ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 33 เงินสงเคราะห์บุตร

ทั่วไป

08 ม.ค. 2565 เวลา 11:44 น.151.5k

สำนักงานประกันสังคม เชิญชวนผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 เช็คเงื่อนไขสำคัญ สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน

สำนักงานประกันสังคม เชิญชวนผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่มีบุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตร สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนรับเงินเดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 3 คน 

สำหรับเงื่อนไขรับสิทธิยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน 
  • ผู้ประกันตนพ่อหรือแม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร 

  • เมื่อบุตรมอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต 
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

สามารถยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สายด่วน 24 ชั่วโมง โทร 1506 หรือ www.sso.go.th 

ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 33 เงินสงเคราะห์บุตร

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

14 ก.ค. 2565 เวลา 3:12 น. 5.9k

"ประกันสังคม"ไขปัญหา เงินสงเคราะห์บุตรจ่ายย้อนหลังหรือไม่ ผู้ประกันตน ม.33 และม.39 บุตรอายุยังไม่ครบ 6 ปี เช็คเลย

สำนักงานประกันสังคม ไขปัญหา"ประกันสังคม" เงินสงเคราะห์บุตร จ่ายย้อนหลังหรือไม่ 

มีคำถามว่า ทำงานแล้ว ต่อประกันสังคมแล้ว จะย้อนจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรให้หรือไม่
 

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เรื่องเงินสงเคราะห์บุตร กฏหมายใหม่ยังไม่ออก กฏหมายเก่า ถ้าออกจากงานเมื่อไหร่ ออกจากมาตรา 33 เมื่อไหร่ ถ้าบุตรยังไม่ครบ 6 ปี ตัดจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรทันที

"เพราะฉะนั้น ถ้าเข้า มาตรา 39  ต้องขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม แต่ไม่ย้อนหลัง อันไหนที่ฟันหลอ ก็ไม่จ่าย เข้ามาตรา 39 เดือนไหน จ่ายเดือนนั้น หรือเข้ามาตรา 33 เดือนไหน ก็เริ่มจ่ายตั้งแต่เดือนนั้น แต่เราจะมีการแก้กฏหมาย กฏหมายใหม่รวมกับ 3 ขอ จะแก้ว่าเงินสงเคราะห์บุตร ถ้าออกจากมาตรา 33 จะจ่ายให้อีก 6 เดือน คุ้มครองต่ออีก 6 เดือนเหมือนกรณี เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต คุ้มครองเหมือนกัน"
 

สำนักงานประกันสังคม เตือน ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์ เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (1 ปี) ก็หมดสิทธิ์ในการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ทันที

ถ้าไม่อยากเสียสิทธิ์ สามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบของผู้ประกันตนทาง Line สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการแจ้งเตือนกรณีค้างชำระการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39 หรือ สะดวกกว่านั้น เพียงแค่สมัครนำส่งเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีธนาคาร แค่นี้ก็เซฟสิทธิ์ได้แล้ว

โดยธนาคารที่เข้าร่วมการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต , ธนาคารไทยพาณิชย์ ,ธนาคารกรุงเทพ เพียงเตรียมสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร และหนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร (ถ้ามี) ติดต่อ สปส. ใกล้บ้านได้

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 432 บาท/เดือน คุ้มครอง 6 กรณี แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติ ลดอัตราเงินสมทบ ติดต่อกันถึง 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค. - ก.ค. 65 โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 จากปกติจ่าย 432 บาท ลดเหลือเพียง 91 บาท

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- เคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน

- ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน มาตรา 39

จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

2. กรณีคลอดบุตร

3. กรณีทุพพลภาพ

4. กรณีเสียชีวิต

5. กรณีสงเคราะห์บุตร

6. กรณีชราภาพ

วิธีการสมัครผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

สำนักงานประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของสมาชิกที่เข้าเป็นผู้ประกันตน เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกันตนควรรู้ แต่หากขาดส่งประกันสังคมขึ้นมาจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง และขาดส่งกี่เดือนถึงจะโดนตัดสิทธิ

สำนักงานประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของสมาชิกที่เข้าเป็นผู้ประกันตน เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกันตนควรรู้ เพราะหากต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเกิดเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ ประกันสังคมสามารถช่วยเหลือได้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่หากขาดส่งประกันสังคมขึ้นมาจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง และขาดส่งกี่เดือนถึงจะโดนตัดสิทธิ จะทำอย่างไรหากขาดส่งประกันสังคม วันนี้ TNN มีคำตอบมาให้คุณค่ะ

ใครที่อาจขาดสิทธิประกันสังคม

- ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่เป็นสมาชิกของสำนักงานประกันสังคม

เมื่อไหร่ถึงขาดสิทธิประกันสังคม

- ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน

- เสียชีวิต

- กลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

- ลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนจากการแสดงความจำนงที่สำนักงาน

กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยไม่สามารถส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 ต่อได้อีก

ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้างใหม่จึงจะสามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจะมีการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องจากของเดิม และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน โดยติดต่อ สปส.กทม.พื้นที่/จังหวัด/สาขาใกล้ที่พักอาศัย

ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ที่มาภาพ : TNN

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE