แผนการ สอน เรื่อง fruit ป. 3

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

แผนการจัดการเรียนรู้ Thai Fruits เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ อ13101

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

นางสุพร ธาตุอินจันทร์

ครูผู้สอน

โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) สังกัดเทศบาลตำบลแม่สาย

อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

แผนการจัดการเรียนรู้

เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง

รหัสวิชา อ 13101 ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้น ป. 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our Food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai Fruits    เวลา 2 ชั่วโมง

  1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

ต 1.1   เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

ต 1.1 ป. 3/3 เลือก/ระบุภาพหรือสัญลักษณ์ตรงตามความหมายของกลุ่มคำ และประโยคที่ฟัง

ต 1.2   มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ต 1.2 ป. 3/5 บอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามแบบที่ฟัง

  1. สาระสำคัญ

การเลือกภาพหรือสัญลักษณ์ให้ตรงตามความหมายของกลุ่มคำ และประโยคเกี่ยวกับผลไม้ของไทยที่ฟัง แล้วบอกความรู้สึกและคุณค่าของผลไม้ของไทยตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอพียง

  1. จุดประสงค์การเรียนรู้

3.1 ฟังแล้วออกเสียง และบอกความหมายของคำศัพท์ และประโยคเกี่ยวกับผลไม้ของไทยได้ถูกต้อง (P)

3.2 อ่านและเขียนคำศัพท์ และประโยคเกี่ยวกับผลไม้ของไทยได้ถูกต้อง (K)

3.3 สนทนาเกี่ยวกับความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบและบอกคุณค่าของผลไม้ของไทย

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (P,A)

  1. สาระการเรียนรู้

ภาพและความหมายของกลุ่มคำ ประโยค เกี่ยวกับผลไม้ของไทย

และการบอกความรู้สึก คุณค่าของผลไม้ของไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง ดังนี้

4.1 Content : Thai fruits

4.2 Vocabulary : Thai fruits: durian, mangosteen, orange, pine apple, tamarind, pomelo, jack fruit

4.3 Function: Talking about Thai fruits

4.4 Dialogue:                                                                               1. A : What Thai fruit do you like?

B : I like pomeloes.

  1.          A : Do you like pomeloes?

B : Yes, I do, / No, I don’t.

  1. สมรรถนะสำคัญ

ความสามารถในการสื่อสาร

  1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

อยู่อย่างพอเพียง

  1. ภาระงาน/ชิ้นงาน

7.1 ภาระงาน

7.1.1 ฟังแล้วออกเสียง และบอกความหมายของคำศัพท์ และประโยคเกี่ยวกับผลไม้ของไทย

7.1.2 อ่านและเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับผลไม้ของไทยเป็นภาษาอังกฤษ

7.1.3 สนทนาบอกความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ และบอกคุณค่าเกี่ยวกับ

ผลไม้ของไทย

         7.2 ชิ้นงาน

7.2.1 ใบงานที่ 1 เรื่อง Vocabulary about Thai fruits

7.2.2 ใบงานที่ 2 เรื่อง Mind mapping of Thai fruits

7.2.3 ใบงานที่ 3 เรื่อง I like Thai fruits

  1. กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1

8.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up)

8.1.1 นักเรียนทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับผลไม้ที่นักเรียนรู้จัก โดยให้นักเรียนบอกคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ และสะกดคำศัพท์พร้อมกัน เพื่อสำรวจความรู้เดิมเกี่ยวกับชื่อผลไม้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเงื่อนไขความรู้ของนักเรียน

8.1.2 ครูนำเสนอแผนภูมิเพลง coconut ครูร้องเพลงให้นักเรียนฟังแล้วให้นักเรียนร้องตาม และแสดงท่าทางประกอบเพลง เป็นการเตรียมความพร้อมของนักเรียน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

8.1.3 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยการสนทนากับนักเรียนเป็นภาษาไทย

ถึงเนื้อหาของเพลงที่ร้องว่า เป็นชื่อของผลไม้ของไทย คือ มะพร้าวซึ่งมีประโยชน์มากมาย และให้นักเรียนบอกประโยชน์ของมะพร้าว แล้วบอกว่าใครชอบหรือไม่ชอบมะพร้าวบ้าง จากนั้นครูโยงให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ เรื่อง ผลไม้ของไทยเป็นภาษา อังกฤษ เพื่อสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ว่าชื่อผลไม้ของไทยเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไรบ้าง

                    การสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์ของมะพร้าว เป็นการสำรวจความรู้เดิมของนักเรียนว่ารู้ว่าคุณค่าทางสารอาหารหรือไม่ และประโยชน์อื่น ๆ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันของครู และการให้นักเรียนรู้แนวทางการเรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องผลไม้ของไทย

เป็นความมีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน  

8.1.4 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7 คน เพื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนดไว้ เป็นความพอประมาณกับจำนวนนักเรียนและกิจกรรมที่จัด โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน

เพื่อให้นักเรียนได้ช่วยเหลือกันระหว่างปฏิบัติงานกลุ่มเป็นการส่งเสริมให้เกิดคุณธรรมความเอื้ออาทรต่อกัน และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการสอนของครูให้บรรลุตามจุดประสงค์

นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกประธาน เลขานุการ และวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมอย่างรอบคอบ โดยแบ่งหน้าที่การทำงานให้สมาชิกภายในกลุ่มตามความสามารถของแต่ละบุคคล

                   การให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มเลือกประธาน เลขานุการ และวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมการทำงานกลุ่ม เป็นการฝึกให้นักเรียนพอประมาณในการทำงานได้เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง

         8.2 ขั้นการสอน (Presentation)

8.2.1 นักเรียนบอกว่าชื่อผลไม้ของไทยที่นักเรียนรู้จักเป็นภาษาไทย เช่น

มะม่วง ขนุน ทุเรียน เป็นต้น เป็นการสำรวจความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับชื่อผลไม้เป็นเงื่อนไขความรู้ พอประมาณกับความรู้เดิมของนักเรียนและสมเหตุสมผลกับความสามารถของนักเรียน

8.2.2 ครูยกภาพผลไม้ขึ้น 1 ภาพ แล้วยกตัวอย่างการถามและตอบคำถาม จากภาพ เช่น

T    : What is it in this picture? (ภาพนี้เป็นภาพอะไร) ครูยกภาพมังคุดขึ้น

SS   : Fruit./ผลไม้

T    : What do you call this fruit in Thai? (ภาษาไทยเรียกว่าอะไร)

SS   : มังคุด.

T    : Good. In English, it is a mangosteen. Repeat after me twice, please. “Mangosteen” (ภาษาอังกฤษ คือ mangosteen ให้นักเรียนอ่านตามครู 2 เที่ยว)

SS   : Mangosteen, Mangosteen

                    ครูมีความพอประมาณในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความสนใจและวัยของนักเรียน    

8.2.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกบัตรภาพผลไม้ที่กลุ่มตนเองชอบ 1 บัตรภาพ

แล้วร่วมกันศึกษาคำอ่านจาก Dictionary หรือ ปรึกษาครู แล้วแต่ละกลุ่มฝึกออกเสียงคำศัพท์ของภาพร่วมกันภายในกลุ่ม เป็นการปลูกฝังคุณธรรมความมีน้ำใจของนักเรียนเก่งช่วยเหลือนักเรียนอ่อนในการอ่านออกเสียง

8.2.4 แต่ละกลุ่มอ่านคำศัพท์ชื่อผลไม้ตามบัตรภาพของกลุ่มตนเองแล้วให้กลุ่มอื่นๆ ออกเสียงตาม 2 ครั้ง ทำสลับกันจนครบทุกกลุ่ม โดยครูคอยแนะนำการออกเสียงให้ถูกต้อง

เป็นการปลูกฝังคุณธรรมการมีมารยาทที่ดีในการฟัง ฝึกสมาธิในการฟัง และเป็นการให้ความรู้การออกเสียงคำศัพท์ที่ถูกต้องแก่นักเรียน

8.2.5 ครูติดบัตรภาพผลไม้ทุกภาพบนกระดานดำ จากนั้นยกบัตรคำชื่อผลไม้ให้นักเรียนฝึกสะกดคำทีละคำพร้อมกันทั้งชั้น เช่น

T   : Look at this word, how do you spell it? Please spell together twice. (ภาพมังคุด)

SS : m-a-n-g-o-s-t-e-e-n, mangosteen

m-a-n-g-o-s-t-e-e-n, mangosteen

T : Well done. Now, I want a volunteer to stick this word with its picture on the board. (ครูขออาสาสมัคร 1 คน ไปติดบัตรคำนี้ให้ตรงกับบัตรภาพของคำศัพท์คำนี้)

SS : I can. (นักเรียนอาสาสมัครนำบัตรคำไปติดไว้ใต้บัตรภาพที่ตรงกับคำศัพท์)

ครูและนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเช่นนี้ไปจนครบทุกคำ

                    นักเรียนอ่านออกเสียงและฝึกการสะกดคำศัพท์ เป็นการให้ความรู้แก่นักเรียน และฝึกให้นักเรียนเกิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และเกิดมิติทางสังคม คือ นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขณะที่ออกสียงและสะกดคำศัพท์

          8.3 ขั้นฝึก (Practice)

8.3.1 ครูนำบัตรคำที่ติดใต้บัตรภาพออก แล้วนักเรียนอาสาสมัครชี้ภาพใน

บัตรภาพบนกระดานให้เพื่อนในชั้นเรียนช่วยกันออกเสียงและสะกดคำศัพท์พร้อมกันทั้งชั้น ครูชมเชย ช่วยเหลือ และแก้ไขเมื่อนักเรียนออกเสียงผิด หรือสะกดผิด

                   กิจกรรมในขั้นนี้เป็นการเน้นย้ำความรู้เรื่องการออกเสียงคำศัพท์และ การสะกดคำศัพท์ที่ถูกต้องให้แก่นักเรียน

8.3.2 นักเรียนแต่ละคนรับใบงานที่ 1 เรื่อง Vocabulary about Thai fruits เพื่อทำกิจกรรมเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับผลไม้ แล้วนักเรียนจับคู่เปรียบเทียบคำตอบกันภายในกลุ่ม ถ้าคำตอบไม่ตรงกัน นักเรียนแสดงความคิดเห็น หลังจากนั้นนักเรียนและครูร่วมกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้น เพื่อฝึกคุณธรรมความรับผิดชอบและเกิดมิติทางสังคมในการทำงานร่วมกันและยอมรับเหตุผลซึ่งกันและกัน และเกิดความรู้ในการเขียนคำศัพท์

8.3.3 นักเรียนรับใบงานที่ 2 เรื่อง Mind mapping of Thai fruits โดย

ทำกิจกรรมเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับผลไม้ที่เรียนมาแล้ว วาดภาพผลไม้ และระบายสีตามความจริงหรือตามความชอบ เพื่อส่งครูในชั่วโมงเรียนต่อไป นักเรียนได้ฝึกคุณธรรม ความรับผิดชอบ และเป็นภูมิคุ้มกันให้นักเรียนคือให้นักเรียนมีความรู้ที่จะสามารถนำความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ไปใช้ในการเรียนบทต่อไป

ชั่วโมงที่ 2

8.3.4 ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ทบทวนคำศัพท์ผลไม้ของไทยที่เรียนไปแล้ว

ในชั่วโมงที่ผ่านมา โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นทีมหญิงและทีมชาย แล้วแข่งขันเล่นเกมจับคู่บัตรคำกับบัตรภาพ ซึ่งครูเตรียมบัตรภาพและบัตรคำให้แต่ละทีมเท่า ๆ กัน วางไว้บนโต๊ะด้านหน้าของแต่ละทีม เริ่มแข่งขันโดยแต่ละทีมส่งตัวแทนออกมาครั้งละ 1 คน ครูพูดคำศัพท์ชื่อผลไม้ของไทยคำละ 2 ครั้ง ตัวแทนของแต่ละทีมเลือกบัตรภาพและบัตรคำให้ตรงกับชื่อผลไม้ที่ครูพูด แล้วนำออกไปติดบนกระดานหน้าชั้นเรียน ทีมใดจับคู่ได้ถูกต้องและติดเสร็จก่อนได้ 1 คะแนน เมื่อเสร็จกิจกรรมทีมที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ

                    การทบทวนความรู้เดิมเป็นภูมิคุ้มกันให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ และการใช้กิจกรรมแข่งขันเล่นเกมจับคู่คำศัพท์ เป็นภูมิคุ้มกันของนักเรียน และเป็นความพอประมาณที่นักเรียนได้รู้จักวางแผนในการเลือกตัวแทนส่งเข้าแข่งขันได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล  

8.3.5 ครูยกบัตรภาพขนุน แล้วยกตัวอย่างบทสนทนาถามตอบเกี่ยวกับผลไม้ไทยที่ชอบ ดังนี้

T :     What Thai fruit do you like? I like jack fruits.

และให้นักเรียนทั้งชั้นฝึกพูดประโยคคำถาม และคำตอบ ด้วยการพูดตามครู โดยครูจะชี้ที่บัตรภาพทีละบัตร และฝึกพูดจนครบทุกภาพ เช่น

T:      What Thai fruit do you like?

SS:     What Thai fruit do you like?

T:      I like mangoes. (ชี้บัตรภาพมะม่วง)

SS:     I like mangoes.

T:      Do you like mangoes?

SS:     Do you like mangoes?

T:      Yes, I do. / No, I do not.

SS:     Yes, I do. / No, I do not.

etc.

                    เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้การถามคำถาม และการตอบคำถาม ทำให้เกิดรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

8.3.6 ครูชี้บัตรภาพ ให้นักเรียนฝึกถามคำถามและตอบคำถามพร้อมกันทั้งชั้น

แล้วให้นักเรียนฝึกถามและตอบคำถามเป็นคู่ โดยสลับกันถามและตอบเกี่ยวกับผลไม้ที่ตนชอบอย่างน้อย 2 ชนิด ภายในเวลา 5 นาที

                    เป็นการฝึกทักษะและความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ผลไม้ไทยให้ พอประมาณกับเวลาและเนื้อหา

          8.4 ขั้นนำไปใช้ (Production)

8.4.1 สุ่มนักเรียน 3–5 คู่ ยืนขึ้นสนทนาให้เพื่อนๆ ในชั้นเรียนฟังโดยกำหนดเวลา คู่ละ 2 นาที  ดังตัวอย่างประโยค เช่น

S1:      What Thai fruit do you like?

S2:      I like durians. Do you like durians?

S1:      Yes, I do.

S2:      What Thai fruit do you like?

S2:      I like pomeloes. Do you like pomeloes?

S1:      N, I do not.

                    กิจกรรมนี้เป็นการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ฝึกความมั่นใจ และฝึกให้นักเรียนรู้จักการวางแผน มีความรับผิดชอบในการฝึกซ้อม และฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี

8.4.2 นักเรียนแต่ละคนรับตาราง เกม Bingo แล้วนักเรียนเขียนคำศัพท์ผลไม้ที่นักเรียนชอบลงในตาราง 8 คำ แล้วฟังคำศัพท์ที่ครูอ่าน นักเรียนคนที่มีคำศัพท์ตรงกับคำศัพท์ที่ครูอ่านครบตามแนวนอน/แนวตั้ง/แนวทแยง ก่อนเป็นผู้ชนะ เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักความพอประมาณทั้งด้านเนื้อหาและเวลา และมีคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ปฏิบัติตามกติกาไม่เปลี่ยนคำศัพท์

8.5 ขั้นสรุป (Wrap up)

8.5.1 นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ 3 เรื่อง I like Thai fruits โดยครูกำหนดเวลาทำกิจกรรม 10 นาที การกำหนดเวลาให้นักเรียนทำงานเป็นการฝึกให้นักเรียนมีความพอประมาณกับเวลา และรู้จักการวางแผนในการทำงาน เป็นภูมิคุ้มกัน

ในตัวของนักเรียน มีความรู้และทักษะในการใช้ภาษา มีความรอบคอบในการทำงาน

และมีคุณธรรมความรับผิดชอบ

8.5.2 นักเรียนร่วมตอบคำถาม / แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถาม “ถ้านักเรียนมีความจำเป็นที่จะเลือกบริโภคผลไม้ นักเรียนจะพิจารณาเลือกผลไม้เพื่อบริโภคตามหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร” (ความพอประมาณกับรายได้ หาง่าย

มีในท้องถิ่น มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ความมีเหตุผลในการเลือกชนิดของผลไม้)

  1. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

9.1 สื่อการเรียนรู้

               9.1.1 เพลง coconut

               9.1.2 บัตรคำ

9.1.3 บัตรภาพ

9.1.4 ใบงานที่ 1 เรื่อง Vocabulary about Thai fruits

9.1.5 ใบงานที่ 2 เรื่อง Mind mapping of Thai fruits

9.1.6 ใบงานที่ 3 เรื่อง I like Thai fruits

9.1.7 ตารางเกม Bingo

9.2 แหล่งเรียนรู้        –

  1. 10. การวัดผลและประเมินผล
รายการวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
1. ฟังแล้วออกเสียงและบอกความหมายของคำศัพท์ และประโยคเกี่ยวกับผลไม้ของไทยได้ถูกต้อง

2. อ่านและเขียนคำศัพท์ และประโยคเกี่ยวกับผลไม้ของไทยได้ถูกต้อง

3. สนทนาเกี่ยวกับความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบและบอกคุณค่าของผลไม้ของไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-สังเกตการออกเสียง

-ตรวจใบงานที่ 1

-สังเกตการณ์

อ่านออกเสียง

-ตรวจใบงานที่ 2

-ตรวจใบงานที่ 3

-สังเกต

การสนทนา

-แบบประเมินพฤติกรรมการเรียน

-ใบงานที่ 1

-แบบประเมินพฤติกรรมการเรียน

-ใบงานที่ 2

-ใบงานที่ 3

-แบบประเมินพฤติกรรมการเรียน

-ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป

-ตอบถูกต้อง 7 ข้อขึ้นไป

-ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป

-ผ่านเกณฑ์เขียนถูก

5 คำขึ้นไป

-ผ่านเกณฑ์เขียนถูก

3 ข้อขึ้นไป

ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป

  1. บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

11.1 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

11.1.1 ความรู้ ………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

11.1.2 กระบวนการ……………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

11.1.1 ค่านิยม ………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

11.2 ปัญหาและอุปสรรค………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

11.3 แนวทางการแก้ไขและพัฒนา…………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………….

ลงชื่อ                               ผู้สอน

(…………………………………..)

เพลง Coconut

ประกอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai fruits ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

                               C –O – C – O – N – U – T

C –O – C – O – N – U – T

COCONUT   COCONUT

          Oh……..

บัตรคำ

ประกอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai fruits ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

บัตรภาพ

ประกอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai fruits ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ใบงานที่ 1 เรื่อง Vocabulary about Thai fruits

ประกอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai fruits ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Name : ____________________   Class : ______ No.: _____

คำชี้แจง ตอนที่ 1 ดูภาพแล้วเติมตัวอักษรของคำศัพท์นั้นให้ตรงกับภาพ

d p b a n a n a m
u o p i n e a p p l e
r m p n
i e j l g
a l o r a n g e o
m a n o c s
k t
f e
r e
u n
t a m a r i n d

ตอนที่ 2 นำคำศัพท์ที่นักเรียนเขียนในอักษรไขว้มาเติมข้างล่างนี้นะคะ

  1. = ___________
  2. = ___________                                3.                          = ___________
  3. = ___________
  4.                 = ___________
  5. = ___________
  6. = ___________
  7. = ___________
  8. = ___________
  9. = ___________

ใบงานที่ 2 เรื่อง Mind mapping of Thai fruits

ประกอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai fruits ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Name : ____________________   Class : ______ No.: _____

คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนผังความคิด (mind mapping) เกี่ยวกับ Thai fruits พร้อมทั้งวาดภาพประกอบและระบายสีให้สวยงาม

 

ประกอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai fruits ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Name : ____________________       Class : ______ No.: _____

คำชี้แจง เรียงคำศัพท์ที่กำหนดให้เป็นประโยคให้ถูกต้อง

1.

_____________________________________________________________

2.

_____________________________________________________________

3.

_____________________________________________________________

4.

_____________________________________________________________

5.

_____________________________________________________________

ใบงานที่ 3 เรื่อง Do you like Thai fruits?

ประกอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Our food

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Thai fruits ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

จุดประสงค์ 1. เพื่อทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับผลไม้ไทย

  1. เพื่อความสนุกสนานในบทเรียน

อุปกรณ์ 1. แผ่นตารางบิงโก

  1. คลังคำศัพท์เกี่ยวกับ Thai fruits

วิธีเล่น  1. ครูแจกตารางบิงโกให้นักเรียนทุกคน

  1. นักเรียนเขียนคำศัพท์ผลไม้ของไทยลงในตาราง โดยเลือกชื่อผลไม้ที่นักเรียน

ชอบลงในช่องใดก็ได้

  1. ครูอ่านชื่อผลไม้ทีละคำ เมื่อนักเรียนคนใดมีชื่อผลไม้ตรงกับที่ครูอ่านในตารางของตนให้กากบาททับคำนั้น ถ้านักเรียนคนใดกากบาทคำศัพท์ เรียงครบ 3 คำ ต่อกันในแนวตั้งหรือแนวนอน หรือแนวเฉียงถือว่า บิงโก

ใบงานที่ 1 เรื่อง Vocabulary about Thai fruits

ตอนที่ 1 ดูภาพแล้วเติมตัวอักษรของคำศัพท์นั้นให้ตรงกับภาพ

d p b a n a n a m
u o p i n e a p p l e
r m p n
i e j l g
a l o r a n g e o
m a n g o c s
r k t
a f e
p r e
e u n
s i
t a m a r i n d

ตอนที่ 2 นำคำศัพท์ที่นักเรียนเขียนในอักษรไขว้มาเติมข้างล่าง

  1. =   durian
  1. =   pomelo
  1. =   banana
  1. =   mangosteen
  1. =   tamarind
  1. =   jackfruit
  1. =   mango
  1. =   orange
  1. =   pine apple
  1. =   apple

ใบงานที่ 3 เรื่อง Thai fruits

  1. What Thai fruit do you?
  2. I like jack fruits.
  3. Do you like oranges?
  4. No, I do not.
  5. I like pine apple.

แบบประเมินพฤติกรรม

สิ่งที่วัด 1. ออกเสียงและบอกความหมายของคำศัพท์ชื่อผลไม้ของไทย

  1. การอ่านประโยคถามตอบเกี่ยวกับผลไม้ของ
  2. การเขียนประโยคถามตอบบอกความรู้สึกต่อผลไม้ของไทย
  3. เลือกบริโภคผลไม้ของไทยได้เหมาะสมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คะแนนรวม 1-4 คะแนน        ระดับคุณภาพ   1 = ปรับปรุง

คะแนนรวม 5-8 คะแนน        ระดับคุณภาพ   2 = ปานกลาง

คะแนนรวม 9-12 คะแนน       ระดับคุณภาพ   3 = ดี

เลข

ที่

 

ชื่อ – สกุล

พฤติกรรมที่ต้องสังเกต ผลการประเมิน

(ระดับคุณภาพ)

ออกเสียง/บอก

ความหมาย

อ่านประโยค

ถามตอบ

เขียนประโยค เลือกบริโภคฯ รวม

12

(คะแนน)

3 3 3 3

ลงชื่อ…………………………………….ผู้ประเมิน

เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการเรียน

องค์ประกอบ

การประเมิน

เกณฑ์การประเมิน / น้ำหนักคะแนน คะแนน

รวม

3 2 1
ออกเสียงและบอกความหมายของคำศัพท์ชื่อผลไม้ของไทย ออกเสียงคำศัพท์ได้ถูกต้อง ออกเสียงคำศัพท์ ได้ถูกต้อง 4-5 คำ ออกเสียงคำศัพท์ ได้น้อยกว่า 4 คำ 3
การอ่านประโยคถามตอบเกี่ยวกับผลไม้ของ อ่านได้ถูกต้อง

ทุกคำ ชัดเจน และคล่องแคล่ว

อ่านได้ถูกต้อง

ชัดเจน แต่ไม่คล่องแคล่ว

อ่านผิดบ้างไม่

ชัดเจน ไม่คล่องแคล่ว

3
การเขียนประโยคถามตอบบอกความรู้สึกต่อผลไม้ของไทย เขียนประโยคถามตอบบอกความรู้สึกต่อผลไม้ของไทยได้ถูกต้องทุกประโยค เขียนประโยคถามตอบบอกความรู้สึกต่อผลไม้ของไทยได้ถูกต้อง

3-4 ข้อ

เขียนประโยคถามตอบบอกความรู้สึกต่อผลไม้ของไทยได้ถูกต้องน้อยกว่า

3 ข้อ

3
เลือกบริโภคผลไม้ของไทยได้เหมาะสมกับหลัก

ปศพ.

บอกชื่อผลไม้ในการบริโภคพร้อมให้เหตุผลประกอบได้ถูกต้องอย่างน้อย 3 เหตุผล บอกชื่อผลไม้ในการบริโภคพร้อมให้เหตุผลประกอบได้ถูกต้องอย่างน้อย 1-2 เหตุผล บอกชื่อผลไม้ในการบริโภคแต่ไม่สามารถยกเหตุผลประกอบได้ 3
รวม 12

เกณฑ์การตัดสินผลคะแนน คะแนนเต็ม 12 คะแนน เกณฑ์ผ่านอยู่ในระดับดีขึ้นไป

การแปลความหมายของคะแนน  :   ช่วงคะแนน            :         ผลการประเมิน

9 – 12           ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงอยู่ในระดับดี

5 – 8            ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงอยู่ในระดับปานกลาง

1 – 4             ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงอยู่ในระดับปรับปรุง

เอกสารประกอบ

แนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  1. ผู้สอนใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้
หลักพอเพียง

ประเด็น

พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เวลา กำหนดเวลาได้เหมาะสม กับเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้ -เพื่อให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามที่กำหนด

-ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

-มีการจัดสรรเวลาเพิ่มสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ตามขั้นตอน
เนื้อหา กำหนดเนื้อหาได้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด และเหมาะสมกับเวลา วัย ความสามารถของนักเรียน และบริบทของท้องถิ่น -เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดและครบถ้วนตามกระบวนการ

-เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาอังกฤษ

-ลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย อยากเรียนรู้

-เตรียมเนื้อหาในการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามมาตรฐานและตัวชี้วัด

วิธี

การจัดกิจกรรม

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมะสมสำหรับการนำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย และเหมาะสมกับสภาพผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัด -แจ้งจุดประสงค์และกิจกรรมให้นักเรียนทราบก่อนการเรียนรู้

-เตรียมตัดทอนกิจกรรมในกรณีที่ใช้เวลานานเกินไปและนักเรียนเบื่อหน่าย

  1. ผู้สอนใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้(ต่อ)
หลักพอเพียง

ประเด็น

พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
สื่อ/อุปกรณ์ -เลือกสื่อที่เหมาะสมกับเป้าหมาย เนื้อหา   กิจกรรมการเรียนรู้ และความสนใจของนักเรียน

-ครูเตรียมสื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

-เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน                                 -เสริมสร้างให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนได้ง่ายขึ้น -การศึกษาลักษณะของผู้เรียนก่อน จะช่วยให้ครูเตรียมสื่อ/อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับนักเรียน

-เตรียมสื่อ/อุปกรณ์สำรอง

-ลดภาระการอธิบายของครู

การประเมินผล -ออกแบบการวัดและประเมินผลได้เหมาะสมกับตัวชี้วัด กิจกรรม   และผู้เรียน -เพื่อประเมินผู้เรียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ -ศึกษาและสร้างเครื่องมือวัดผลให้ตรงตามตัวชี้วัดและผ่านการตรวจสอบคุณภาพ

-ชี้แจงวิธีการใช้เครื่องมือให้ชัดเจน

ความรู้ที่ครู

จำเป็นต้องมี

ครูมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด   เทคนิคการสอน   จิตวิทยาการเรียนรู้       การวัดและประเมินผล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลไม้ไทยในท้องถิ่น และภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ และประโยคถามตอบชอบ / ไม่ชอบผลไม้ไทยในท้องถิ่น
คุณธรรมของครู มีความรักเมตตาศิษย์ มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม มีความอดทน
  1. 2. ผลที่เกิดกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.1 ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักคิดและฝึกปฏิบัติตามหลัก 3 ห่วง 1 เงื่อนไข ดังนี้

 

หลักพอเพียง

พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
-ผู้เรียนใช้เวลาปฏิบัติกิจกรรมได้เหมาะสมตามลำดับขั้นตอน

-ผู้เรียนแบ่งหน้าที่การทำงานภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน

-ผู้เรียนบอกเหตุผล

ในการเลือกซื้อผลไม้ได้พอประมาณกับรายได้

-ปฏิบัติกิจกรรมได้ครบถ้วน ตามขั้นตอนและสำเร็จตามเป้าหมาย

-แก้ปัญหาในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

-ปลูกฝังคุณลักษณะประหยัดและออม

-รู้จักการวางแผน การทำงานอย่างเป็นระบบให้งานประสบความสำเร็จ

-ปรับตัวในการทำงานกับเพื่อนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม

ความรู้ นักเรียนมีความรู้ เรื่อง การวางแผนการทำงาน   วิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผลไม้ไทยและคุณค่าของผลไม้ไทยในท้องถิ่น ซื่อผลไม้ไทยในท้องถิ่นเป็นภาษาอังกฤษ
คุณธรรม นักเรียนมีสมาธิ มีมารยาทในการฟัง มีความรับผิดชอบ มีน้ำใจ   ซื่อสัตย์และมีความพอเพียง

2.2 ผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตที่สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

         ด้าน

องค์ประกอบ

สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
ความรู้ มีความรู้ภาษา

อังกฤษเกี่ยวกับคำศัพท์ ประโยค

ที่เกี่ยวข้องกับผลไม้ของไทย

มีความรู้ในการวางแผนงาน และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ทักษะ มีทักษะในการฝึกสนทนาถาม ตอบเกี่ยวกับความรู้สึกต่อผลไม้ของไทย มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ค่านิยม เห็นคุณค่าของการเลือกบริโภคผลไม้ของไทย -ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่

การทำงานในกลุ่ม                 -ยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม