่อนข้างชัดเจนมากองค์หนึ่ง ถึงแม้ว่าส่วนฐานจะเป็นฐานปัทมลูกแก้วอกไก่ยกเก็จอันเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา แต่ชุดบัวถลาเตี้ยๆ ซ้อนกันสามชั้นรับทรงระฆังที่ใหญ่นั้นเป็นรูปแบบของศิลปะสุโขทัยนั่นเอง เช่นเดียวกับเจดีย์ประธานวัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง แต่ในรายละเอียดขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมของเจดีย์องค์นี้ ถูกปรับเปลี่ยนแล้วเนื่องจากการบูรณะโดยเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตเมื่อปีพ .ศ.2450

ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา ชุดบัวถลาของเจดีย์กลุ่มนี้ก็ปรับเป็นผังแปดเหลี่ยมหรือสิบสองเหลี่ยม บางครั้งรวมถึงบัลลังก์และองค์ระฆังด้วย เช่น เจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ แม้ว่าตำนานกล่าวถึงการสร้างครั้งรัชกาลพญากือนา แต่การซ่อมแซมนั้นยังมีอีกหลายครั้ง รูปแบบการพัฒนาของศิลปะน่าจะตรงกับการซ่อมครั้งใหญ่ในรัชกาลของพระเกษเกล้า เมื่อพ.ศ. 2088 เจดีย์องค์นี้กลายเป็นต้นแบบให้เจดีย์อีกหลายๆ องค์ในล้านนา ที่สร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

รูปแบบของเจดีย์กลุ่มนี้ หลังจากการปลดแอกจากอำนาจของพม่าของชาวล้านนาแล้ว ก็ยังมีการนำมาสร้างอีก แต่ระเบียบขององค์ประกอบนั้นแตกต่างไปจากต้นแบบมาก เช่น เจดีย์วัดหม้อคำตวง ที่บูรณะใหม่เมื่อพ.ศ. 2480

เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มที่ 3 เป็นรูปแบบที่รับอิทธิพลจากศิลปะพม่ารุ่นหลังราวพุทธศตวรรษที่ 24 ลงมา

เป็นกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ในศิลปพม่ารุ่นหลังราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ลงมา การเริ่มปลดแอกของดินแดนล้านนา ได้มีการกวาดต้อนเอาผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ ในรัฐฉานของพม่า เข้ามารวมอยู่ด้วยกันโดยเฉพาะที่เมืองเชียงใหม่และลำพูน ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาเหล่านั้นได้ตั้งหลักแหล่งของตัวเองและสร้างศิลปกรรม ของชุมชนไว้ด้วย แต่รูปแบบของเจดีย์นั้นกลับไม่มีความแตกต่างกันมากแต่อย่างใด องค์ประกอบของเจดีย์ที่ฐานประกอบด้วยฐานปัทมลูกแก้วอกไก่ยกเก็จเตี้ยๆ ที่มุมประดับด้วยสถูปจำลองหรือโกศรูปหม้อน้ำ ถัดไปเป็นฐานปัทมยกเก็จ 8 เหลี่ยม โดยการยกเก็จนั้นอยู่ใกล้กับมุมทุกมุม องค์ระฆังมีขนาดใหญ่และปากผายมากเนื่องจากความเตี้ยของฐาน เหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์ แต่เป็นปล้องไฉน ปัทมบาท ปลี และฉัตรโลหะ ความแตกต่างของรูปแบบน่าจะอยู่ที่ขนาดเป็นสำคัญ ถ้าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่จะมีจำนวนชั้นของฐานมากขึ้น และมักจะมีบันใดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณแต่คงไม่ได้ใช้ประโยชน์มากนัก เช่น เจดีย์วัดแสนฝาง เจดีย์บางองค์ก็อาจมีจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปที่ติดอยู่กับแกนกลางรับ น้ำหนักขององค์เจดีย์ เช่น เจดีย์วัดป่าเป้า หรือบางองค์อาจมีแผนผังในรูปแปดเหลี่ยม เช่น เจดีย์วัดพระธาตุดอยกองมู จ.แม่ฮ่องสอน

เจดีย์ทรงปราสาท ความหมายของปราสาทคือเรือนยอดหลายชั้น แต่การนำมาใช้เรียกชื่อของเจดีย์ต้องการให้หมายถึงเจดีย์ที่มีเรือนธาตุและ มียอดเรียวแหลมขึ้นไป โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นยอดแบบใด เจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านนาอาจแยกได้ 4 กลุ่มคือ

เจดีย์ทรงปราสาทสี่เหลี่ยม

เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี ลำพูน เข้าใจว่าจะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ของล้าน นา ประวัติของการสร้างเกี่ยวข้องกับกองทัพของชาวละโว้ยกขึ้นมารบกับกองทัพของ เมืองหริภุญชัยเมื่อพ.ศ. 1616 แต่รูปแบบในปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะเป็นงานซ่อมในรัชกาลของพระเจ้าสววาธิ สิทธิ ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ตามความในศิลาจารึก เจดีย์องค์นี้ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมรับเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกัน 5 ชั้น แต่ละด้านของเรือนธาตุมีจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ 3 องค์ รวมทั้งหมด 60 องค์ ทุกมุมของทุกชั้นมีสถูปจำลองประดับอยู่ ยอดที่เรียวแหลมขึ้นไปนั้นหักหาย จึงเป็นที่มาของชื่อ กู่กุด ยอดที่หายไปนั้นมีการสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นยอดดอกบัวตูม อย่างไรก็ตามยอดที่ยังสมบูรณ์ปรากฏที่สุวรรณเจดีย์ วัดพระธาตุหริภุญชัย ความหมายของการประดับพระพุทธรูปในจระนำยังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ บางท่านเข้าใจว่าเป็นอดีตพุทธ บ้างก็เข้าใจว่าเป็นพระอดีตพุทธเจ้ากัสสป พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน และ พระศรีอาริยเมตไตย และอีกความเห็นหนึ่งใช้หลักฐานประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นอธิบายว่าหมายถึงพระ อรหันต์จำนวน 60 องค์ และองค์สถูปหมายถึงพระพุทธเจ้า

เจดีย์สี่เหลี่ยม หรือ กู่คำ เวียงกุมกาม เชียงใหม่ เข้าใจว่าถ่ายแบบมาจากเจดีย์กู่กุดในรัชกาลของพญามังราย ผลจากการขุดแต่งเพื่อการบูรณะของเจดีย์องค์นี้โดยกรมศิลปากรพบว่าถูกซ่อมแซม มาหลายครั้ง สภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นการดัดแปลงทั้งหมด โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของซุ้มให้เป็นศิลปะแบบพม่า ตลอดจนเพิ่มจำนวนซุ้มที่ฐานให้เป็น 64 ซุ้มเพื่อให้พ้องกับอายุของผู้ซ่อมคือ หลวงโยนการพิจิตร เมื่อพ.ศ. 2449

ความนิยมสร้างเจดีย์รูปแบบนี้ค่อนข้างน้อย เพราะพบอีกแห่งหนึ่งที่เจดีย์วัดพญาวัด อ.เมือง จ.น่าน เชื่อกันว่าสร้างไม่เก่ากว่ากลางพุทธศตวรรษที่ 21 และหลังจากนั้นก็ไม่เป็นที่นิยมของล้านนาต่อไป

เจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์

เป็นกลุ่มที่นิยมสร้างมากที่สุดในเจดีย์ทรงปราสาท หลักฐานเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ 19 ตัวอย่างได้แก่ เจดีย์วัดเกาะกลาง อ.ป่าซาง ลำพูน ลักษณะฐานของเจดีย์ค่อนข้างเตี้ยรับเรือนธาตุที่มีแกนกลางรับน้ำหนักส่วนยอด นั้น เป็นลักษณะของศิลปะพม่าที่พุกาม ตลอดจนมุขยื่นออกทั้งสี่ทิศด้วย เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นวงแหวนซ้อนลดหลั่นกันที่มุมทั้งสี่ควรมีสถูปจำลอง องค์ระฆังนั้นมีขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับเจดีย์ที่วัดอุโมงค์อารยมณฑล เชียงใหม่ แต่เจดีย์องค์นี้มีวิหารต่อเนื่องทางด้านหน้าด้วย ยอดที่หักหายไปอาจเปรียบเทียบได้กับยอดของเจดีย์วัดเชียงยัน ลำพูน คือเหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์ เป็นกลุ่มกลีบบัวสลับกับลูกแก้วกลม ถึงแม้ว่าทรงของเจดีย์เชียงยันจะสูงเพรียวกว่าแต่ก็คงสร้างราวปลายพุทธ ศตวรรษเดียวกัน ทั้งนี้ไม่รวมถึงงานปูนปั้นประดับที่ถูกซ่อมแซมราวพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว

เจดีย์องค์สำคัญอีกองค์หนึ่งที่สร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 คือ เจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือฐานประดิษฐานพระพุทธรูปสลับกับเทวดา ซึ่งเข้าใจว่าอาจเกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์กู่กุด ลำพูน นอกเหนือจากนั้นเป็นรูปแบบเช่นเดียวกัน แต่ที่สำคัญคือลายปูนปั้นที่หลงเหลืออยู่นั้น เข้าใจว่าเป็นงานที่สร้างขึ้นพร้อมกับคราวแรกสร้างองค์เจดีย์ โดยเฉพาะรูปแบบของซุ้มฝักเพกาที่มีชื่อเรียกเฉพาะในศิลปะพุกามว่า Clec ลายละเอียดที่ประดับสะท้อนถึงแนวความคิดจากศิลปะจีน ศิลปะพม่าที่พุกาม ศิลปะสุโขทัยหล่อหลอมเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์และต้นแบบของศิลปะล้านนาในยุคต่อมา

ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตัวอย่างของเจดีย์แบบนี้เหลือหลักฐานน้อย เจดีย์วัดพระยืน ลำพูน ที่มีจารึกกล่าวถึงการมาพำนักของพระสุมนเถรเมื่อพ.ศ. 1912 คงได้รับการดัดแปลงไปแล้ว แต่ยังพอสังเกตเค้าโครงได้จากการสร้างทรงแท่งสี่เหลี่ยมของเรือนธาตุ ตลอดจนชั้นหลังคาลาดว่าควรเกี่ยวข้องกับศิลปะพุกามด้วย

เจดีย์วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ตำนานกล่าวถึงการสร้างตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมาแต่มาแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 1954 แต่เดิมควรเป็นเจดีย์ทรงปราสาท 5 ยอด และถูกปรับเปลี่ยนให้มียอดเป็นยอดเดียวในสมัยพระเจ้าติโลกราชเมื่อพ.ศ.2021 และยอดนั้นหักพังลงคราวแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อพ.ศ. 2088 จึงเป็นปัญหาให้ถกเถียงกันจนทุกวันนี้ สภาพปัจจุบันถูกซ่อมแล้วโดยกรมศิลปากร ทั้งสี่ด้านของเจดีย์เดิมมีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณ แต่กรมศิลปากรเลือกที่จะเทปูนปิดบันไดเหล่านั้น โดยเหลือไว้แต่บันไดทางด้านทิศตะวันออก เรือนธาตุของเจดีย์มีการเพิ่มมุมขนาดใหญ่ ซึ่งแตกต่างไปจากการยกเก็จของศิลปะล้านนา จึงเป็นที่เข้าใจว่าอาจได้รับอิทธิพลจากการเพิ่มมุมของสถาปัตยกรรมในศิลป อยุธยา ทั้งสี่ด้านของเรือนธาตุมีจระนำประดิษฐานพระพุทธรูป และเชื่อกันว่าจระนำด้านทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญ มาจากเมืองลำปาง ยอดเหนือเรือนธาตุเป็นชั้นหลังคาลาดซึ่งคาดว่าเป็นเทคนิคที่ไม่เอื้อให้มี การประดับสถูปจำลองที่มุมอีกต่อไป ถัดไปเป็นมาลัยเถาแปดเหลี่ยม และยอดที่หักหายไปต่อจากนั้นคงเป็นองค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉนและปลีตามแบบของเจดีย์ทรงระฆังทั่วไป

รูปแบบของเจดีย์แบบนี้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา คงมีการพัฒนาไปหลากหลาย ในเรื่องของรูปแบบฐานนั้น ก็มีการพัฒนาให้สูงขึ้นโดยการเพิ่มฐานเป็นสองชั้น การเพิ่มมุมของเรือนธาตุมีมากขึ้นเช่น เจดีย์วัดโลกโมฬี ที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจนคือองค์ประกอบของยอด บางองค์เหนือเรือนธาตุยังคงเป็นมาลัยเถา บางองค์เป็นชั้นฐานปัทม บางองค์เป็นชั้นหลังคาลาด และในรายละเอียดของช่างท้องถิ่นก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น เจดีย์วัดหนอง จลิน เจดีย์วัดศรีชุม จ.แพร่ เจดีย์วัดผ้าขาวป้าน เชียงแสน เป็นต้น

หลังจากพม่าเข้าครองเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2101 แล้ว งานการสร้างเจดีย์คงลดน้อยลงหลงเหลือเพียงงานซ่อมเท่านั้น เช่น เจดีย์วัดเชียงมั่น ที่ซ่อมเมื่อพ.ศ. 2114 เมืองรอบนอกเช่นเมืองน่านยังคงมีการสร้างด้วย เช่น เจดีย์วัดหัวข่วง แต่ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมไม่ยกเก็จ ตลอดจนเรือนธาตุที่ยกเก็จตื้น ชั้นหลังคาลาดและชุดฐานที่ซ้อนลดกันเหนือเรือนธาตุมีจำนวนมากขึ้น ทำให้องค์ระฆังมีขนาดเล็กลงไปมาก จึงควรเป็นงานสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 22 แล้ว

เจดีย์รุ่นหลังราวพุทธศตวรรษที่ 24 ลงมา การผสมผสานลักษณะของยอดเจดีย์ทรงระฆังที่รับอิทธิพลศิลปะพม่ารุ่นหลังในระยะ เดียวกันก็ปรากฏขึ้นในเจดีย์แบบนี้ด้วย เช่น เจดีย์รายวัดพระสิงห์ฯ เชียงใหม่ หรือเจดีย์วัดท้าวคำวัง อ.หางดง ที่สร้างเมื่อพ.ศ. 2472

เจดีย์ทรงปราสาทแปดเหลี่ยม

เจดีย์แปดเหลี่ยมที่วัดจามเทวี ลำพูน น่าจะเป็นตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของเจดีย์ทรงนี้ในล้านนา ตำนานมูลศาสนากล่าวว่าสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าสววาธิสิทธิ เจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะแล้ว ซึ่งรายละเอียดของฐานไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนนัก แต่เรือนธาตุนั้นอยู่ในผังแปดเหลี่ยม มีจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทุกด้าน กรอบซุ้มจระนำยังคงประดับด้วยใบระกาทรงสูงซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับซุ้ม Clec ของพุกาม เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นลดรับทรงระฆัง ร่องรอยที่เหลืออยู่ด้านบนของทรงระฆัง เข้าใจว่าอาจมีลักษณะคล้ายกับยอดของเจดีย์เชียงยันก็ได้

เจดีย์แปดเหลี่ยมที่วัดอินทขีล ( สะดือเมือง ) เชียงใหม่ เข้าใจกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากเจดีย์แปดเหลี่ยม วัดจามเทวี แต่เนื่องจากมีรูปทรงที่เตี้ยกว่าและการเจาะอุโมงค์เล็กๆเข้าในองค์เจดีย์ ทำให้มีข้อสงสัยถึงเจดีย์แปดเหลี่ยมทำนองเดียวกันนี้ในพุกาม และเจดีย์องค์นี้บางความเห็นสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิพญามังรายด้วย รูปทรงของเจดีย์องค์นี้คงไม่ถูกเปลี่ยนแปลงมากนักในการซ่อมแต่ละครั้ง ยกเว้นงานปูนปั้นประดับที่เห็นร่องรอยการสร้างทับของเดิมสองครั้ง

อนิมิตเจดีย์ที่วัดมหาโพธาราม เข้าใจว่าเป็นการพัฒนาการของเจดีย์แบบนี้ที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1998 และเป็นหนึ่งในสัตตมหาสถานที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชคราวกระทำ สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 การพัฒนาที่ต่อเนื่องชัดเจนคือชั้นบัวถลาแปดเหลี่ยมเหนือเรือนธาตุได้ยืดสูง ขึ้นและประดับด้วยซุ้มวงโค้งในแต่ละด้าน ยืนยันถึงรูปแบบที่ขาดหายไปของเจดีย์วัดอินทขีลได้เป็นอย่างดี

เจดีย์ปล่อง

กลุ่มเจดีย์ปล่องที่มีอยู่จำนวน 3 องค์ในเชียงใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกันคือ เจดีย์วัดตะโปทาราม เจดีย์วัดพวกหงษ์ และเจดีย์วัดเชียงโฉม น่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันเพราะพบจารึกระบุการสร้างเจดีย์วัดตะ โปทารามว่าสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2035 ในรัชกาลของพระเจ้ายอดเชียงราย ความเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลทางรูปแบบบางท่านอธิบายว่าเป็นการยืดตัวสูงขึ้นของ ฐานบัวในผังกลมของเจดีย์ทรงระฆัง เช่น เจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัย แล้วประดับจระนำไว้ตามท้องไม้ แต่อีกความเห็นหนึ่งกล่าวถึงอิทธิพลของ ถะ ในศิลปจีน ( เจดีย์แบบจีนที่ซ้อนกันเป็นชั้น ) การอ้างถึงศิลปจีนน่าสนใจไม่น้อย เพราะเจดีย์แบบนี้เพิ่งปรากฏในรัชกาลของพระเจ้ายอดเชียงรายเท่านั้น และช่วงที่จะขึ้นครองราชย์พระเจ้ายอดเชียงรายได้ส่งทูตไปขอให้จีนรับรองใน การครองราชย์ครั้งนั้นด้วย อย่างไรก็ตามอิทธิพลทางรูปแบบคงเป็นแนวความคิดเท่านั้น แต่เทคนิคการก่อสร้างยังคงเป็นการสร้างอิงกับเทคนิคการสร้างเจดีย์แปด เหลี่ยม ที่เคยสร้างในท้องถิ่นมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นจึงรวมเจดีย์ทั้งสองแบบเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน

การพัฒนาของเจดีย์ปล่องปรากฏขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่เจดีย์วัดกู่เต้า เชียงแสน แต่ไม่พบการประดับพระพุทธรูปในจระนำอีกต่อไป คงเป็นการประดับรอบแกนของเจดีย์เท่านั้น และจากลักษณะของประติมากรรมที่ประดับแล้ว เข้าใจว่าคงสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 22

สำหรับเจดีย์วัดกู่เต้า เชียงใหม่นั้น ถึงแม้ว่ามีเอกสารอ้างอิงถึงราว พ.ศ.2035 ด้วย แต่องค์เจดีย์ปัจจุบันคงถูกแก้ไขดัดแปลงไปมากแล้ว จากการประดับกระจกปะปนไปกับกระเบื้องที่ตัดมาจากเครื่องถ้วย ทำให้เข้าใจว่าคงเป็นการใช้กรรมวิธีร่วมสมัยที่นิยมสร้างกันในกรุงรัตน โกสินทร์ราวรัชกาลที่ 3 ส่วนพระพุทธรูปภายในซุ้มคงได้รับการซ่อมแซมครั้งสุดท้ายเมื่อพ.ศ.2490 นี้เอง

เจดีย์ทรงมณฑปปราสาท

มณฑปคืออาคารที่มีรูปผังสี่เหลี่ยมมียอดเรียวแหลม การนำมาใช้แบ่งแยกกลุ่มของเจดีย์เพราะต้องการเน้นถึงยอดที่เป็นชั้นซ้อนลด หลั่นกัน เจดีย์ทรงมณฑปท้ายวิหารลายคำวัดพระสิงห์ น่าจะเป็นตัวอย่างรุ่นแรกของเจดีย์ทรงนี้ ส่วนฐานของเจดีย์เตี้ย เรือนธาตุยกเก็จยื่นออกมามากโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกยื่นออกไปติดกับผนังของ วิหาร ซึ่งอาจจะตรงกับความหมายของ มูลคันธกุฎี ได้ เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นลดห้ายอด รูปแบบนี้เข้าใจว่าควรมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 และอาจเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์เมื่อพ.ศ.1974 ด้วย

เจดีย์วัดปันสาท เข้าใจว่ามีการพัฒนาไปแล้วและเป็นตัวอย่างของรูปแบบราวพุทธศตวรรษที่ 21 คือ ส่วนฐานที่ยกสูงขึ้นซ้อนกันสองชั้น เรือนธาตุยกเก็จค่อนข้างตื้น ทำให้ส่วนยอดที่เป็นห้ายอดดูคล้ายกับเป็นยอดเดียว ทั้งที่ด้านทั้งสี่ยังมีการประดับยอดอยู่

เจดีย์ทรงมณฑปปราสาทนี้ถูกนำไปใช้ในอาคารเป็นสถาปัตยกรรม ที่ชาวล้านนาเรียกว่า โขงพระเจ้า เช่นมณฑปปราสาทในวัดพระธาตุลำปางหลวง หรือในวิหารวัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง เป็นต้น

เจดีย์แบบอื่น มีเจดีย์อีก 2 แบบที่พบในล้านนาแต่เป็นการหยิบยืมรูปแบบมาจากแหล่งศิลปะอื่นคือ

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ จากศิลปะสุโขทัย

ลักษณะของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ประกอบด้วยฐานเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันรับฐานปัทมลูกแก้วอกไก่ รับฐานแว่นฟ้าและแท่งสี่เหลี่ยมสูงต่อด้วยทรงดอกบัว ปล้องไฉนและปลี ซึ่งเป็นเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปะสุโขทัย ที่เริ่มสร้างขึ้นในรัชกาลของพญาลิไท

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในล้านนาพบที่เจดีย์วัดสวนดอก ซึ่งคงสร้างพร้อมกับการมาของพระสุมนเถรเมื่อพ.ศ.1916 แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปแล้ว ที่เมืองน่านก็พบที่วัดสวนตาล แต่ก็ถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้วเช่นกัน ที่ยังคงเหลือสภาพค่อนข้างสมบูรณ์คือเจดีย์ร้างในวัดพระเจ้าองค์ดำ ริมแม่น้ำปิง อ.จอมทอง และอีกองค์หนึ่งที่ยังคงเค้าโครงส่วนใหญ่ไว้ได้คือ เจดีย์วัดธาตุกลาง แต่ปัจจุบันผ่านการบูรณะไปแล้ว ส่วนฐานจึงเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน แต่ยอดที่เหลืออยู่ยังพอแสดงถึงเค้าโครงที่ช่างพยายามสร้างให้ใกล้เคียงกับ รูปแบบเดิม แต่ก็ไม่คล้ายคลึงมากนัก เข้าใจว่าคงเป็นการรื้อฟื้นหลังจากกระแสของพุทธศาสนาและศิลปะจากเมือง สุโขทัยจางหายไปแล้ว

เจดีย์เพิ่มมุม จากศิลปะอยุธยา

การศึกษาพบว่าเจดีย์เพิ่มมุมนั้น เป็นเจดีย์ที่พัฒนาขึ้นในศิลปะอยุธยาตอนกลาง และแพร่กระจายในภาคกลางของไทยจนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมเรียกกันว่า เจดีย์ย่อมุม ในศิลปะล้านนานั้นตัวอย่างที่พบได้แก่ เจดีย์วัดหมื่นตูม ลักษณะองค์ประกอบส่วนฐานและชั้นฐานปัทมนั้นเป็นศิลปะล้านนาราวพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งแตกต่างไปจากศิลปะอยุธยา แต่การยกเก็จที่ลึกมากตลอดทั้งองค์ไม่เคยพบมาก่อนในศิลปะล้านนา ดังนั้นควรเป็นลักษณะการเพิ่มมุมของศิลปะอยุธยามากกว่า เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอยุธยาที่ชัดเจนในระยะนี้ก็คือ การขึ้นมาปกครองล้านนาอยู่ชั่วระยะหนึ่งในรัชกาลของพระนเรศวรราวพ.ศ. 2138 – 2141

เจดีย์น้อยที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2455 น่าจะเป็นอิทธิพลจากเจดีย์ย่อมุมจากศิลปรัตนโกสินทร์ และอีกองค์หนึ่งที่เจดีย์วัดศรีโขง เชียงใหม่ รูปทรงโดยรวมอาจเปรียบได้กับเจดีย์ทองในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ลักษณะการยกเก็จยังมีความถนัดของช่างล้านนาปะปนอยู่บ้าง รวมทั้งการสร้างจะนำที่ฐานด้วย

งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

ทัศนศิลป์ภาคเหนือ.
จิตรกรรมเขียนสี ... .
จิตรกรรมบนผ้า( พระบฎ ) ... .
จิตรกรรมสกุลช่างเชียงใหม่ ... .
จิตรกรรมสกุลช่างไทใหญ่ ... .
จิตรกรรมสกุลช่างน่าน ... .
จิตรกรรมที่ลำปาง ... .
จิตรกรรมลายคำ.

ผลงานทัศนศิลป์ภาคกลางมีอะไรบ้าง

เครื่องจักรสาน ที่ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง.
การสานงอบ ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
การสานปลาตะเพียนใบลาน ที่อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
การทำมีดอรัญญิก ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
การทำเครื่องเคลือบดินเผา ที่เรียกว่า “โอ่งมังกร” จังหวัดราชบุรี.

ผลงานศิลปะภาคเหนือคืออะไร

"ศิลปะภาคเหนือ" เกิดจากการผสมผสานทางศิลปวัฒนธรรมของรัฐโบราณหลายแห่งเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่เมืองเชียงแสน เชียงใหม่ พุกามของพม่า ละโว้ จากรัฐทางใต้ และศิลปะจีน จนกลายเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันอ่อนช้อยงดงาม แต่ศิลปะที่เป็นรากฐานสำคัญในท้องถิ่นภาคเหนือคือ "ศิลปะหริภุณชัย" และ "ศิลปะล้านนา" หนังสือ "ศิลปะภาคเหนือ : ...

งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นหมายถึงอะไร

งานทัศนศิลป์ท้องถิ่น หมายถึง ศิลปกรรมในสาขาภูมิปัญญาไทยทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของท้องถิ่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงคุณค่า และรู้จักอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น