การ ซ่อม บำรุง เพื่อความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

เผยแพร่เมื่อ 15/07/2564...,
เขียนโดย อาจารย์ชวินทร มัยยะภักดี
               คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...,

เรื่อง 6 ขั้นตอนการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย 

          การปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย

                    1. ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตหรือผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

                    2. มีระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้ได้รับอันตรายจากเครื่องจักร และต้องปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและเคร่งครัด

                    3. ในบริเวณที่มีการติดตั้ง การซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักรหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร ต้องติดป้ายแสดง ใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกันมิให้เครื่องจักรทำงาน

                    4. ตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีและปลอดภัย

                    5. พื้นบริเวณรอบเครื่องจักรต้องอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย          

                    6. ต้องบำรุงรักษาและดูแลเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่สามารถป้องกันอันตรายได้

          ตรวจสอบความพร้อมของการ์ดหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักรก่อนเริ่มงานทุกครั้ง

                    - สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามที่กำหนดทุกครั้งที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร  เช่น ถุงมือ แว่นตานิรภัย ที่อุดหูลดเสียง เป็นต้น

                    - หากพบว่าเครื่องจักรทำงานผิดปกติ ให้หยุดทำงาน และแจ้งหัวหน้างานเพื่อประสานงานช่างเทคนิคทำการแก้ไขเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ห้ามแก้ไขเองเด็ดขาด

Visitors: 271,785

รู้หรือไม่? คำว่า ‘ความปลอดภัย’ หมายถึง การที่ร่างกายปราศจากอุบัติภัยหรือทรัพย์สินปราศจากความเสียหาย แล้วทั้งมนุษย์หรือสัตว์ต่างต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น ดังนั้น ความปลอดภัยจะมีประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใดล้วนขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทำของบุคคลนั้นๆ 

ทีนี้ รู้อีกหรือไม่? อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ แน่นอนล่ะ สาเหตุที่เกิดมันย่อมมาจากการกระทำหรือพฤติกรรมที่ไม่ใส่ใจในความปลอดภัย เช่น การกระทำที่ไม่ถูกวิธีหรือขั้นตอน, ความประมาท, พลั้งเผลอ, เหม่อลอย, การมีนิสัยส่วนตัวที่ชอบความเสี่ยง, การไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน, การทำงานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล, การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม, และการทำงานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ อันได้แก่ เมาค้าง หรือ ป่วย เป็นต้น อีกประการที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ นั่นก็คือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้นว่า การวางผังของสถานที่ไม่ถูกต้อง, การวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ, สถานที่ทำงานไม่เหมาะสม, สภาพการทำงานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน มีฝุ่นละอองมาก และอุปกรณ์เครื่องมือหรือเครื่องจักรเกิดความชำรุดเสียหาย 

ที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่พนักงานใหม่จำเป็นจะต้องรู้ เพราะมันข้องเกี่ยวกับความปลอดภัยขณะที่ทำงานทั้งนั้น แล้วเมื่อพนักงานใหม่เข้ารับการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก็จะได้รับข้อมูลความรู้เบื้องต้นที่สำคัญ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอันเป็นการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดเหตุนั้นๆ ซึ่งจะใช้หลักการ 5 ส. ได้แก่

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

กฎหมายการทํางานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และ หม้อน้ำ 2564

บ่อยครั้งที่พนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรชนิดต่างๆ นั้นเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานโดยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้นมีหลายปัจจัยเช่น เกิดจาก สภาพการณ์เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ไม่ปลอดภัย (Hardware) เกิดจากวิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (Software) และ ความประมาทของตัวบุคคล (Hunman ware) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเองเป็นส่วนมาก

ในกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องจักร ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

“เครื่องจักร”  หมายความว่า  สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง รอก สายพาน เพลา เฟือง หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งเครื่องมือกล

เรียกได้ว่าครอบจักรวาลกันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดก็ตามที่มีส่วนประกอบ หรือกลไกเหล่านี้เข้าใจตรงกันว่าอยู่ในการบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับนี้นะครับไปกันต่อ..

“เครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร” หมายความว่าส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบหรือติดตั้งไว้บริเวณที่อาจเป็นอันตรายของเครื่องจักรเพื่อช่วยป้องกันอันตรายแก่บุคคลที่ควบคุมหรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง

หากพูดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายสรุปได้ดังนี้

ข้อ 6 นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปฏิบัติ คำว่านายจ้างก็ไม่ใช่แต่เพียงเจ้าของเพราะในที่นี้คนที่ดูแลพนักงาน หรือ เรียกอีกชื่อคือตัวแทนนายจ้างก็ได้แก้ จป.บริหาร จป.หัวหน้างานนี่เอง จะต้องช่วยกันควบคุมดูแลให้พนักงานต้องปฏิบัติดังนี้

  1. สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยรัดกุม (จำทำเป็น WI การแต่งตัวเลยจะเยี่ยมยอดมาก)
  2. ไม่สวมใส่เครื่องประดับที่อาจเกี่ยวโยงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ (ควรกำหนดในกฎระเบียบการทำงาน)
  3. รวบผมที่ปล่อยยาวเกินสมควรหรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้อยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย (กฎหมายไม่ได้บอกว่าห้ามคนผมยาวทำงานนะแต่บอกว่าให้รวบผมให้เรียบร้อย)

จากข้อกำหนดของกฎกระทรวงข้างต้น บริษัทหรือนายจ้างควร กำหนดเป็นกฎระเบียบขึ้นมา จัดทำ WI ให้ชัดเจน และกำหนดให้พนักงานต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อ 7 บริเวณที่มีการติดตั้ง ซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักร หรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดำเนินการดังกล่าวโดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งใช้ระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกัน ไม่ให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และแขวนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย

จากข้อกำหนดข้างต้น ควรจัดให้มีระบบการขออนุญาตทำงาน (Workpermit) รวมไปถึงการทำระบบ Logout Tagout (LOTO) เข้ามาใช้ ในการทำงานกับเครื่องจักร พร้อมติดป้ายเตือนให้เรียบร้อยเป็นอันจบ

ข้อ 8 การประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ และ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การรื้อถอน หรือการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร รถยก ลิฟต์ เครื่องจักรที่ใช้ยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง จะต้องปฏิบัติตามคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนดเอาไว้ หากไม่มีรายละเอียดหรือคู่มือในการใช้งานเครื่องจักร นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และต้องมีสำเนาเก็บไว้ให้ราชการสามารถตรวจสอบภายหลังได้อีกด้วย

ข้อ 9 นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร ตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัยก่อนการใช้งาน ตามระยะเวลาการใช้งานที่เหมาะสม และจัดให้มีการตรวจรับรองประจำปีตามชนิดและประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด

และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องกำหนดให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรตามการใช้งาน เช่น การตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน (Machine daily check) ก่อนการใช้งาน โดยผู้ใช้งานเอง หรือการตรวจสอบตามรอบที่กำหนด เช่น การตรวจสอบปั้นจั่น ลิฟต์ เป็นต้น

ข้อ 7 ห้ามมิให้นายจ้างใช้หรือยินยอมให้ลูกจ้างใช้เครื่องจักรทำงานเกินพิกัดหรือขีดความสามารถที่ผู้ผลิตกำหนด

จะเห็นว่า ปั้นจั่น รถยก ลิฟต์ หรืออุปกรณ์การยกอื่น จะติดป้ายพิกัดน้ำหนักไว้ อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นพิกัดนำหนักที่กำหนดไว้ 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด