Job Description ผู้จัดการ ร้านอาหาร

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการจูงใจให้พนักงานของเราให้บริการลูกค้าที่ดีที่สุดคือการแสดงให้พวกเขาเห็นว่าเราให้เกียรติพวกเขา เมื่อพนักงานรับรู้ถึงรู้สึกจากผู้จัดการ พวกเขาจะทำงานได้ดีขึ้นและมีความภักดีมากขึ้น

2. เป็นนักสื่อสารที่ยอดเยี่ยม

ผู้จัดการร้านอาหารมืออาชีพจะสื่อสารเชิงบวกกับพนักงาน พวกเขารู้จักใช้คำวิจารณ์ที่สร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงงานของทีม

การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้จัดการร้านอาหาร ซึ่งวิธีพัฒนาทักษะการสื่อสาร ได้แก่

  • รับฟังอย่างใจกว้าง เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสไม่ว่าจะเป็น คำถาม ข้อคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะ
  • ประชุมพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานแต่ละคนรู้ว่าพวกเขาคาดหวังอะไรบ้าง และพูดให้กำลังใจสั้น ๆ แก่พนักงาน

    สำหรับคนทำธุรกิจร้านอาหาร ผู้จัดการร้าน ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าของร้านได้มาก หากเจ้าของร้านได้ผู้จัดการร้านดี ก็แทบไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาจุกจิกภายในร้านเลย แต่หลายคนอาจสงสัยว่าหากจะจ้างผู้จัดการร้านสักคนหนึ่ง ต้องระบุหน้าที่อะไรให้เขารับทราบบ้าง วันนี้เราจึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับ หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร ให้ทุกคนได้ทราบกัน

    สั่งของเข้าร้าน

    Job Description ผู้จัดการ ร้านอาหาร

    หนึ่งในหน้าที่หลักของผู้จัดการร้านคือ การสั่งของใช้เข้าร้าน ตั้งแต่ของเล็กๆ น้อยๆ อย่างกระดาษทิชชู กระดาษรองจาน จานรองแก้ว เรื่อยไปจนถึงหลอดไฟ อุปกรณ์ทำความสะอาด และของใช้จำเป็นอื่นๆ รวมทั้งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการเช็คสต็อกวัตถุดิบจากหัวหน้าเชฟ เพื่อจะได้ทราบว่าวัตถุดิบใดขาด วัตถุดิบใดมีมากเกินจำเป็น เพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบเข้าครัวอย่างเหมาะสมต่อไป

    ฉะนั้นหน้าที่นี้จึงต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบอย่างมาก เพราะหากเช็คของผิดพลาด หรือกะปริมาณของไม่ถูกต้อง อาจทำให้ของมีไม่พอใช้ ส่งผลให้การทำงานติดขัดได้ ของเล็กๆ น้อยๆ ขาดไม่เท่าไร แต่ถ้าลืมสั่งซื้อวัตถุดิบเข้าครัวนี่สิ แย่เลย

    วางแผนการทำงานให้พนักงาน

    ผู้จัดการร้าน ต้องทำหน้าที่วางแผนการทำงานให้พนักงานทุกคน เพื่อให้แน่ใจว่ามีพนักงานเพียงพอต่อการทำงาน และเหมาะสมตามแต่ละช่วงเวลา โดยช่วงเวลาเที่ยงหรือเย็นที่มีลูกค้ามาก อาจต้องใช้พนักงานมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ซึ่งผู้จัดการร้านต้องเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรและวางแผนการทำงานให้พนักงานในส่วนนี้

    วางแผนการจัดกิจกรรมพิเศษ

    แน่นอนว่าร้านอาหารของเราคงไม่ได้เปิดขายอาหารไปเรื่อยๆ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องจัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าด้วย และหน้าที่การวางแผนจัดกิจกรรมก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของร้านร่วมกับผู้จัดการ โดยผู้จัดการร้านจะต้องเป็นคนควบคุมให้กิจกรรมทุกอย่างดำเนินการไปตามแผนการที่วางไว้ และอำนวยความสะดวกให้งานเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น

    Job Description ผู้จัดการ ร้านอาหาร

    บริการลูกค้า และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

    “ขอคุยกับผู้จัดการค่ะ” นี่คงเป็นประโยคที่พนักงานในร้านอาหารได้ยินเป็นประจำ เพราะหากลูกค้าไม่พอใจสิ่งใด มักเรียกพบผู้จัดการเป็นคนแรก เนื่องจาก ณ เวลานั้นผู้จัดการคือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุด ภาระด้านการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจึงตกเป็นขอผู้จัดการร้านไปโดยปริยาย โดยผู้จัดการต้องพยายามหาวิธีแก้ปัญหา ให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้ ในช่วงเวลาปกติ ก็ต้องคอยให้บริการลูกค้าไม่ต่างจากพนักงานบริการอีกด้วย ฉะนั้นหากร้านใดกำลังจะจ้างผู้จัดการร้าน ต้องแจ้งเงื่อนไขข้อนี้ให้เขารับทราบด้วย

    เป็นตัวแทนของเจ้าของร้าน

    ในยามที่เจ้าของร้านไม่อยู่ที่ร้าน ผู้จัดการร้านต้องทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยให้ร้านอาหารดำเนินไปตามปกติ ขณะเดียวกันก็ต้องคอยประสานงานและกระจายข่าวสารต่างๆ จากเจ้าของร้านให้พนักงานรับทราบโดยทั่วถึง

    ทำหน้าที่เป็นฝ่ายการตลาดและแอดมินเพจ

    สำหรับร้านอาหารใดที่มีเพจเฟซบุ๊ก ผู้จัดการร้านก็ต้องทำหน้าที่เป็นแอดมิน คอยโปรโมทร้านให้ลูกค้ารับทราบ ทั้งการถ่ายภาพอาหาร อัพเดตกิจกรรมหรือเมนูใหม่ๆ ตอบคำถามของลูกค้าที่เข้ามาสอบถามในหน้าเพจและ inbox เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้า

    ตรวจสอบตัวเลข

    Job Description ผู้จัดการ ร้านอาหาร

    หลังร้านปิด ผู้จัดการร้านจะต้องตรวจสอบยอดขายของร้านทุกวัน ว่ายอดขายและจำนวนเงินในลิ้นชักถูกต้องและเป็นไปตามเป้าที่วางไว้หรือไม่ เพื่อรายงานให้เจ้าของร้านรับทราบ และในเมื่อผู้จัดการร้านต้องคอยยุ่งเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ อยู่ตลอดเวลา จึงต้องการคนที่ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้มาประจำตำแหน่งนี้

    จ้างงานและไล่ออก

    ร้านอาหารบางร้านอาจมอบอำนาจให้ผู้จัดการ จ้างและเลิกจ้างพนักงานได้ด้วย เนื่องจากผู้จัดการร้านคือผู้ที่คลุกคลีกับพนักงานมากที่สุด จึงทราบว่าคนไหนทำงานดี คนไหนทำงานบกพร่องโดยไม่มีการแก้ไขหรือพัฒนาใดๆ รวมทั้งทราบว่าควรจ้างคนที่มีบุคลิกแบบใด จึงสามารถร่วมทีมกับพนักงานเก่าๆ ได้ แต่ข้อควรระวังคือ คุณต้องมั่นใจจริงๆ ว่าผู้จัดการร้านของคุณทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพและไม่ลำเอียง ไม่อย่างนั้นระบบการทำงานของร้านคุณอาจเละไม่เป็นท่าได้ หรืออีกทางเลือกหนึ่ง เจ้าของร้านอาจใช้วิธีขอความเห็นจากผู้จัดการร้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ รับหรือเลิกจ้างพนักงานแทน

    ผู้จัดการร้านถือเป็นตำแหน่งงานที่ขอบเขตการทำงานกว้างมาก ไล่ไปตั้งแต่การทำงานหน้าร้านไปจนถึงการวางแผน จึงนับได้ว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ฉะนั้นก่อนจะจ้างคนมาเป็นผู้จัดการ เจ้าของร้านควรไตร่ตรองให้ดี เพราะตำแหน่งนี้อาจเป็นตัวตัดสินว่าร้านคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่เลยทีเดียว

    ผู้จัดการร้านอาหารมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

    ผู้จัดการร้าน สำหรับตำแหน่งนี้เจ้าของร้านสามารถทำหน้าที่นี้เองก็ได้เช่นกัน ผู้จัดการถือว่ามีความสำคัญกับร้าน เพราะจะต้องคอยช่วยดูแลความเรียบร้อยของร้าน ดูแลให้ทีมงานทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผน และการแก้ปัญหารวมถึงการบริหารจัดการยอดขายให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้อีกด้วย

    ผู้จัดการ ร้านอาหาร เรียกว่าอะไร

    Restaurant Manager (ผู้จัดการร้านอาหาร)

    ตําแหน่งผู้จัดการทำอะไรบ้าง

    บทบาทของผู้จัดการบริษัท การบริหารจัดการข้อมูลหรืองานต่าง ๆ กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป อีกทั้งยังต้องประสานให้พนักงานในทุก ๆ ส่วนสามารถทำงานไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ร่วมกัน เพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามประสงค์ของบริษัท และนั่นเองที่สะท้อนถึงความเจริญก้าวหน้าของบริษัทและพนักงานทุกคน

    ตําแหน่งงานในร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

    ตำแหน่งต่าง ๆ ในร้านอาหารคืออะไร?.
    หัวหน้าพ่อครัว.
    ผู้จัดการครัว.
    ซู-เชฟ.
    เชฟประจำสถานี.
    พ่อครัว.
    ผู้ช่วยกุ๊ก.
    ทีมงานทำความสะอาด.