ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตมีลักษณะคล้ายพืช แต่มีกำเนิดที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น คือ ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ได้แก่ สาหร่าย (algae) และรา (fungi) มาอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis หรือ mutalism) เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยใหม่ขึ้นมาที่มีการประสานกันในทางโครงสร้าง (structure) และระบบสรีระ (physiology) เป็นหนึ่งเดียวกัน (กัณฑรีย์, 2544)

ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

การดำรงชีวิต

สาหร่ายใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากบรรยากาศ และน้ำในการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ที่เป็นอาหารแล้ว แบ่งให้รา ส่วนราช่วยรักษาความชื้นให้ สาหร่าย และ ปกป้องสาหร่ายจากสภาพ แวดล้อมที่รุนแรง เช่น แสงแดดจัด และ ความร้อน

ไลเคนมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากต้นกำเนิด ทั้งสองโดยสิ้นเชิงและส่วนมากมีขนาด เล็ก จึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ไลเคนจะเกิดขึ้นได้เมื่อสภาพ แวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเติบโตของทั้งสองฝ่าย โดยทั่วไปเราไม่พบรา จากไลเคนเติบโตอยู่อย่างอิสระตามธรรมชาติแต่เราสามารถพบสาหร่าย เติบโตอยู่ได้เอง

นักพฤกษ์ศาสตร์ประเมินว่ามีไลเคนประมาณ 17,000 - 25,000 ชนิดทั่วโลก ไลเคนพบได้ทั่วไป ตั้งแต่ที่หนาวจัดแถบขั้วโลก (Tundra) จนถึงร้อนและ แห้งแล้งแบบทะเลทราย (Desert) รวมถึงร้อนชื้น (Tropic) เช่น ประเทศไทย แต่ไลเคนไม่สามารถเติบโตได้ ในสถานที่ที่มีมลภาวะทางอากาศ โดยจะเห็นว่า ในเมืองใหญ่ ๆ และในเขตอุตสาหกรรมนั้น ปราศจากไลเคน ด้วยเหตุนี้จึงมี ผู้นิยมใช้ไลเคนเป็นดัชนี (bioindicator) บ่งชี้คุณภาพอากาศ

นอกจากนี้ไลเคนยังสร้างสารธรรมชาติที่แตกต่างไปจากพืชชั้นสูง สารธรรมชาติจากไลเคนหลายชนิดถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางมา เป็นเวลานานและยังมีอีกหลายชนิดที่มีศักยภาพ ในการนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก

ประเภทของไลเคน

ไลเคนแต่ละชนิดเกิดจากราหนึ่งชนิดจับคู่กับสาหร่ายอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ความหลากหลายของ ชนิดไลเคน ขึ้นอยู่กับชนิดของราเป็นสำคัญ ราที่ก่อ ให้เกิดไลเคนมีประมาณ 13,500 ชนิด ส่วนสาหร่ายในไลเคน มีประมาณ 100 ชนิด 40 สกุล เท่านั้น ผลของการอยู่ร่วมกันของสาหร่ายและราทำให้เกิดโครงสร้าง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของไลเคน เรียกว่า ทัลลัส (Thallus) แบ่งไลเคนออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. ครัสโตส (Crustose) มีลักษณะคล้ายฝุ่นผงอัดตัวกันเป็นแผ่นบาง ๆ มีชั้นผิวด้านบนด้านเดียว ส่วนด้านล่างแนบสนิทกับวัตถุที่เกาะ

ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

2. โฟลิโอส (Foliose) มีลักษณะคล้ายแผ่นใบ มีชั้นผิว 2 ด้าน ด้านบนสัมผัสอากาศ ด้านล่างมีส่วนที่คล้ายราก แต่เกิดจากเส้นใยของรา เรียกว่า
ไรซีน (Rhizine) ใช้เกาะกับวัตถุ

ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

3. ฟรูติโคส (Fruticose) หรือพวกพุ่มกอ มีลักษณะเป็นกิ่งก้านหรือเส้นสายมีลักษณะคล้าย รากฝอย กับรากแขนงแต่อยู่ในอากาศ

ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

4. สะแควมูโลส (Squamulose) มีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆคล้ายเกล็ดปลา

ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด


ในต่างประเทศ มีการสำรวจศึกษาวิจัยไลเคนอย่างแพร่หลายมานานนับศตวรรษ จนถึงปัจจุบันส่วนในประเทศไทย เริ่มมีการสำรวจที่เกาะช้าง ในปี พ.ศ. 2453 โดยนักพฤษศาสตร์ชาวฟินแลนด์ หลังจากนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศมาศึกษาสำรวจอีกหลายครั้ง ตัวอย่างไลเคนเหล่านี้ถูกนำเก็บในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ ส่วนการศึกษาไลเคนของนักพฤกษศาสตร์ชาวไทย เริ่มต้นอย่างจริงจัง เมื่อ พ.ศ. 2537 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ไลเคนที่เก็บรวบรวมได้มีประมาณ 20,000 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 14 อันดับ 55 วงศ์ 127 สกุล และ 420 ชนิด พบชนิดใหม่ของโลก 7 ชนิด อยู่ในระหว่างตีพิมพ์เผยแพร่อีก 32 ชนิด (กัณฑรีย์, 2544) อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีไลเคนมากกว่าเท่าที่มีรายงาน การสำรวจไลเคนในประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น

การขยายพันธุ์ของไลเคน

เกิดขึ้นได้ 2 วิธีคือ แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) และ แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)

1. แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction)
โดยการที่ราสร้างโครงสร้างที่เรียกว่า ฟรุทติ้งบอดี้ (fruiting body) สำหรับขยายพันธุ์ (เปรียบเทียบได้กับผลไม้ของพืช) โครงสร้างนี้ประกอบด้วยอะโพธีเซีย (apothecia) ซึ่งมีลักษณะคล้ายถ้วย จาน หรือคนโท ภายในบรรจุสปอร์ เมื่ออะโพธีเซียแก่สปอร์จะถูกปล่อยออกไป และแพร่ไปที่ต่างๆด้วยกระแสลม น้ำ แมลงหรือพาหะอื่นๆ เมื่อตกถึงพื้นที่ที่เหมาะสม สปอร์ของราจะต้องพบกับสาหร่ายที่เหมาะสมจึงจะ
เติบโตเป็นไลเคนได้

ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด
ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

2. แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)
โดยการฉีกขาดของ ทัลลัสแล้วงอกเป็นไลเคนต่อไป หรือไลเคน สร้างโครงสร้างที่มีทั้งราและสาหร่ายอยู่ด้วยกัน ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
2.1 ไอซิเดีย (isidia) ลักษณะรูปแท่งคล้ายเข็มเล็กๆจำนวนมากซึ่งหักง่าย จะถูกพาไปยังที่ต่างๆด้วยวิธีการเดียวกับสปอร์
ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

2.2 ซอริเดีย (soredia) ประกอบด้วยเส้นใยราและสาหร่ายที่ประสานกันหลวม ๆ อยู่ที่ผิวของไลเคน มีลัษณะคล้ายขนมถ้วยฟูเล็ก ๆ
ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

วิธีการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนี้ ส่วนที่หลุดออกไปสามารถเติบโตเป็นไลเคนตัวใหม่ได้ทันที เพราะมีทั้งราและสาหร่ายอยู่แล้ว เมื่อถูกพาไปยังที่เหมาะสมจึงเติบโตได้

ประโยชน์ของไลเคน
ไลเคนถูกนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณจนถึงปัจจุบันในหลายๆ ด้าน ดังนี้
1. ด้านอาหาร
ไลเคนไม่มีแป้งที่แท้จริง หรือแม้แต่เซลลูโลส (cellulose) แต่มีสารพวกไลเคนนิน (lichenin) ที่ผนังเซลล์ของไฮฟีของรา ซึ่งนำมาเป็นอาหารได้ในซีกโลกทางเหนือมีไลเคน Cetraria islandica หรือ iceland moss ซึ่งเมื่อนำมาผ่านกระบวนการที่กำจัดรสขมของสารไลเคนออก นำมาทำซุปหรือต้มกับนมรับประทานเป็นอาหารและยาช่วยย่อยได้ นอกจากนี้ยังใช้ป่นเป็นผงผสมแป้งทำขนมปังกรอบ
2. ด้านสมุนไพร และยา
ชาวอียิปต์โบราณ ใช้ไลเคนเป็นส่วนประกอบของยา และสมุนไพร โดยในปี ค.ศ. 1864 มีการค้นพบโถที่บรรจุเมล็ด และส่วนของพืช ต่างๆ รวมทั้ง ไลเคนที่มีอายุประมาณ 1,700 – 1,800 ปีก่อนคริสตกาล ไลเคนที่พบ คือ Evernia furfuracea ไลเคนบางชนิดมีสารช่วยให้กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ อาจช่วยทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นสารที่ทำให้ประสาทตื่นตัว (nerve exctement) ได้ด้วย
3. พิษของไลเคน
พบไลเคน 2 ชนิด ที่มีพิษ คือ Lethara vulpina และ Cetraria pinastri ซึ่งชาวยุโรปเหนือใช้เบื่อสุนัขจิ้งจอก
4. การฟอกย้อมและการหมัก
ไลเคนเป็นสีย้อมมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ ไลเคน Rocella tinctoria และชนิดต่างๆ ในสกุลนี้ ให้สีที่เรียกว่า ออชิลล์ (orchil) เป็นโทนสีม่วง
5. ไลเคนในน้ำหอม ประเทศผ่รั่งเศสใช้ไลเคนผสมในน้ำหอม เพื่อให้กลิ่นชื่นใจ และยังติดทนนาน โดยใช้สารสกัดจากไลเคนเหล่านี้ผสมกับกลิ่นอื่นๆ
6. ไลเคนทำความสะอาดผม
7. ไลเคนเป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศ
8. การใช้ไลเคนบอกอายุหินและโบราณวัตถุ

