การแบ่งตลาดตามกลุ่มของผู้ซื้อ แบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน

หน้าที่ของการตลาด
การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้
•  แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์
•  เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์
•  สนองความต้องการอุปสงค์

ลักษณะตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ถ้าแบ่งตลาดในทางเศรษฐกิจออกตามลักษณะของการแข่งขันอาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดที่มีการเข่งขันไม่สมบูรณ์
•  ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ลักษณะเด่นของตลาดแบบนี้ คือ

  1. ผู้ชื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก
  2. สินค้าที่ซื้อขายมีลักษณะคุณภาพมาตรฐานใกล้เคียงกันมาก
  3. การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก
  4. หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าได้โดยง่าย
  5. การเคลื่อนย้ายสินค้าและปัจจัยการผลิต จะต้องกระทำได้อย่างสมบูรณ์

•  ตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ การพิจารณาลักษณะตลาดแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์เราอาจแยกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ด้านผู้ขายและด้านผู้ซื้อ ดังต่อไปนี้  

ทางด้านผู้ขาย

  1. ตลาดกึงแข่งขันกึงผูกขาด มีผู้ขายและสินค้าจำนวนมาก สินค้าที่ขายมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ไม่สามารถทำให้แตกต่างกันได้

  2. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย โดยทั่วไปจะมีผู้ขายเพียง 3-5 รายในตลาดเท่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นพวกอุตสาหกรรมหนัก

  3. ตลาดที่มีการผูกขาดด้านการขายที่แท้จริง คือตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว ผู้ขายจะมีอิทธิพลเหนือราคา

ทางด้านผู้ซื้อ

  1. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดประเภทนี้มีผู้ซื้อจำนวนมากแต่ผู้ขายพอใจขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น จึงมีทางควบคุมราคาได้บ้าง
  2. ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยราคา คือ ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยมาก ถ้าผู้ซื้อคนใดเปลี่ยนแปลงปริมาณซ้อจะมีผลกระทบกระเทือนราคาตลาดและผู้ซื้อคนอื่น ๆ ด้วย

ตลาดผูกขาดที่แท้จริงทางด้านผู้ซื้อ เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงคนเดียวผู้ซื้อจึงอยู่ในฐานะเกี่ยงราคาได้ และในที่สุดก็สามารถที่จะกำหนดราคาสินค้าเองได้

ที่มา  http://reg.ksu.ac.th/teacher/sakkasam/lession5.html

โครงสร้างตลาดที่หลากหลาย เป็นลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มันเป็นตัวบ่งถึงระดับของการแข่งขันในตลาด นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ลักษณะของสินค้าและผลิตภัณฑ์ จำนวนผู้ขาย จำนวนผู้บริโภค ฯลฯ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างตลาดสี่ประเภทพื้นฐาน สิ่งหนึ่งที่ต้องจำเอาไว้คือ โครงสร้างตลาดเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริง มันเป็นเพียงแนวคิดทางทฤษฎี แต่มันช่วยให้เราเข้าใจหลักการที่อยู่เบื้องหลังการจำแนกโครงสร้างของตลาดได้

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition)

ในโครงสร้างตลาดการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ผู้ขายทั้งหมดของตลาดมักจะเป็นผู้ขายรายเล็ก ซึ่งจะมีการแข่งขันระหว่างกัน โดยที่จะไม่มีผู้ขายรายใหญ่รายใดที่มีอิทธิพลสำคัญต่อตลาดนี้ ดังนั้นบริษัททั้งหมดในตลาดจึงเป็นผู้กำหนดราคา โครงสร้างแบบนี้เป็นตลาดในอุดมคติ จะมีบริษัทใหม่เข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา เมื่อพวกเขาไม่อาจทำผลกำไรได้ก็ออกได้โดยไม่เจ็บตัว

