พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

วันเสาร์, 26 พฤศจิกายน 2565

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562

หน้าแรก

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย

  • กฎหมายบริหารสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย

  • กฎหมายปกครองการบริการสถาบันอุดมศึกษา

  • กฎหมายวิชาชีพ

  • กฎหมาย Digital

  • กฎหมายการร่วมทุนและเอกชน

  • กฎหมายอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

กฎหมายบริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • กฎหมายสภามหาวิทยาลัย

  • กฎหมายบริการวิชาการ

  • กฎหมายงานวิจัย

  • กฎหมายวิชาการ

  • กฎหมายกิจการนักศึกษา

  • กฎหมายบริหารทรัพย์สิน

  • กฎหมายงบประมาณ

  • กฎหมายพัสดุ

  • กฎหมายการเงินและบัญชี

  • กฎหมายบุคคล

  • กฎหมายสอบสวนและวินัย

มติคณะรัฐมนตรี

ติดต่อเรา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562

หน้าแรก

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย

กฎหมายบริหารสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย

กฎหมายปกครองการบริการสถาบันอุดมศึกษา

กฎหมายวิชาชีพ

กฎหมาย Digital

กฎหมายการร่วมทุนและเอกชน

กฎหมายอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

กฎหมายบริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กฎหมายสภามหาวิทยาลัย

กฎหมายบริการวิชาการ

กฎหมายงานวิจัย

กฎหมายวิชาการ

กฎหมายกิจการนักศึกษา

กฎหมายบริหารทรัพย์สิน

กฎหมายงบประมาณ

กฎหมายพัสดุ

กฎหมายการเงินและบัญชี

กฎหมายบุคคล

กฎหมายสอบสวนและวินัย

มติคณะรัฐมนตรี

ติดต่อเรา

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330โทร. 02 109 5432, โทรสาร. 02 160 5438อีเมลสารบรรณกลาง รับ-ส่ง หนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ : อีเมลติดต่อสอบถามข้อมูล :
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562
เว็บไซต์เดิม

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สถานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 และมาตรา 32 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่น ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร เพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับ การศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มี กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง

มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสามองค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด ”

มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 32/1 และมาตรา 32/2 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“ มาตรา 32/1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

มาตรา 32/2 การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”

มาตรา 5 ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 35/1 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“ มาตรา 35/1 ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบ จำนวนกรรมการคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกและการแต่งตั้งประธานกรรมการกรรมการและกรรมการและเลขานุการวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก

ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”

มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา ที่มิใช่การจัดการอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงอื่น เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการและแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ”

มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข ”

มาตรา 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 51/1 ของหมวด 7 ครูคณาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษา แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“ มาตรา 51/1 คำว่า “ คณาจารย์ ” ในหมวดนี้ ให้หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน แต่ไม่รวมถึงบุคลากรซึ่งสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ”

มาตรา 11 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามมาตรา 35/1 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น

มาตรา 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เพื่อกำหนดขอบเขตในการดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2562
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

ที่มา: ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก