แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

นครสวรรค์/วันนี้(22 สิงหาคม 2565) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช.  ร่วมกับ มูลนิธิศูนย์การศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย จัดสัมมนา การลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา การพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งเมืองโดยองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก โดยความร่วมมือระหว่าง โครงการ KNOW มหาวิทยาลัยลอนดอน มูลนิธิศูนย์การศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เทศบาลนครนครสวรรค์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองนครสวรรค์ ในวันที่ 21-24 สิงหาคม 2565   โดยมีนายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)    นางสาวสมสุข บุญบัญชา ประธานคณะกรรมการมูลนิธิศูนย์การศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย  นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ ตัวแทนเครือข่ายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัดจาก ประเทศ พม่า เนปาล เวียดนาม อินโดนิเซีย ตัวแทนเครือข่ายบ้านมั่นคง 5 ภาค และเครือข่ายบ้านมั่นคงเมืองนครสวรรค์ เข้าร่วมการสัมมนา จำนวนกว่า 100 คน ณ ห้องประชุมชั้น5 เทศบาลนครนครสวรรค์

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

เป้าหมายของการสัมมนาในครั้งนี้คือ นำเสนอผลการศึกษาการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งเมืองโดยองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก ซึ่งได้เริ่มดำเนินการศึกษาเมื่อเดือนมกราคม ปี 2562 โครงการ KNOW ในเอเชียได้เริ่มต้นขึ้นที่เมืองนครสวรรค์ ซึ่งได้รับเลือกเป็นเมืองตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างเมืองและชุมชน ในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากการพัฒนาเมือง มีการทำงานร่วมกันของ ชุมชนและภาคส่วนต่างๆ จนเกิดความสมดุลและความเสมอภาคในการพัฒนา และการขยายผลการศึกษาไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสถานะภาพสู่ความเท่าเทียม Pathway To Equality (PTE)

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

นางสาวสมสุข บุญบัญชา

นางสาวสมสุข บุญบัญชา ประธานคณะกรรมการมูลนิธิศูนย์การศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย  กล่าวว่า การนำเสนอผลการศึกษาการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งเมืองโดยองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก  ชุมชนเมืองนครสวรรค์สามารถเปลี่ยนแปลงโดยผู้เดือดร้อนร่วมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง  ความรู้จากที่นี่จะผสมผสานและนำไปปรับใช้กับเมืองอื่นๆ  องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยจะเป็นความรู้ของโลก ความรู้ที่เมืองนครสวรรค์ จะไปเอื้อให้คนจนในที่อื่นรู้วิธีแก้ไขปัญหาและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง และ พอช.เป็นหน่วยงานที่มองชุมชนเป็นแกนหลักให้ชุมชนบริหารจัดการตนเอง รวมทั้งที่นครสวรรค์มีหน่วยงานท้องถิ่นอย่างเช่นเทศบาลและหน่วยงานอื่นๆที่เข้ามาสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา  ทำให้พี่น้องในชุมชนสามารถจัดการปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

นางอร่ามศรี จันทร์สุขศรี

นางอร่ามศรี จันทร์สุขศรี ประธานเครือข่ายการพัฒนาที่อยู่อาศัยจังหวัดนครสวรรค์ กล่าว่า  บทบาทขององค์กรชุมชนกับการพัฒนาเมือง ที่นครสวรรค์เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ชุมชนพวกเราหลายๆชุมชนเริ่มถูกการไล่รื้อ พี่น้องเครือข่ายองค์กรชุมชนรวมตัวกันทำงาน เริ่มจากการใช้ข้อมูลในการสำรวจ โดยการสำรวจทั้งหมดในพื้นที่ชุมชนเมืองเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ดูว่ามันจะแก้ไขปัญหาเรื่องของที่อยู่อาศัยไปในทิศทางไหน นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน เอาข้อมูลตรงนี้ไปเสนอกับหน่วยงานหาทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ยุคแรกๆเราก็เริ่ม 2-3 ชุมชน ปัจจุบันสามารถปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเกือบจะครอบคลุมทั้ง 70 กว่าชุมชนแล้ว ทำไปพร้อมๆกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหนี้สินเรื่องของเศรษฐกิจนะคะรวมทั้งเรื่องของการจัดการเรื่องของภัยพิบัติ

เรามีความเชื่อมั่นอย่างอย่างมาก จากรูปธรรมที่เราทำมา 30 กว่าโครงการ เป็นตัวตอบโจทย์อยู่แล้วว่า คนที่เดือดร้อน พี่น้องเราที่เดือดร้อนที่อยู่ในชุมชน คนเล็กคนน้อยได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของตนเอง เชื่อมั่นว่าถ้าเขารวมตัวกันทำงานจะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด  พวกเรามีความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่า “ถ้าขบวนองค์กรชุมชนลุกขึ้นมาการจัดการตนเอง พี่น้องเราได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองมันจะแก้ไขปัญหาของชุมชนได้แน่นอน 100%”  นางอร่ามศรี กล่าวในตอนท้าย

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

นายกฤษดา  สมประสงค์

นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กล่าวว่า  บ้านคือหัวใจสำคัญหลักของมนุษย์ คือปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ถ้ามีความมั่นคงด้านที่อาศัยจะไม่เกิดความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต บ้านมั่นคงนั้นมีความหมายมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่หมายถึงชุมชนที่มีความสุข ชุมชนที่สมาชิกเกี่ยวหัวใจในการอยู่รวมกันไว้ ชุมชนที่ร่วมมือในการทำงานเป็นครอบครัวใหญ่ การแก้ไขปัญหาที่อาศัยคนจนเมืองนครสวรรค์นั้น เป็นต้นแบบในการดำเนินงานของโครงการบ้านมั่นคงเป็นต้นแบบให้กับชุมชนทั่วประเทศ จนนำไปสู่นโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่อาศัยของคนจน โดยเฉพาะที่เมืองนครนครสวรรค์ มีเทศบาลที่ให้ความสำคัญและความร่วมมือเป็นอย่างดี ดูแลทำให้คนทุกคนในเมืองอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ

นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ กล่าวว่า  เทศบาลสามารถสนับสนุนการทำงานของชุมชนในหลายรูปแบบ เช่นการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน ให้เป็นกลไกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย โดยการสนับสนุนของ พอช. ในปัจจุบันมีการดำเนินโครงการบ้านมั่นคงในจังหวัดนครสวรรค์แล้ว 32 โครงการ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของชุมชนทั้งหมด กุญแจสำคัญของความสำเร็จนี้คือความร่วมมือของชุมชนและเทศบาล แม้จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่เราจะก็ดำเนินการได้สำเร็จ      นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น กรมธนารักษ์ สถาบันราภัฎ พมจ. และเชื่อมั่นว่าความร่วมมือร่วมใจไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ข้อจำกัดอย่างไร สามารถที่จะสร้างเนื้องานที่ดีมีคุณภาพขึ้นมาได้  เมืองนครสวรรค์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางใหม่ๆ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในอนาคต รวมทั้งเมืองต่างๆในเอเชีย แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างในแง่ของปัจจัยสิ่งแวดล้อม แต่เรามีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน สามารถปรับความรู้จากการศึกษาร่วมของเราไปใช้ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

ผลการศึกษาบางช่วงบางตอนจากโครงการ KNOW : ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งเมืองโดยองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก กรณีศึกษา ชุมชนในเมืองเทศบาลนครนครสวรรค์ พบว่า

  1. บริบทของเมืองท่าในการขนส่ง/ถ่ายเทสินค้าในอดีตที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการอยู่อาศัยกระจัดกระจายบริเวณริมน้ำ เชิงเขา ที่ราบบริเวณต่างๆ มีชุมชนแออัดเกิดขึ้นกว่า 50 แห่งในเมือง ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลพบว่า หากจะมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จะต้องเริ่มตั้งแต่การจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ดินของรัฐ ได้แก่ ที่ราชพัสดุ ที่การรถไฟฯ ที่ป่า ฯลฯ ต้องประสานทำความเข้าใจ บทบาทการทำงานของภาครัฐ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้เดือดร้อนที่อยู่กันกระจัดกระจาย และการออกแบบวางผังเมืองที่จะต้องให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้เดือดร้อนในการตัดสินใจ
  2. ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน (2565) ประมาณ 20 ปีกว่า สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดไปแล้ว 31 แห่ง จาก 50 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62 ชุมชนมีการรวมกลุ่มเป็นกลไก “คณะกรรมการพัฒนาเมือง” มีกองทุนเมืองที่สมาชิกระดมทุน/เงินร่วมกันกว่า 4 ล้านบาท
  3. การสำรวจข้อมูลเมือง “ทำแค่ชุมชนเดียวมันมองไม่เห็น” แต่ทุกคนมาช่วยกันทำ กลายเป็นการทำข้อมูลที่ก่อให้เกิดกิจกรรม และเป็นเครื่องมือที่จะใช้ผลักดัน/เจรจาได้ โดยที่นี่ได้นำไปผลักดัน/เจรจาขอใช้ที่ดินราชพัสดุกับกรมธนารักษ์จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกๆด้าน รวมถึงมีการคิดค้นแพลตฟอร์มเพื่อจัดระบบข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการใช้วางแผน
  4. การเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ/ความสามารถของกลุ่มผู้เดือดร้อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตน ว่า “ผู้เดือดร้อนสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้ เช่น ช่างชุมชน กองทุนเมือง การทำข้อมูล” เมื่อเกิดรูปธรรมแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและบุคคล องค์กรที่อาจจะไม่ค่อยเข้าใจการทำงานพัฒนามาก่อน
  5. การแบ่งบทบาทหน้าที่ “ทุกคนต้องมีงาน มีความรับผิดชอบ” บ้านมั่นคงไม่ได้เป็นเครื่องมือให้กับใครคนใดคนหนึ่ง ดำเนินการ/จัดการได้คนเดียว ต้องอาศัยองค์ประกอบ ความสามารถจากหลายคน หลายภาคส่วนในการช่วยกัน
  6. “เจ้าพระยา-ที่ริมน้ำ เสือภูเขา-ที่เขา เอราวัณ-ที่ราบ” คือชื่อของแต่ละกลุ่มโซนพื้นที่ สะท้อนให้เห็นการกระจายบทบาทการพัฒนาที่ทุกคนจะเข้าถึง เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นหุ้นส่วนการพัฒนา “Partnership”
  7. การทำงานที่เป็นผลรูปธรรมดังกล่าว เป็นผลให้เกิด (1) การกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม (2) มีความใส่ใจช่วยเหลือกัน (3) การยอมรับซึ่งกันและกันทุกระดับ ทุกฝ่าย ที่นำมาสู่การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสู่ความเท่าเทียม
  8. สุดท้าย การพัฒนาไม่มีวันหยุดนิ่ง หยุดแค่การทำที่อยู่อาศัยได้ แต่เป็นการพัฒนาที่จะต้องมีการปรับตัวเพื่อพร้อมรับกับทุกสถานการณ์ และเกิดการแบ่งปัน เกิดการขยายผลสร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นที่อื่นๆต่อไป “บ้านมั่นคง-พื้นที่ความรู้ พื้นที่ชีวิตจริงชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่องค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก”

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

แผน พัฒนา เทศบาลนครนครสวรรค์

เข้าชมแล้ว: 309