การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตัวอย่าง

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development)

             เป้าหมายหนึ่งของการลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ก็คือการผลิตสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์  ซึ่งผลจากการวิจัยที่ได้ จะเป็นในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการทำให้สิ่งที่คาดหวังจากการวิจัยและพัฒนานำมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความแตกต่าง ด้วยการนำเทคโนโลยีและโอกาสในการทำการตลาดมาผสมผสานเพื่อนำไปจำหน่ายหรือนำไปจดสิทธิบัตรเพื่อสร้างรายได้

                ผลิตภัณฑ์ใหม่คืออะไร?

                ผลิตภัณฑ์สามารถเป็นสิ่งที่ใหม่ในโลก หรืออาจเป็นสิ่งที่ใหม่ในองค์กร ยกตัวอย่างเช่น บ.Hewlett-Packard (HP) ผลิตเครื่องพิมพ์ Laser Jet ได้เป็นรายแรกของโลก แต่ บ.IBM ได้ผลิต Laser printer ในสายผลิตภัณฑ์ใหม่ของกิจการ  ซึ่งเป็นผู้ผลิตหลังจากที่ HP ได้ผลิตมาก่อนหลายปีแล้ว  นอกจากนี้  บ.โบอิ้งได้แนะนำ โบอิ้ง รุ่น 747:400  และได้เป็นเครื่องบินที่ได้มีการพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในองค์กรที่ประสบความสำเร็จอีกรุ่นหนึ่ง หรือ บ. Microsoft ได้แนะนำรุ่นต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการ Windows ออกมา เช่น Windows 3.1 Windows 98 Windows 2000 Windows XP Windows NT เป็นต้น

                ความสำเร็จขององค์กรคือการพัฒนาสินค้าเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจประกอบด้วย รายได้และกำไร ผลตอบแทนกับผู้ถือหุ้น การบริการที่ดี การตอบแทนต่อสังคม การให้โอกาสต่อพนักงาน การสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กร ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ให้กับกิจการ

                เพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร องค์กรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้

                1. การสะสมความคิด พัฒนาและทดสอบแนวคิด ในช่วงเริ่มแรกของการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา หลังจากที่กิจการได้มีความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Idea) แล้ว ต่อมาจะต้องมีการกลั่นกรองความคิดเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำมาทดสอบในตลาดได้ กิจการจะต้องแสดงรายละเอียดให้อยู่ในรูปของแนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product concept) ที่อธิบายรายละเอียดในรูปที่มีความหมายและภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ (Product image) โดยนำเสนออย่างเป็นรูปธรรมในรูปธรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ตลาดต้องการ    

                2. การพัฒนากลยุทธ์ตลาด เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด ซึ่งจะต้องมีการกลั่นกรอง 3 ขั้นตอนดังนี้

·        อธิบายโครงสร้างและพฤติกรรมของตลาดเป้าหมาย แผนการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และการขายส่วนครองตลาดและกำไรในช่วง 2-3 ปีแรก

·        แผนเกี่ยวกับราคาผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การจัดจำหน่าย และงบประมาณการตลาดในปีแรก

·        แผนการขายและเป้าหมายกำไรระยะยาว และกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่ใช้

 3. การวิเคราะห์ทางธุรกิจ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการวิเคราะห์ทางธุรกิจ มีดังนี้

·        ความสัมพันธ์กับสายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ใหม่ควรมีความสัมพันธ์กับสายผลิตภัณฑ์เดิมที่กิจการมีอยู่  มิฉะนั้นอาจทำให้ต้นทุนของกิจการสูงขึ้น เพราะทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต ช่องทางการจำหน่าย และส่วนประสมการตลาดอื่น  ๆ

·        ต้นทุนในการพัฒนาและแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ จะพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิจัยตลาด การส่งเสริมการตลาด ลิขสิทธิ์ รวมทั้งเครื่องจักรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในการนำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าตลาดอาจต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะได้กำไร

·        การแข่งขันและการยอมรับของตลาด  เมื่อลูกค้ายอมรับสินค้าแล้ว กิจการต้องพยามยามรักษาลูกค้าของตนให้ได้ มิฉะนั้นลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าของคู่แข่งขันก็ได้

·        การพยากรณ์ยอดขาย การคาดคะเนต้นทุนและกำไร เพื่อที่จะทราบถึงยอดขายว่าสูงพอจะก่อให้เกิดกำไรเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ การซื้อของลูกค้าอาจเป็นการซื้อซ้ำ ซื้อครั้งแรก หรือซื้อไปให้กับผู้อื่น กิจการต้องทราบถึงลูกค้าของตนว่าเป็นใคร มีพฤติกรรมในการซื้อเป็นเช่นไร

·        บุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีทักษะ ความสามารถ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่อบุคลากรอย่างเพียงพอในการทำงาน    

                4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีการพัฒนาและออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อนำสิ่งที่พรรณนาในเชิงคำพูดลายลักษณ์อักษร ภาพวาดหรือแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ที่จะทำให้ลูกค้ามองเห็นถึงคุณสมบัติของตัวผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นควรทำการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนามเพื่อให้มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ว่าตลาดยอมรับได้

