ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์

ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์

เจาะลึกเทคโนโลยี ยามาฮ่าสุดล้ำในรถมอเตอร์ไซค์

 
ในปัจจุบันยานพาหนะถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของสมรรถนะและเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ยุคนี้ มีหลายรุ่นที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องความปลอดภัยขณะขับขี่เพิ่มเติม เช่นเดียวกับรถมอเตอร์ไซค์ยามาฮ่าที่นำเทคโนโลยีสุดล้ำเข้ามามีบทบาทในมอเตอร์ไซค์ จะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่อยู่ในรถมอเตอร์ไซค์ ยามาฮ่า วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกัน
 
ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์

 

BLUE CORE

BLUE CORE (บลูคอร์) คือเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรถมอเตอร์ไซค์ออโตเมติกของยามาฮ่า เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2014 ถูกใช้งานครั้งแรกใน Yamaha Grand Filano โดยเป็นเครื่องยนต์ที่ถูกพัฒนามาให้ตอบสนองการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ในชีวิตประจำวัน โดยมีคุณสมบัติเด่น 3 ข้อ ได้แก่


  • เพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • ลดการสูญเสียกำลังของเครื่องยนต์

  • ควบคุมการใช้น้ำมันพร้อมกับการจุดระเบิดอย่างมีประสิทธิภาพ


นอกจากนี้เครื่องยนต์บลูคอร์ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยลงกว่าเครื่องยนต์แบบเดิมถึง 50% แต่รถมอเตอร์ไซค์ยังมีประสิทธิภาพสูงอยู่ อีกทั้งเครื่องยนต์ก็ทำงานได้นุ่มนวลกว่า มีความทนทานมากกว่า ขนาดเล็กกว่า ใช้งานง่ายและเป็นมิตรต่อผู้ขับขี่มากกว่าเครื่องยนต์แบบเดิม


อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.yamaha-motor.co.th/blog/detail?url=มารู้จักกับ-blue-core-เทคโนโลยีอัจฉริยะจากทาง-yamaha-กันเถอะ-by-mocyc.com%20

 
ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์
 

Variable Valve Actuation หรือ VVA

VVA หรือ ระบบวาล์วแปรผัน เป็นเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในรถยนต์มานาน แต่เพิ่งถูกนำมาปรับใช้ในรถมอเตอร์ไซค์ Yamaha NMAX ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในรถคลาส 150 ซีซี. ที่นำเทคโนโลยีระบบวาล์วแปรผันมาใช้ในการทำงาน

หลักการทำงานของ VVA จะเน้นให้เครื่องยนต์มีกำลังเพิ่มขึ้นและช่วยเพิ่มแรงบิดในรอบสูง ทำให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและลดค่ามลพิษ


อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.yamaha-motor.co.th/blog/detail?url=บิดแรงเต็มพิกัด-ด้วยระบบ-vva-รถ-yamaha-nmax-155-cc&cate=reviews

 
ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์
 

Stop & Start System

เทคโนโลยี Stop & Start System เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถสกู๊ตเตอร์ขนาดเล็กจากประเทศญี่ปุ่น และยามาฮ่าก็ได้พัฒนามาใช้ในมอเตอร์ไซค์ที่ผลิตในประเทศไทย โดยรุ่นปัจจุบันที่มี Stop & Start System คือ Yamaha QBIX  Yamaha NMAX Yamaha AEROX ABS  และ Yamaha Grand Filano Hybrid

ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถชั่วคราวหรือรอสัญญาณไฟจราจร เทคโนโลยี Stop & Start System จะทำงาน ส่งผลให้เครื่องยนต์ดับโดยอัตโนมัติและจะกลับมาทำงานอีกครั้งเมื่อบิดคันเร่งเบาๆ ทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.yamaha-motor.co.th/blog/detail?url=มารู้จักกับ-stop-start-system-สุดยอดเทคโนโลยีอัจฉริยะจากทางยามาฮ่ากันเถอะ!!-by-mocyc.com

 
ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์
 

Traction Control หรือ TCS

TCS คือ ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีที่จะช่วยรักษาแรงฉุดลากเมื่อเร่งความเร็วบนถนนที่ลื่น ทำงานโดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการหมุนของล้อรถมอเตอร์ไซค์ทั้ง 2 ล้อ จะคอยจับสัญญานและส่งข้อมูลไปยังกล่องควบคุม เมื่อทั้ง 2 ล้อหมุนไม่สัมพันธ์กันแปลว่ามีล้อใดล้อหนึ่งลื่นไถล ระบบก็จะตัดกำลังเครื่องยนต์ทันทีเพื่อไม่ให้มีการเร่งเครื่องต่อทำให้การหมุนของทั้ง2ล้อกลับมาสมดุล ลดความเสี่ยงที่รถจะสะบัดและเสียหลักจากพื้นถนนที่ลื่นหรือการใช้คันเร่งมากเกินไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.yamaha-motor.co.th/blog/detail?url=traction-control-คืออะไร-ทำไมรถมอเตอร์ไซค์จำเป็นต้องมี!&cate=tip-amp-tricks

 
ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์
 

Yamaha Y Connect

อีกหนึ่งเทคโนโยลีสุดล้ำของยามาฮ่าที่มาในรูปแบบแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อข้อมูลรถผ่าน CCU ช่วยให้คนขี่สามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆ ของรถ รวมถึงการขับขี่ได้อย่างง่ายดายผ่านหน้าจอมือถือ ด้วยโหมดฟังก์ชันต่างๆ ในการใช้งานอย่างครบครัน ได้แก่ แจ้งเตือนการติดต่อเข้ามือถือ แจ้งเตือนการบำรุงรักษา แจ้งเตือนเครื่องยนต์กรณีพบปัญหา แสดงข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง แสดงมาตรวัดสมรรถนะขณะขับขี่ แสดงตำแหน่งจอดรถล่าสุด แสดงอันดับในการขับขี่และช่องทางการติดต่อยามาฮ่า

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.yamaha-motor.co.th/blog/detail?url=ส่อง_8_ฟังก์ชันเด่น_Yamaha_Y-Connect

ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์
 

Anti-Lock Brake System หรือ ABS

รถมอเตอร์ไซค์ยามาฮ่าหลายๆ รุ่นจะมีเวอร์ชันที่มาพร้อมกับ ABS หรือระบบป้องกันการเบรกจนล้อล็อกตายช่วยควบคุมรถ เพื่อไม่ให้รถเสียหลักและยังควบคุมอยู่ได้เมื่อเบรกอย่างรุนแรง และยังช่วยยืดอายุการใช้งานยางเพราะล้อจะไม่เสียดสีกับถนน

การทำงานของระบบ ABS จะผสมผสานระหว่างระบบกลไกของชุดปั๊มเบรกกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเซ็นเซอร์และกล่องควบคุม โดยเมื่อเราเบรกอย่างรุนแรงเซ็นเซอร์ที่มีอยู่ทั้งล้อหน้า-ล้อหลัง จะส่งสัญญาณไปยังกล่องควบคุม จากนั้นกล่องควบคุมก็จะสั่งให้ระบบเบรก ABS ทำงาน โดยอาศัยแรงดันน้ำมันเบรกดันผ้าเบรกเข้าไปจับดิสก์เบรกสลับกับคลายตัวออกเป็นจังหวะ เพื่อไม่ให้ล้อล็อกจนกว่ารถจะหยุด 

 
ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์
 

Unified Brake System หรือ UBS

ระบบเฉลี่ยน้ำหนักเบรกระหว่างหน้าและหลัง ที่ช่วยทำให้เบรกได้แม่นยำมากขึ้นและลดระยะเบรกเมื่อเราเหยียบเบรกหลังกลไกของระบบ UBS จะสั่งการให้เบรกล้อหน้าทำงานเพื่อควบคุมการหยุดรถที่สมดุลกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 
ระบบเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์
 

Slipper clutch

การ ‘เชนเกียร์’ หรือการลดจากเกียร์สูงมาใช้เกียร์ต่ำ แล้วปล่อยคลัตช์ จะทำให้ความเร็วของล้อหลังและความเร็วของอัตราทดเกียร์ไม่สัมพันธ์กัน สิ่งที่ตามมาก็คือ ‘ล้อล็อก’ และ ‘ท้ายปัด’ ซึ่งอาจทำให้รถจักรยานยนต์เสียหลักได้

Slipper Clutch คืออุปกรณ์ที่ช่วยลดปัญหาการล้อล็อกและท้ายปัดจากการเชนเกียร์แล้วปล่อยคลัตช์ ช่วยให้เราสามารถควบคุมรถจักรยานยนต์ได้ง่ายขึ้นในขณะที่ลดเกียร์ลงนั่นเอง 


อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.yamaha-motor.co.th/blog/detail?url=slipper-clutch-คืออะไร-ทำไมรถจักรยานยนต์ต้องมี&cate=tip-amp-tricks


หรือหากมีข้อสงสัยอยากสอบถาม สามารถเข้าไปสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ศูนย์ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ ยามาฮ่า ทุกสาขา ทั่วประเทศ