ประมวลกฎหมาย ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ บุกรุกที่สาธารณะ

ประมวลกฎหมาย ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ บุกรุกที่สาธารณะ

เมื่อศึกษาแล้วจะเห็นได้ว่าความผิดฐานบุกรุกนั้นกฎหมายมุ่งประสงค์ลงโทษเฉพาะบุคคลที่บุกรุกที่อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้นมิได้รวมไปถึงกรณีการบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด

เห็นว่ากรณีดังกล่าวนั้นมีคำพิพากษาฎีกาที่วางหลักไว้เป็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

คำพิพากษาฎีกาที่   5616/2539  ความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 กฎหมายมุ่งประสงค์

ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น  ไม่ใช่บัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณ

สมบัติของแผ่นดินซึ่งมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตาม  ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง

และแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้

ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่างกรรมกับ

ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเพราะต่างมีสภาพและลักษณะ

ของการกระทำที่แตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้

การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ.มาตรา 29,

30 เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีไม่จำที่ศาลจะต้อง

กล่าวไว้ในคำพิพากษา

คำพิพากษาฎีกาที่ 4316/2550 คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่สาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐบริเวณชายแดนประเทศไทยและประเทศมาเลเซียด้วยการเข้าไปปลูกบ้านพักอาศัย กว้างประมาณ 7 เมตร ยาว 9 เมตร ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองปลูกสร้างบ้านพักอาศัยกว้าง 20 เมตร ยาว 7 เมตร ในที่ดินรกร้างว่างเปล่าบริเวณแนวพรมแดนประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐ วันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยกระทำความผิดคดีก่อนและจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยบุกรุกก็มีจำนวนแตกต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี

น.บ   น.บ.ท    วิชาชีพว่าความ     ที่ปรึกษากฎหมาย    และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

คำพิพากษาฎีกาที่2524-2525/2543  
พนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว โจทก์

นายสถิต กองขุนทด

จำเลย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แพ่ง สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 1304) วิธีพิจารณาความอาญาพยานหลักฐาน (มาตรา 226) พ.ร.บ. ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินพยานหลักฐาน (มาตรา 226) พ.ร.บ. ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ (มาตรา 5)

โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยได้บุกรุกเข้า ไปยึดถือครอบครองไถและปลูกพืชในที่ดินสาธารณะประโยชน์ป่า ไผ่หัวนาดง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 ตรี, 9, 108, 108 ทวิ บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนและมีคำสั่งให้ จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว

จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยใน คดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิด 2 กระทงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การ พิจารณาคดีอยู่บ้างลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสี่ คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน บวกโทษจำคุก 1 ปี ที่รอการ ลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1150/2533 ของศาลชั้น ต้นเป็นจำคุก 2 ปี 6 เดือน ให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่ยึด ถือครอบครอง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

จำเลยฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาว่าการประการกำหนดให้ที่ดิน ทุ่งป่าไผ่หัวนาดงเป็นที่สาธารณประโยชน์มิได้ดำเนินการตามพระ ราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 มาตรา 5 กล่าวคือ ไม่ได้ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ดิน ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น เห็นว่า ตามทะเบียน ที่ดินสาธารณประโยชน์มีข้อความระบุว่าที่ดินทุ่งป่าไผ่หัวนาดง เป็น ที่ดินที่ราษฎรในตำบลบ้านเก่าใช้เก็บผักหักฟืนและเป็นทำเลเลี้ยง สัตว์ร่วมกันมาเป็นเวลาช้านานนับร้อยปี ดังนี้ ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ส่วนที่ดินที่จะต้องออกราชกฤษฎีกาและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาก่อนขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มาตรา 5 นั้น จำกัดแต่เฉพาะ ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (1) ท่านั้น ส่วนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) ไม่มีกฎหมายบังคับให้ ต้องขึ้นทะเบียนและออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่อย่างใด ที่ศาล อุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ที่ดินทุ่งป่าไผ่หัวนาดงเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาเป็นประการสุดท้ายว่า การที่นายละมูล แก้ว วิมล นายอำเภอด่านขุนทดมีหนังสือลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 และลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2536 ถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธร อำเภอด่านขุนทดให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยมอบอำนาจให้นายชนะ กมขุนทด กำนันบ้านเก่าเป็นผู้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน แต่ เอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจจึงไม่ชอบด้วย กฎหมาย นายชนะไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น เห็นว่า แม้หนังสือที่นายอำเภอด่านขุนทดมีไปถึงสารวัตรใหญ่สถานี ตำรวจภูธรอำเภอด่านขุนทดมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวล รัษฎากร ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก็ตาม แต่ไม่มีบท กฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้รับฟังเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลัก ฐานในคดีอาญาด้วย ศาลฎีกาย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 อนึ่ง คดีนี้ ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ที่ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมี การร้องทุกข์ตามระเบียบมาตรา 121 วรรคสอง ประกอบกับหนังสือ ที่นายอำเภอด่านขุนทดมีไปถึงสารวัตรใหญ่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอ ด่านขุนทด ให้ดำเนินดีแก่จำเลยในความผิดฐานบุกรุกที่ดินสาธารณ ประโยชน์ซึ่งมีใจความว่านายอำเภอด่านขุนทดมอบอำนาจให้กำนัน ตำบลบ้านเก่าเป็นผู้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนนั้น มีลักษณะเป็น การการกล่าวโทษจำเลยเป็นหนังสือแล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมี อำนาจสอบสวนคดี ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน ที่ศาลล่างทั้ง สองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยแต่ที่ศาลล่าง ทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละสำนวนเท่ากันและไม่รอการ ลงโทษจำคุกให้นั้น เห็นว่า ในสำนวนแรกจำเลยบุกรุกที่ดินของรัฐ เป็นเนื้อที่ประมาณ 22 ไร่ ส่วนสำนวนหลังจำเลยบุกรุกที่ดินเพิ่ม จากที่เคยบุกรุกในสำนวนแรกอีกเพียง 4 ไร่เท่านั้น สมควรกำหนด โทษให้แก่ต่างกัน โดยคำนึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการ กระทำตลอดจนผลเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยประกอบ ด้วย แม้จะได้ความว่าก่อนคดีนี้จำเลยเคยบุกรุกที่ดินแปลงนี้มาครั้ง หนึ่งแล้ว และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกมีกำหนด 1 ปี และ ปรับ 5,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 2 ปี หลัง จากนั้นจำเลยกลับมากระทำความผิดซ้ำเป็นคดีนี้ก็ตามแต่ทาง พิจารณาได้ความว่า เหตุที่จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกพืชผลในที่ดิน พิพาทเนื่องจากไม่มีที่ทำกิน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจแม้จะไม่มีเหตุ ผลที่ลบล้างความผิดหรือบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดที่จำเลยได้ กระทำแต่นับว่าเป็นเหตุอื่นอันควรปราณีและสมควรรอการลงโทษ จำคุกให้แก่จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับตน เป็นพลเมืองดีและเพื่อป้องกันมิให้จำเลยกระทำความผิดในลักษณะ เช่นนี้อีก ศาลฎีกาเห็นสมควร คุมความประพฤติจำเลยไว้ด้วย"

พิพากษาแก้เป็นว่าสำนวนแรกลงโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท สำนวนหลังจำคุก 4 เดือน และปรับ 6,000 บาท คำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การ พิจารณาพิจารณาคดีอยู่บ้างเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสี่ สำนวนแรกจำคุก 9 เดือน และปรับ 7,500 บาท สำนวนหลังจำคุก 3 เดือน และ ปรับ 4,500 บาท รวมจำคุก 12 เดือน และปรับ 12,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ให้คุมความประพฤติ จำเลยโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้งมีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 คำขอของโจทก์ที่ให้บวกโทษจำคุกในคดีอาญา หมายเลขแดงที่ 1150/2533 ของศาลชั้นต้นเข้ากับโทษในสำนวน แรกให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1

(กำพล ภู่สุดแสวง - วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ - สุรชาติ บุญศิริพันธ์)

ปรับปรุงล่าสุด: 12-02-2021