กลุ่มลาตินอเมริกา

ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกาจะมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งทางด้านวัฒนธรรม การทูต และเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองภูมิภาคมักถูกมองข้ามหรือไม่ได้รับความสำคัญเท่าใดนัก โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบกับความสัมพันธ์ที่สหรัฐอเมริกามีกับประเทศต่างๆ ตลอดบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นในเอเชียหรือลาตินอเมริกา  

แม้เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ภูมิภาคที่ยังอยู่ในสถานะกำลังพัฒนาทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างลาตินอเมริกา ยังไม่มีประเทศใดสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกได้เหมือนอย่างสหรัฐฯ แต่ด้วยการเปิดกว้างของระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศและการที่เอเชียผงาดขึ้นเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของโลก ประเทศต่างๆ ในลาตินอเมริกาจึงต่างต้องการแสวงหาโอกาสนี้ไว้เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของตน

‘กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก’ (Pacific Alliance) ถือเป็นพัฒนาการทางความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคที่สำคัญล่าสุดในลาตินอเมริกาเพื่อตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดังกล่าว และได้กลายเป็นกลุ่มการค้าที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดทั้งจากในภูมิภาคเองและระดับนานาชาติ

กลุ่มลาตินอเมริกา
กลุ่มลาตินอเมริกา
ภาพที่ 1: ประเทศสมาชิกกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกและสัญลักษณ์

กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกก่อตั้งขึ้นในเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 โดย 4 ประเทศสมาชิกปัจจุบัน ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และเปรู[1] เป้าหมายของกลุ่มนี้คือ

  1. ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจโดยผ่านการมีส่วนร่วมและความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน รวมถึงผลักดันการเปิดเสรีทางการค้า การบริการ เงินทุนและทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ
  2. สนับสนุนให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสมาชิก โดยมุ่งเน้นให้มีระบบสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพมากขึ้น ขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ และผลักดันให้เกิดการยอมรับความหลากหลายของสมาชิกในสังคมเพิ่มมากขึ้น
  3. เป็นฐานนโยบายให้กับด้านการเมือง เศรษฐกิจและการรวมกลุ่มการค้า และขยายจุดแข็งต่างๆ เหล่านี้ไปสู่ระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นพิเศษ[2]

เป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกมุ่งเน้นกระชับสายสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเป็นหลัก โดยมีเงื่อนไขว่าทุกประเทศที่เป็นสมาชิกต้องปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ประเทศสมาชิก (รวมถึงประเทศที่ประสงค์จะเข้าร่วมกลุ่ม) ต้องจัดทำข้อตกลงทางการค้ากับทุกประเทศในกลุ่มพันธมิตร โดยประเทศทั้งสี่ที่เป็นสมาชิกต่างมีแนวชายฝั่งขนานไปตลอดแนวมหาสมุทรแปซิฟิก มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รวมกันเป็นจำนวนกว่า 1 ใน 3 ของทั้งภูมิภาคลาตินอเมริกา และมีอัตราการส่งออกสินค้าคิดเป็นร้อยละ 47 ของภูมิภาค

สมาชิกชิลีโคลอมเบียเม็กซิโกเปรูพันธมิตรแปซิฟิกลาตินอเมริการ้อยละของพันธมิตรแปซิฟิก ในลาตินอเมริกาประชากร (ล้าน)18491163121459336Nominal GDP (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)*2773781,2612072,1235,93737Nominal GDP (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ PPP)**3955292,0953443,3638,00842รายได้ประชาชาติต่อหัว (PPP)**19,06711,18915,56311,124มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)9067401486061,28047มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)9174409506241,36146FDI Stock (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)215128389748062,56931FDI Inflows (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)201738108529229ตารางที่ 1: เครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศสมาชิกพันธมิตรแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2562
ที่มา: คำนวณจากฐานข้อมูล Economist Intelligence Unit (EIU)
*ค่า Nominal GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น) คำนวณโดย EIU และอาศัยฐานข้อมูลของ World Bank และ World Development Indicators
**PPP หรือความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity) ซึ่งสะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของสกุลเงินแต่ละประเทศโดยแสดงผลในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกต้องการสร้างสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเอเชียโดยตั้งใจทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมทางเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาค ด้วยการอาศัยข้อตกลงทางการค้าเสรีที่มีอยู่แล้วระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศในเอเชียแปซิฟิก อาทิ กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และสิงคโปร์

ประการต่อมาคือสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกทุกประเทศมีแนวคิดเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ โดยในทางประวัติศาสตร์นั้น ลาตินอเมริกาเป็นภูมิภาคที่มีทั้งประเทศที่ต่อต้านและสนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง ตามแนวความคิดทฤษฎีการพึ่งพา (Dependency Theory) ดังที่เกิดขึ้นในบราซิล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘Brazilian Model’

กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกจัดตั้งขึ้นในขณะที่กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR) ซึ่งประกอบด้วยอาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัยและอุรุกวัย เผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและนโยบายกีดกันทางการค้าในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่างเคยเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลสูงมากในภูมิภาคลาตินอเมริกาเนื่องด้วยขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ของประเทศสมาชิก แต่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยรวมทั้งการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของประเทศสมาชิก อิทธิพลทางเศรษฐกิจของกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่างลดลงเป็นอันมาก รวมทั้งประเทศสมาชิกต่างมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่กีดกันการค้าเสรี แตกต่างจากกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกที่มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายเสรีทางเศรษฐกิจ เปิดกว้างต่อการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งหากกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกประสบความสำเร็จ อาจกดดันให้บราซิลและประเทศอื่นๆ ในกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่างเปลี่ยนมาใช้นโยบายที่เปิดกว้างและเสรีทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลุ่มลาตินอเมริกา
กลุ่มลาตินอเมริกา
ภาพที่ 2: ประเทศสมาชิกกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง

อย่างไรก็ดี แม้กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกจะมีนโยบายเน้นเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งแต่ละประเทศต่างก็มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 แต่ทางกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ยังไม่เพียงพอและโอกาสทางการศึกษาที่ยังไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ประเทศสมาชิกยังคงพึ่งพารายได้หลักจากการส่งออกสินค้าวัตถุดิบซึ่งมีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจโลก รวมถึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในลาตินอเมริกาที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนประมาณการว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของลาตินอเมริกาในอนาคตจะเหลือเพียงร้อยละ 2 ต่อปีเท่านั้น โดยลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเศรษฐกิจขยายตัวของลาตินอเมริกา อันเป็นผลมาจากวิกฤตโควิด-19 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

ในอดีตนั้น การส่งสินค้าวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ ถั่วเหลือง และเชื้อเพลิงจำนวนมากได้ช่วยยกระดับเศรษฐกิจของลาตินอเมริกาไว้ โดยเฉพาะในช่วงคริสต์ทศวรรษก่อนหน้า ซึ่งหากไม่ได้พึ่งพาการส่งสินค้าเหล่านี้ ภูมิภาคลาตินอเมริกาอาจมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยอยู่ที่เพียงร้อยละ 2.4 ดังเช่นประเทศเม็กซิโกในปัจจุบันที่มิได้พึ่งพิงรายได้จากการส่งออกสินค้าวัตถุดิบเป็นสำคัญ แต่อีกด้านหนึ่งการพึ่งพาการส่งออกสินค้าวัตถุดิบจำนวนมากนี้ก็ส่งผลให้มูลค่าเงินตราสกุลท้องถิ่นขยับตัวสูงขึ้น จนก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจที่มิได้เกี่ยวข้องกับสินค้าวัตถุดิบดังกล่าว ดังนั้นภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก จำเป็นต้องพัฒนาและผลักดันการเจริญเติบโตของประสิทธิภาพการผลิตรวมทั้งส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีความหลากหลาย เพื่อหลีกเลี่ยงวัฏจักรทางเศรษฐกิจ (Boom and Bust Cycle) ที่มักเกิดขึ้นในลาตินอเมริกา

นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำในลาตินอเมริกานั้นเป็นผลมาจากการขาดการพัฒนาในระบบการคมนาคมขนส่ง การขาดศักยภาพทั้งในด้านการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งผลกระทบของการขยายตัวของธุรกิจใต้ดินที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการขาดนโยบายด้านการเคหะและการวางผังเมืองที่ไม่เหมาะสมก็ยังส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากจำเป็นต้องใช้เวลากับการเดินทางเป็นเวลานาน

ที่ผ่านมา ประเทศในลาตินอเมริกาจึงพยายามแก้ไขปัญหา โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนการแก้ปัญหาอาชญากรรมซึ่งความพยายามนี้มีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้เช่นกัน ขณะเดียวกันการให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกนี้ก็จะช่วยส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมีความหลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น ก่อให้เกิดห่วงโซ่อุปทานในการผลิตในระดับภูมิภาค คล้ายคลึงกับแนวทางพัฒนาที่ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง[3]

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศสมาชิกกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกจะสามารถเอาชนะอุปสรรคภายในประเทศได้แล้ว แต่ประเทศเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ลาตินอเมริกาถือเป็นภูมิภาคที่มีการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือต่างๆ ในระดับภูมิภาคเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม มีเพียงแต่ความคาดหวังในที่ประชุม

ถึงแม้กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกจะมีจุดเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่อาจประสบปัญหาเช่นเดียวกับ กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่างหรือความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ยามเมื่อมีจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้ากลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกประสบความสำเร็จ ก็จะกลายเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคอีกด้วย

รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในลาตินอเมริกาพยายามสร้างสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาตั้งแต่อดีต เพื่อขยายโอกาสทางการค้าสู่อีกฟากของมหาสมุทรแปซิฟิก และด้วยลักษณะความเป็นพหุภาคีและมีความมุ่งมั่นของกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก การรวมกลุ่มเศรษฐกิจครั้งนี้จึงอาจเป็นคำตอบให้กับประเทศต่างๆ ในลาตินอเมริกาที่มักเผชิญกับอุปสรรคและปัญหาตามลำพังอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับในยามต้องเจรจาการค้ากับจีนในลักษณะทวิภาคี ดังนั้นถ้ากลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของการรวมกลุ่มกันได้ ก็จะกลายเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชียกับลาตินอเมริกาต่อไปในภายภาคหน้า


[1] จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกมีประเทศผู้สังเกตการณ์ทั้งสิ้น 61 ประเทศ ครอบคลุมทุกภูมิภาคของโลก รวมถึงสี่ประเทศที่เป็นสมาชิกของอาเซียน คือ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย 

[2] ดูเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกได้ที่ http://alianzapacifico.net/en/home-eng/the-pacific-alliance-and-its-objectives (เข้าถึง 2 กันยายน พ.ศ. 2565.)

[3] The Economist. “The Loss of El Dorado: After the Commodity Boom, the Region Needs a New Formula for Growth,” (June 27, 2022).  http://www.economist.com/news/leaders/21656185-after-commodity-boom-region-needs-new-formula-growth-loss-el-dorado/, (เข้าถึง 2 กันยายน พ.ศ. 2565)

  • รู้จัก ‘เผด็จการนักปลุกปั่น’ การปรับตัวของท่านผู้นำในยุคอินเทอร์เน็ต

    รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ชวนดูเทรนด์ผู้นำเผด็จการในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนวิธีกระชับอำนาจจากการใช้กำลัง สู่การปลุกปั่นด้วยการใช้ข้อมูลข่าวสาร

  • "เราอยู่ในโลกที่เรียกร้องการคิดใหม่ทั้งหมด" - Justin Wood แห่ง World Economic Forum

    สมคิด พุทธศรี สนทนากับ Justin Wood แห่ง World Economic Forum ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 รวมไปถึงเครื่องมือและวิธีคิดใหม่ๆ ในกระบวนการกำหนดนโยบายของประเทศ

  • ลองเป็นฉัน แล้วเธอจะรู้สึก : รู้จัก ‘BeAnotherLab’ ห้องทดลองประสบการณ์ของการเป็นคนอื่น

    คอลัมน์ Third – Eye View สัปดาห์นี้ Eyedropper Fill พาไปรู้จัก The Machine To Be Another เทคโนโลยี…

  • ชวนผู้อ่านตอบแบบสอบถาม ประเมินผลงาน The101.world

    101 ขอเชิญผู้อ่านร่วมบอกเล่าความคาดหวังและให้คำแนะนำทีมงานเกี่ยวกับผลงานในช่วง 2 ปีแรกของ The101.world และก้าวต่อไปในอนาคต เพื่อพัฒนาสื่อของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้อ่านและสังคม

  • รู้จัก ‘ICCS’: มาตรฐานการจำแนกประเภทอาชญากรรม เพื่อการพูดจาภาษา (กฎหมาย) เดียวกัน

    กานต์ธีรา ภูริวิกรัย พาไปทำความรู้จัก ‘ICCS’ เครื่องมือที่เปรียบเสมือนภาษากลางในการจัดเก็บสถิติอาชญากรรม ซึ่งจะทำให้ทุกคนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เข้าใจขอบเขตและเจตจำนงของกฎหมายได้ในทิศทางเดียวกัน

  • เมื่อญี่ปุ่นนำเศรษฐกิจมาขบคิดคู่ความมั่นคง: Economic Security ในยุทธศาสตร์รัฐบาลคิชิดะ

    ธีวินท์ สุพุทธิกุล เขียนถึง ยุทธศาสตร์ 'ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ' ภายใต้รัฐบาลคิชิดะ ที่อาจหันญี่ปุ่นไปสู่เส้นทางที่การทหารกลายเป็นหลักใหญ่ของความมั่นคงมากขึ้นกว่าในอดีต

การค้าระหว่างประเทศ เอเชียแปซิฟิก เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ลาตินอเมริกา เศรษฐกิจระหว่างประเทศ กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (Pacific Alliance) กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR)

กลุ่มลาตินอเมริกา
Print

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

กลุ่มลาตินอเมริกา
กลุ่มลาตินอเมริกา

เรื่อง: เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

นักวิชาการด้านลาตินอเมริกาศึกษา ผันตัวเองจากนักเศรษฐศาสตร์กลายเป็นลาตินอเมริกันนิสต้า เพราะหลงรักในกาแฟของโคลอมเบีย ปัจจุบันทำงานวิจัยเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ของลาตินอเมริกา รวมถึงความรุนแรงและประชานิยมที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคนั้น พร้อมๆ ไปกับการเลี้ยงหมาคอร์กี้และปักกิ่งอีก 6 ตัว

ประเทศใดบ้างที่อยู่ในกลุ่มลาตินอเมริกา

กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา.
บราซิล 28 ม.ค. 2565. อ่านต่อ.
คอซอวอ 23 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
จอร์เจีย 23 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
คิวบา 23 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
ตุรกี 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
เปรู 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
เม็กซิโก 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
โคลอมเบีย 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.

ประชากรส่วนใหญ่ของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาคือพวกใด

ความหนาแน่น 31/km2 (80/sq mi) ศาสนา โรมันคาทอลิก (69%)

กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาหมายถึงอะไร

คำว่า “ลาติน” ใช้กับคำว่า “ลาตินอเมริกา” (Latin America) คือ ประเทศทั้งหลายที่อยู่ในเขตอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งใช้ภาษาสเปนหรือโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ เหตุที่เรียกว่า ลาติน ก็เพราะว่าภาษาทั้ง ๒ เป็นภาษาที่เพี้ยนมาจากภาษาละตินแห่งยุคกลางของคริสตจักรคาทอลิก เดิมชาวสเปนและชาวโปรตุเกสเป็นอนารยชนที่รุกรานยุโรป นับถือ ...

ลักษณะสังคมลาตินอเมริกา เป็นแบบใด

ลาตินอเมริกาเป็นภูมิภาคที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดของโลก ความเหลื่อมล้ำทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ตั้งแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่ต่ำ ไปจนถึงการมีสถาบันองค์กรการเมืองที่อ่อนแอ และความรุนแรงในสังคมที่มีอัตราสูง เกิดกระแสประชานิยม วิกฤติทางการเงิน การจ้างงานและการมีงานทำที่ไม่มีคุณภาพ และเกิดการแบ่งขั้วทางสังคม ลาติน ...