ด้วยคู่แข่งจำนวนมากอิทธิพลของ บริษัทหรือผู้ซื้อเพียงหนึ่งรายนั้นค่อนไม่มีผลกระทบต่อตลาดโดยรวม แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบ แต่ในความเป็นจริงนั้นค่อนข้างจะเกิดขึ้นได้ยาก มีเพียงไม่กี่ตลาดที่อาจเหมาะสมกับทฤษฎีแบบนี้ เช่น เกษตรกรรม และหัตถกรรม นอกจากนี้ก็ยังมีข้อเสียอีกหลายอย่าง อันดับแรกคือผู้บริโภคต้องทนทุกข์ทรมานเนื่องจากไม่มีทางเลือกสำหรับสินค้าอื่นที่คล้ายกัน

ตลาดการแข่งขันแบบผูกขาด (Monopolistic Competition)

นี่เป็นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงในตลาดโลกปัจจุบัน ในการแข่งขันแบบผูกขาดนั้น ยังมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากเหมือนกัน แต่พวกเขาทั้งหมดไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นชนิดเดียวกัน ผลิตภัณฑ์มีความคล้ายคลึงกันมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะพึงพอใจที่มีตัวเลือกมากกว่าหนึ่งอย่าง ซึ่งผู้ขายอาจตั้งราคาที่สูงขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นผู้ขายจึงกลายเป็นผู้กำหนดราคาในระดับหนึ่ง

ตัวอย่างเช่นตลาดสำหรับธัญพืชคือการ “แข่งขันที่ผูกขาด” ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดคล้ายกัน แตกต่างกันแค่เล็กน้อยในแง่ของรสชาติ อีกตัวอย่างหนึ่งเช่นยาสีฟัน ตลาดแบบนี้มักจะขาดแรงจูงใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ แถมยังไม่ค่อยเกิดการแข่งขันมากนัก นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำให้เกิดภาวะเงินเฝ้อได้อีกด้วย

ตลาดผูกขาด (Monopoly)

ในโครงสร้างตลาดแบบผูกขาดนั้น จะมีผู้ขายเพียงรายเดียวดังนั้น คือบริษัทเดียวจะควบคุมตลาดสินค้ากลุ่มเดียวกันทั้งหมด พวกเขาสามารถกำหนดราคาเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากมีอำนาจเหนือตลาด ผู้บริโภคจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องเลือกซื้อของตามราคาที่กำหนดไว้ อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องคุณภาพของสินค้า  ด้วยเหตุผลเดียวกัน เมื่อไร้การแข่งขันก็ไม่จำเป็นจะต้องห่วงว่าเรื่องคุณภาพมากนัก

ลองคิดดูว่าถ้าหากเป็นมีร้านขายของชำแห่งเดียวในรัศมี 70 ไมล์ผู้ คนจะถูกบังคับให้ซื้อสินค้าที่นั่น เจ้าของร้านค้าตระหนักถึงสิ่งนี้ และไม่ต้องใช้เงินในการบำรุงรักษาหรือการควบคุมคุณภาพมากนัก เพราะพวกเขารู้ว่าลูกค้าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากซื้อกับร้านของพวกเขา แม้ว่าการผูกขาดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง มันทำให้ตลาดไม่เกิดการแข่งขัน ไม่มีการพัฒนา ไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตามการผูกขาดแบบนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากมากในความเป็นจริง

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

ในตลาดผู้ขายน้อยรายจะมีเพียงไม่กี่บริษัทในตลาด ในขณะที่ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนของบริษัท แต่ส่วนใหญ่จะมีไม่ต่ำกว่า 3 – 5 แห่ง ดังนั้นในกรณีนี้อำนาจของผู้ขายจะมีมากกว่าผู้ซื้อ เพราะผู้บริโภคมีตัวเลือกไม่มากนัก บางครั้งอาจมีการร่วมมือกันระหว่างบริษัท เพื่อกำหนดราคาและเพิ่มผลกำไรให้สูงสุดให้แก่ตนเอง ในตลาดผู้ขายน้อยรายมีอุปสรรคมากมาย ทำให้บริษัทใหม่ๆ ไม่ค่อยเติบโตได้ในตลาดประเภทนี้