บุคคลในประวัติศาสตร์ของไทยที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทยมีใครบ้าง

“ไตรรงค์ธงไทย ปลิวไสวสวยงามสง่า สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวศาสนา สีน้ำเงินหมายว่าพระมหากษัตริย์ไทย” – เพลง ไตรรงค์ธงไทย (ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์)

ไม่ว่าคุณจะอยู่แห่งหนไหน หากเกิดและโตบนผืนแผ่นดินไทย เราเชื่อว่าโรงเรียนแห่งแรกของคุณน่าจะเคยสอนให้ท่องเนื้อความทำนองดังกล่าว ตั้งแต่คุณยังอ่านคำร้องข้างต้นไม่ออกด้วยซ้ำ

น่าเสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ท่องจำจนเข้าใจแค่ความหมาย แต่กลับไม่ทราบที่มาของริ้วสีทั้ง 3 บนแถบทั้ง 5 ของผืนผ้าที่โบกสะบัดอยู่ทุกสารทิศในประเทศนี้ ตั้งแต่หน้าบ้านคน บนเสาธงสถานศึกษา ตามบริษัทห้างร้าน ยันสนามกีฬาที่ตัวแทนของชาติร่วมลงแข่ง

ทั้งหมดนี้คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ พฤฒิพล ประชุมผล ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย เมื่อตอนที่เขาบินลัดฟ้าไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา

จุดเริ่มต้นความสนใจในธงไตรรงค์ของพฤฒิพลนับหนึ่งด้วยคำถามทิ่มกระดองใจของมิตรรักชาวต่างชาติที่ฉุกใจอยากรู้เรื่อง Flag of Thailand เลยนำความมาถามเพื่อนเกลอชาวไทยเช่นเขา

“ผมไปเรียนปริญญาโท เพื่อนฝรั่งก็ถามผมว่าทำไมธงชาติไทยของเรามี 3 สี ผมก็ตอบตามที่เรียนมาว่า เพราะเรามี 3 สถาบัน ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เขาบอกว่าไม่ใช่ เขาไม่ได้ถามถึงความหมาย เขาถามถึงที่มาว่าทำไมถึงเป็น 3 สีนี้ ทำไมไม่เป็น 3 สีอื่น”

นักศึกษาหนุ่มชาวสยามประเทศถึงกับหน้าม้าน เขาไม่รู้จะตอบเพื่อนอย่างไร

“ตอนนั้นเราก็อายมากเลยที่เราตอบไม่ได้ เหมือนเราไปถามคนอเมริกันว่า ทำไมธงชาติของยูมีดาว 50 ดวง ถ้าเขาตอบไม่ได้ เขาก็ไม่น่าจะเป็นคนอเมริกันใช่มั้ย ผมก็รู้สึกว่าผมไม่น่าจะเป็นคนไทยได้เลย”

ความอัปยศอดสูนั้นพฤฒิพลจดจำขึ้นใจ ก่อนจะเปลี่ยนมันเป็นแรงฮึดเฮือกสำคัญในการศึกษาและสะสมทุก ๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับธงชาติไทย ทั้งสืบค้นเอกสารเก่าในหอสมุดแห่งชาติ หมุนไมโครฟิล์มดูภาพเก่า ทำทุกวิถีทางเพื่อสลายความคาใจที่ตนมีต่อสัญลักษณ์ของชาติไทยชนิดนี้ จนได้ชื่อว่าเป็นผู้รอบรู้เรื่องธงชาติมากที่สุดคนหนึ่งใต้น่านฟ้าเมืองไทย

รวมระยะเวลากว่าครึ่งชีวิตที่อุทิศให้กับธงประจำชาติ พฤฒิพลค้นพบว่าเพื่อนร่วมชาติของเราอีกมหาศาลยังขาดความเข้าใจเรื่องธงไทยอย่างถ่องแท้ คนทั่วไปจนถึงครูบาอาจารย์ส่วนมากอาศัยการท่องจำตาม ๆ กันมา ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและผิดมหันต์จากความเป็นจริง

28 กันยายน พ.ศ. 2565 ในวาระที่ธงไตรรงค์ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 105 ปี เราจึงบุกไปถึงพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ซอยลาดพร้าว 43 เพื่อทบทวนความรู้และความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับธงของชาติ รวมทั้งรับฟังข้อเท็จจริงที่ไม่มีวันหาได้จากตำราเรียนเล่มไหน ๆ !

ก่อนมีธงชาติ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้คำจำกัดความของ ‘ธงชาติ’ ไว้ว่า “น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง”

ต้นกำเนิดของธงชาติผืนแรกมีที่มาจากอะไร นักวิชาการยังไม่พบหลักฐานมายืนยันได้แน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่ามีมาพร้อม ๆ กับที่มนุษย์เริ่มรู้จักการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และจัดทัพเข้าโรมรันกัน สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่บ่งชี้ถึงคนฝ่ายเดียวกัน และสร้างความแตกต่างจากฝ่ายตรงข้ามจึงได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อการสงครามเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะกลายเป็นสื่อแทนชาติและคนในชาติทั้งหมด

แหล่งอารยธรรมโบราณมากมายได้ปรากฏหลักฐานว่า มีการใช้ผืนผ้าแสดงสัญลักษณ์แทนกองทัพของฝ่ายตนมาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนเป็นอย่างน้อย ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ โรมัน หรือจีนโบราณ ส่วนธงที่แสดงความเป็นชาติสยามเพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้ เพราะธรรมเนียมการใช้ ‘ธง’ และความเป็น ‘ชาติ’ ล้วนถือกำเนิดในความรับรู้ของชาวสยามในอดีตหลังจากนั้นอีกนานแสนนาน

“ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง พ.ศ. 2475 บริบทของความเป็นชาติคือพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญก็ไม่มี เรามีแต่พระมหากษัตริย์ที่ทรงอำนาจสูงสุด พระราชอำนาจของพระองค์ชี้ขาดถึงความเป็นชาติ อะไรที่แสดงสัญลักษณ์ความเป็นชาติจะต้องมีการพระราชทานลงมา ประชาชนเราจะทึกทักทำเองได้ไหม… ไม่ได้ ขืนทำก็คอขาดกันพอดี”

พฤฒิพลไม่วายพูดติดตลก ยามอธิบายให้เราเข้าใจมโนทัศน์ของผู้คนในอดีต

“ก่อนรัชกาลที่ 1 บริบทความเป็นชาติแบบปัจจุบันก็ไม่มี เราไม่รู้จะแสดงความเป็นชาติกันไปทำไม ประเทศข้าง ๆ อย่างลาวก็เคยเป็นของเรา ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู พวกนี้ก็เคยเป็นของสยาม ชายแดนไทย-พม่าในอดีตก็ไม่มีสะพาน ไม่มีด่าน ตม. ผู้คนก็ข้ามกันไปกันมาได้ คนมอญจากพม่าก็มาตั้งรกรากในบ้านเราเยอะ เพราะฉะนั้นจุดเริ่มต้นคือไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ แสดงความเป็นชาติครับ”

ธงแดงเกลี้ยงของสยาม

ล่วงมาสมัยรัตนโกสินทร์ สิ่งที่พออนุโลมเรียกว่า ‘ธงชาติสยาม’ ก็ถือกำเนิดขึ้น

หากย้อนดูแผนผังประวัติธงชาติไทย จะเห็นว่าก่อนมีธงไตรรงค์ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 6 ลักษณะธงที่แสดงความเป็นชาติสยามหรือไทยในสมัยโบราณล้วนมีพื้นหลังเป็นสีแดง หลายแหล่งนิยมนับธงพื้นหลังสีแดงเกลี้ยงเป็นธงชาติแบบแรก ทั้งที่ธงดังกล่าวเป็นเพียงธงที่ใช้ในการเดินเรือ

“เวลาคนสยามสมัยก่อนเอาเรือออกไป เขาจะมีธงแดง” ผู้เชี่ยวชาญด้านธงตอบโดยอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ “คลื่นแสงของสีแดงเป็นสีที่สายตามนุษย์เราเห็นชัดที่สุด นี่คือเหตุผลว่าทำไมเฮลิคอปเตอร์บินต้องเป็นไฟสีแดง ทำไมไฟเบรกรถยนต์ถึงต้องเป็นสีแดง เพราะเวลาสีแดงวาบเข้าตาเรา เราจะกดเบรกทัน แต่สีอื่นไม่ทัน

“เพราะฉะนั้น เขาก็เอาเรือออกไปพร้อมธงสีแดง เวลาเรือมันล่มหรือเกิดเหตุอะไร ก็จะเห็นไกล ๆ ว่าเป็นเรือ แต่ไม่ใช่ว่ามันเป็นธงชาติสยามนะ เพราะไม่ได้พระราชทานลงมา ธงสีแดงล้วน ๆ นี่จะเรียกธงชาติยังไม่ได้ เราเรียกมันว่า ‘ธงอาณัติสัญญาณ’ ครับ”

ธงลายจักรสมัยรัชกาลที่ 1

เมื่อธงแดงเกลี้ยงยังไม่นับเป็นธงชาติ ธงชาติสยามรูปแบบแรกสุดตามนิยามของพฤฒิพลก็จะเป็นธงพื้นแดงที่มีรูปวงจักรอยู่ตรงกลาง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านสถาปนาราชวงศ์จักรี จักร สังข์ คทา ธรณี พวกนี้เป็นอาวุธขององค์พระนารายณ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอวตารของพระนารายณ์ รัชกาลที่ 1 ท่านเลยนำวงจักรที่อยู่ในพระกรมาวางกลางผืนผ้าแดง จึงเป็นที่มาของธงรัชกาลที่ 1

