มารดาที่มีภาวะเครียดอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์

ความเครียดส่งผลต่อทั้งสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตใจ ได้แก่ อาการไม่สบายทางกายต่างๆ เช่น ปวดหัว, ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย, ความผิดปกติของหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, โรคกระเพาะ ฯลฯ และผลต่อสุขภาพจิตใจ นำไปสู่ความวิตกกังวล, ซึมเศร้า, กลัวอย่างไร้เหตุผล, อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย ฯลฯ

ผลกระทบที่เกิดจากความเครียด

ผลกระทบจากความเครียดเหล่านี้นอกจากจะส่งผลเสียต่อด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน สัมพันธภาพต่อครอบครัวกับบุคคลแวดล้อม และเมื่อประสิทธิภาพในงานตกต่ำ สัมพันธภาพเสื่อมทรามลง ก็จะทำให้เครียดมากขึ้นซ้ำซ้อน จึงนับได้ว่าความเครียดเป็นภัยต่อชีวิตอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกายและระดับฮอร์โมนภายใน ทำให้คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกหงุดหงิดโมโหง่าย และรู้สึกเครียดและวิตกกังวลต่อเรื่องต่างๆ นอกจากความเครียดจะทำลายสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์ ยังส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์อีกด้วย

มารดาที่มีภาวะเครียดอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์

เมื่อแม่ท้องเครียดจะเกิดอะไรขึ้น อันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดความเครียดสะสม ร่างกายจะหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา (สารอะดรีนาลิน) แต่เมื่อคุณแม่มีอารมณ์ดีร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข (สารเอ็นโดรฟิน) ซึ่งทารกในครรภ์จะสามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ของคุณแม่ได้จากสารเคมีที่หลั่งออกมาในกระแสเลือด โดยในขณะที่ร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลิน จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและรกเกิดการหดตัว จึงทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง จึงทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า มีโอกาสติดเชื้อในครรภ์สูง มีภาวะเสี่ยงต่อการแท้ง และส่งผลให้ทารกหลังคลอดมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณณฑ์ มีปัญหาด้านสุขภาพ มีพัฒนาการช้า ส่งผลให้มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ยาก อีกทั้งยังทำให้มีปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น เป็นเด็กขี้แย, ขี้ตกใจ, โมโหง่าย, ร้องไห้เก่ง. กลายเป็นเด็กเลี้ยงยาก และอาจทำให้เด็กมีภาวะซึมเศร้า

วิธีรับมือกับความเครียดขณะตั้งครรภ์

ในขณะตั้งครรภ์ อาการคนท้องที่เกิดขึ้นก็นับว่ามีหลายอย่างแล้ว และกับความเครียดนั้นเพื่อจัดการกับความเครียดได้อย่างไร้กังวล คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองที่ต้องพบในช่วงขณะตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมความพร้อมและสามารถรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น และยังเป็นการช่วยลดความเครียดและความกังวลใจอีกด้วย และเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เริ่มรู้สึกเครียด อย่าปล่อยให้ความเครียดสะสมนานๆ ควรผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น เช่น เดินเล่นเปิดหูเปิดตา, พูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อน, ดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกมส์, อ่านหนังสือ, หาอาหารหรือขนมอร่อยๆ ทาน, ออกกำลังกายอย่างเบาๆ อย่างการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ, พูดคุยเล่นกับเด็กในท้อง หรือฝึกผ่อนคลายโดยตรง เช่น การฝึกสมาธิหรือการฝึกหายใจให้ถูกวิธี ก็จะช่วยลดความเครียดและความกังวลใจได้มากทีเดียวค่ะ

และนี่ก็คือ วิธีผ่อนคลายความเครียดขณะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่หลายท่านก็คงรู้ดีแล้วว่าความเครียดนั้นเป็นอีกหนึ่งอาการคนท้องที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ลำพังหรือต้องรับผิดชอบภาระต่างๆ คนเดียว รวมถึงปัญหาครอบครัวที่อาจเกิดขึ้น แน่นอนว่าความเครียดจะส่งผลกระทบยังทารกและสุขภาพคุณแม่ได้ ดังนั้น พยายามหาทางแก้ รับมือกับความเครียดเข้าไว้จะดีที่สุด

มารดาที่มีภาวะเครียดอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์

เป็นคุณแม่มือใหม่ก็มักจะได้ยินใครต่อใครบอกว่า อย่าเครียดนะ อย่ากังวลนะ จริงๆ ไม่ว่าคุณแม่คนไหนก็ไม่อยากเครียดกันทั้งนั้นแหละค่ะจริงไหม

แต่หากความเครียดมาเยือนละ คุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเราๆ บางครั้งก็แอบคิดไม่ได้ว่ามันจะกระทบกับลูกในท้องของเราหรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันเลยค่ะ

ร่างกายที่เปลี่ยนไป ทั้งเรื่องน้ำหนัก และความเป็นอยู่ การแพ้ท้อง กินข้าวไม่ได้ เหล่านี้มักจะทำให้คุณแม่มักมีความกังวลระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเครียดหรือกังวลมีดังนี้

สาเหตุที่ทำให้แม่ตั้งครรภ์เกิดความเครียด

มารดาที่มีภาวะเครียดอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์

  • เกิดจากฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ : มันจะทำให้คุณแม่มีความเครียดและความอ่อนไหวทางอารมณ์เพิ่มขึ้นนั้นเอง
  • ความกังวลของคุณแม่ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด

ความเครียดส่งต่อจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เครียด ร่างกายมักจะมีฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน หลั่งภายในร่างกาย และจะส่งผลกระทบโดยแบ่งเป็น 2 ฝั่ง นั้นก็คือ ตัวของแม่ที่ตั้งครรภ์เอง และทารกในครรภ์

มารดาที่มีภาวะเครียดอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์

ผลกระทบฝั่งมารดา
  • ทานอาหารไม่ได้ ห รือทานได้มากกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ร่างกายจะหลั่งอะดรีนาลีน ทำให้หลอดเลือดตีบ / ความดันสูง / หัวใจเต้นเร็วขึ้น
ผลกระทบฝั่งทารกในครรภ์ (หากเครียดมากๆ)
  • ทำให้แท้งได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ
  • การเจริญเติบโตของเด็กจะช้า เนื่องจากอาหารไปเลี้ยงลูกไม่พอ
  • มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
  • เมื่อคลอดแล้ว จะเป็นเด็กเลี้ยงยาก งอแง ขี้โมโห
  • โอากาสเกิดโรคหัวใจ ความดัน และเบาหวานได้

หากเครียดแล้วมีวิธีรับมืออย่างไร

มารดาที่มีภาวะเครียดอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์

  • เข้าใจกับความเครียดนั้น ว่าเกิดขึ้นจากฮอร์โมนธรรมชาติและความกังวลของตัวเอง เข้าใจอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เมื่อเข้าใจตัวเองแล้ว เข้าใจสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้คุณแม่วิตกกังวลน้อยลงได้ค่ะ
  • หากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายจากความกังวล เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำงานศิลปะ จัดดอกไม้ วาดรูป หรือหากิจกรรมที่อยากทำหรือชอบ เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายนั้นเองค่ะ
  • ออกกำลังกายเบาๆ เช่น ว่ายน้ำ โยคะ นั่งสมาธิ เพราะนอกจากร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขเพื่อให้คุณแม่อารมณ์ดีแล้ว ยังทำให้สุขภาพของคุณแม่และลูกในท้องดีอีกด้วยค่ะ
  • เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการไปทานข้าวนอกบ้าน หรือพบปะเพื่อนๆ เพื่อแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยกับคนที่ไม่ค่อยได้เจออย่างเพื่อนสนิท หรือชวนญาติๆ มาทานข้าวนอกบ้านเปลี่ยนบรรยากาศกันก็เป็นการผ่อนคลายให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ หรือจะออกไปสูดบรรยากาศ สัมผัสธรรมชาติตามธรรมชาติ หรือต่างจังหวัดกับครอบครัวก็ดีมากเลยค่ะ
  • คนรอบข้าง โดยเฉพาะสามีและคนในครอบครัว ก็คือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณแม่ๆ หายเครียดได้ เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพใจแล้ว พวกเขาเหล่านั้นยังเข้าอกเข้าใจ รับฟังสิ่งที่แม่ๆ กังวล และเป็นเพื่อนคุยให้กับคุณแม่ได้ทุกเรื่องด้วยนะคะ

ไม่ว่าคุณแม่จะเป็นกังวลอย่างไร หากเข้าใจถึงอารมณ์และมีวิธีรับมือที่เหมาะสม ก็จะสามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นและสามารถปรับตัวได้อย่างไร้กังวลเลยค่ะ นอกจากคุณแม่จะมีสุขภาพจิตที่ดี ลูกในครรภ์ก็เป็นเด็กที่มีสุขภาพที่ดีอีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : Phayathai, Mamaexpert