การบำรุง รักษา เครื่องจักร กล หนัก

นวัตกรรมการเกษตรในปัจจุบันถูกพัฒนาออกมาในรูปแบบเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถทำกิจกรรมการเกษตรได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลา ลดขั้นตอน และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย

สำหรับพี่น้องมิตรชาวไร่ในปัจจุบัน คงคุ้นเคยกันดีกับนวัตกรรมการเกษตรเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น รถแทรกเตอร์ รถไถ รถตัดอ้อย รถบรรทุกอ้อย รวมถึงเครื่องจักรกลเครื่องยนต์อื่น ๆ ซึ่งเครื่องทุ่นแรงเหล่านี้หากใช้งานเพียงอย่างเดียวไม่บำรุงรักษา เครื่องจักรก็เหมือนคนที่มีแต่จะสึกหรอลงไปทุกวัน

ดังนั้นวันนี้มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มมีวิธีการบำรุงรักษาแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลให้คงประสิทธิภาพการทำงานและปลอดภัยเมื่อต้องใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือความเสียหาย เพราะเมื่อเกิดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องซ่อมแซมรักษาก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

How to การบำรุงรักษารถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตร

1. ทำความสะอาดรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นประจำทุกวัน ให้ปราศจากเศษวัสดุ ทางการเกษตร โคลน จาระบี คราบน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ป้องกันความร้อนที่จะสะสมกับเครื่องยนต์ ป้องกันการสะสมความชื้นซึ่งจะทำให้เกิดสนิม และลดเวลาที่จะเสียไปเนื่องจากการซ่อมแซม

2. ตรวจสอบน๊อต สกรู ฝาครอบต่าง ๆ ของรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะทำให้เกิด เสียงดัง ถ้าหลุดร่วงเข้าไปยังชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวแล้ว จะทำให้เกิดความเสียหายกับรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรได้

3. ทำบันทึกการบำรุงรักษารถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรตามชั่วโมงการใช้งานของรถ นั้น ๆ

4. ใช้งานรถแทรกเตอร์อย่างถูกวิธี ไม่นำรถแทรกเตอร์ไปใช้งานผิดประเภทหรือใช้งานหนักเกินไป ซึ่งจะทำให้รถแทรกเตอร์เสียหายได้

5. ตรวจสอบและถ่ายฝุ่นออกจากถ้วยดักฝุ่นเครื่องกรอง ตรวจสอบอ่างน้ำมันเครื่องกรองอากาศ ถ้ามีระดับฝุ่นผงมากให้ถ่ายออก ทำความสะอาดและใส่น้ำมันใหม่เข้าไปให้ได้ระดับเดิม

6. ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ โดยรถแทรกเตอร์จะต้องจอดในที่เรียบและดับ เครื่องยนต์ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นไกลกับอ่างเก็บน้ำมัน จากนั้นให้ดึงก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นทำความสะอาดด้วยผ้า และใส่ก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นกลับเข้าไปให้สุด ดึงก้านวัดออกมาตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ถ้าระดับน้ำมันหล่อลื่นอยู่ต่ำกว่าขีดล่าง ให้เติมด้วยน้ำมันหล่อลื่นชนิดเดียวกับน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้อยู่

7. ตรวจสอบระดับน้ำระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ควรตรวจสอบขณะที่เครื่องยนต์ไม่ร้อน เปิดฝา หม้อน้ำระบายความร้อน ตรวจสอบระดับของน้ำ ระดับของน้ำควรจะอยู่ต่างจากคอของหม้อน้ำประมาณครึ่งนิ้ว ถึง 2 นิ้ว (13 มม. – 51 มม.) ไม่ควรเติมน้ำระบายความร้อนให้มีระดับสูงเกินไป เพราะน้ำจะขยายตัวเมื่อมีอุณหภูมิสูง

8. อัดจาระบี เพื่อหล่อลื่นลูกปืนและเพลา ใช้จาระบีชนิดที่บริษัทกำหนด และเป็นจาระบีที่มีความสะอาด ทำความสะอาดหัวอัดจาระบี ก่อนทำการอัดจาระบี ห้ามอัดจาระบีมากเกินไป เพราะจาระบีส่วนเกินจะวิ่งลงสู่ส่วนอื่น ๆ ได้ เช่น สายพาน ผ้าเบรก ห้ามอัดจาระบีโดยใช้ความดันมากเกินไปสำหรับการหล่อลื่นลูกปืนหรือชิ้นส่วนที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่นและน้ำ เพราะจะทำให้อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นและน้ำแตกหรือรั่วได้

9. ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ รถแทรกเตอร์และจักรกลการเกษตร เช่น ชิ้นส่วนที่หลวมและเสียหาย แป้นและคันบังคับต่าง การรั่วซึมของน้ำ สายพาน ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและระบบไฮดรอลิก เป็นต้น

10. ควรบำรุงรักษาตามชั่วโมงการใช้งาน โดยทั่วไปรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรจะต้องมีการบำรุงรักษามากกว่าการบำรุงรักษาประจำวัน ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ชั่วโมงของการใช้งานเป็นตัวกำหนด โดยผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้รถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรนั้น ๆ อย่างละเอียด

เพื่อให้รถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และอยู่กับเราให้ได้นานที่สุด มิตรชาวไร่อย่าละเลยที่จะบำรุงรักษาเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านี้ตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นที่มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มนำมาฝากกันนะคะ

ที่มาข้อมูล-ภาพ

http://www.pcat.ac.th/

https://www.kubotasolutions.com/

หลักการการบำรุงรักษา                                                               

การบำรุง รักษา เครื่องจักร กล หนัก
Home

 

 บทนำ

    การบำรุงรักษา

    ความหมายของการบำรุงรักษา     ประเภทของการบำรุงรักษา
    จุดมุ่งหมายของการบำรุงรักษา     ชนิดของการบำรุงรักษา
    ความเป็นมาของการบำรุงรักษา     เอกสารอ้างอิง

ความหมายของการบำรุงรักษา

ารบำรุงรักษา (Maintenance) หมายถึง :การพยายามรักษาสภาพของเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ให้มีสภาพที่พร้อมจะใช้งานอยู่ตลอดเวลา

การบำรุงรักษานั้นครอบคลุมไปถึงการซ่อมแซมแซม (Repair) เครื่องด้วย

ในงานบริหารการผลิตหรือการบริการ มักจะหลีกเลี่ยงงานเพิ่มเติมที่สำคัญงานหนึ่งคือ การซ่อมและบำรุงรักษา ไปไม่ได้ ถึงแม้ว่างานซ่อมและบำรุงรักษาไม่ใช่งานผลิตโดยตรง แต่งานซ่อมและบำรุงรักษาก็มีบทบาทช่วยให้การผลิตและการบริการขององค์กรนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่การผลิตและการบริการจำเป็นที่จะต้องอาศัยอุปกรณ์และเครื่องจักรมากขึ้น การที่เครื่องจักรเกิดขัดข้องขึ้นมากะทันหันหรือไม่สามารถใช้งานได้ จะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตและการบริการนั้นๆ การที่จะได้มาซึ่งเครื่องจักรที่มีคุณภาพนั้น ต้องประกอบด้วย

(1)   มีการออกแบบที่ดีและตรงตามความประสงคต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรงแม่นยำ รวมทั้ง สามารถทำงานไดเต็มกำลังความสามารถที่ออกแบบไว  

(2)   มีการผลิต (หรือสร้าง) ที่ให้ความแข็งแรงทนทาน สามารถทำงานไดนานที่สุด และ ตลอดเวลา

(3)   มีการติดตั้งในสถานที่ที่เหมาะสมและสะดวกตอการใชงาน

(4)  มีการใชเปนไปตามคุณสมบัติและสมรรถนะของเครื่อง

(5)  มีระบบการบำรุงรักษาที่ดีเนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้เมื่อถูกใช้งานไปนาน ๆ ก็ตองมีการ เสื่อมสภาพ ชำรุด สึกหรอ เสียหายขัดข้อง ดังนั้น เพื่อใหอายุการใชงานเครื่องมือเครื่องใชยืนยาว สามารถใชงานไดตามความตองการของผใช้ ไมชำรุดหรือเสียบ่อยๆ ตองมี การบำรุงรักษา เครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช ในระบบการดำเนินงานด้วย จึงจะสามารถควบคุมการทำงานของเครื่องมือได อย่างมีประสิทธิภาพ

 จุดมุ่งหมายของการบำรุงรักษา

1. เพื่อให้เครื่องมือใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล  (Effectiveness)  คือ  สามารใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้เต็มความสามารถและตรงกับวัตถุประสงค์ที่จัดหามามากที่สุด

2. เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีสมรรถนะการทำงานสูง  (Performance) และช่วยให้เครื่องมือเครื่องใช้มีอายุการใช้งานยาวนาน  เพราะเมื่อเครื่องมือได้ใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะเกิดการสึกหรอ  ถ้าหากไม่มีการปรับแต่งหรือซ่อมแซมแล้ว  เครื่องมืออาจเกิดการขัดข้อง  ชำรุดเสียหายหรือ  ทำงานผิดพลาด

3. เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ (Reliability) คือ  การทำให้เครื่องมือเครื่องใช้มีมาตรฐาน   ไม่มีความคลาดเคลื่อนใด ๆ เกิดขึ้น

 4. เพื่อความปลอดภัย (Safety) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญ  เครื่องมือเครื่องใช้จะต้องมีความปลอดภัยเพียงพอต่อผู้ใช้งาน  ถ้าเครื่องมือเครื่องใช้ทำงานผิดพลาด  ชำรุดเสียหาย  ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ  อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ  และการบาดเจ็บต่อผู้ใช้งานได้  การบำรุงรักษาที่ดีจะช่วยควบคุมการผิดพลาด

5. เพื่อลดมลภาวะของสิ่งแวดล้อม เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดเสียหาย  เก่าแก่  ขาดการบำรุงรักษา  จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  มีฝุ่นละอองหรือไอของสารเคมีออกมา  มีเสียงดัง  เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง

6. เพื่อประหยัดพลังงาน  เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนมากจะทำงานได้ต้องอาศัยพลังงาน  เช่น  ไฟฟ้า  น้ำมันเชื้อเพลิง  ถ้าหากเครื่องมือเครื่องใช้ได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี  เดินราบเรียบไม่มีการรั่วไหลของน้ำมัน  การเผาไหม้สมบูรณ์  ก็จะสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้

 ความเป็นมาของการบำรุงรักษา

ยุคที่

ยุคต่างๆของการบำรุงรักษา

1 ก่อนปี .. 2493    

ยุคแรกก่อนปี .. 2493 เป็นยุคที่นิยมทำการซ่อมแซมหลังจากเครื่องมือเครื่องจักเกิด เหตุขัดข้องแล้ว (Break down Maintenance) ไมมีการป้องกันการชำรุดเสียหายของเครื่องไว้ก่อนเลย เมื่อเกิดขัดข้องไมสามารถใช้งานได แล้วจึงทำการซ่อมแซม

2 .. 2493 - 2503

ยุคที่สอง  ระหว่าง.. 2493 ถึงป .. 2503 เปนยุคที่เริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบการบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มาใช้ เพื่อป้องกันมิใหเครื่องมือเครื่องจักรเกิดการชำรุด มีเหตุขัดข้อง และเพื่อยกสมรรถนะของเครื่องมือให้ดีขึ้น ผู้ทำงานมีความมั่นใจในเครื่องมือมากขึ้น

3 ปี พ.. 2503 - 2513

ยุคที่สาม ระหว่างปี พ.. 2503 ถึงปี .. 2513 เป็นยุคที่นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับการ บำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance) ซึ่งแนวคิดนี้จะใหความสำคัญของการออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักรให้มีความน่าเชื่อ (Reliability) มากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความยากง่ายของการบำรุงรักษา และเอาหลักการด้านเศรษฐศาสตร์มาใช้ ร่วมด้วย

4 หลังปี .. 2513  

ยุคที่สี่ หลังปี .. 2513 เปนตนมาจนถึงปจจุบันนี้ ไดรวมเอาแนวคิดทุกยุคทุกสมัยเข้ามา ประกอบกัน โดยพยายามใหทุกฝ่ายไดมีสวนร่วมในงานการบำรุงรักษา (Total Productive Maintenance) เปนลักษณะของการบำรุงรักษาเชิงปองกัน จะไมเน้นเฉพาะฝ่ายบำรุงรักษาเทานั้น แต่จะเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องจักรใหมากขึ้น

การบำรุงรักษาเครื่องกลมีอะไรบ้าง

คือการบํารุงรักษาโดยรวมประเภทของการบํารุงรักษาทั้ง 4 เขา ดวยกันเพื่อลดการติดขัดของเครื่อง และมุงเพิ่มผลผลิต กิจกรรมในการบํารุงรักษาไดแก 1) การทําความสะอาด 2) การหลอลื่น 3) การตรวจเช็ค 4) การตรวจวัด 5) การปรับแตง 6) การใชอยางถูกวิธี 7) การเปลี่ยนชิ้นสวนที่สึกหรอหรือชํารุด 8) อื่นๆ

วิธีการบำรุงรักษาที่ใช้ประจำมีกี่วิธีอะไรบ้าง

1. Breakdown maintenance (การซ่อมบำรุงโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย) ... .
2. Planned/ Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน) ... .
3. Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน) ... .
4. Proactive maintenance (การบำรุงรักษาแบบป้องกันล่วงหน้า).

การซ่อมเครื่องจักรกลทำได้กี่ขั้นตอน

ล าดับขั้นการปฏิบัติงาน 1. ตรวจสอบชนิดของเครื่องจักรกล 2. ตรวจสอบและวิเคราะห์สาเหตุเสีย 3. วางแผน / ก าหนดขั้นตอนการซ่อมบ ารุง 4. ด าเนินการซ่อมบ ารุง 5. ทดสอบการใช้งาน

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลหลังการใช้งาน

2. เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีสมรรถนะการทำงานสูง (Performance) และช่วยให้เครื่องมือเครื่องใช้มีอายุการใช้งานยาวนาน เพราะเมื่อเครื่องมือได้ใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะเกิดการสึกหรอ ถ้าหากไม่มีการปรับแต่งหรือซ่อมแซมแล้ว เครื่องมืออาจเกิดการขัดข้อง ชำรุดเสียหายหรือ ทำงานผิดพลาด