“ธงนี้จะประดับอยู่บนเรือหลวง เรือหลวงคือเรือของพระองค์ท่าน เรือราษฎร์ก็ยังใช้ธงแดงเกลี้ยง จะไปเอาธงวงจักรมาใช้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นนามราชวงศ์ ไปใช้ก็มีโทษ แล้วอย่างที่ผมเรียนว่าสิ่งใดก็แล้วแต่ที่แสดงสถานะของพระมหากษัตริย์ก็คือความเป็นชาติไปโดยปริยาย ธงบนเรือหลวงก็คือธงชาติ ส่วนราษฎรก็ใช้ธงธรรมดา เป็นธงอาณัติสัญญาณต่อไป”

ธงช้างเผือกไม่ได้เพิ่งมีสมัยรัชกาลที่ 4

ความเข้าใจผิดประการแรกที่ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยพบได้บ่อย คือคำบอกเล่าที่กล่าวต่อ ๆ กันมาว่า ธงช้างเผือกเป็นธงชาติสยามตั้งแต่รัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งที่หลักฐานการใช้ธงช้างเผือกมีมาก่อนหน้านั้น ตัวเขาเองก็พบตัวอย่างที่เก่ากว่า พ.ศ. 2394 อันเป็นปีแรกในรัชสมัยของพระองค์อยู่หลายชิ้น

“เชื่อไหมครับว่าผมค้นคว้าจนพบมากกว่า 10 หลักฐานทั่วโลก เรามีธงช้างเผือกมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3” กระแสเสียงของเขาพูดแทนความตื่นเต้นทั้งมวลในอก “มีหลักฐานชิ้นสำคัญจาก เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล (Frederick Arthur Neale) เป็นฝรั่งอังกฤษที่มารับราชการทหารเรือสมัยรัชกาลที่ 3 เขาก็เห็นแล้วว่าสยามใช้ธงช้างเผือก หลักฐานเก่าสุดที่ผมพบคือผังธงจากฝรั่งเศส อายุประมาณ พ.ศ. 2380 ก็ยิ่งชัดเจนว่าธงสยามเป็นลายช้างเผือกมาตั้งแต่นั้นแล้ว”

สาเหตุที่ช้างเผือกเริ่มมาอยู่บนผืนธงสยามได้นั้น พฤฒิพลเล่าว่าน่าจะเป็นเพราะสมัยรัชกาลที่ 2 มีการค้นพบช้างเผือกถึง 3 ช้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากยิ่งในช่วงรัชกาลเดียว

“พอขึ้นรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านทรงได้ช้างเผือก 3 ช้าง มีพระเศวตกุญชร พระเศวตไอยรา และพระเศวตคชลักษณ์ ปกติช้างเผือกก็ไม่ได้มาง่าย ๆ นะ จะมีช้างเผือกเอก ช้างเผือกโท นี่ก็เป็นช้างเผือกเอก ถือเป็นนิมิตหมายของแผ่นดิน เรียกว่ามีบุญญาธิการสูงมาก

“พระองค์ท่านจึงนำช้างเผือกมาวางกลางวงจักร เป็นที่มาของธงสยามในสมัยรัชกาลที่ 2 ถามว่าเรารู้ได้ยังไงว่าข้อมูลเหล่านี้มันถูกไหม เรามีอ้างอิงอยู่ชุดเดียวคือพระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก 129 เท่านั้น เราก็อ้างอิงข้อมูลจากตรงนี้ก่อน ส่วนไหนที่เจอเพิ่มเติม เราค่อยค้นคว้าแล้วมาประมวลใหม่”

วันบรมราชาภิเษกไม่ใช่วันเปลี่ยนธง

หลังจากที่องค์ความรู้จากการค้นคว้าของพฤฒิพลได้รับการเผยแพร่ออกไป ความเข้าใจว่าธงช้างเผือกเริ่มใช้สมัยรัชกาลที่ 4 ก็เริ่มได้รับการขจัดไปทีละน้อย อย่างไรเสีย ก็มีอีกประเด็นหนึ่งซึ่งทำให้เขายังต้องเดินหน้าปรับความรับรู้ของผู้คนในสังคมไทยอยู่เนือง ๆ คือความหลงผิดคิดว่าการเปลี่ยนธงชาติแต่ละรูปแบบ ทำกันในวันคล้ายวันพระราชสมภพและวันบรมราชาภิเษกของพระเจ้าแผ่นดิน

“หน่วยงานหลายหน่วยงานชอบเขียนว่ารัชกาลที่ 1 ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกวันนี้ใช้ธงนี้ พอเสด็จสวรรคตก็ใช้อีกธง ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะเวลาที่กษัตริย์แต่ละพระองค์ท่านขึ้นครองราชย์ ธงมันไม่ได้เปลี่ยนวันนั้น มันถูกเปลี่ยนหลังจากที่ท่านทรงเห็นสมควร วันที่ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชพิธีมีเยอะขนาดไหน พระองค์จะทรงมีเวลาว่างมาออกแบบธงผืนใหม่อีกเหรอ

“ดังนั้น ควรใช้คำว่า ‘ช่วงรัชกาล’ สมมติว่ารัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 2 จะเปลี่ยนมาใช้ธงช้างเผือกในวันที่ขึ้นครองราชย์เลย มันไม่ใช่ เพราะช้างเผือกก็ยังไม่เจอ คิดดูว่ามันจะเป็นไปได้หรือที่เปลี่ยนธงทันทีเลย วิธีพูดจึงควรใช้คำว่า ‘ช่วงรัชกาล’ เช่น ธงช้างเผือกในวงจักรเป็นช่วงรัชกาลที่ 2”

ความไม่ตายตัวของธงช้างเผือก

เข้าสู่แผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำวงจักรอันเป็นตัวแทนของราชวงศ์จักรีออก เหลือเพียงรูปช้างเผือกอย่างเดียวทั้งบนเรือหลวงและเรือราษฎร์ พฤฒิพลมองว่าทรงทำไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ไม่ก่อความสับสนให้ต่างชาติที่พากันแห่แหนเข้ามาในสยามมากขึ้นทุกขณะ

“ผมอุปมาอุปไมยนะ ว่าช้างเผือกเป็นเสมือนหน้าตาของพระองค์ท่าน และไม่ใช่นามแห่งราชวงศ์ เราเห็นช้างเผือกก็เหมือนเห็นพระองค์ท่าน เมื่อชักธงสู่เสากระโดงเรือ ก็หมายความว่าเราอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ เราล่องเรือไปที่ไหนพระองค์ท่านก็ไปที่นั่นในฐานะผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน

“เพราะอย่างนี้ในสมัยรัชกาลที่ 3 เราเลยมีธงชาติแค่แบบเดียว เรือหลวงก็เป็นธงช้างเผือกธรรมดา ไม่มีวงจักร แค่นี้ก็ชัดเจนแล้วสำหรับการแสดงตัวตนของสยาม ไม่ต้องไปแบ่งหลายแบบ เพราะยิ่งแบ่งเยอะฝรั่งก็ยิ่งงง ก็ใช้มาจนกระทั่งรัชกาลที่ 6 ปี ร.ศ. 129 (ตรงกับ พ.ศ. 2453)”

แต่แล้วปัญหาที่ตามมาคือการทำธงในยุคนั้นเป็นไปด้วยความยากเย็นแสนเข็ญ แม้แท่นพิมพ์จะถูกนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่การพิมพ์แต่ละครั้งมีราคาค่างวดสูงมาก การจะประดิษฐ์ธงขึ้นใช้แต่ละผืนต้องใช้วิธีนำผ้ามาเย็บต่อกัน ส่วนการพิมพ์นั้น พฤฒิพลบอกกับเราว่าบางผืนถึงกับต้องสั่งมาจากยุโรป สร้างความยุ่งยากแก่ชาวสยามในอดีตเป็นอย่างมาก

และเนื่องจากเป็นการทำมือ ไม่มีแบบเป็นบล็อก รูปช้างเผือกจึงมีรูปแบบที่ต่างกันสุดกู่

“ตอนที่รัชกาลที่ 3 ทรงให้ยุติการใช้วงจักรเหลือแต่ช้างเผือก ยุคนั้นยังไม่มี พ.ร.บ. ธง ชาวบ้านรู้อยู่อย่างเดียวว่าเป็นธงช้างเผือก มันก็เลยมีการทำธงช้างเผือกหลายรูปแบบ ทั้งอ้วน ผอม ยกงวง ยกหาง ฯลฯ จนกระทั่ง ร.ศ. 110 มีการออกกฎหมายธงเล่มแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เล่มนี้ได้ระบุชัดเจนว่าห้ามยกงวงขึ้น หลังจากปีนั้นเลยมีการปรับรูปแบบดีขึ้น”

ถึงจะมีการออกกฎหมายเป็นเรื่องเป็นราว แต่ความรับทราบของประชาชนยังอยู่ในวงจำกัด ด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับการพิมพ์แค่ 1,000 เล่ม และเกือบครึ่งที่พิมพ์มายังถูกส่งไปยังทวีปยุโรป เพื่อรอรับการเสด็จประพาสยุโรปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

“พ.ร.บ. พวกนี้ 1 เล่มพิมพ์ 4 ภาษา เขาต้องการให้ฝรั่งรู้ว่าพระองค์ท่านจะเสด็จเยือน ให้ทำธงรับเสด็จให้ถูก ก็ไปที่สถานทูตฝรั่งเศสเพียบเลย แต่คนไทยจำนวนมากก็ยังไม่รู้เรื่อง ไทยก็เลยประดับแบบงวงลง งวงขึ้น อะไรไม่รู้อีกไม่จบสิ้น แม้ว่าจะมี พ.ร.บ. ออกมาแล้วก็ตาม”

จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงธงอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 6

ธงช้างเผือกไม่ได้เลิกใช้เพราะราษฎรติดกลับหัว

ย้อนหลังไปเมื่อหลายสิบปีก่อน พฤฒิพลยังจำได้ว่าคนไทยยังเชื่อฝังหัวตามกันมาว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้เปลี่ยนธงชาติสยามจากธงช้างเผือกเป็นธงไตรรงค์ เนื่องจากชาวเมืองอุทัยธานีติดธงช้างเผือกกลับหัวในการรับเสด็จ ส่งผลให้เท้าช้างชี้ขึ้น ดูเป็นลางไม่ดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแบบธงเป็นธงแถบที่ดูเหมือนกันทั้งบนทั้งล่าง

เรื่องราวนี้พบครั้งแรกในงานเขียนของ จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ซึ่งได้บันทึกลงในหนังสือ วชิราวุธานุสรณ์ โดยระบุว่าวันที่ 13 กันยายน ในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสอุทัยธานีเพื่อเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยแม่น้ำสะแกกรัง ก่อนที่พระองค์จะทอดพระเนตรเห็นธงช้างเผือกติดกลับหัว ดูเหมือนช้างล้ม ทำให้ทรงตระหนักว่าควรเปลี่ยนแบบธงได้แล้ว

ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ค้นคว้าแล้วมาแจ้งผมว่า ค้นพบหลักฐานที่เป็นลายพระหัตถ์ของพระองค์ท่านเลย ว่าวันที่ 13 กันยายน ท่านประทับอยู่ที่บางกอก พระราชทานถ้วยรางวัลให้ทีมฟุตบอลสยามที่แข่งกัน ราชกิจจานุเบกษาที่มีลายพระหัตถ์ก็ระบุตรงกันว่าท่านอยู่ที่บางกอก พระนคร แล้ววันรุ่งขึ้นท่านก็เสด็จฯ บางปะอิน สรุปว่าเรื่องทั้งหมดมันไม่ใช่เลย ท่านจมื่นแกอาจจะจำอะไรไม่ได้แล้วไปเขียนแบบนั้น แล้วด้วยความที่แกเป็นราชองครักษ์ของในหลวง เลยทำให้คนเชื่อว่าเป็นหลักฐานสำคัญ

“แล้วทำไมถึงไปเปลี่ยน มันก็ไประบุอยู่ในพระราชบัญญัติ ร.ศ. 129 พระองค์ท่านทรงระบุชัดเจนว่าเพราะมองไกล ๆ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร อย่าลืมว่าธงช้างมองใกล้ ๆ รู้ แต่มองไกล ๆ มันเป็นก้อน”

ธง 2 แบบที่ใช้พร้อมกัน

เราอาจจะทราบกันมาก่อนว่า รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานธงชาติไทยในปัจจุบัน ทว่าธงไตรรงค์ที่ใช้ในปัจจุบันก็ยังไม่ได้เริ่มใช้ทันทีที่เปลี่ยนแบบธงใหม่ อีกทั้งธงช้างเผือกก็ไม่ได้ถูกเลิกใช้เมื่อเกิดธงแถบ

“อย่างที่บอกว่าธงช้างเผือกมันมองไกล ๆ เห็นอะไรเป็นก้อน ๆ ไม่รู้เรื่องใช่ไหม ตอนนั้นเรือใหญ่เต็มไปหมด ค้าขายเต็มทะเลแล้วนะ ผลที่ตามมาคือพระองค์ท่านมีรับสั่งให้ทำธงให้ชัดเสีย ทำให้ชัดด้วยการละลายเป็นแถบ ส่วนธงของหน่วยงานราชการ ราชการทุกคนยังทำงานให้พระองค์ ก็ใช้ช้างเผือกต่อไป แต่เป็นช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น”

พระราโชบายนั้นส่งผลให้เกิดการใช้ธงชาติสยาม 2 แบบในเวลาเดียวกัน ซึ่งใครต่อใครพากันเข้าใจผิดต่อไปว่าธงหนึ่งมีมาก่อนอีกธง ทั้งที่ความเป็นจริงธงทั้งคู่ประกาศใช้ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พร้อมกัน แต่ให้ใช้งานต่างวาระกันเท่านั้น

ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น มีลักษณะคล้ายธงเก่า แค่เติมแท่นกับเครื่องทรงบนช้าง ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ ขณะที่ธงพื้นริ้วแดงขาวเกิดจากการ ‘ละลายแถบสี’ คือนำสีแดงและสีขาวบนพื้นธงและลายช้างเผือกเดิมมาวาดเป็นแถบสีแนวนอนทั้ง 5 แถบ ใช้สำหรับพลเรือนทั่วไป

“แยกใช้ยังไง สมมติคุณอยู่กระทรวงกลาโหม อยู่ที่ทำงานคุณก็ประดับธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น พอกลับมาที่บ้าน วันนี้ในหลวงเสด็จผ่านหน้าบ้าน ก็ประดับธง 5 แถบ… ธงหนึ่งเป็นธงราชการ อีกธงเป็นธงพลเรือน คู่นี้มันเป็นครั้งแรกเลยนะที่ธงชาติคู่ออกวันเดียวกัน ใช้งานร่วมกัน”

เติมสีน้ำเงินตรงกลาง

ไม่กี่ปีหลังจากที่ธงสยามแบ่งการใช้งานระหว่างราชการและพลเรือน มหาสงครามที่ปะทุขึ้นในซีกโลกตะวันตกก็ชักนำให้สยามประเทศต้องเข้าไปพัวพันด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังส่งผลให้เกิดธงชาติแบบใหม่ที่ออกแบบตามริ้วสีของมหาอำนาจฝ่ายเดียวกัน

ข้อมูลทั่วไปมักจะบอกว่าธงชาติสยามเพิ่มสีน้ำเงินลงไปตรงแถบกลางธง เพราะต้องการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ทุกชาติที่กล่าวมามีธงชาติเป็น Tricolor หรือธง 3 สี ประกอบด้วยสีแดง ขาว และน้ำเงิน จึงเป็นแบบอย่างให้สยามเปลี่ยนสีธงตาม กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าธงชาติสยามจะเติมสีน้ำเงินลงไปในบัดดลที่ประกาศสงคราม

“สยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 แล้วธงไตรรงค์นี่เริ่มใช้ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เลยหรือเปล่า มันก็ยังไม่ใช่

“ธงไตรรงค์ของไทยเพิ่งได้รับพระราชทานมาวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ตอนที่ส่งทหารไปรบ ธงของกองทัพสยามก็ยังเป็นแบบเก่าอยู่ หลักฐานของทางฝรั่งเศสก็จะวาดธงสยามเป็นแบบเก่า มีหลักฐานให้ดู คนไทยที่ไม่รู้ก็จะหาว่าฝรั่งเศสเซ่อซ่า ซึ่งเราอย่าไปว่าเขาอย่างนั้น เพราะตอนเริ่มสงคราม ธงสยามยังมีสีแดง 3 ริ้ว พอช่วงกลางสงครามเราถึงมาใช้ธงไตรรงค์ รัชกาลที่ 6 ก็ได้ทรงประกาศใน พ.ร.บ. 2460 ให้ชัดเจนเลยว่าเราอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตรครับ”

เมื่อเป็นเช่นนี้ รัชกาลที่ 6 จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีแบบธงชาติมากที่สุดในรัชกาลเดียว ประกอบไปด้วยธงช้างเผือก ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ธงพื้นริ้วแดงขาว และธงไตรรงค์

ไม่เปลี่ยนแบบธงมาร้อยกว่าปี แม้เคยมีความคิดจะเปลี่ยน

นับจากวันพระราชทานธงไตรรงค์เมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ถึงวันที่ลงบทความนี้ ธงชาติไทยก็ยังเป็นรูปแบบเดิม ไม่เคยเปลี่ยนเป็นอื่นใดอีก ผิดกับเพลงชาติ วันชาติ ตลอดจนชื่อประเทศที่ทยอยเปลี่ยนไปตามระบอบการปกครองและขั้วอำนาจของผู้ปกครองรัฐ

“ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นความโชคดีมากกว่า รู้ไหมครับว่าอย่างเพลงสรรเสริญพระบารมีเคยโดนเปลี่ยน เคยลงในพระราชกิจจานุเบกษาสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ร้องแค่ฉบับสั้น 4 ท่อน แล้วไม่เคยมีการเปลี่ยนกฎหมายกลับคืนเป็นฉบับยาวเลย แต่ที่ทุกวันนี้เราร้องเป็นฉบับยาว เพราะว่าหลังจากจอมพล ป. หมดสิ้นอำนาจแล้ว ประชาชนมาร้องกันเอง

“เพลงสรรเสริญพระบารมี เปลี่ยน ชื่อประเทศก็เปลี่ยนจากสยามมาเป็นไทย เพลงชาติไทยก็เปลี่ยน แต่มีสิ่งหนึ่งที่จอมพล ป. ไม่เคยแตะเลยคือเรื่องธงชาติ ในส่วนลึกของผม ผมมองว่ามันอาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากเกินไป เพราะมันจะไปกระทบกับ Flag Chart ของอีกหลาย ๆ ประเทศ คือจะเปลี่ยนทีนี่ คุณต้องตรวจดูให้ดีจริง ๆ เลยว่าต่างชาติเขายอมรับคุณหรือเปล่า บางทีมันไปซ้ำ ไปใกล้เคียงกับชาติอื่นเขา”

อย่างไรก็ดี ความคิดที่จะเปลี่ยนแบบธงชาติจากธงไตรรงค์ก็เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ใช่ในสมัยรัฐบาลคณะราษฎรหรือจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่เป็นยุครัชกาลที่ 7 นี่เอง

“มีคนบอกว่ามันเหมือนธงร่าเริงของสหรัฐอเมริกาเกินไป คือธงทิว หรือ Bunting Flag เป็นประเด็นใหญ่โตจนถึงขนาดที่ต้องลงมติกันในสำนักพระราชวัง มีการออกเสียงว่าจะให้กลับไปใช้ธงช้างแบบเดิม สุดท้ายก็ไม่เป็นเอกฉันท์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านก็ตัดสินพระทัยเด็ดขาดว่า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงรัชกาลที่ 6 ที่พระราชทานธงไตรรงค์ไว้ จึงถือว่ามีการประกาศใช้เป็นครั้งที่ 2 ครับ”

สีขาบไม่ใช่น้ำเงินสด

ทราบที่มาของริ้วสีบนธงไตรรงค์ไปแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนยังไม่กระจ่าง คือแถบสีน้ำเงินตรงกลางที่มีความกว้างมากกว่าสีอื่น ขณะที่หลายคนลงสีน้ำเงินบนธงชาติเป็นสีสด พฤฒิพลให้ข้อมูลว่าสีที่ถูกคือสีขาบ หรือสีน้ำเงินแก่ น้ำเงินอมม่วง

“ที่ถูกจะต้องเป็นสีขาบ” กูรูธงชาติไทยยืนยัน “สีขาบเป็นสีประจำพระองค์ เป็นสีของพระราชประสงค์ และเป็นสีน้ำเงินเก่าแก่ของสยาม ต่างชาติเรียกว่าสี Royal Blue ดูเหมือนว่าสี Royal Blue ของแต่ละประเทศก็จะเป็นสีน้ำเงินแบบนี้เหมือนกัน แต่ต่างเฉดกันเล็กน้อย ธงชาติไทยของเก่าเขาก็จะทำสีขาบหมด เข้มขาบทั้งนั้น พ.ร.บ. ธง 2478 ก็ระบุชัดอยู่ว่าต้องเป็นสีขาบ”

ความภาคภูมิใจสูงสุดอย่างหนึ่งในชีวิตของชายไทยที่ชื่อ พฤฒิพล ประชุมผล คือการที่เขาได้มีบทบาทสำคัญกับการกำหนดโทนสีของธงชาติในวโรกาสครบรอบ 100 ปี พระราชทานธงไตรรงค์

“พ.ร.บ.ธง 2522 ออกมาแล้วไม่ระบุสี ระบุแค่ว่ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งออกเป็น 5 แถบนะ คุณลองจินตนาการดูว่าน้ำเงินมันมีกี่แถบ ขาวไม่ต้องเถียงกัน ขอให้มันขาวจั๊วะ แดงนี่มันแดงร้อยตามภาษา CMYK อะไรก็ว่าไป แต่น้ำเงินนี่มันเยอะมาก

“ผมเลยเข้าไปคุยกับบุคคลหนึ่งซึ่งทำให้เกิดมาตรฐานสีธงชาติไทย คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ตอนนั้นท่านเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2560 ผมก็ได้ไปกราบเรียนท่านเรื่องนี้ เรื่องของการฉลอง 100 ปีธงชาติไทย และบอกท่านว่ามีสิ่งสำคัญนะครับ ร้อยปีที่ผ่านมามีคนทะเลาะกันตลอดเวลาเรื่องทำยังไงให้ธงชาติสีเหมือนกันทั้งประเทศ เราไม่เคยทำสำเร็จเลย ขอให้ยุคของท่านและผมทำสำเร็จได้ไหม ท่านก็เอาสิ่งที่ผมเสนอไปเข้า ครม. กลายเป็นส่วนเสริมของ พ.ร.บ. ธง 2522 ออกมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560

“นี่คือสิ่งที่ผมผลักดันจนสำเร็จ เข้าประชุมทุกคราว จนกระทั่งออกมา นี่เป็นความภูมิใจอีกสิ่งหนึ่งที่ผมได้ทำให้กับประเทศนี้ จนออกมาเป็นสีขาบตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 6 ไม่ใช่สีฟ้าบ้าง หรือดำบ้างจนมืด เพราะฉะนั้น สีขาบจะเป็นสีแบบนี้”

ผู้หลงใหลในธงไตรรงค์เอามือลูบคลำโทนสีบนธงชาติที่ร่วมกำหนดมาตรฐานโดยตัวเขาเอง พลางเอ่ย “วิธีการดูสีขาบคือเวลามันเหลื่อมเนี่ย มันจะมีสีแดงพริ้ว ๆ ม่วง ๆ จะสลัดม่วงออกมานิดหนึ่ง เวลาโดนแดดมันจะม่วงขึ้นมา มันใช่แบบเข้มปี๋จนดำ นี่คือขาบครับ”

ในห้องจัดแสดงเล็ก ๆ บนตึกชั้น 2 ของสะสมที่เกี่ยวข้องกับธงชาติไทยจำนวนเหลือจะคณนาแข่งกันประชันโฉมอยู่ทั้งในและนอกตู้กระจก ทั้งหมดทั้งมวลนี้ซื้อหามาได้จากทุนทรัพย์ส่วนตัวของคุณพฤฒิพลที่สูญเงินไปหลายล้านบาทเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้เรื่องสัญลักษณ์ของชาติไทย

“หลังจากที่เราค้นคว้าแล้วพบว่ามันมีข้อมูลคลาดเคลื่อนเยอะ ในชีวิตนี้ที่ผมยังมีลมหายใจอยู่ ผมก็อยากจะทำให้มันถูกต้อง แต่คำว่าถูกต้องอย่างเดียวมันก็คงจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนด้วย เพราะอย่างนี้ผมเลยพยายามควานหาหลักฐานจากทุกมุมโลก

“คือผมมั่นใจว่าลูกหลานของเราก็ต้องเรียนในสิ่งที่ผมหามา เหนือกว่านั้นคือลูกหลานของเราก็จะภูมิใจว่าเรามีธงชาติของเราเอง เราเป็น 1 ใน 3 หรือ 4 ประเทศเอเชียที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นตะวันตกและถูกสั่งให้เปลี่ยนธง อย่างพม่าสมัยราชวงศ์คองบอง เขาใช้ธงนกยูงมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 แต่ก็โดนอังกฤษเปลี่ยนมาให้ใช้ธงยูเนียนแจ็กกับนกยูง นั่นคือการสิ้นสุดของความเป็นชาติเอกราช มีธงชาติของตัวเอง แต่ของเราไม่ครับ เราใช้มาตลอด มีการเปลี่ยนแปลงก็จากพระมหากษัตริย์ไทยเอง ยังคงความเป็นไทยอยู่ ตอนนี้มีหลักฐาน 205 ปีที่ยืนยันว่าเรามีธงชาติของตัวเอง เป็นธงพระราชทานทั้งหมด สิ่งนี้ผมก็จะพยายามสร้างความภูมิใจกับคนรุ่นใหม่ หลายคนเขาไม่รู้ว่าภูมิใจยังไง แต่วันหนึ่งเขาก็จะรู้สึกภูมิใจเองแหละผมว่า”

ถ้อยคำของผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยชวนให้เราระลึกถึงเสียงประกาศทุกเช้าเย็น…

“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย”

หากหัวใจของพฤฒิพลเปล่งเสียงได้ ทั้ง 4 ห้องหัวใจเขาคงกู่ร้องเป็นเสียงนี้

พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

เลขที่ 15 ซอย ลาดพร้าว 43 แขวง สามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 (แผนที่)

Facebook : พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ไทยได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไรบ้าง

การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทยในครั้งนั้น ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติหลายประการ โดยนอกจากจะได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์โลกและความเป็นเอกราช ความสามารถ และศักยภาพของไทยแล้วนั้น ยังทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก โดยเฉพาะชาติสัมพันธมิตร ยุโรปและอเมริกา ได้รู้จักประเทศไทย ซึ่งเปิดทางสู่การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่ ...

ผู้นำไทยในข้อใดมีบทบาทสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 1

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบทบาทสำคัญที่นำพาสยามเข้าสู่สงคราม ช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงเสด็จไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นก็ทรงเสด็จไปศึกษาต่อที่จักรวรรดิรัสเซียจากการเชิญชวนของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่เป็นพระสหายคนสำคัญของพระบิดาของพระองค์ พระองค์ ...

ผู้ที่ประกาศให้ประเทศไทยเข้าร่วมสงครมโลกครั้งที่ 1 คือใคร

22 กรกฎาคม 2460 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในประเทศไทย 22 กรกฎาคม 2560 เป็นวันครบ 100 ปี ที่สยามเข้าร่วมสงครามโลก ในวาระนี้มีนักวิชาการหลายกลุ่ม หยิบยกประวัติศาสตร์ครั้งนั้นมานำเสนอในหลายประเด็น

บทบาทของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอย่างไร

หลังสงครามโลกครั้งที่ไทยได้ร่วมมือกับฝ่ายโลกเสรี อันมีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นหัวหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๓ รัฐบาลไทยยอมรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหารจากสหรัฐอเมริกา และใน พ.ศ. ๒๔๙๘ ก็ได้ ร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ รวม ๘ ประเทศ จัดตั้งองค์การป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกโดยย่อว่าองค์การซีโต หรือสปอ. (SEATO ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด