ออกจากงานโดยไม่เขียนใบลาออก

  • กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน แต่ที่บริษัทมักกำหนดไว้ก็เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมหาคนมาแทน และจัดการงานส่วนที่เรารับผิดชอบ
  • เมื่อเราส่งจดหมายลาออกแบบเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ก็ถือว่าการลาออกของเราสมบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอการอนุมัติจากนายจ้าง
  • สัญญาจ้างของพนักงานประจำ เป็นสัญญาแบบไม่มีระยะเวลา ทำให้เราสามารถยื่นลาออกเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สำหรับพนักงานสัญญาจ้างที่มีระยะเวลาในการทำงานกำหนดอยู่ในสัญญา จะไม่สามารถลาออกก่อนครบกำหนดสัญญาได้ หรือถ้าได้ ก็อาจจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้บริษัท
  • การลาออกเองเราจะไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยจากบริษัท แต่เรามีสิทธิขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ ถ้าปฏิบัติตามเงื่อนไขของเขาอย่างครบถ้วน
     

การลาออกจากงานเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกของการทำงาน แต่เรื่องที่คนส่วนใหญ่มักสงสัยก็คือ เราต้องรู้อะไรบ้างหากจะลาออก? ถ้าจะลาออกจากงาน ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน จริงไหม? จำเป็นที่ต้องรอนายจ้าง “อนุมัติให้ลาออก” ก่อนหรือเปล่า? หรือลาออกแล้วเราจะได้อะไรบ้าง วันนี้ JobThai จึงได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้ว

“ต้องแจ้งลาออกจากงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน” จริงไหม?

ที่จริงแล้วกฎหมายไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่าการลาออกจากงานต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนลาออกนานแค่ไหน เราจะยื่นจดหมายวันนี้แล้วพรุ่งนี้ไม่มาทำงานเลยก็ได้ แต่การทำแบบนี้จะทำให้เราดูไม่เป็นมืออาชีพ ไม่มีความรับผิดชอบ แถมยังส่งผลกระทบกับงานของคนอื่นด้วย การแจ้งล่วงหน้า 30 วัน จึงเป็นการให้องค์กรเตรียมหาคนใหม่มาทำงานแทน และเราจะได้มีเวลาจัดการงานที่ยังค้างอยู่ หรือเตรียมส่งต่องานไปให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นดูแลนั่นเอง

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมก็คือ เราต้องแจ้งลาออกโดยการยื่นจดหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเสมอ เพราะการแจ้งออกด้วยคำพูดอย่างเดียวแล้วหายไปเฉย ๆ จะทำให้ไม่มีหลักฐานการลาออกและถ้าขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร ก็อาจเป็นเหตุผลให้บริษัทบอกเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ แถมยังส่งผลให้เสียสิทธิต่าง ๆ อย่าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสวัสดิการอื่นของบริษัทอีกด้วย

ยื่นจดหมายลาออกจากงานแล้ว แต่นายจ้างไม่อนุมัติ ทำได้ไหม?

นายจ้างไม่สามารถปฏิเสธการลาออกจากงานของเราได้ ถ้ามีการยื่นจดหมายลาออกที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เราจะไม่มาทำงานตามวันที่แจ้งลาออกเลยก็ได้โดยไม่ต้องรออนุมัติ และนายจ้างเองก็ไม่มีสิทธิมาบังคับไม่ให้เราออกด้วยเช่นกัน

ลาออกจากงานตอนไหนก็ได้ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้เสมอไป

ถึงจะบอกว่าไม่จำเป็นต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะแจ้งลาออกจากงานตอนไหนก็ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาจ้างงานที่เราทำกับบริษัทว่าเป็นสัญญาแบบไหน ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา และ สัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลา

สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา

สัญญาแบบนี้คือสัญญาจ้างของพนักงานทั่วไปหรือที่เราเรียกกันว่า “พนักงานประจำ” จะไม่มีการระบุเอาไว้ว่าต้องทำงานนานแค่ไหน ทั้งเราและนายจ้างมีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ทั้งคู่ ถ้าเราเซ็นสัญญาแบบนี้ก็จะสามารถลาออกเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ

สัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลา

กรณีนี้เป็นสัญญาที่กำหนดระยะเวลาทำงานไว้ชัดเจน เช่น สัญญาจ้าง 6 เดือน หรือ สัญญาจ้าง 1 ปี ถ้าทำงานจนครบกำหนดเวลาแล้วเราจะไม่ไปทำงานเลยก็ได้ แต่ถ้าลาออกจากงานก่อนครบกำหนดในสัญญาก็อาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้บริษัท ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและรายละเอียดในสัญญาแต่ละฉบับ

แต่ก็จะมีสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาบางประเภท ที่ระบุไว้ว่านายจ้างและลูกจ้างสามารถยกเลิกสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้ ก็จะถือว่าสัญญาแบบนี้เป็นสัญญาที่ไม่กำหนดระยะเวลาเช่นกัน

