นิราศ นรินทร์ คํา โคลง การ นํา ไปใช้ ในชีวิต ประ จํา วัน

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

     การสรรคำ

      เลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง เช่น

                    แย้มฟ้า เป็นคำที่ใช้ง่ายที่มีรูปคำงามเสียงไพเราะ มีความหมายดีและให้ภาพ
                ที่ชัดเจนว่ากรุงรัตนโกสินทร์เผยโฉมเด่นอยู่บนท้องฟ้า

      เลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ

                    มีการเล่นเสียงสัมผัสทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรภายในวรรคและระหว่างวรรค                        เพื่อความไพเราะ เช่น

                                        ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ            สงสาร อรเอย

                               จรศึกโศกมานาน                           เนิ่นช้า

                               เดินดงท่งทางละหาน                      หิมเวศ

                               สารสั่งทุกหย่อมหญ้า                      ย่านน้ำลานาง

                                        นทีสี่สมุทรม้วย                    หมดสาย

                                ติมิงคล์มังกรนาคผาย                     ผาดส้อน

                                หยาดเหมพิรุณหาย                       เหือดโลก แล้งแม่

                     แรมราคแสนร้อยร้อน                     เถ้าเรียมทน

การเล่นคำ

                มีการใช้คำเดียวกันซ้ำหลายแห่งในบทประพันธ์ แต่คำที่ซ้ำกันนั้นมีความหมายต่างกัน เช่น

                                        เห็นจากจากแจกก้าน              แกมระกำ

                                ถนัดระกำกรรมจำ                         จากช้า

                                บาปใดที่โททำ                              แทนเท่า ราแม่

                                จากแต่คาบนี้หน้า                          พี่น้องคงถนอม

                จาก ซึ่งหมายถึง ต้นจาก และการจากลา

                กำ ซึ่งหมายถึง ต้นระกำ ความระกำช้ำใจและเวรกรรม

            การหลากคำ

                มีการใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น 

                                        ชมแขคิดใช่หน้า                    นวลนาง

                                เดือนดำหนิวงกลาง                        ต่ายแต้ม

                                พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง                  จักเปรียบ ใดเลย

                                ขำกว่าแขไขแย้ม                           ยิ่งยิ้มอัปสร     

                         ภาพพจน์โวหาร

      ปฏิพากษ์โวหาร

                        การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกัน

                เพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เช่น

                                        อยุธยายศล่มแล้ว                      ลอยสวรรค์ ลงฤๅ

                                สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-                    เจิดหล้า

                                บุญเพรงพระหากสรรค์                        ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ

                                บังอบายเบิกฟ้า                                 ฝึกฟื้นใจเมือง

    อติพจน์โวหาร

            คือการกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คุณค่าทางด้านอารมณ์เป็น สำคัญ เช่น

                                          เอียงอกเทออกอ้าง                   อวดองค์ อรเอย

                                  เมรุชุบสมุทรดินลง                            เลขแต้ม

                                  อากาศจักจารผจง                             จารึก พอฤา

                                  โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                          อยู่ร้อนฤาเห็น

    บุคคลวัตหรือบุคลาธิษฐาน

            กวีใช้คำสมมติต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น

                              จากมามาลิ่วล้ำ                         ลำบาง

                                  บางยี่เรือราพลาง                              พี่พร้อง

                                  เรือแผงช่วยพานาง                            เมียงม่าน มานา

                                  บางบ่รับคำคล้อง                              คล่าวน้ำตาคลอ

คุณค่าด้านเนื้อหา

            นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) แต่งนิราศเรื่องนี้โดยวิธีเลียนแบบครู คืออาศัยบทกวีเก่า ๆ
เป็นหลักแต่ไม่ได้ลอกเอามาดื้อ ๆ หากแต่เอารูปมาแล้วถ่ายความคิดของตัวลงไปใหม่

                กำสรวลศรีปราชญ์

                                        อยุธยายศยิ่งฟ้า                        ลงดิน แลฤๅ

                                อำนาจบุญเพรงพระ                           ก่อเกื้อ

                                เจดีย์ลอออินทร์                                 ปราสาท

                                ในทาบทองแล้วเนื้อ                            นอกโสรม

                นิราศนรินทร์       

                                        อยุธยายศล่มแล้ว                      ลอยสวรรค์ ลงฤๅ

                                สิงหาสน์ปรางรัตน์บรร-                       เจิดหล้า

                                บุญเพรงพระหากสรรค์                        ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ

                                บังอบายเบิกฟ้า                                 ฝึกฟื้นใจเมือง

คุณค่าด้านสังคม

         ๑. นิราศนรินทร์คำโคลงมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมในสมัยรัชกาลที่ ๒

๒. นิราศนรินทร์คำโคลงมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน
    ในสมัยรัชกาลที่ ๒

นิราศนรินทร์คำโคลงให้ข้อคิดและแนวทางนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงอย่างไร

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ ผู้ที่เป็นคู่รักกันควรจะมีความซื่อสัตย์และความไว้วางใจต่อกัน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความวิตกกังวลว่าอีกฝ่ายจะเปลี่ยนใจไปรักคนอื่นเมื่อคราวที่ต้องพลัดพรากห่างไกลกัน

โคลงนิราศนรินทร์ให้คุณค่าแก่ผู้อ่านด้านใดบ้าง

คุณค่าของนิราศนรินทร์ ๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ││ การเลือกสรรค้า (เล่นเสียงสัมผัส) - การใช้ภาพพจน์ การรักษาวิธีการแต่ง - การใช้รสวรรณคดี ๒. คุณค่าด้านสังคม - การบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

นิราศนรินทร์คําโคลงแต่งในสมัยใด

นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย

นิราศนรินทร์ ใช้กลวิธีทางภาษาแบบใด

นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143 บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำ ...