คําภาษาเขมรที่แผลงจาก ข เป็น กระ

รู้หรือไม่? ภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ กว่าครึ่งเป็นคำยืมที่เรารับมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ 'ภาษาเขมร' ที่เราพบเห็นได้มาก ในงานวรรณคดี บทร้อยแก้วร้อยกรอง หรือแม้แต่ในคำราชาศัพท์ที่คำเขมรอยู่มากกว่า 90% ในวันนี้ ALTV จึงนำสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับคำยืมในภาษาเขมรมาฝากกัน

คําภาษาเขมรที่แผลงจาก ข เป็น กระ

คำยืมคืออะไร?

คำยืม คือการนำลักษณะหรือคำในภาษาอื่นมาใช้ในภาษาของตนเอง เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น การติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างประเทศที่มีมาตั้งแต่อดีต การค้าขาย การฑูต การเผยแพร่ศาสนา ความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์ หรือการอพยพย้ายถิ่น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ศิลปะ ขนบประเพณี และที่สำคัญคือ "ภาษา" ที่ไทยเรารับมาเป็นจำนวนมาก

กว่าครึ่งของภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นคำที่หยิบยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ฯลฯ และปะปนอยู่ในชีวิตประจำวันคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ บางคำถูกดัดแปลงให้ต่างไปจากรูปคำเดิมเพื่อให้เข้ากับวิธีอักขรไทย จนทำให้รู้สึกคุ้นเคยเหมือนเป็นภาษาไทยไปแล้ว

คำยืมภาษาเขมร

ภาษาเขมร คือภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา ประเทศที่มีความสัมพันธ์กับไทยมานาน เราสามารถพบเห็นคำเขมรในภาษาไทยได้จากงานวรรณคดีของไทย บทร้อยแก้วร้อยกรอง คำราชาศัพท์ หรือแม้แต่ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ด้วยเหตุนี้เอง การเข้าใจคำเขมรจึงช่วยให้คนที่สนใจในงานวรรณคดี สามารถเข้าใจความหมายและได้รับอรรถรสในการอ่านวรรณคดีมากขึ้นนั่นเอง

หลักสังเกต 'คำยืมภาษเขมร'

⭐สะกดด้วยพยัญชนะ 'จ ญ ร ล ส'

ยกตัวอย่าง

  • จ = เผด็จ เสด็จ สรรเสริญ
  • ญ = ผจญ เจริญ เผชิญ
  • ร = ระเมียร (ดู, น่าดู)
  • ล = กำนัล ตำบล
  • ส = จรัส ตรัส

⭐มักเป็นคำโดด

ภาษาเขมรมักเป็นคำโดด (คำพยางค์เดียวที่มีความหมายในตัวเอง) และส่วนมากเป็นศัพท์ที่ต้องแปลความหมาย

ยกตัวอย่าง

  • อวย แปลว่า ให้
  • แข หมายถึง ดวงจันทร์
  • แสะ หมายถึง ม้า (สัตว์) 

⭐มักเป็นคำแผลง

ภาษาเขมรมักเป็นคำที่มีการเปลี่ยนรูปหรือเสียงอักษรให้แตกต่างไปจากเดิม แต่ยังคงความหมายเดิมอยู่ เรียกว่า 'คำแผลง'

  • ข แผลงเป็น กระ เช่น ขดาน = กระดาน, ขบวน = กระบวน ฯลฯ
  • ผ แผลงเป็น ประ เช่น ผสาน = ประสาน, ผจญ = ประจญ ฯลฯ
  • ประ แผลงเป็น บรร เช่น ประทม = บรรทม, ประจุ = บรรจุ ฯลฯ

⭐ขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ บรร

  • บัง = บังคม บังเกิด
  • บัน = บันเทิง บันดาล
  • บำ = บำเรอ บำรุง บำบัด
  • บรร = บรรจุ บรรทัด

ข้อสังเกต บางคำที่สะกดด้วย รร (ร หัน) เป็นคำยืมภาษาสันสกฤตไม่ใช่คำเขมร เช่น บรรพต บรรยาย บัญชี บรรษัท บรรพชิต บรรพชน บรรหาร

⭐มักเป็นคำราชาศัพท์

คำในราชาศัพท์กว่าส่วนมากจัดอยู่ในคำยืมภาษาเขมร

  • เสวย หมายถึง รับประทาน
  • เสด็จ หมายถึง ไป
  • ตรัส หมายถึง พูด

⭐นิยมใช้อักษรนำ

ยกตัวอย่าง 

  • เขนย เสด็จ พนม ขนน ฉบัง เฉลียง ถนน จมูก ฉลอง สดํา โฉนด

⭐ขึ้นต้นด้วย สระ -ำ (กํา จํา ชํา ดํา ตํา ทํา) 

  • กำ = กำจัด กำเนิด
  • จำ = จำแนก จำหน่าย
  • ชำ = ชำเรา ชำแหละ
  • ดำ = ดำเนิน ดำริ
  • ตำ = ตำรวจ ตำนาน
  • ทำ = ทำนาย ทำนุ

ข้อสังเกต คำเขมรที่ขึ้นต้นด้วยสระอำต้องแผลงได้ เช่น ตำรวจ แผลงเป็น ตรวจ, จำแนก แผลงเป็น แจก, ดำเนิน แผลงเป็น เดิน เป็นต้น

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทเรียนเรื่อง'คำยืมในภาษไทย' ที่เรานำมาฝากเท่านั้น เพราะนอกจากคำเขมรแล้ว ยังมีคำยืมในภาษาต่างประเทศอีกมากมายรอให้เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้ ได้ที่รายการ ห้องเรียนเรียนติวเข้ม ทางเว็บไซต์ ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก <คลิก

คําภาษาเขมรที่แผลงจาก ข เป็น กระ

เขียนเมื่อ...18 ส.ค. 58

คําภาษาเขมรที่แผลงจาก ข เป็น กระ


ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น 
คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย

ลักษณะคำภาษาเขมรในภาษาไทย

  1. มักจะสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ บำเพ็ญ กำธร ถกล ตรัส
  2. มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง
  3. มักใช้ บัง บัน บำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์ เช่น 
    บัง บังคับ บังคม บังเหียน บังเกิด บังคล บังอาจ 
    บัน บันได บันโดย บันเดิน บันดาล บันลือ 
    บำ บำเพ็ญ บำบัด บำเหน็จ บำบวง
  4. นิยมใช้อักษรนำ เช่น สนุก สนาน เสด็จ ถนน เฉลียว เป็นต้น
  5. คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น ขนง ขนอง เขนย เสวย บรรทม เสด็จ โปรด เป็นต้น
  6. มักแผลงคำได้ เช่น 
    - ข แผลงเป็น กระ เช่น ขดาน เป็น กระดาน ขจอก เป็น กระจอก 
    - ผ แผลงเป็น ประ ผสม - ประสม ผจญ - ประจญ 
    - ประ แผลงเป็น บรร ประทม เป็น บรรทม ประจุ - บรรจุ ประจง - บรรจง

การยืมคำภาษาเขมรมาใช้ในภาษาไทย

  1. ยืมมาใช้โดยตรง เช่น กระดาน กระท่อม กะทิ บัง โปรด ผกา เป็นต้น
  2. ยืมเอาคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น กังวล บำบัด แผนก ผจัญ
  3. ยืมทั้งคำเดิมและคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น เกิด-กำเนิด ขลัง-กำลัง เดิน-ดำเนิน ตรา-ตำรา บวช-ผนวช
  4. ใช้เป็นคำสามัญทั่วไป เช่น ขนุน เจริญ ฉงน ถนอม สงบ เป็นต้น
  5. ใช้เป็นคำในวรรณคดี เช่น ขจี เชวง เมิล สดำ สลา เป็นต้น
  6. ใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เขนาย ตรัส ทูล บรรทม เสวย เป็นต้น
  7. นำมาใช้ทั้งเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน

ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย 

กระชับ กระโดง กระเดียด กระบอง กระบือ กระท่อม กระโถน กระพัง ตระพัง ตะพัง กระเพาะ กระแส กังวล กำจัด กำเดา รัญจวน ลออ สกัด สนอง สนุก สดับ สบง สังกัด สไบสำราญ สรร สำโรง แสวง แสดง กำแพง กำลัง ขนาน ขจี โขมด จัด เฉพาะ ฉบับ เชลย โดยทรวง ถนน บายศรี ประกายพรึก ปรับ ประจาน โปรด เผด็จ ผจญ ผจัญ เผอิญ เผชิญ เพ็ญเพลิง เพนียด ระลอก

บทเพลงคำยืมที่มาจากภาษาเขมร 

คำเขมรที่ใช้ปนมาอยู่ในภาษาไทยมีมากหลาย 
เราคนไทยใช้กันจนเก่า เรานิยมใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น สนับเพลา 
เสด็จ เสวย เขนย ขนง อีกธำมรงค์ ผทม สรง และพระศรี 
มีทั้งคำ บัง บัน บรร และบำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์ 
บังเอิญ และ บังคับ ทั้งบรรเจิด บรรสาน บันดาล และบำนาญนั่น 
ยังมีคำที่นำด้วย กำ คำ จำ และ ทำ ดำ ตำ กับ ชำ 
ใช้นำหน้าคำอีกเช่นกัน นั่นคือ กำเนิด จำเริญ 
ดำรง คำนับ ชำนาญ กำนัล ทำนบ และตำรวจนั้นก็คำเขมรไง 
ยังมีคำที่มีอักษรนำ ควบกล้ำ เราใช้ปนคำไทย รู้กันดีว่า 
ขจี เจริญ โขลน ทวาร และเผอิญ เผชิญ เสน่ง สลา 
ขจร ขจาย ผกาย ผกา เหล่านี้นา ล้วนมาจาก เขมร

อ้างอิง http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/loanwords/08.html

คําภาษาเขมรที่แผลงจาก ข เป็น กระ


คำใดที่มาจากการแผลง ข เป็น กระ

แผลง ข เป็น กระ ขจาย-กระจาย ขจาย-กระจาย ขม่อม-กระหม่อม จอก-กระจอก ขดาน-กระดาน โดง-กระโดง

คำว่า "เกิด" ในภาษาเขมร สามารถแผลงได้เป็นคำว่าอะไร

1.คำแผลงชนิดที่เรียกว่า คำเติมหน้า หรือ อุปสรรค มีอยู่ในภาษาเขมรเป็น จำนวนมากหลายลักษณะ ได้แก่ อุปสรรค “บง บญ บนฺ บน บ๋” เช่น เกิด ความหมาย เกิด แผลงเป็น บงุเกิด ความหมาย ทำให้เกิด อุปสรรค “ป ผ พ ภ” เช่น จาญ ความหมาย แพ้ แผลงเป็น ผุจาญ่ ความหมาย ทำให้แพ้ อุปสรรค “กญ กณ กนฺ กำ” เช่น แบก ความหมาย แตก แผลงเป็น ก๋แบก หรือ ...

คําว่า บรร แผลงมาจากคําว่าอะไร

ส่วนการใช้ “บรร” เป็นพยางค์หน้าของคำส่วนใหญ่แผลงมาจาก "ประ" หรือ "บริ" เช่น "บรรจง มาจาก ประจง" "บรรทุก มาจาก ประทุก" "บรรทัด มาจาก ประทัด"

คำว่าปราบเมื่อแผลงเป็นสระอำได้คำว่าอะไร

ข้อที่ ๘) คำว่าปราบเมื่อแผลงเป็นสระ อำ ได้คำว่าอะไร ก. บำเรอ