ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561

กฎหมาย ระเบียบ :

  • พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562
  • พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2554
  • พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550
  • พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548
  • พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 – 4
  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2560

  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรข้าราชการและลูกจ้างประจำที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติงานในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และในเขตพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2553
  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2551

หนังสือเวียน :

  • หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยภาวะตาอักเสบซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง (ที่ กค 0416.2/ว 681 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2564)
  • ประเภทและอัตราเงินค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชนประเภทอาชีวศึกษา (ด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561)
  • แนวทางการเบิกจ่ายเงินค่าสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร กรณีบุตรของผู้มีสิทธิเปลี่ยนประเภทสถานศึกษาในระหว่างปีการศึกษา (ด่วนที่สุด ที่ กค0408.5/ว371 ลงวันที่ 22 กันยายน 2560)
  • ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน (ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257 ลว. 28 มิถุนายน 2559)
  • การเบิกจ่ายตามประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนบุตร (ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว80 ลว 8 เม.ย. 2557)
  • ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนบุตร (ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว21 ลว 13 ก.พ. 2557)
  • การใช้ลายมือชื่อผู้รับเงินด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในใบเสร็จรับเงิน และหลักฐานในการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร(ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว130 ลว 19 พ.ย. 2556)
  • การกำหนดแบบการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว201 ลว 15 มิ.ย. 2553)
  • แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายการศึกษาของบุตรกรณีเรียกเก็บค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี  (ที่ กค 0422.3/ว149 ลว 26 เม.ย. 2553)
  • ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวการศึกษาบุตร (ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.5/ว182 ลว 24 พ.ค. 2550)
  • ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร (ที่ กค 0409.5/ว253 ลว 21 มิ.ย. 2549)
  • ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ด่วนที่สุด ที่ กค 0709.5/ว15 ลว 13 ม.ค. 2549)

ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561
ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561

รายท่านอาจจะสับสนเกี่ยวกับการเบิกเงินค่าเล่าเรียนบุตร วันนี้ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา จึงอยากเชิญทุกท่านมาพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดการเบิกค่าเล่าเรียนบุตรตามสิทธิข้าราชการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

 

จากการที่มีการออกมาบอกถึงรายละเอียดโดยมีใจความสำคัญดังนี้ค่ะ

กรมบัญชีกลางแจงการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ตามสิทธิสวัสดิการของข้าราชการ ยังคงเป็นไปตามอัตราเดิมที่กรมบัญชีกลางกำหนด

นางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมีการส่งต่อข้อความทางแชทไลน์ ดังนี้ “บังคับใช้วันนี้แล้ว 13/6/62 เป็นต้นไป เบิกได้ตามที่เสียค่าเล่าเรียนจริง ถ้าค่าเล่าเรียนลูกเทอมละ 3 หมื่นก็เบิกได้ 3 หมื่นครับ เบิกได้จนลูกจบ ป.ตรี ข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วก็ยังเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้เต็มจำนวน”

กรมบัญชีกลางขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเพื่อให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น และไม่มีการปรับอัตราการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรแต่อย่างใด ยังคงใช้อัตราการเบิกตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 และด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 ตามเดิม อาทิเช่น ประเภทและอัตราในการเบิกค่าบำรุงการศึกษา

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 – 30,000 บาท ตามประเภทวิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย

1. อนุบาล สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 5,800 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 4,800 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 13,600 บาท

2. ประถมศึกษา สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 4,000 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 4,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 13,200 บาท

3. มัธยมศึกษาตอนต้น สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 4,800 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 3,300 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 15,800 บาท

4. มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 4,800 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 3,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 16,200 บาท

5. อนุปริญญา สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 13,700 บาท

6. ปริญญาตรี สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 25,000 บาท

ประเภทอาชีวศึกษา

สถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา

1. คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 3,400 บาท 
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 16,500 บาท

2. พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 5,100 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 19,900 บาท

3. ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 7,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 24,400 บาท

4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 5,100 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 19,900 บาท

5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 7,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 24,400 บาท

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 – 30,000 บาท ตามประเภทวิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย

โหลดเพิ่ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ค่าเล่าเรียนสิทธิ์ข้าราชการเบิกค่าเรียนกรมบัญชีกลางเบิกเงินค่าเล่าเรียนเบิกค่าเรียนลูกข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