การคิดแบบอริยสัจหรือแบบแก้ปัญหาหมายถึง

การคิดแบบอริยสัจหรือแบบแก้ปัญหาหมายถึง

ตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้ อริยสัจ ๔ ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างที่ ๑

ทุกข์ (ผล)           พิจารณารู้ว่าได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่จักรยานยนต์ล้ม

สมุทัย (เหตุ)        พิจารณารู้ถึงสาเหตุว่าขับรถด้วยความประมาท

นิโรธ (ผล)           พิจารณารู้ถึงการขับขี่รถอย่างปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุ

มรรค (เหตุ)         พิจารณารู้ถึงสาเหตุที่จะขับขี่รถอย่างปลอดภัย คือ มีสติและ

 ระมัดระวังขณะขับขี่

ตัวอย่างที่ ๒

ทุกข์ (ผล)           น้ำหนักตัวมากจนรู้สึกอึดอัด ถูกเพื่อนล้อ

สมุทัย (เหตุ)        ทานอาหารมากเกินไป

นิโรธ (ผล)          หุ่นดี ร่างกายแข็งแรง

มรรค (เหตุ)         พยายามในการควบคุมปริมาณการกิน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ตัวอย่างที่ ๓

ทุกข์ (ผล)           สอบตก ทุกข์ใจเพราะการสอบตก

สมุทัย (เหตุ)        ไม่ตั้งใจเรียน ไม่อ่านหนังสือ

นิโรธ (ผล)          สอบผ่าน

มรรค (เหตุ)         ตั้งใจเรียน อ่าน ท่องหนังสือ

สรุปข่าว

หัวข้อตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้ อริยสัจ ๔ ในชีวิตประจำวัน

อัลบั้มภาพ

การคิดแบบอริยสัจหรือแบบแก้ปัญหาหมายถึง

ขั้นที่ 2. สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหาได้แก่ เหตุปัจจัยต่างๆที่เข้าสัมพันธ์ ขัดแย้ง ส่งผลสืบทอดกันมาจนปรากฏเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน คับข้อง ติดขัด อึดอัด บกพร่อง ในรูปต่างๆ 

ขั้นที่ 3 นิโรธ คือความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ภาวะพ้นปัญหา หมดหรือปราศจาก ปัญหาเป็นจัดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่สัจฉิกกริยา หรือประจักษ์แจ้ง ทำให้เป็นจริง ทำให้ สำเร็จหรือบรรลุถึงในขั้นนี้จะต้องกำหนดได้ว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร การที่ปฏิบัติอยู่นี้หรือ จะปฏิบัติเพื่ออะไร จะทำกันไปไหน จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ เป็นอย่างไร มีหลักการในการ เข้าถึงอย่างไร มีจุดหมายรองหรือจุดหมายลดหลั่นแบ่งเป็นขั้นตอนในระหว่างได้อย่างไรบ้าง 

ขั้นที่ 4 มรรค คือ ทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์หรือวิธีแก้ไขปัญหา ได้แก่วิธีการ และรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการ 

“ภิกษุนั้นย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ความดับแห่งทุกข์คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่าข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์คือดังนี้ เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ 3 อย่างคือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และลีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้”

วิธีคิดตามเหตุและผล มีลักษณะทั่วไป 2 ประการคือ
1) เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปสาเหตุแล้วแก้ไข
คู่ที่ 1 : ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหา เป็นสถานการณ์ที่ประสบซึ่งไม่ต้องการสมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา เป็นจุดที่จะต้องกำจัดหรือแก้ไข จึงจะพันจากปัญหาได้

คู่ที่ 2 : นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา เป็นจุดหมายซึ่งต้องการจะเข้าถึง มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำในการแก้ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุผล หมายถึงภาวะสิ้นปัญหาอันได้แก่ความดับทุกข์
2) เป็นวิธีคิดที่ตรงจุดตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องของชีวิต ใช้แก้ปัญหา ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อที่สักว่าคิดเพื่อสนองตัณหามานะทิฏฐิ ซึ่งไม่อาจนำมาใช้ปฏิบัติ ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา

ได้กล่าวแล้วว่าวิธีคิดแบบนี้ รับกันหรือต่อเนื่องกันกับวิธีคิดแบบที่ 3 กล่าวคือ เมื่อประสบปัญหาได้รับความทุกข์ และเมื่อสามารถวางใจวางท่าทีต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องตามวิธีคิดแบบที่ 3 ขั้นที่ 1แล้ว ต่อจากนั้นเมื่อจะปฏิบัติด้วยปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาตามวิธีปฏิบัติขั้นที่ 2 ของวิธีการคิดแบบที่ 3 นั้นพึงดำเนินความคิดในส่วนรายละเอียดขยายออกไปตามขั้นตอนอย่างที่แสดงในวิธีการคิดแบบที่ 4 นี้

หลักการหรือสาระสำคัญของวิธีคิดแบบอริยสัจจ์ก็คือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือความทุกข์ที่ประสบ โดยกำหนดรู้ ว่าความเข้าใจกับปัญหาคือความทุกข์นั้นให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ไข ในเวลาเดียวกันกำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่าคืออะไร จะเป็นไปได้หรือไม่ และเป็นไปได้อย่างไร แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติที่จะกำจัดสาเหตุของปัญหาโดยสอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้นั้น ในการคิดตามวิธีนี้ จะต้องตระหนักถึงกิจหรือหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่ออริยสัจจ์แต่ละข้ออย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้มองเห็นเค้าความในเรื่องนี้ จะกล่าวถึงหลักอริยสัจจ์และวิธีปฏิบัติโดยย่อดังนี้

ขั้นที่ 1 ทุกข์ คือสภาพปัญหา ความขัดข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น พกพร่อง ที่เกิดมีแก่ชีวิตหรือที่คนได้ประสบ ซึ่งเมื่อว่าอย่างกว้างที่สุดก็คือภาวะที่สังขารหรือนามรูปหรือขันธ์ 5 หรือโลกและชีวิตตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดา เป็นของไม่เที่ยงแท้คงที่ ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ กดดันบีบคั้นและขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนที่จะอยู่ในอำนาจครอบครอบบังคัยได้จริงนั่นเอง สำหรับทุกข์นี้เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ คือทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตให้ชัด เหมือนอย่างแพทย์กำหนดรู้หรือตรวจให้รู้ว่าเป็นอาการของโรคอะไร เป็นที่ไหน หน้าที่นี้เรียกว่า ปริญญา เราไมมีหน้าที่เอาทุกข์มาครุ่นคิดมาแบกไว้หรือคิดขัด
เคืองเป็นปฏิปักษ์กับความทุกข์หรือห่วงกังวลอยากหายทุกข์ เพราะคิดอย่างนั้นมีแต่จะทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้นเราอยากแก้ทุกข์ได้ แต่เราก็แก้ทุกข์ด้วยความอยากไม่ได้ เราต้องแก้ด้วยรู้มันและกำจัดเหตุของมัน ดังนั้นจะอยากไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพิ่มขึ้น ขั้นนี้นอกจากกำหนดรู้แล้วก็เพียงวางใจวางท่าทีแบบรู้เท่าทันคติธรรมดาอย่างที่กล่าวแล้วในขั้นที่ 1 ของวิธีที่สาม เมื่อกำหนดรู้ทุกข์หรือเข้าใจปัญหา เรียกว่า ทำปริญญาแล้ว ก็เป็นอันปฏิบัติหน้าที่ต่อทุกข์หรือต่อปัญหาเสร็จสิ้น พึงก้าวไปสู่ขั้นที่สองทันที

ขั้นที่ 2 สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ได้แก่เหตุปัจจัยต่าง ที่เข้าสัมพันธ์ขัดแย้งส่งผลสืบทอดกนมาจนปรากฏเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน คับข้อง ติดขัด อึดอัด บทพร่อง ในรูปต่าง ๆ แปลก ๆ กันไป อันจะต้องค้นหาให้พบ แล้วทำหน้าที่ต่อมันให้ถูกต้องคือ ปหาน ได้แก่ กำจัดหรือละเสีย ตัวเหตุแกนกลางที่ยืนพื้นหรือยืนโรงกำกับชีวิตอยู่ควบคู่กับความทุกข์พื้นฐานของมนุษย์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งระดับตัวแสดงหน้าโรงคือตัณหา และระดับเต็มกระบวนหรือเต็มโรง คือการสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท เมื่อประสบทุกข์หรือปัญหาจำเพาะแต่ละกรณีก็ต้องพิจารณาสืบสาวหาสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ใช้ วิธีคิดแบบที่ 1 ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านมนุษย์ ที่พึงนำเอาตัวเหตุแกนกลางหรือเหตุยืนโรงมาพิจารณาร่วมกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณีด้วย เมื่อสืบค้นวิเคราะห์และวินิจฉัยจับมูลเหติของปัญหา ซึ่งจะต้องกำจัด หรือแก้ไขได้แล้ว ก็เป็นอ้นเสร็จสิ้นการคิดขั้นที่สอง

ขั้นที่ 3 นิโรธ คือความดับทุกข์ ความพันทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ ภาวะพ้นปัญหา หมดหรือปราศจากปัญหา เป็นจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา หรือประจักษ์แจ้ง ทำให้เป็นจริง ทำให้สำเร็จ หรือบรรลุถึง ในขั้นนี้จะต้องกำหนดได้ว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร การที่ปฏิบัติอยู่นี้หรือจะปฏิบัติเพื่ออะไร จะทำกันไปไหน จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ เป็นไปได้อย่างไร มีหลักการในการเข้าถึงอย่างไร มีจุดหมายรอง หรือจุดหมายลดหลั่นแบ่งเป็นขั้นตอนในระหว่างได้อย่างไรบ้าง

ขั้นที่ 4 มรรค คือ ทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือวิธีแก้ไขปัญหา ได้แก่วิธีการและรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ ภาวนา คือปฏิบัติหรือลงมือทำ สิ่งที่พึงทำในขั้นของความคิด ก็คือ กำหนดวางวิธีการ แผนการและรายการสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่งจะช่วยให้แก้ไขสาเหตุของปัญหาได้สำเร็จโดยสอดคล้องกับจุดหมายที่ต้องการ

การคิดแบบอริยสัจหรือแบบแก้ปัญหาหมายถึงอะไร

โยนิโสมนสิการแนวอริยสัจ หมายถึง วิธีคิดที่เป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปหาเหตุ แล้วแก้ไขและท าการที่ต้นเหตุ ที่ตรงจุดตรงเรื่อง โดยมุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องท า ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความส าคัญ คือช่วยให้เห็นจุดเด่น จุดด้อย หรือส่วนดีและส่วนที่ต้องแก้ไขของภารกิจต่างๆ ที่ดาเนินการอยู่ได้ชัดเจน

วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง

วิธีคิดแบบอริยสัจจ์นี้ มีลักษณะทั่วไป ๒ ประการคือ ๑.เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล จัดเป็น ๒ คู่คือ คู่ที่ ๑ "ทุกข์" เป็นผล เป็นตัวปัญหา กับ "สมุทัย" เป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา คู่ที่ ๒ "นิโรธ" เป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา กับ "มรรค" เป็นเหตุ เป็นวิธีการ (ข้อปฏิบัติ)ในการแก้ปัญหา

ข้อใดเป็นตัวอย่างของ “สมุทัย” ตามวิธีคิดแบบอริยสัจ ๔

สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

เทคนิคการคิดหาวิธีแก้ปัญหา 4 ขั้นในแบบอริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง

เรียกตามทางธรรมะได้ว่า วิธีแห่งความดับทุกข์ โดยเริมจากตัยวปัญหา หรือ ทุกข์ ทำความเข้าใจให้ชัดเจน สืบค้นหาสาเหตุเตรียมไข วางแผนกำจัดสาเหตุปัญหา มีวิธีการปฏิบัติ