  5. การทดสอบและแนะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ผลการทดสอบตลาดมีความเป็นไปได้ที่กิจการจะมีผลกำไรจากผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจการจะต้องพิจารณาเลือกช่วงเวลา ในการเข้าสู่ตลาด ขอบเขตของตลาด ตลาดเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและกลยุทธ์ทางการตลาดในช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ ซึ่งประโยชน์ของการแนะนำผลิตภัณฑ์มีดังนี้

·        ทำให้การพยากรณ์ยอดขายในอนาคตมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

·        เพื่อทดสอบแผนงานด้านตลาดแบบต่าง  มีหลักการ 5 ประการในการตั้งชื่อ กล่าวคือ

                1.1 การเลือกชื่อที่ง่ายต่อการออกเสียง

                1.2 การเลือกชื่อที่พรรณนาถึงรูปร่างลักษณะ

                1.3 การใช้ชื่อที่สามารถได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย

                1.4 การพิจารณาชื่อที่สะดวกต่อการส่งเสริมการตลาด

                1.5 การเลือกชื่อที่สามารถใช้กับหลายสายผลิตภัณฑ์

                2. บรรจุภัณฑ์ (Packaging) นอกเหนือจากช่วยป้องกันตัวผลิตภัณฑ์แล้ว บรรจุภัณฑ์ยังเป็นเครื่องมือที่เพิ่มคุณค่าของสินค้า บางผลิตภัณฑ์ลูกค้าซื้อสินค้าโดยตัดสินใจจากบรรจุภัณฑ์ ในการใช้บรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือในทางการตลาด กิจการควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

                2.1 การบริการตนเอง (Self-service)  บรรจุภัณฑ์สามารถดึงดูดความสนใจให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าด้วยการอธิบายถึงลักษณะผลิตภัณฑ์ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและให้ความรู้สึกที่ชื่นชอบ

                2.2 ความอยู่ดีของผู้บริโภค (Consumer affluence) ลูกค้ามียินดีที่จะจ่ายเงินสำหรับความสะดวก รูปลักษณ์และความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์

                2.3 ภาพลักษณ์ของกิจการและตรา (Company and brand image) กิจการเห็นความสำคัญของการสนับสนุนให้มีบรรจุภัณฑ์ที่ดีเพื่อการยอมรับของลูกค้า

                2.4 โอกาสทางนวัตกรรม (Innovation Opportunity) บรรจุภัณฑ์สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับตลาดและสร้างกำไรให้กับกิจการ

          3. ฉลาก (Labeling) มีประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์มาก เช่น แสดงตราผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลของตัวผลิตภัณฑ์ที่ให้กับลูกค้า สินค้าบางชนิดกฎหมายมีการกำหนดว่าต้องแสดงให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดของตัวสินค้าเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจในการซื้อ

                4. การประกัน (Warranties)  การประกันเป็นการสะท้อนถึงความเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่กิจการจำหน่าย  ปัจจัยที่ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาก่อนทำการตัดสินใจกำหนดนโยบายการประกันคือ

- ต้นทุน

- ความสามารถในการให้บริการ

- คู่แข่งขัน

- การยอมรับของลูกค้า

- ข้อกำหนดทางกฎหมาย     

                ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นสิ่งที่องค์กรจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญ เพราะสินค้าใหม่ 100 ชนิดจะมีที่อยู่รอดในช่วง 2-3 ปีแรกมีประมาณ 10% เท่านั้น และยังมีสินค้าดังกล่าวอาจจะประสบความล้มเหลวหลังจากนั้นอีก ประมาณ 3-4% ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อมีสินค้าใหม่แล้ว ผู้บริหารถ้าต้องการให้สินค้าได้อยู่ในตลาดควรที่จะทราบสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ล้มเหลวเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข ดังต่อไปนี้

                1. ความล้มเหลวทางการตลาด

                                1.1  กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีไม่มาก

                                1.2  การวางตำแหน่งสินค้าไม่ดี

                                1.3  การสร้างความแตกต่างสินค้าไม่ชัดเจน

                                1.4 ไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้า

                                1.5 มีแรงตอบโต้จากคู่แข่งขันมาก

                2. ความล้มเหลวทางการเงิน

                                2.1 มีผลตอบแทนในการลงทุนมีอัตราต่ำ

                                2.2 มีการวางแผนทางการเงินผิดพลาด

                3. ความล้มเหลวทางเทคนิค

                                3.1 ออกแบบสินค้าไม่ดี

                                3.2 บรรจุภัณฑ์ไม่ดึงดูดใจ

                                3.3 สินค้าไม่มีคุณภาพ

                4. ความล้มเหลวทางเวลา

                                4.1 เข้าตลาดเร็วเกินไป

                                4.2 เข้าตลาดช้าเกินไป

                5. ความล้มเหลวภายในองค์กร

                                5.1 ขาดการสนับสนุนจากคนในองค์กร

                                5.2 มีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เหมาะส

                6. ความล้มเหลวจากสิ่งแวดล้อมภายนอก

                                6.1 กฎเกณฑ์จากภาครัฐ

                                6.2 เศรษฐกิจที่มีความผันผวน