อาจารย์ คณะ พาณิช ย ศาสตร์ และการบัญชี จุฬา

บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chulalongkorn Business School (CBS) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการสนับสนุนระบบการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล ทั้งเทคโนโลยี ทักษะความรู้ และโอกาสในการทำงาน เพื่อร่วมสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพรุ่นใหม่ให้กับสังคม สอดรับการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

อาจารย์ คณะ พาณิช ย ศาสตร์ และการบัญชี จุฬา
ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) 

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้าน Tech Enabler 
ที่ช่วยยกระดับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการแพร่ระบาดของโควิด 19  ที่เป็นตัวเร่งให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัว เพื่อให้องค์กรเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับภาคการศึกษาที่ต้องปรับตัวเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตให้สอดคล้องกับทิศทางการศึกษาและการทำงานในโลกอนาคต โดยนิสิตที่จบออกมาไม่ว่าจะเป็นสาขาไหน อย่างน้อยต้องมีทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลงานใหม่ๆ ซึ่งจีเอเบิลตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะของนิสิตและการส่งเสริมเทคโนโลยี  จึงได้ร่วมมือกับทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนระบบการศึกษาไทย
ในยุคดิจิทัล เพื่อร่วมสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้กับสังคม

อาจารย์ คณะ พาณิช ย ศาสตร์ และการบัญชี จุฬา
ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ด้าน รศดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความสำเร็จภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ เป็นการประสานศักยภาพของ 2 องค์กร ทั้งสถาบันการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยี
เข้าด้วยกัน ซึ่งปรากฏการณ์ครั้งสำคัญนี้ จะเป็นการติดอาวุธให้นิสิตในสายธุรกิจมีทักษะทางด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในยุคดิจิทัล ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้งาน และร่วมงานในบริษัทชั้นนำ รวมทั้งเป็นการปลูกสร้างจิตวิญญาณของการเป็นผู้ให้และทัศนคติเชิงบวก เพื่อก้าวสู่การเป็นบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพในสังคมต่อไป

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการสร้างโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) เพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทางนวัตกรรมธุรกิจให้กับนิสิตระดับปริญญาตรี โดยจีเอเบิลจะเป็นผู้สนับสนุนดิจิทัลเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของเครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการเรียนสอนในหลักสูตร การวิจัยและกิจกรรมพิเศษอื่นๆ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการฝึกงานสำหรับนิสิตชั้นปีที่และจ้างงานสำหรับนิสิตที่จบการศึกษาในชั้นปีที่ 4 อีกด้วย 

อาจารย์ คณะ พาณิช ย ศาสตร์ และการบัญชี จุฬา

ขณะที่ทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยให้ข้อแนะนำและแนวทางในการวิจัย รวมถึงพัฒนาศักยภาพของนิสิต ผ่านการเรียนการสอนในหลักสูตร การวิจัยและกิจกรรมพิเศษอื่นๆ ในการเรียนรู้จากประสบการณ์และสถานการณ์จริงในโลกธุรกิจ ให้พร้อมสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล

ภายใต้การผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่นี้ นอกจากจะเป็นการยกระดับการศึกษาให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างบุคลากรที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยี พร้อมสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัลแล้ว ในระยะยาวยังเป็นการช่วยภาคธุรกิจ
ในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มีบุคลากรคุณภาพรุ่นใหม่ไปร่วมงาน และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคต

อาจารย์ คณะ พาณิช ย ศาสตร์ และการบัญชี จุฬา

อาจารย์ คณะ พาณิช ย ศาสตร์ และการบัญชี จุฬา

ศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 46 ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา มอบเงินบริจาค 999,999.99 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อโรค Covid-19 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีเพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อโรค Covid-19 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อ.นพ.เพชร อลิสานันท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านสนับสนุนบริการ เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อวันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ณ ศาลาทินทัต

เรียนบริหารจุฬาจบไปทำอะไร

จบมาทำงานอะไร สาขาวิชาการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ : ผู้ประกอบการใหม่/ผู้ประกอบการในอนาคต, ผู้ประกอบการเพื่อสังคม, ผู้ประกอบการในองค์กร เช่น นักพัฒนาธุรกิจ, นักวิเคราะห์และวางแผน, ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ ฯลฯ

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ใช้เวลากี่ปี

พ.ศ. 2487 แผนกวิชาการบัญชี ได้ตัดภาคปฏิบัติของหลักสูตรบัญชีออก คงเรียนแต่เฉพาะภาคทฤษฎีเป็นเวลา 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัญชีบัณฑิต ส่วนแผนกพาณิชยศาสตร์ ได้กำหนดหลักสูตรไว้ 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาพาณิชยศาสตรบัณฑิต

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีประกอบด้วย 5 ภาควิชา ได้แก่.
การบัญชี (Accounting).
พาณิชยศาสตร์ (Commerce).
การธนาคารและการเงิน (Banking and Finance).
การตลาด (Marketing).
สถิติ (Statistics).

SHI CU คือคณะอะไร

สำหรับคำว่า “SHI” (ชี่) ที่ชาวจุฬาฯ เรียกกันจนติด ปากนั้น รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ในฐานะนิสิตเก่าคณะSHI 47 ได้เฉลยว่า คำนี้แผลงมาจากคำว่า “บัญชี” พร้อมย้อนรำลึกถึงวันวานอันแสนอบอุ่นสมัยเป็นนิสิตว่า ผมเป็นหัวหน้านิสิตภาคพาณิชย์ ทำกิจกรรมระดับภาควิชาหลายๆงาน และยังเป็นประธานก่อตั้งชมรม AIESEC ในไทย เป็นชมรมระดับนานาชาติ ...