ไลเคนมีความหลากหลายและมนุษย์ได้นำมาสกัดสีต่างๆ ไลเคนที่รู้จักกันดีคือ Rocella tinctoria และ Rocella spp. ให้สีออชิลล์ (orchil) เป็นโทนสีม่วง ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ เป็นประเทศที่สกัดสีจากไลเคนและนำไปผลิตเป็นการค้า สีจากไลเคนใช้ย้อมเส้นใยจากสัตว์ เช่นขนสัตว์และไหมได้ดี แต่ย้อมเส้นใยจากพืช เช่น ฝ้าย ไม่ได้ (กัณฑรีย์, 2549) นอกจากนี้ยังมีไลเคนอีกหลายชนิดที่ให้สีย้อมต่าง ๆ เช่น Lecanora tartarea, Parmelia saxatilis ให้สีแดง Parmelia omphalodes, Parmelia saxatilis ให้สีน้ำตาล Haematomma ventosum, H. occineum ให้สีน้ำตาลแดง Xanthoria parietina, Cetraria funlperium, Pertusaria melaleuca และ Usnea barbata ให้สีเหลือง Candellariella vutellina และ Xanthoria lychnea ให้สีเหลืองซึ่งใช้ย้อมเทียนในพิธีทางศาสนา ในสวีเดน นอกจากนี้ไลเคนยังสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศ โดยใน ค.ศ. 1866 Nylander รายงานว่าไม่พบไลเคนเติบโตในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเนื่องจากกควันที่ปล่อยออกมาจากปล่องตามบ้านเรือนและอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า มลพิษมีผลต่อการดำรงชีวิต และการเจริญของไลเคน (Boonpragob et al., 1989) ดังนั้นไลเคนจึงใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศอย่างแพร่หลายในยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ (Greis, 1996; Huckby, 1993; Nash, 1974; Pilegaard, 1978; Boonpragob and Nash, 1990) รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งมักพบไลเคนเจริญบนลำต้นและกิ่งไม้ บนหิน ตามดินที่ชื้นในป่าและสวนผลไม้ (Boonpragob, 2004)

ไลเคนเป็นการอยู่ร่วมกันแบบใด

ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการดำรงชีวิตแบบภาวะพึ่งพากันระหว่างสาหร่ายสีเขียวและไซยาโนแบคทีเรียกับฟังไจ (fungi) โดยที่เรียกสาหร่ายสีเขียวหรือไซยาโนแบคทีเรียในไลเคนว่า โฟโตไบออนท์ (photobiont) และเรียกฟังไจว่าไมคอไบออนท์ (mycobiont) ฟังไจในไลเคนส่วนมากอยู่ในไฟลัมแอสโคไมโคตาและมีบางชนิดเป็นฟังไจในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตาบ้าง ...

ไลเคนมีลักษณะอย่างไร

ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตช้ามาก ชอบเกาะต้นไม้ที่มีผิวเรียบและมีความเป็นกรดน้อย มันไม่ใช่กาฝากเพราะไม่ได้ดูดธาตุอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอยู่ ในเมืองไทยพบไลเคน 4 ชนิด คือ พวกเป็นแผ่น พวกพุ่มกอ พวกใบและพวกเส้นด้าย ไลเคนไม่เพียงช่วยตรวจมลพิษในอากาศเท่านั้น ยังเป็นตัวบอกสภาพความชื้นในอากาศได้ด้วย

ไลเคน มีอะไรบ้าง

ครัสโตส (Crustose) มีลักษณะคล้ายฝุ่นผงอัดตัวกันเป็นแผ่นบาง ๆ มีชั้นผิวด้านบนด้านเดียว ส่วนด้านล่างแนบสนิทกับวัตถุที่เกาะ.
โฟลิโอส (Foliose) มีลักษณะคล้ายแผ่นใบ มีชั้นผิว 2 ด้าน ด้านบนสัมผัสอากาศ ด้านล่างมีส่วนที่คล้ายราก แต่เกิดจากเส้นใยของรา เรียกว่า.

ไลเคนส์ มีการดำรงชีวิตร่วมกันแบบภาวะพึ่งพาของสิ่งมีชีวิตกี่ชนิด อะไรบ้าง

1. ภาวะพึ่งพาอาศัย (Mutualism +,+) - ไลเคนส์ (Lichens) เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด คือ ราและสาหร่าย ที่มาอาศัยอยู่ด้วยกัน โดยที่ราจะให้ความชื้นแก่สาหร่าย ส่วนสาหร่ายสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงและสร้างอาหารให้แก่ราได้