เช็กสิทธิประกันสังคม ได้ค่าชดเชยอะไรบ้างถ้าลาออกจากงาน

อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คนทำงานอยากรู้ กรณีที่เราลาออกจากงานเองจะไม่ได้ค่าชดเชยอะไรจากบริษัท แต่เราสามารถขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ ถ้าเราจ่ายประกันสังคมมาแล้วเกิน 6 เดือน (ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน)

เมื่อลาออกจากงานแล้ว อย่าลืมไปขึ้นทะเบียนออนไลน์และรายงานตัวว่างงานที่เว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน ภายใน 30 วันหลังลาออก เพราะถ้าเกินกำหนดแล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิย้อนหลังได้ นอกจากนี้ระบบจะนัดรายงานตัวห่างกันทุก 30 วัน ไม่เว้นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ซึ่งผู้ประกันตนสารมารถดำเนินการผ่านอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องมาที่สำนักงาน โดยสามารถรายงานตัวผ่านโทรศัพท์มือถือทางเว็บไซต์ http://empui.doe.go.th และถ้าทางสำนักจัดหางานมีงานมาแนะนำเราก็ต้องไปสมัครและสัมภาษณ์ด้วย

เงินทดแทนกรณีว่างงานนี้จะได้รับอยู่ที่ 45 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนล่าสุดและจะได้รับไม่เกินปีละ 90 วัน หรือ 3 เดือน ถ้าเงินเดือนเรา 10,000 บาทจะได้เงินทดแทนเฉลี่ยเดือนละ 4,500 บาท โดยที่จะคิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท เท่านั้น หากได้เงินเดือนสูงกว่านี้ก็จะได้รับเงินชดเชยแค่เดือนละ 6,750 บาท (ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จะกลับมาใช้อัตราเดิมคือ จะได้รับเงินทดแทน 30 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนล่าสุด หรือได้รับเงินทดแทนสูงสุดไม่เกิน 4,500 บาท) นอกจากนี้ถ้าเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ คลอดบุตร ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เรายังใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือนหลังจากออกลาโดยไม่ต้องจ่ายเงินเข้าประกันสังคมอีกด้วย

(ข้อมูลอัปเดตวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565)

ลาออกแบบรักษากฎหมายก็ดี แต่รักษาความสัมพันธ์ที่มีด้วย

ถึงกฎหมายจะไม่ได้กำหนดเวลาการยื่นลาออกล่วงหน้าและเราก็ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ แต่โดยมารยาทในการลาออกแล้วเราก็ควรแจ้งล่วงหน้าตามที่บริษัทกำหนดไว้ เพราะนอกจากจะไม่กระทบกับการทำงานของคนอื่นแล้ว ยังเป็นการรักษาน้ำใจระหว่างกันอีกด้วย เพราะไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจได้กลับมาร่วมงานกับคนจากบริษัทเก่าก็ได้

ถ้ายิ่งตำแหน่งเรามีความสำคัญกับบริษัทด้วย หากลาออกไปแบบกะทันหันแล้วทำให้บริษัทเสียหายก็อาจมีการยื่นฟ้องร้องเราได้ คงจะดีกว่าแน่ถ้าเราได้ลาออกอย่างถูกกฎหมายและส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานหรือความรู้สึกระหว่างกัน

ฝากประวัติเพื่อหางานที่ใช่ได้ ที่นี่

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 15 ธันวาคม 2017 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

ถ้าออกงานโดยไม่เขียนใบลาออกจะเป็นไรไหม

จากที่อยากแค่ลาออก ก็อาจโดนความผิดในมาตรา 119 อีกเด้ง แถมอยู่ในความผิดนี้ บริษัทไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างชดเชยได้อีกด้วยครับ เพิ่มเติมไปอีกคือพนักงานก็จะเสียประวัติ .

จำเป็นต้องเขียนใบลาออกไหม

จำเป็นไหมต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน คำตอบคือ อาจจะต้องดูตามสัญญาจ้างงานที่ระบุไว้ หากสัญญาระบุว่าสามารถลาออกได้เลย ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแจ้งออกล่วงหน้า แต่หากสัญญาระบุว่าต้องแจ้งล่วงหน้า ก็ควรแจ้ง เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวคุณแล้ว ยังเป็นผลประโยชน์ของบริษัทอีกด้วย

ตามกฎหมายต้องเขียนใบลาออกกี่วัน

กฎบริษัทฯส่วนใหญ่ ระบุไว้ว่า ลาออกให้ “แจ้งล่วงหน้า 30 วัน” ความจริงแล้ว หลานๆ สามารถยื่นลาออกให้มีผลวันถัดไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน แม้จะลาออกแบบผิดกฎบริษัทฯ บริษัทฯ ห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ที่หลานได้ทำไปแล้ว

ลาออกจากงานต้องทำอะไรบ้าง

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา : รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน.
ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย.
ทุพพลภาพ.
คลอดบุตร.
สงเคราะห์บุตร.
ชราภาพ.